ซวา มาลี : รายงาน
เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ประเมินความเสียหายเบื้องต้นหลังแม่น้ำกลับสู่ภาวะปกติ มีมูลค่ากว่า 85 ล้านบาท จาก 38 หมู่บ้าน โดยสาเหตุหลักของน้ำท่วมปีนี้ชาวบ้านยืนยันตรงกันว่า มาจากการเปิดเขื่อนของจีน
วิกฤติน้ำท่วม ส.ค. 2551 น่าจะเป็นบทเรียนที่ชัดเจนได้แล้วว่า การจัดการน้ำข้ามพรมแดนในระยะยาวของสายน้ำโขงน่าจะเกิดการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาและเป็นมิตร ทั้งในระดับนโยบายและประชาชน เพื่อจะเรียนรู้การอยู่ร่วมแม่น้ำเดียวกันอย่างสันติ ซึ่งหากยังไม่มีการเคารพซึ่งกันและกันว่า ประชาชนของประเทศท้ายน้ำและต้นน้ำเป็นคนร่วมชะตากรรมสายน้ำเดียวกันแล้ว ใครเลยจะคิดว่านี่เป็นวิกฤติน้ำท่วมครั้งสุดท้ายในแม่น้ำโขง!? |
จากสถานการณ์น้ำท่วมเชียงแสน เชียงของ เวียงแก่น จ.เชียงราย ในวันที่ 10 - 11 ส.ค. 2551 ที่ผ่านมา และในขณะนี้ยังท่วมหนักใน จ.นครพนมและมุกดาหาร ภาคอีสาน ได้ทิ้งตะกอนและร่องรอยความเสียต่อพื้นที่เกษตร บ้านเรือน ถนนและตลิ่งริมฝั่งโขงในพื้นที่ จ.เชียงราย โดยเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ประเมินความเสียหายเบื้องต้นหลังแม่น้ำกลับสู่ภาวะปกติ มีมูลค่ากว่า 85 ล้านบาท จาก 38 หมู่บ้าน โดยสาเหตุหลักของน้ำท่วมปีนี้ชาวบ้านยืนยันตรงกันว่า มาจากการเปิดเขื่อนของจีน
นาย
ส่วนในพื้นที่ ต.ริมโขง อ.เชียงของ แม้จะมีคอนผีหลงเป็นผาหินป้องกันน้ำท่วมไว้ แต่ก็ยังได้รับผลจากน้ำท่วมครั้งนี้ โดยหมู่บ้านที่ประสบภัยครั้งนี้ประกอบด้วย บ้านหาดทรายทอง หาดบ้าย ดอนที่ ผากุ๊บ เมืองกาญจน์ ใหม่เจริญ ส่วนบ้านเรือนเสียหาย 17 หลังคาเรือน พื้นที่เกษตรที่เสียหายมากที่สุดคือบ้านหาดบ้าย หาดทรายทอง พื้นที่นาข้าวเสียหาย1,006 ไร่ ข้าวโพด 1,421 ไร่ ขิง
นายจันดี สายใจ ชาวบ้านบ้านผากุ๊บ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กล่าวว่า "วันที่ 12 ส.ค. ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นประมาณชั่วโมงละ 1 ฝามือ จนถึงเที่ยงวันที่ 13 ส.ค. อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำจะสูงและรวดเร็วมาก จนชาวบ้านเกิดความตื่นตะหนก ต้องย้ายข้าวของเครื่องใช้ขึ้นสู่ที่สูงและขนย้ายไปไว้บ้านเพื่อนบ้านที่ระดับน้ำไม่สามารถท่วมถึงได้ จนถึงวันที่ 14 ส.ค. ที่ระดับน้ำเริ่มลดลง" นายจันดีเล่าด้วยสีหน้าแสดงความหวาดกลัว โดยยังยืนยันชัดเจนว่า "เป็นผลมาจากทางตอนเหนือ คือประเทศจีนได้ปล่อยน้ำลงมาทางลุ่มของแม่น้ำ เพราะตามปรกติแล้วระดับน้ำของแม่น้ำโขงจะค่อยๆ สูงขึ้น แต่ในปีนี้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเร็วมากคืนละประมาณ
สำหรับพื้นที่ตำบลเวียง อ.เชียงของ มีพื้นที่ประสบภัย 4 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยเม็ง หัวเวียง หาดไคร้ และดอนมหาวัน โดยผลกระทบไม่มากนักเหมือนในพื้นที่ ต.ศรีดอนชัย ซึ่งนับเป็นพื้นที่วิกฤติน้ำท่วมสูงสุดในรอบสี่สิบปี คือในปีน้ำท่วม 2509 เป็นปีน้ำท่วมใหญ่สุด ปี 2514 เป็นปีที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งล่าสุด ทว่าผลเสียหายไม่เท่ากับในปีนี้ โดยพื้นที่ประสบภัยประกอบด้วย บ้านปากอิงเหนือ ปากอิงใต้ ทุ่งซาง ดงหลวง ท่าเจริญ ศรีดอนชัย ม.14 ม.15 บ้านศรีชัยมงคล12 บ้านศรีมงคล หมู่ 7 และบ้านร่องห้า นอกจากนี้ยังกระทบต่อบางส่วนของ ต.สถาน และ ต.ครึ่ง คือ บ้านเต๋น ทุ่งอ่าง บ้านตอง หมู่ 6, 9 ม่วงชุม และบ้านศรีลานนา นับพื้นที่เกษตรเสียหายรวมกว่า 10,000ไร่ บ่อปลาบ่อกบสูญปลาไปกว่า 180 บ่อ บ้านเรือนที่ได้ผลกระทบ 413 หลังคา ตลิ่งริมฝั่งโขงสูญเสียที่ดินกว่า 2 จุดใหญ่ ที่บ้านปากอิงใต้
นาย
นายเกรียงไกรซึ่งเป็นลูกแม่น้ำอิงคนหนึ่งยังเล่าย้อนอดีตถึงสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2509 จากที่ฟังคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มาว่า "น้ำจะค่อย ๆขึ้น และค่อย ๆลด อย่างในปี 2509 น้ำได้เริมเอ่อท่วมในวันที่ 3-4 สิงหาคม ชาวบ้านได้เก็บข้าวของย้ายหนีในวันที่ 5-6 ส.ค. น้ำท่วมสูงสุดในช่วง 10-13 ส.ค. และระดับน้ำทรงตัวแล้วค่อย ๆ ลด และมาแห้งในเดือนกันยายน"
นายเกรียงไกร ย้ำว่าจากการเฝ้าสังเกตติดตามสถานการณ์น้ำโขงมาหลายปี เหตุน้ำท่วมครั้งนี้มาจากตอนบนของแม่น้ำโขงคือประเทศจีนได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนสู่ทางลุ่มของแม่น้ำซึ่งจะสังเกตได้จากการลดและเพิ่มของแม่น้ำโขง ปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนในพื้นที่ อ.เวียงแก่น มีพื้นที่ประสบภัยครั้งนี้ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยเอียน บ้านแจ๋มป๋อง ใน ต. หล่ายงาว บ้านห้วยลึก บ้านยายใต้ บ้านยายเหนือ บ้านม่วง ใน ต.ม่วงยาย โดยพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า
ทั้งนี้ยังไม่นับรวมผลเสียหายที่เกิดในฝั่งเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ซึ่งมีรายงานจากชาวลาวว่า ตลิ่งพังอย่างน้อย 3 บ้าน กินพื้นที่ลึกเข้าฝั่งไปประมาณ
"เราคงจะไปบอกให้ประเทศจีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนก็คงจะไม่ได้ เพราะบ้านเมืองของเขา คงจะท่วมเหมือนกัน แต่อยากให้ทางเหนือเมื่อต้องการปล่อยน้ำลงทางลุ่มก็ขอให้มีการแจ้งเตือน บอกกล่าวก่อนและน่าจะค่อยๆ ปล่อยน้ำ จะได้ไม่ส่งผลกระทบถึงขนาดนี้" นายนายจันดี สายใจ ชาวบ้านบ้านผากุ๊บ กล่าวขอร้องด้วยน้ำเสียงเศร้าและดวงตาปวดร้าว
สำหรับแผนการในระยะยาวของการแก้ไขปัญหานี้ นายจีระศักดิ์ อินทะยศ กล่าวตรงกันกับชาวบ้านผู้ประสบภัยว่า "ทางกลุ่มฯ ได้มีการพูดถึงการเรียกร้องความเสียหายจากรัฐบาลจีน จะต้องช่วยกันพูดคุยให้ทางบนของแม่น้ำโขงควบคุมน้ำให้มีความเป็นธรรมต่อคนท้ายน้ำ ไม่ว่าทั้งในหน้าแล้งและหน้าฝน รวมทั้งมีการพูดคุยเรื่องสภาประชาชนแม่น้ำโขงที่เป็นตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง ไม่ว่าเรื่องเขื่อนและการระเบิดแก่ง"
วิกฤติน้ำท่วม ส.ค. 2551 น่าจะเป็นบทเรียนที่ชัดเจนได้แล้วว่า การจัดการน้ำข้ามพรมแดนในระยะยาวของสายน้ำโขงน่าจะเกิดการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาและเป็นมิตร ทั้งในระดับนโยบายและประชาชน เพื่อจะเรียนรู้การอยู่ร่วมแม่น้ำเดียวกันอย่างสันติ ซึ่งหากยังไม่มีการเคารพซึ่งกันและกันว่า ประชาชนของประเทศท้ายน้ำและต้นน้ำเป็นคนร่วมชะตากรรมสายน้ำเดียวกันแล้ว ใครเลยจะคิดว่านี่เป็นวิกฤติน้ำท่วมครั้งสุดท้ายในแม่น้ำโขง!?
ที่มา: www.mekonglover.com