Skip to main content
sharethis


จากกรณีกรมชลประทาน เร่งผลัดดันโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง ในพื้นที่ ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม พร้อมรื้อย้ายฝายเก่า 3 แห่ง คือ ฝายท่าศาลา ฝายหนองผึ้ง และฝายท่าวังตาล ซึ่งโครงการใช้เงินงบประมาณของโครงการกว่า 464 ล้านบาท และคาดว่าจะมีความสามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน


 


ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยสมัชชาเหมืองฝายลุ่มน้ำภาคเหนือตอนบน ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ชมรมเพื่อดอยสุเทพ สถาบันสิทธิชุมชน ประชาคมหนองผึ้ง กลุ่มรักษ์ล้านนา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคเหนือ) ชุมชนคนรักษ์ป่า ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและเกษตรยั่งยืนล้านนา ชมรมจักรยานวันอาทิตย์ ชมรมนักเขียนเชียงใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ "คัดค้านโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง พร้อมรื้อย้ายฝายเก่า 3 แห่ง จ.เชียงใหม่ ไม่ยอมรับผลจากเวทีประชาคมเพราะเป็นการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว เสนอให้มีเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยมีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน"


 


โดยแถลงการณ์ระบุว่า กลุ่มภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป เกษตรกรผู้ใช้น้ำ องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการ เห็นว่าการดำเนินโครงการฯ ไม่โปร่งใส มีการให้ข้อมูลด้านเดียว เป็นการสร้างความชอบธรรมในการดำเนินโครงการฯ อีกทั้งยังไม่มีกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพ (HIA) และไม่มีการพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่โดยทุกภาคส่วน


 


อีกทั้ง ฝายหินทิ้งไม่ใช่สาเหตุของน้ำท่วมเชียงใหม่ เพราะสันฝายอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำปิงและน้ำสามารถไหลผ่านตัวฝายไปได้ เช่นเดียวกับประตูระบายน้ำที่เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ จริงๆ แล้วการรื้อฝาย และสร้างประตูระบายน้ำเป็นเรื่องทางการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวทางน้ำ และการดำเนินโครงการฯ เป็นการละเมิดสิทธิชมชุม ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ ทั้งทางศาลรัฐธรรมนูญและศาลแพ่ง


 


ทั้งนี้ ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีข้อเสนอต่อจังหวัดเชียงใหม่ ูญมาตรนจังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการตามกฎหมาน  ดังนี้ เช่น      และกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ คือ 1.ให้มีเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ 2.ให้มีการศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพ (HIA) 3.ให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่อย่างแท้จริง 4.ให้มีกลไกที่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน


 


แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า หากกรมชลประทาน ยังดำเนินโครงการฯ ต่อไป หรือกรณีพบว่ามีการกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฝายเก่า 3 แห่ง ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้มีการระงับการดำเนินโครงการฯ เนื่องจากการดำเนินโครงการฯมีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550 มาตรา 57 มาตรา 66 มาตร 67 และฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเรียงเงินค่าเสียหายกรณีพบว่ามีการกระทำการใดๆที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฝายเก่า 3 แห่ง เป็นจำนวนเงิน 900 ล้านบาท


 


 


 


 


 


 


แถลงการณ์


 


คัดค้านโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง พร้อมรื้อย้ายฝายเก่า ๓ แห่ง จ.เชียงใหม่


ไม่ยอมรับผลจากเวทีประชาคมเพราะเป็นการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว


เสนอให้มีเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยมีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน


 


จากที่กรมชลประทาน ได้พยายามเร่งผลัดดันโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง พร้อมรื้อย้ายฝายเก่า ๓ แห่ง จ.เชียงใหม่ (ปตร. )โดยให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนนั้น กลุ่มภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป เกษตรกรผู้ใช้น้ำ องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการ เห็นว่าการดำเนินโครงการฯไม่โปร่งใส มีการให้ข้อมูลด้านเดียว เป็นการสร้างความชอบธรรมในการดำเนินโครงการฯ อีกทั้งยังไม่มีกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพ (HIA) และไม่มีการพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่โดยทุกภาคส่วน


 


เป็นที่ทราบกันดีว่า ฝายหินทิ้งไม่ใช่สาเหตุของน้ำท่วมเชียงใหม่ เพราะสันฝายอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำปิงและน้ำสามารถไหลผ่านตัวฝายไปได้ เช่นเดียวกับประตูระบายน้ำที่เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ จริงๆ แล้วการรื้อฝาย และสร้างประตูระบายน้ำเป็นเรื่องทางการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวทางน้ำ และเงินงบประมาณของโครงการกว่า ๔๖๔ ล้านบาท


 


อีกทั้งการดำเนินโครงการฯเป็นการละเมิดสิทธิชมชุม ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ ทั้งทางศาลรัฐธรรมนูญและศาลแพ่ง


 


กลุ่มภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่จึงขอคัดค้านและขอให้หยุดการดำเนินโครงการ โดยไม่ยอมรับผลจากเวทีประชาคม และการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้


 


๑.  การดำเนินโครงการฯ ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง เหตุผลจากหน่วยราชการ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต " เพราะโครงการฯมีการเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล็อปเม็นต์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือน พ.ย. ๒๕๔๙ ดังนั้นการพาสื่อมวลชนและประชาชนไปศึกษาดูงานโครงการประตูระบายน้ำที่จังหวัดชัยนาท การจัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดและสร้างความเข้าใจกับชาวเชียงใหม่ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว โดยสำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๗ ครั้ง ในช่วงกลางปี ๒๕๕๑ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการเซ็นสัญญาเกือบ ๒ ปีนั้น ทำให้เชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาเพื่อรับฟังคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา หากแต่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับโครงการเท่านั้น


 


๒. การดำเนินโครงการฯผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ "บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน" ซึ่งการดำเนินโครงการฯเสมือนเป็นการยึดอำนาจการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่อยู่บนพื้นฐานชีวิตของชาวบ้านที่ส่งผลกระทบโดยตรงและรุนแรงต่อระบบการจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน เพราะการเปิดปิดประตูจะต้องขึ้นอยู่กับกรมชลประทานเท่านั้น อีกทั้งการรื้อทิ้งฝายเก่าทั้ง ๓ แห่งที่ทำหน้าที่จัดสรรปันน้ำให้เกษตรกรทั้งเชียงใหม่และลำพูนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมเวลากว่า ๑๐๐ ปี ยังเป็นการทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจิตวิญญาณของชาวล้านนา


 


๓. การดำเนินโครงการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ "การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว" เพราะการดำเนินโครงการฯ ไม่มีการศึกษาและประเมินผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA)และสุขภาพ(HIA) ตลอดจนไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด


 


๔. โครงการสร้างประตูระบายน้ำ และรื้อฝายเก่าทั้ง ๓ แห่ง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ฝายเก่า ๓ แห่งไม่ใช้สาเหตุของน้ำท่วมเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการสิทธิฯได้ให้จังหวัดเชียงใหม่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ และแก้ไขการถูกบุกรุกลำน้ำ รวมถึงพิจารณาทางเลือกอื่นๆ โดยไม่ต้องรื้อฝายเก่าทั้ง ๓ แห่ง และให้กรมชลประทานยกเลิกสัญญาก่อสร้างกับบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล็อปเม็นต์ จำกัด (มหาชน)


ถ้ากรมชลประทาน ยังดำเนินโครงการฯ ต่อไป หรือกรณีพบว่ามีการกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฝายเก่า ๓ แห่ง ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการตามกฎหมาย ดังนี้


 


๑.   ฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้มีการระงับการดำเนินโครงการฯ เนื่องจากการดำเนินโครงการฯมีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ , มาตรา ๖๖ , มาตร ๖๗



๒.   ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเรียงเงินค่าเสียหายกรณีพบว่ามีการกระทำการใดๆที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฝายเก่า ๓ แห่ง เป็นจำนวนเงิน ๙๐๐ ล้านบาท ดังรายการต่อไปนี้


๒.๑ ค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงงานในการก่อสร้าง เป็นเงินจำนวน ๑๐๐ ล้านบาท


๒.๒ ค่าภูมิปัญญา ๓๐๐ ล้านบาท


๒.๓ เสียโอกาสในการผลิตพืชผลทางการเกษตร และทำลายความมั่งคงทางอาหาร ๑๐๐ ล้านบาท


๒.๔ ทำลายภูมิทัศน์ลำน้ำปิง ๒๐๐ ล้านบาท


๒๕ ลายความหลากหลายทางชีวภาพ ๒๐๐ ล้านบ้าน


 


ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีข้อเสนอต่อจังหวัดเชียงใหม่ ูญมาตรนจังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการตามกฎหมาน  ดังนี้ เช่น      และกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ดังนี้


 


๑.      ให้มีเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่


๒.      ให้มีการศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพ (HIA)


๓.      ให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่อย่างแท้จริง


๔.     ให้มีกลไกที่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน


 


ขอแสดงความนับถือ


สมัชชาเหมืองฝายลุ่มน้ำภาคเหนือตอนบน


ภาคีคนฮักเจียงใหม่


ชมรมเพื่อดอยสุเทพ


สถาบันเพื่อสิทธิชุมชน


ประชาคมหนองผึ้ง


กลุ่มรักษ์ล้านนา


คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคเหนือ )


ชุมชนคนรักษ์ป่า


ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและเกษตรยั่งยืนล้านนา


ชมรมจักรยานวันอาทิตย์


ชมรมนักเขียนเชียงใหม่


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net