"รอยเตอร์" วิเคราะห์ 4 ปัจจัยเสี่ยงการเมืองไทย และแนวทางสู่การยึดอำนาจรอบใหม่

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานเชิงวิเคราะห์ว่า การเมืองไทยกำลังมุ่งไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่ ด้วยสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบัน จากเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ก่อเหตุชุมนุมประท้วงรัฐบาล เหมือนคล้ายเหตุการณ์เมื่อสองปีก่อน ที่นำมาสู่การรัฐประหาร ขณะที่เหตุการณ์ครั้งนี้ออกคลุมเครือมากกว่าครั้งก่อน แต่ก็ยังมีปัจจัยเพียงพอที่จะทำให้การเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หรือ 4 ประการดังนี้

 

หนึ่ง หากการประท้วงดำเนินไปเรื่อย ๆโดยไม่มีน้ำหนักที่ชัดเจน กลุ่มพันธมิตรอาจจะปักหลักชุมนุมประท้วงอย่างยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือน สร้างปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพและกระทบต่อแนวทางบริหารประเทศของประเทศ ซึ่งจะมีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวและทำให้เงินเฟ้อพุ่ง โดยยุทธศาสตร์นี้คาดว่าจะไม่มีชนชั้นกลางเข้ร่วม และไม่บานปลายไปสู่การปะทะกันบนท้องถนน และอาจไม่ชักนำให้กองทัพเข้ามารัฐประหารเหมือนเหมือนปี 2006 ได้ เพราะเนื่องจากกองทัพเคยล้มเหลวที่ล้มระบบทักษิณมาแล้ว นอกจากนี้ กองทัพยังมีความสัมพันธ์อันดีกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นรู้ว่าสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ด้วย

 

ประการที่สองคือในกรณีการประท้วงดำเนินต่อไปและเข้มข้นขึ้นเพราะเศรษฐกิจแย่ กลุ่มพันธมิตรอาจใช้ยุทธศาสตร์ปักหลักประท้วงเป็นเวลาหลายเดือน เพิ่มวาระโจมตีให้ร้อนแรงหากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังแย่ โดยกลุ่มอาจดึงชนชั้นแรงงานเช่นแท็กซี่เข้าร่วมประท้วงด้วย ซึ่งกลุ่มพันธมิตรอาจจะโฆษณาชวนเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยอาจย่ำแย่เหมือนปี 1997 ซึ่งเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งจากพิษค่าเงินบาทด้วย

 

ประการที่สามคือในกรณีรัฐบาลผสมเกิดแตกแยก และทำให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ โดยปัจจุบันแม้ว่าพรรครัฐบาลพันธมิตรจะมีเสียงส่วนใหญ่ในสภา ส่วนใหญ่มาจากพรรคพลังประชาชน แต่ก็ต้องพึ่งพิงพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคซึ่งกำลังถูกกดดันอยู่ในปัจจุบัน หากพรรคเหล่านี้ถอนการสนับสนุน ก็จะส่งผลให้นายกฯ สมัครและรัฐบาลถูกโดดเดี่ยว และเสี่ยงที่จะถูกอภิปรายไว้วางใจในสภา และทำให้รัฐบาลล่ม จนเกิดการเลือกตั้งครั้งใหม่ขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้มองกันว่าน่าจะเกิดยาก เพราะนักการเมืองและพรรคการเมืองส่วนใหญ่ล้วนแต่ไม่มีเงินพอที่จะไปเลือกตั้งกันใหม่

 

ปัจจัยที่สี่ในกรณีเกิดการปฎิวัติยึดอำนาจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีหากกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ขยายตัวใหญ่โตและบานปลายไปสู่ความรุนแรง ก็จะเกิดแรงกดดันให้กองทัพต้องนำกำลังทหารสนับสนุนตำรวจ เข้ามาควบคุมความสงบในบนท้องถนน และอาจกลายเป็นเหตุข้ออ้างให้กองทัพกระทำปฎิบัติเหมือนหลายครั้งในอดีต ซึ่งวิธีนี้กองทัพดูเหมือนจะไม่ค่อยอยากจะเกี่ยวข้อง เพราะเคยมีบทเรียนการปฎิวัติโค่นล้มรัฐบาลทักษิณที่ล้มเหลวมาแล้ว นอกจากนี้ ยังถูกนานาชาติรุมโจมตีมาแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์สระบุว่า สำหรับรัฐธรรมนูญปี 2550 ยังได้เปิดอำนาจให้กองทัพสามารถเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง ภายใต้กฎหมายความมั่นคงฉุนเฉินภายในด้วย

 

ที่มา : มติชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท