Skip to main content
sharethis

19 ส.ค. 51 - นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  เปิดเผยว่า การฟ้องร้องกรณีทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียรวมสมุทรปราการมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาทที่ยังอยู่ในขั้นตอนทางกฎหมาย ประกอบด้วยคดีแพ่งเป็นคดีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายระหว่าง คพ. กับกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้า (NVPSKG) ซึ่งศาลชั้นต้นยกฟ้อง จากนั้น คพ.ได้อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีความเห็นยืนตามศาลชั้นต้น และศาลฎีกาตามลำดับ


 


แต่เนื่องจากผู้พิพากษาต้องการให้นำเข้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการ และขณะเดียวกันฝ่ายกิจการร่วมค้าฯ ก็ยื่นเป็นผู้เรียกร้องภายใต้อนุญาโตตุลาการกับ คพ. และยังอยู่ ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งได้มีการสืบพยานฝ่ายผู้เรียกร้อง และผู้คัดค้านแล้ว


 


ส่วนคดีอาญาซึ่ง คพ. ฟ้องร้องจำเลย 19 รายเกี่ยวกับการช่อโกงที่ดิน และเรื่องของสัญญา เนื่องจากมีการถอนตัวของบริษัทในต่างประเทศของกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ก่อนที่จะมาเซ็นสัญญา จึงมายื่นว่าสัญญาเป็นโมฆะ สถานภาพ ขณะนี้ได้สืบพยานฝ่ายโจทก์เสร็จแล้ว และกำลังสืบพยานจำเลยได้ 2-3 ปากทั้งนี้จะสืบพยานทุกวันพฤหัสรวม 50 นัด คาดว่าจะเสร็จสิ้นอีก 7-8 เดือนข้างหน้า


 


ส่วนคดีอาญา ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คือการทุจริตคดีที่ดิน ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาตัดสินนายวัฒนา อัศวเหม ให้จำคุก 10 ปีเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา และขณะนี้ยังเหลือคดีฉ้อโกงโครงการ ที่มีนักการเมืองที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นโครงการนี้หลายคน


 


นายสุพัฒน์ กล่าวอีกว่า  ส่วนโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 98% ขณะนี้ทาง ทส.ได้มีการตั้งคณะ กรรมการพิจารณาแก้ไขโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปรา การ ที่มีนายพุทธิศักดิ์  นามเดช  ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นประธาน พร้อมกับตั้งคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุดประกอบด้วยคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย  ด้านสังคม จะไปรับฟังความเห็นประ ชาชนทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง


 


อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ ทางกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอเจรจากับทาง คพ.มาแล้วใน 2  ประเด็นโดยมีเรื่องการขอเงินค่าดำเนินการที่ยังติดค้างอีก 8% เพราะเขาอ้างว่าได้สร้างให้แล้วเสร็จแล้ว ซึ่งเขาอยากให้รัฐจ่ายเงินในส่วนที่เหลือ


 


นอกจากนี้ยังยื่นเสนอว่าถ้าจะนำระบบกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ก็ขอให้กลุ่มกิจการร่วมค้าเข้ามาสานต่อหรือให้บริษัทอื่นๆก็ได้ แต่เนื่องจากกรณีนี้ทางอัยการเคยให้ความเห็นไว้ว่าในการเจรจาอะไรก็ตาม ต้องเป็นนโยบายของรัฐ และต้องให้รัฐตัดสิน ดังนั้นภายในสัปดาห์หน้า ทางคพ.จะสรุปเรื่องดังกล่าวเสนอให้กับรัฐบาลพิจารณา


 


 "ประเด็นที่กลุ่มกิจการร่วมค้าเสนอเจรจามาครั้งนี้ทาง คพ.เห็นว่าจำเป็นจะต้องตั้งคณะ กรรมการอีก 1 ชุดขึ้นมาพิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อคดีความหรือไม่  ถ้าหากไปตกลงกับกิจการร่วมค้า เนื่องจาก คพ.ไม่ได้มีความเชียวชาญเรื่องนี้  โดยจะเชิญให้อัยการ มาให้ความเห็นด้วย เนื่องจากไม่ว่าข้อสรุปทางกฎหมายจะออกอย่างไร ทั้งแพ้หรือชนะคดีฟ้องร้อง ก็ชัดเจนว่าตัวทรัพย์สินคือตัวโครงการก็ต้องตกเป็นของแผ่นดิน จึงต้องเตรียมหาทางบริหารพื้นที่ต่อไป ดังนั้นถ้าจะใช้ประโยชน์ในโครงการต่อไปอย่างไรนั้น และต้องถามคนในพื้นที่ และหลายฝ่ายว่าจะใช้ประโยชน์ตรงนี้อย่างไรต่อไป" นายสุพัฒน์ กล่าวและว่า


 


ส่วนทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ มี 2 ความเห็นคือชาวบ้านเสนอให้ทำศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเสนอให้ปรับปรุงระบบเพื่อรองรับน้ำเสียในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เนื่องจากอยู่บนหลักการที่ว่าปัจจุบันเรามีระบบที่เสร็จแล้ว 98% ถ้าจะมานับหนึ่งใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่หาพื้นที่ ออกแบบอาจต้องใช้เวลาราว 5-6 ปี แต่ถ้านำสิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมและคาดว่าต้องลงทุนอีก 3000-4000 ล้านบาท


 


เนื่องจากต้องเชื่อมต่อท่อ 1.2กม. และปรับปรุงระบบที่เสียหายหลังจากหยุดก่อสร้าง รวมทั้งระบบป้องกันกลิ่น  และสร้างการระบายน้ำทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่  อย่างไรก็ตาม หลังจากหยุดมา 2 ปีต้องมีค่าเสียกายเฉลี่ยราว 1000 ล้านบาทต่อปี  และถ้าดำเนินโครงการได้ก็จะช่วยแก้ปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาเน่า เสีย ส่วนหนึ่งมาจากสมุทรปราการ  กทม. ปทุมธานี และนนทบุรี แต่ขณะที่กทม. มีน้ำเสียเฉลี่ย  2.5 ล้านลบ.ม. และบ่อบำบัดน้ำเสียที่เสร็จแล้ว 7 แห่งบำบัดได้ 1 ล้านลบ.ม.และเหลืออีก 1.5 ล้านและมีแผนอีก 3 ระบบฝั่งธน บางซื่อนคลองเตแยะถ้าเสร็จจะบำบัดได้ 1 ล้าน แต่ขณะที่สมุทรปราการยังไม่มีอยู่เลย ถ้าจะแก้ทำแค่ กทม.ไม่พอแต่ต้องทำทั้งหมด


 


ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net