Skip to main content
sharethis


เปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับร้อนที่กำลังเป็นข้อถกเถียงของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) ซึ่งทำการรวบรวมรายชื่อประชาชนซึ่ง คปพร.ระบุว่ามีกว่าสองแสนรายชื่อเมื่อเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2551 เพื่อประกอบในการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ตามมาตรา291 (1) ต่อประธานรัฐสภา โดยล่าสุด นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้บรรจุญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามร่าง คปพร.แล้ว และทันทีที่สภาผู้แทนราษฎร รับทราบการแถลงนโยบายรัฐบาลในวัน 7-9 ต.ค.แล้ว สัปดาห์ต่อไป (15 ต.ค.) สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาได้ตามวาระเร่งด่วน สำหรับเขาถือว่าทำตามหน้าที่แล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ที่ประชุมสภา จะรับร่างหรือไม่

 


ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกมาคัดค้านพร้อมระบุว่าเป็นความไม่จริงใจในการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล เนื่องจากร่างดังกล่าวยกฉบับปี 40 มาทั้งฉบับ ไม่มีมาตรา 237 เกี่ยวกับคดียุบพรรค และมาตรา309 เรื่องการเอาผิดคดีทุจริตของอดีตผู้นำ


 


ทั้งนี้ คปพร. เป็นการรวมตัวกันของ 35 องค์กร นำโดย นพ.เหวง โตจิราการ, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เก่า ซึ่งนำเสนอวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาเป็นหลัก


 


จุดยืนของ คปพร.ต่อการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เคยแถลงเอาไว้ว่า 1. รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลผลิตของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คมช.คือ ผู้กำหนดและบงการ ส.ส.ร.50 จึงเป็นรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ การลงประชามติยังทำภายใต้กฎอัยการศึกและบรรยากาศทางการเมืองแบบเผด็จการและเป็นไปในเชิงบังคับ 2.รัฐธรรมนูญ 2550 มีเนื้อหาเผด็จการตัดตอนประชาธิปไตย ควบคุมระบบรัฐสภาทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ลดทอนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย เช่น ระบบเลือกตั้ง 1 เขต 3 เบอร์และการแบ่งพื้นที่สัดส่วน 8 ส่วน รวมทั้งการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก 74 คน และการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก จังหวัดละ 1 คน เนื้อหาของรัฐธรรมนูญเหล่านี้เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 3.คปพร.ขอเรียกร้องต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยการนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้ เพราะเป็นการทวงคืนประชาธิปไตย จึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับตัดแปะ คปพร.ยังเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการจัดตั้ง ส.ส.ร.3 และการลงประชามติด้วย


 


 


0000


 


 


ร่าง


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่..)


พุทธศักราช....


 



 


……………………………


……………………………


……………………………


                   ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


                   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


                   ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


                         มาตรา               รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า  "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่..)  พุทธศักราช...."


                         มาตรา              รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


                         มาตรา              ให้ยกเลิกความในมาตรา    ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


                         "มาตรา               ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด  เพศ  หรือศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน


                         ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  ประชาชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาต่างๆ  อย่างเท่าเทียมกัน"


                         มาตรา              ให้ยกเลิกหมวด    ถึงหมวด  ๑๕  มาตรา  ๒๖  ถึง  มาตรา  ๒๙๑  และบทเฉพาะกาล  มาตรา  ๒๙๒  ถึง  มาตรา  ๓๐๙  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


 


"หมวด  


สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย


 



 


                   มาตรา    ๒๖     การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร  ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ  และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                   มาตรา  ๒๗   สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง  โดยปริยาย  หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครอง และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี  ศาล  และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย  การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง


                         มาตรา    ๒๘     บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน


                   บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้


                         มาตรา    ๒๙     การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้


                         กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง  ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย


                         บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย  โดยอนุโลม


                   มาตรา    ๓๐      บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน


                         ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน


                   การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง  ถิ่นกำเนิด  เชื้อชาติ  ภาษา  เพศ  อายุ  สภาพทางกายหรือสุขภาพ  สถานะของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษาอบรม  หรือความคิดเห็นทางการเมือง  อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  จะกระทำมิได้


                         มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น  ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม


                         มาตรา   ๓๑      บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย


                         การทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม  จะกระทำมิได้  แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ  ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้


                         การจับ  คุมขัง  ตรวจค้นตัวบุคคล  หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิ  และเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  จะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


                         มาตรา    ๓๒     บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา  เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้  และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้


                         มาตรา    ๓๓     ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด


                         ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้


                         มาตรา   ๓๔     สิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว  ย่อมได้รับความคุ้มครอง


                         การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว  จะกระทำมิได้  เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน


                         มาตรา    ๓๕     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน


                         บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข  การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง  หรือการตรวจค้นเคหสถาน  จะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


                         มาตรา    ๓๖      บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร


                         การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ  ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน  การผังเมือง  หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์


                   การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร  หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร  จะกระทำมิได้


                         มาตรา    ๓๗     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย


                         การตรวจ  การกัก  หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน  รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกันจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


                         มาตรา   ๓๘     บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา  นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทางศาสนา  และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน  เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


                   ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง  บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ  อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้เพราะเหตุที่ถือศาสนา  นิกายของศาสนา  ลัทธินิยมในทางศาสนา  หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ  แตกต่างจากบุคคลอื่น


                   มาตรา  ๓๙    บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด  การเขียน  การพิมพ์  การโฆษณา  และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น


                         การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  เพื่อคุ้มครองสิทธิ  เสรีภาพ  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน


                         การสั่งปิดโรงพิมพ์  สถานีวิทยุกระจายเสียง  หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์  เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้  จะกระทำมิได้


                         การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์  สิ่งพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  หรือวิทยุโทรทัศน์  จะกระทำมิได้  เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ  แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามความในวรรคสอง


                         เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชนรัฐจะกระทำมิได้


                         มาตรา   ๔๐      คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และวิทยุโทรคมนาคม  เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ


                         ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง  และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น  ทั้งในด้านการศึกษา  วัฒนธรรม  ความมั่นคงของรัฐ  และประโยชน์สาธารณะอื่น  รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม


                   มาตรา  ๔๑     พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  หรือวิทยุโทรทัศน์  ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ  โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือเจ้าของกิจการนั้น  แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ


                         ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์  ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง


                         มาตรา   ๔๒     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ


                         การศึกษาอบรม  การเรียนการสอน  การวิจัย  และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ  ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


                         มาตรา    ๔๓     บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย


                         การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ  ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๔๔     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ


                         การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ  และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก


                   มาตรา  ๔๕    บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม  สหภาพ  สหพันธ์  สหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร  องค์การเอกชน  หรือหมู่คณะอื่น


                         การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ


                         มาตรา    ๔๖       บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ  และมีส่วนร่วมในการจัดการ  การบำรุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๔๗     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น  ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้


                         การจัดองค์กรภายใน  การดำเนินกิจการ  และข้อบังคับของพรรคการเมือง  ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


                         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง  กรรมการบริหารของพรรคการเมือง  หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้  หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย


                         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป


                   มาตรา  ๔๘    สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง  ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้  ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง  สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๔๙      การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค  การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ  การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  การผังเมือง  การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาการเกษตร  หรือการอุตสาหกรรม  การปฏิรูปที่ดิน  หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น  และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่ง  ต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ  การได้มา  สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน


                                      กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง  ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว  ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท


                   การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสาม  และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๕๐      บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม


                         การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ  การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค  การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  การจัดระเบียบ  การประกอบอาชีพ  การคุ้มครองผู้บริโภค  การผังเมือง  การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม  สวัสดิภาพของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันการผูกขาด  หรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน


                         มาตรา    ๕๑      การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน  หรือโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ  หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก


                         มาตรา    ๕๒      บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้


                         การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย  รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๕๓       เด็ก  เยาวชน  และบุคคลในครอบครัว  มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม


                         เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล  มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา   ๕๔     บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๕๕     บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ  มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๕๖     สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา  และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  และในการคุ้มครอง  ส่งเสริม  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง  ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย  สวัสดิภาพ  หรือคุณภาพชีวิตของตน  ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้  เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม  ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ราชการส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรอื่นของรัฐ  เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  ย่อมได้รับความคุ้มครอง


                         มาตรา    ๕๗     สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย  กฎ  และข้อบังคับ  และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค


                         มาตรา    ๕๘       บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของประชาชน  หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๕๙      บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล  คำชี้แจง  และเหตุผล  จากหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนิน  โครงการ  หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  สุขภาพอนามัย  คุณภาพชีวิต  หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น  และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้  ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๖๐      บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๖๑      บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๖๒     สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ราชการส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรอื่นของรัฐ  ที่เป็นนิติบุคคล  ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น  ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๖๓      บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้  หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  มิได้


                                      ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง  ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว  แต่ทั้งนี้  ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว


                         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง  ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้


                         มาตรา    ๖๔      บุคคลผู้เป็นทหาร  ตำรวจ  ข้าราชการ  เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  พนักงานส่วนท้องถิ่น  และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ  ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป  เว้นแต่ที่จำกัดในกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง  สมรรถภาพ  วินัย  หรือจรรยาบรรณ


                   มาตรา  ๖๕     บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ  ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้


หมวด  


หน้าที่ของชนชาวไทย


 



 


                         มาตรา   ๖๖      บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา    ๖๗      บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย


                         มาตรา    ๖๘      บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง


                                      บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้ง  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๖๙    บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ  รับราชการทหาร  เสียภาษีอากร  ช่วยเหลือราชการ  รับการศึกษาอบรม  พิทักษ์  ปกป้อง  และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๗๐    บุคคลผู้เป็นข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือของราชการส่วนท้องถิ่น  และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม  อำนวยความสะดวก  และให้บริการแก่ประชาชน


                   ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน  บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง


                         ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งละเลยหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคลตามวรรคหนึ่งหรือผู้บังคับบัญชาของบุคคลดังกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลและขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้


หมวด  


แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ


 



 


                   มาตรา    ๗๑       รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์  เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต


                         มาตรา    ๗๒      รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช  ความมั่นคงของรัฐ  สถาบันพระมหากษัตริย์  ผลประโยชน์แห่งชาติ  และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และเพื่อการพัฒนาประเทศ


                         มาตรา   ๗๓     รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น  ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา  รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต


                                      มาตรา         ๗๔       รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ  และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค


                         มาตรา    ๗๕     รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน  รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน


                         รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                         มาตรา    ๗๖       รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย  การตัดสินใจทางการเมือง  การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง  รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ


                         มาตรา    ๗๗     รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง  จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ข้าราชการ  และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ  เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ  และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่


                         มาตรา    ๗๘     รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง  พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ  รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่  โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น


                   มาตรา  ๗๙    รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน  บำรุงรักษา  และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล  รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม  บำรุงรักษา  และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน  ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย  สวัสดิภาพ  และคุณภาพชีวิตของประชาชน


                         มาตรา    ๘๐        รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย  เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข้มแข็งของชุมชน


                   รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา  ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้


                         มาตรา    ๘๑      รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม  จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ  เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ  พัฒนาวิชาชีพครู  และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ


                         มาตรา    ๘๒     รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง


                         มาตรา   ๘๓     รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม


                   มาตรา  ๘๔    รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม  จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง  และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด  รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร


                         มาตรา    ๘๕       รัฐต้องส่งเสริม  สนับสนุน  และคุ้มครองระบบสหกรณ์


                   มาตรา  ๘๖    รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ  คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง  จัดระบบแรงงานสัมพันธ์  การประกันสังคม  รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม


                   มาตรา  ๘๗    รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด  กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม  คุ้มครองผู้บริโภค  และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม  รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน  เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ  รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค


                         มาตรา    ๘๘      บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน


                         ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา  ๒๑๑  คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้  และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค  เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง


                         มาตรา    ๘๙      เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้  ให้รัฐจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ  ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม


                         แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ  ต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้


                         องค์ประกอบ  ที่มา  อำนาจหน้าที่  และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


หมวด  


รัฐสภา


 



 


ส่วนที่ ๑


บททั่วไป


 



 


                   มาตรา   ๙๐      รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา


                         รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน  ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                   มาตรา  ๙๑    ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา


                   ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร  หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้  ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน


                         ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  และดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ


                         ประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่


                         รองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย


                         มาตรา    ๙๒     ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา


                         มาตรา    ๙๓      ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว  ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้


                         มาตรา    ๙๔      ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา  หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา  รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่  ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว  ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน  ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว


                                      มาตรา         ๙๕        บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้


                                      มาตรา         ๙๖         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๑๑๘  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๑)  หรือ  (๑๒)  หรือมาตรา  ๑๓๓  ()  ()  ()  ()  ()  ()  หรือ  (๑๐)  แล้วแต่กรณี  และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่


                         เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว  ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง


                         มาตรา    ๙๗      การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง  หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง  ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิก  รวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง  หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  แล้วแต่กรณี  เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว


ส่วนที่  


สภาผู้แทนราษฎร


 



 


               มาตรา  ๙๘    สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน  โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา  ๙๙  จำนวนหนึ่งร้อยคน  และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๒  จำนวนสี่ร้อยคน


                   ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด  และยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง  ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่


                                      มาตรา         ๙๙         การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น  โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว  และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง


                         บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง  ให้พรรคการเมืองจัดทำขึ้นพรรคการเมืองละหนึ่งบัญชีไม่เกินบัญชีละหนึ่งร้อยคน  และให้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนวันเปิดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง


                         รายชื่อของบุคคลในบัญชีรายชื่อตามวรรคหนึ่งจะต้อง


                   ()   ประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่างๆ  อย่างเป็นธรรม


                   ()  ไม่ซ้ำกับรายชื่อในบัญชีที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น  และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๒  และ


                   ()  จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข


                         มาตรา    ๑๐๐    บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ  ให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีนั้นได้รับเลือกตั้ง  และมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคสอง


                         วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ  อันจะถือว่าบุคคลซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งตามสัดส่วนที่คำนวณได้  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา


                   ให้ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง  ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีลงไปตามจำนวนสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คำนวณได้สำหรับบัญชีรายชื่อนั้น


                         มาตรา   ๑๐๑    ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๑๙  ()  ในกรณีที่มีเหตุใดๆ  ทำให้ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งร้อยคน  ให้สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่


                         มาตรา    ๑๐๒   การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละหนึ่งคน


                   การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน  ให้คำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง  เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่ร้อยคน


                         จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี  ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนที่คำนวณได้ตามวรรคสองมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น  จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตามวรรคสอง  ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน  จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน  ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน


                         เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตามวรรคสามแล้ว  ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสี่ร้อยคน  จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสามมากที่สุดให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน  และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสามในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวนสี่ร้อยคน


                   มาตรา  ๑๐๓  จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินหนึ่งคน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน  ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน


                         จังหวัดใดมีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งเขต  ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน  และต้องให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน


                         มาตรา   ๑๐๔    ในการเลือกตั้งทั่วไป  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นเพียงบัญชีเดียว  และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน


                         ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งซึ่งว่างลงตามมาตรา  ๑๑๙  ()  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน


                         การเลือกตั้ง  ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ


                         ในแต่ละเขตเลือกตั้ง  ให้ดำเนินการนับคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้งรวมกันและประกาศผลการนับคะแนนโดยเปิดเผย  ทั้งนี้    สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด  เว้นแต่เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเฉพาะท้องที่  คณะกรรมการการเลือกตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้  ทั้งนี้  ตามที่บัญญัติในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา


                                      การนับคะแนนและการประกาศคะแนนที่บัญชีรายชื่อแต่ละบัญชีได้รับในแต่ละเขตเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๓  ให้นำบทบัญญัติวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา    ๑๐๕    บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


                   ()   มีสัญชาติไทย  แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ  ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่    มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง  และ


                   ()   มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง


                         ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๓  ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง  หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร  ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาบัญญัติ


                                      มาตรา      ๑๐๖      บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง  เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คือ


                   ()   วิกลจริต  หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ


                   ()  เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรต  หรือนักบวช


                   ()   ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย


                   ()   อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง


                   มาตรา  ๑๐๗  บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                   ()   มีสัญชาติไทยโดยการเกิด


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง


                   ()  เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน


               () ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้  ด้วย  คือ


                        (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง


                              (ข)  เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง  หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น


                              (ค)   เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง


                        (ง)  เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา


                        (จ) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี


                         มาตรา   ๑๐๘    พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด  จะส่งได้คนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้น


                         มาตรา   ๑๐๙    บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้  เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  คือ


                   ()     ติดยาเสพติดให้โทษ


                   ()     เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี


                   ()    เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาแทนราษฎรตามมาตรา  ๑๐๖  ()  ()  หรือ  (๔)


                   ()     ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล


                   ()     เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท


               ()    เคยถูกไล่ออก  ปลดออก  หรือให้ออกจากราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  เพราะทุจริตต่อหน้าที่  หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ


                   ()    เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน  เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ


                   ()      เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง


                   ()      เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


                   (๑๐)   เป็นสมาชิกวุฒิสภา


                   (๑๑)   เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือของราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ


                         (๑๒)      เป็นกรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลปกครอง  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                   (๑๓)  อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา  ๒๙๕


                   (๑๔)  เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง


                         มาตรา   ๑๑๐    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้อง


                   ()   ไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น  หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ทั้งนี้  นอกจากข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี


               () ไม่รับสัมปทานจากรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน  หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว


                   ()   ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ  จากหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  ปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆ  ในธุรกิจการงานตามปกติ


                         บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับเบี้ยหวัด  บำเหน็จ  บำนาญ  เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์  หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน  และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร  หรือวุฒิสภา  หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน  ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี


                   มาตรา  ๑๑๑   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ  แต่งตั้ง  ย้าย  โอน  เลื่อนตำแหน่ง  และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง  พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง


                   มาตรา  ๑๑๒  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา


                         มาตรา    ๑๑๓    เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม  ให้รัฐสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องดังต่อไปนี้


                         ()       จัดที่ปิดประกาศและที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในสาธารณสถานซึ่งเป็นของรัฐ


                   ()  พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง


                   ()   จัดหาสถานที่หาเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                   ()   จัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ให้แก่พรรคการเมือง


                   ()  กิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด


                         การดำเนินการตาม  (๑)  ()  และ  ()  โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง  พรรคการเมือง  หรือบุคคลอื่นนอกจากรัฐ  จะกระทำมิได้


                         หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการตามมาตรานี้  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  ซึ่งต้องให้โอกาสโดยเท่าเทียมกัน


                         มาตรา    ๑๑๔    อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง


                         มาตรา    ๑๑๕    เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป  ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


                         มาตรา    ๑๑๖    พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่


                         การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา  ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในหกสิบวัน  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


                         การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน


                         มาตรา    ๑๑๗    สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง


                         มาตรา   ๑๑๘    สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง  เมื่อ


                   ()     ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร


                   ()    ตาย


                   ()     ลาออก


                   ()     ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐๗


                   ()     มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๐๙  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๐) (๑๑)  (๑๒)  (๑๓)  หรือ  (๑๔)


                   ()     กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา  ๑๑๐  หรือมาตรา  ๑๑๑


                   ()     ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี


                   ()      ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก  หรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น  ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก  ในกรณีเช่นนี้  ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือพรรคการเมืองมีมติ  เว้นแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติคัดค้านว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา  ๔๗  วรรคสาม  ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมิได้มีลักษณะตามมาตรา  ๔๗  วรรคสาม  ให้ถือว่าสมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา  ๔๗  วรรคสาม  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นอาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


                   ()      ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก  และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง  ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น


                         (๑๐)     วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง  หรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา  ๙๖  ในกรณีเช่นนี้  ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย  แล้วแต่กรณี


               (๑๑) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร


                   (๑๒)  ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


                         การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม  (๗)  ให้มีผลในวันถัดจากวันที่ครบสามสิบวันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง


                         มาตรา    ๑๑๙    เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้


                   ()   ในกรณีที่ตำแหน่งที่ว่างเป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองใดจัดทำขึ้นตามมาตรา  ๙๙  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง  ให้ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน


                   ()  ในกรณีที่ตำแหน่งที่ว่างเป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๒  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง  เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน


                         สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนตาม  (๑)  ให้เริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันที่ผู้เข้ามาแทนนั้นได้รับการประกาศชื่อ  ส่วนสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนตาม  (๒)  ให้เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่


                         มาตรา   ๑๒๐   ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี  และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี  แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง  เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร


                         ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง  ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคนั้น  มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี  เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ในกรณีที่มีเสียงสนับสนุนเท่ากัน  ให้ใช้วิธีจับสลาก


                         ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร


                         ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๕๒  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ในกรณีเช่นนี้พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง


ส่วนที่  


วุฒิสภา


 



 


                   มาตรา    ๑๒๑    วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวนสองร้อยคน


                         ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ  และยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง  ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่


                         มาตรา    ๑๒๒   การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา  ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง


                         การคำนวณเกณฑ์จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี  ให้คำนวณตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๐๒  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่  โดยอนุโลม


                         มาตรา   ๑๒๓   ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา  มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน


                         การเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ


                   ในกรณีที่จังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่าหนึ่งคน  ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น  เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา


                   มาตรา  ๑๒๔  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๐๕  และมาตรา  ๑๐๖  มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย  โดยอนุโลม


                   มาตรา  ๑๒๕  บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา


                   ()   มีสัญชาติไทยโดยการเกิด


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง


                   ()  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า


                   ()  มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา  ๑๐๗  ()


                         มาตรา   ๑๒๖   บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้  เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา


                   ()   เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง


                   ()  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง


                   ()   เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง


                   ()   เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๙  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๑)  (๑๒)  (๑๓)  หรือ  (๑๔)


                         มาตรา   ๑๒๗   สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้


                         บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี  เว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๑๓๓  ()  จะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้


                   มาตรา  ๑๒๘  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๑๐  และมาตรา  ๑๑๑  มาใช้บังคับกับการกระทำอันต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภาด้วย  โดยอนุโลม


                   มาตรา  ๑๒๙  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา


                   เพื่อประโยชน์ในการแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยเท่าเทียมกัน  ให้รัฐดำเนินการดังต่อไปนี้


                   ()   จัดให้มีการปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                   ()  พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง


                   ()  จัดหาสถานที่  และจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  เพื่อแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                   ()   กิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด


                         หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคสอง  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา


                         การแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือบุคคลอื่นจะกระทำได้เฉพาะเท่าที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น


                         มาตรา    ๑๓๐    อายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้ง


                                      มาตรา      ๑๓๑      เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป  ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง  และวันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


                         เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา  ๑๖๘  ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง  ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่


                         มาตรา   ๑๓๒   สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง


                         มาตรา   ๑๓๓   สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ


                   ()      ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา


                   ()     ตาย


                   ()     ลาออก


                   ()     ขาดคุณสมบัติตามมาตรา  ๑๒๕


                   ()    มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๒๖


                   ()      มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๒๗


                   ()    กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา  ๑๒๘


                         ()          วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง  หรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา  ๙๖  ในกรณีเช่นนี้  ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แล้วแต่กรณี


               ()    ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน  โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา


                   (๑๐)   ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


                         มาตรา    ๑๓๔   เมื่อตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง  เว้นแต่อายุของวุฒิสภาจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน


                         สมาชิกวุฒิสภาผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่


                         มาตรา   ๑๓๕   ในการพิจารณาเลือก  แต่งตั้ง  ให้คำแนะนำ  หรือให้ความเห็นชอบ  ให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา  ๑๓๘  มาตรา  ๑๔๓  มาตรา  ๑๙๖  มาตรา  ๑๙๙  มาตรา  ๒๕๗  มาตรา  ๒๖๑ มาตรา  ๒๗๔  ()  มาตรา  ๒๗๗  มาตรา  ๒๗๘  มาตรา  ๒๗๙  ()  มาตรา  ๒๙๗  มาตรา  ๓๐๒  และมาตรา  ๓๑๒  ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง  ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น  รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำเป็น  แล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป


                         การดำเนินการของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา


ส่วนที่  


คณะกรรมการการเลือกตั้ง


 



 


                        มาตรา    ๑๓๖      คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา  จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์


                         ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง


                                      มาตรา      ๑๓๗     กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้


                   ()   มีสัญชาติไทยโดยการเกิด


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเสนอชื่อ


                   ()  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า


                   ()   ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๐๖  หรือมาตรา  ๑๐๙  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๓)  หรือ  (๑๔)


                   ()   ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  หรือผู้บริหารท้องถิ่น


                   ()   ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะห้าปีก่อนดำรงตำแหน่ง


                   ()   ไม่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลปกครอง  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                         มาตรา   ๑๓๘   การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง  ให้ดำเนินการดังนี้


                   ()   ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน  ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา  ๑๓๗  ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง  จำนวนห้าคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น  มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่


               () ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น


                   ()   การเสนอชื่อตาม  (๑)  และ  (๒)  ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว  ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม  (๑)  ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด  หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด  ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม  (๑)


                   ()  ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม  (๑)  ()  และ  (๓)  ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  ในการนี้  ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง  แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบห้าคน  ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป  และในกรณีนี้  ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน  เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง  ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใด  อันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก


                   ()   ให้ผู้ได้รับเลือกตาม  (๔)  ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง  และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ  และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป


                         มาตรา   ๑๓๙    กรรมการการเลือกตั้งต้อง


                   ()   ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ


                   ()  ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือของราชการส่วนท้องถิ่น


                   ()   ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน  บริษัท  หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน  หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด


                   ()   ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด


                         ในกรณีที่วุฒิสภาเลือกบุคคลตาม  (๑)  ()  ()  หรือ  (๔)  โดยได้รับความยินยอมของผู้นั้น  ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ลาออกจากตำแหน่งตาม  (๑)  ()  หรือ  (๓)  หรือแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว  ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือก  แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพอิสระภายในเวลาที่กำหนด  ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๓๘  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                   มาตรา  ๑๔๐  กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                   กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่


                         มาตรา   ๑๔๑    นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง  เมื่อ


                   ()   ตาย


                   ()  ลาออก


                   ()  ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๓๗  หรือ  มาตรา  ๑๓๙


                   ()   ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


                   ()  วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง


                   เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้


                         มาตรา   ๑๔๒    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๓๗  หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา  ๑๓๙  และให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้งผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือไม่


                         เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว  ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยไปยังประธานรัฐสภาและประธานกรรมการการเลือกตั้ง


                                      ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๙๗  มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งด้วย  โดยอนุโลม


                                      มาตรา         ๑๔๓        ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด  ให้ดำเนินการตามมาตรา  ๑๓๘  ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีการพ้นจากตำแหน่ง


                         ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ  ให้นำมาตรา  ๑๓๘  มาใช้บังคับกับการสรรหาและการเลือกกรรมการการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น  โดยอนุโลม  ในกรณีนี้  ให้เสนอชื่อผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อประธานวุฒิสภา  เป็นจำนวนสองเท่าของผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง  และให้วุฒิสภามีมติเลือก  ทั้งนี้  ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีการพ้นจากตำแหน่ง  และให้ผู้ได้รับเลือกอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน


                         มาตรา    ๑๔๔    คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาท้องถิ่น  และผู้บริหารท้องถิ่น  รวมทั้งการออกเสียงประชามติ  ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม


                         ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง


                         มาตรา    ๑๔๕    คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้


                   ()   ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายตามมาตรา  ๑๔๔  วรรคสอง


                   ()  มีคำสั่งให้ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายตามมาตรา  ๑๔๔  วรรคสอง


               () สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายตามมาตรา  ๑๔๔  วรรคสอง


               () สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง  เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ  มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม


                   ()  ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ


                   ()   ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      ในการปฏิบัติหน้าที่  คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด  หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ  ตลอดจนขอให้ศาล  พนักงานอัยการ  พนักงานสอบสวน  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่  การสืบสวน  สอบสวน  หรือวินิจฉัยชี้ขาด


                         คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล  คณะบุคคล  หรือผู้แทนองค์การเอกชน  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย


                         มาตรา    ๑๔๖     ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งการตามมาตรา  ๑๔๕


                   มาตรา  ๑๔๗  คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง  ดังต่อไปนี้


                         ()    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง  คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย


                   ()  ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับเลือกตั้ง  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาท้องถิ่น  หรือผู้บริหารท้องถิ่น  ผู้ใดได้กระทำการใดๆ  โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง  หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไป  ทั้งนี้  อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


                   ()   ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย


                         เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว  คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องพิจารณาวินิจฉัยสั่งการโดยพลัน


                         มาตรา    ๑๔๘   ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  หรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ  มีผลใช้บังคับ  ห้ามมิให้จับ  คุมขัง  หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปทำการสอบสวน  เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง  หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด


                         ในกรณีที่มีการจับกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทำความผิด  หรือจับ  หรือคุมขังกรรมการการเลือกตั้งในกรณีอื่น  ให้รายงานไปยังประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน  และประธานกรรมการการเลือกตั้งอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้


ส่วนที่  


บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง


 



 


                         มาตรา      ๑๔๙      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย  และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย


                         มาตรา   ๑๕๐    ก่อนเข้ารับหน้าที่  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้


                   "ข้าพเจ้า  (ชื่อผู้ปฏิญาณ)  ขอปฏิญาณว่า  ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย  ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"


                         มาตรา   ๑๕๑    สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่ละสภา  มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้นๆ  ตามมติของสภา


                         มาตรา    ๑๕๒   ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภาหรือมีการยุบสภา


                         ประธานและรองประธานวุฒิสภาดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภาใหม่


                         ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร  และประธานและรองประธานวุฒิสภา  ย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง  แล้วแต่กรณี  เมื่อ


                   ()   ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก


                   ()  ลาออกจากตำแหน่ง


                   ()  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  หรือข้าราชการการเมืองอื่น


                   ()  ต้องคำพิพากษาให้จำคุก


                         มาตรา   ๑๕๓   ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภานั้นๆ  ให้เป็นไปตามข้อบังคับ  รองประธานมีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมายและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้


                         ประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  และผู้ทำหน้าที่แทน  ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่


                   มาตรา  ๑๕๔  เมื่อประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานและรองประธานวุฒิสภาไม่อยู่ในที่ประชุม  ให้สมาชิกแห่งสภานั้นๆ  เลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานในคราวประชุมนั้น


                         มาตรา   ๑๕๕   การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมวุฒิสภาต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาจึงจะเป็นองค์ประชุม  เว้นแต่ในกรณีการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามตามมาตรา  ๑๘๓  และมาตรา  ๑๘๔  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะกำหนดเรื่ององค์ประชุมไว้ในข้อบังคับเป็นอย่างอื่นก็ได้


                         มาตรา    ๑๕๖    การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้


                         สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน  ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด


                         ประธานรัฐสภา  ประธานสภาผู้แทนราษฎร  และประธานวุฒิสภา  ต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน  และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้  เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ


                   การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใด  ให้กระทำเป็นการลับ  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้  และสมาชิกย่อมมีอิสระและไม่ถูกผูกพันโดยมติของพรรคการเมืองหรืออาณัติอื่นใด


                         มาตรา   ๑๕๗   ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่ประชุมวุฒิสภา  หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา  สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง  แสดงความคิดเห็น  หรือออกเสียงลงคะแนน  ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด  ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้


                         เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์  หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา  และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น  ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น


                         ในกรณีตามวรรคสอง  ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย  ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณา  คำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น  ทั้งนี้  โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล


                         มาตรา   ๑๕๘   เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๕๗  ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภา  หรือรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  และคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง  หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภานั้น  ด้วย  โดยอนุโลม


                         มาตรา   ๑๕๙    ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก


                         ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญทั่วไป  และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ


                         วันประชุมครั้งแรกตามวรรคหนึ่ง  ให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป  ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด  ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรกตามวรรคหนึ่งมีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบวัน  จะไม่มีการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้


                         ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ  ให้รัฐสภาดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด    หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญการอนุมัติพระราชกำหนด  การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม  การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา  การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง  การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง  การตั้งกระทู้ถาม  และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


                                      มาตรา      ๑๖๐      สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆ  ให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน  แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไปก็ได้


                         การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน  จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา


                         มาตรา   ๑๖๑    พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา  ทรงเปิดและทรงปิดประชุม


                                      พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกตามมาตรา  ๑๕๙  วรรคหนึ่ง  ด้วยพระองค์เอง  หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว  หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์  มาทำรัฐพิธีก็ได้


                         มาตรา   ๑๖๒   เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ  พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้


                         มาตรา   ๑๖๓    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกัน  หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้


                         คำร้องขอดังกล่าวในวรรคหนึ่ง  ให้ยื่นต่อประธานรัฐสภา


                         ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ


                   มาตรา  ๑๖๔  ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๖๓  การเรียกประชุม  การขยายเวลาประชุม  และการปิดประชุมรัฐสภา  ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา


                   มาตรา  ๑๖๕  ในระหว่างสมัยประชุม  ห้ามมิให้จับ  คุมขัง  หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา  เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก  หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด


                         ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทำความผิด  ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน  และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้


                                      มาตรา         ๑๖๖      ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา  ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม  ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก  หรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  แต่การพิจารณาคดีต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา


                                      การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง  ย่อมเป็นอันใช้ได้


                         มาตรา   ๑๖๗    ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม  เมื่อถึงสมัยประชุม  พนักงานสอบสวนหรือศาล  แล้วแต่กรณี  ต้องสั่งปล่อยทันทีถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ


                                      คำสั่งปล่อยตามวรรคหนึ่งให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อยจนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม


                                      มาตรา         ๑๖๘      ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้  เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้


                   ()   การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตามมาตรา  ๑๙ มาตรา  ๒๑  มาตรา  ๒๒  มาตรา  ๒๓  และมาตรา  ๒๒๓  โดยถือคะแนนเสียงจากจำนวนสมาชิกของวุฒิสภา


                   ()  การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่เลือก  แต่งตั้ง  ให้คำแนะนำ  หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา  ๑๓๘  มาตรา  ๑๔๓  มาตรา  ๑๙๖  มาตรา  ๑๙๙  มาตรา  ๒๕๗  มาตรา  ๒๖๑  มาตรา  ๒๗๔  ()  มาตรา  ๒๗๗  มาตรา  ๒๗๘  มาตรา  ๒๗๙  ()  มาตรา  ๒๙๗  มาตรา  ๓๐๒  และมาตรา  ๓๑๒


                         ()    การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง


                         มาตรา    ๑๖๙     ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๗๐  ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรี  แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี


                   การเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จะกระทำได้เมื่อพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสังกัด  มีมติให้เสนอได้และต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่ายี่สิบคนรับรอง


                         ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ต่อไปนี้


                   ()   การตั้งขึ้น  ยกเลิก  ลด เปลี่ยนแปลง  แก้ไข  ผ่อน  หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร


                         ()   การจัดสรร  รับ  รักษา  หรือจ่ายเงินแผ่นดิน  หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน


                   ()  การกู้เงิน  การค้ำประกัน  หรือการใช้เงินกู้


                   ()  เงินตรา


                         ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่  ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ  เป็นผู้วินิจฉัย


                         ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีตามวรรคสี่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว


                                      มติของที่ประชุมร่วมกันตามวรรคสี่ให้ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณ  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด


                         มาตรา  ๑๗๐  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด    และหมวด    แห่งรัฐธรรมนูญนี้


                         คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอมาด้วย


                                      หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ  รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่ง  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ  และคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย


                         มาตรา    ๑๗๑     ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอและในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  แต่สภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติม  และประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน  และภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย  ถ้าที่ประชุมร่วมกันวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง  ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน


                   มาตรา  ๑๗๒  ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน


                         มาตรา   ๑๗๓   ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามมาตรา  ๒๑๑  ว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน  หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด  หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ  และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่  คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง  หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบ  ให้ตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ  ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น  และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภารายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณาแล้วต่อรัฐสภา  ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น  ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓  ถ้ารัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบ  ให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


                   มาตรา  ๑๗๔    ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๘๐  เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอตามมาตรา  ๑๗๒  และลงมติเห็นชอบแล้ว  ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นต่อวุฒิสภา  วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายในหกสิบวัน  แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน  ทั้งนี้  เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน  กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม  และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมาถึงวุฒิสภา


                         ระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง  ไม่ให้นับรวมระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๑๗๗


                         ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง  ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น


                   ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด


                                      ในกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมิได้แจ้งไปว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน


                         มาตรา    ๑๗๕    ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๘๐  เมื่อวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว


                   ()   ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓ 


               () ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือ  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไว้ก่อน และส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร


                         ()      ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม  ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร  ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม  ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓  ถ้าเป็นกรณีอื่น  ให้แต่ละสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นๆ  มีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด  ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน  เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น  และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง  ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว  ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓  ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย  ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไว้ก่อน


                         คณะกรรมาธิการร่วมกันอาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด  หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง  หรือแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้  และเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๕๗  และมาตรา  ๑๕๘  นั้น  ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย


                   การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกันต้องมีกรรมาธิการของสภาทั้งสองมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๙๔  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา   ๑๗๖    ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา  ๑๗๕  นั้น  สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร  สำหรับกรณีการยับยั้งตามมาตรา  ๑๗๕  ()  และนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย  สำหรับกรณีการยับยั้งตามมาตรา  ๑๗๕  ()  ในกรณีเช่นว่านี้  ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา  และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓


                   ถ้าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที  ในกรณีเช่นว่านี้  ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา  และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓


                         มาตรา   ๑๗๗   ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดตามมาตรา  ๑๗๕  คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้มิได้


                                      ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอหรือส่งให้พิจารณานั้น  เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้  ให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


                                      มาตรา         ๑๗๘     ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือบรรดาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย  หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา  ให้เป็นอันตกไป


                         ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป  รัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร  หรือวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี  จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  หรือร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้  ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป  และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย  แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ  หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


                                      การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  ร่างพระราชบัญญัติ  หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไปตามวรรคสอง  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา


                                      มาตรา      ๑๗๙      งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ  ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่  ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน


                   มาตรา  ๑๘๐  ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย  สภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร


                         ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง  ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น  และให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภา


                         ในการพิจารณาของวุฒิสภา  วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา  โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ  มิได้  ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น  ในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ  ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา  ๙๓


                         ถ้าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าววุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๗๖  วรรคสอง  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                                      ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้  แต่อาจแปรญัตติได้ในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้


                   ()   เงินส่งใช้ต้นเงินกู้


                   ()  ดอกเบี้ยเงินกู้


                   ()  เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย


                         ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือของคณะกรรมาธิการ  การเสนอ  การแปรญัตติ  หรือการกระทำด้วยประการใดๆ  ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือกรรมาธิการ  มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย  จะกระทำมิได้


                         ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  เห็นว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก  ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา  และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว  ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก  ให้การเสนอการแปรญัตติ  หรือการกระทำดังกล่าวสิ้นผลไป


                         มาตรา    ๑๘๑    การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย  กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ  กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ  หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง  เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้  แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ  ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย  พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป  หรือเว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา  ๒๓๐  วรรคสอง


                         มาตรา    ๑๘๒   สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา    ๑๘๓   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้  แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน


                         มาตรา   ๑๘๔   การบริหารราชการแผ่นดินเรื่องใดที่เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน  เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน  หรือที่เป็นเรื่องเร่งด่วน  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อนเริ่มประชุมในวันนั้นว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องนั้นโดยไม่ต้องระบุคำถาม  และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในวาระการประชุมวันนั้น


                   การถามและการตอบกระทู้ตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง  และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินนั้นได้เรื่องละไม่เกินสามครั้ง  ทั้งนี้  ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร


                         มาตรา    ๑๘๕    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี  ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา  ๒๐๑  วรรคสอง  ด้วย  และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว  จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้  เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม


                         การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง  ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ  ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ  หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา  ๓๐๔  ก่อนมิได้  และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา  ๓๐๔  แล้ว  ให้ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรอผลการดำเนินการตามมาตรา  ๓๐๕


                         เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ  การลงมติในกรณีเช่นว่านี้  มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด  มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร


                         ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้นเป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น


                         ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกราบบังคลทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป  และมิให้นำมาตรา  ๒๐๒  มาใช้บังคับ


                         มาตรา    ๑๘๖     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในหกของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล


                         ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๘๕  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา    ๑๘๗    สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ


                         การขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้  จะกระทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง


                         มาตรา    ๑๘๘     การประชุมสภาผู้แทนราษฎร  การประชุมวุฒิสภา  และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา  ย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละสภา  แต่ถ้าคณะรัฐมนตรี  หรือสมาชิกของแต่ละสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  หรือจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภาเท่าที่มีอยู่รวมกัน  แล้วแต่กรณี  ร้องขอให้ประชุมลับ  ก็ให้ประชุมลับ


                   มาตรา  ๑๘๙  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  มีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ  และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก  ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ  เพื่อกระทำกิจการ  พิจารณาสอบสวน  หรือศึกษาเรื่องใดๆ  อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา  มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน


                         คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด  หรือเรียกบุคคลใด  มาแถลงข้อเท็จจริง  หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้


                         ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง  เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน  ให้ถือว่าเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามวรรคสอง


                         เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๕๗  และมาตรา  ๑๕๘  นั้น  ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย


                         กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด  ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร


                                      ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา  ๑๙๑  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนตามวรรคห้า


                         มาตรา    ๑๙๐     การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก  สตรี  และคนชรา  หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ  หากสภาผู้แทนราษฎรมิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา  ให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด


                         มาตรา    ๑๙๑     สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  มีอำนาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา  รองประธานสภา  เรื่องหรือกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด  การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ  วิธีการประชุม  การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  การเสนอญัตติ  การปรึกษา  การอภิปราย  การลงมติ  การบันทึกการลงมติ  การเปิดเผยการลงมติ  การตั้งกระทู้ถาม  การเปิดอภิปรายทั่วไป  การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย  ประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ  และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา    ๑๙๒    สาระสำคัญที่ต้องมีในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเรื่องต่างๆ  ตามที่บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล  ให้เป็นสาระสำคัญที่ต้องมีในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเรื่องนั้นๆ  ตามรัฐธรรมนูญนี้


ส่วนที่  


การประชุมร่วมกันของรัฐสภา


 



 


                   มาตรา   ๑๙๓     ในกรณีต่อไปนี้  ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน


                   ()     การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา  ๑๙


                   ()     การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาตามมาตรา  ๒๑


                   ()    การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗  ตามมาตรา  ๒๒


                   ()    การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา  ๒๓


                   ()    การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ตามมาตรา  ๙๔


                         ()           การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ตามมาตรา  ๑๕๙


                   ()    การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา  ๑๖๐


                   ()    การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา  ๑๖๑


                   ()      การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๑๗๓


                         (๑๐)       การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไปตามมาตรา  ๑๗๘  วรรคสอง


                   (๑๑)   การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามมาตรา  ๑๙๔


                   (๑๒)  การแถลงนโยบายตามมาตรา  ๒๑๑


                   (๑๓)   การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา  ๒๑๓


                   (๑๔)   การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงครามตามมาตรา  ๒๒๓


                   (๑๕)   การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา  ๒๒๔


                   (๑๖)   การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๓๑๓


                   มาตรา  ๑๙๔  ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  โดยอนุโลมไปพลางก่อน


                                      มาตรา      ๑๙๕      ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา  ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม  เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ  กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ละสภา  จะต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา


ส่วนที่  


ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


 



 


                         มาตรา      ๑๙๖      ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกินสามคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา  จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน  มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน  วิสาหกิจ  หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ  และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์


                                      ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                         คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การสรรหา  และการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                         ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                         มาตรา   ๑๙๗     ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้


                   ()   พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี


                          (ก)   การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น


                          (ข)  การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม  ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม


                          (ค)   กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   ()  จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา


                         มาตรา   ๑๙๘     ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  กฎ  ข้อบังคับ  หรือการกระทำใดของบุคคลใดตามมาตรา  ๑๙๗  ()  มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลปกครอง  แล้วแต่กรณี


                         ให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง  แล้วแต่กรณี  พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า


ส่วนที่  


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


 



 


                   มาตรา   ๑๙๙     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง  และกรรมการอื่นอีกสิบคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา  จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์  ทั้งนี้  โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย


                         ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                         คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การสรรหา  การเลือก  การถอดถอน  และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                         มาตรา   ๒๐๐    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้


                   ()   ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ  ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ  ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป


                   ()  เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                   ()  ส่งเสริมการศึกษา  การวิจัย  และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน


                   ()  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ  องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน


                   ()  จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน  ภายในประเทศ  และเสนอต่อรัฐสภา


                   ()   อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ในการปฏิบัติหน้าที่  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย


                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด  หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ  รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


 


 


 


 


 


หมวด  


คณะรัฐมนตรี


 



 


                   มาตรา   ๒๐๑   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี  มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน


                         นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา  ๑๑๘  ()  ในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเดียวกัน


                                      ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี


                                      มาตรา      ๒๐๒       ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา  ๑๕๙


                         การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง  ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง


                         มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี  ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย


                         มาตรา   ๒๐๓   ในกรณีที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา  ๒๐๒  วรรคสาม  ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี


                         มาตรา   ๒๐๔   นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้


                         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี  ให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันถัดจากวันที่ครบสามสิบวันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง


                         มาตรา   ๒๐๕    ก่อนเข้ารับหน้าที่  รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้


                   "ข้าพระพุทธเจ้า  (ชื่อผู้ปฏิญาณ)  ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า  ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน  ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"


                         มาตรา   ๒๐๖    รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้


                   ()   มีสัญชาติไทยโดยการเกิด


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์


                   ()   สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า


                         ()      ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๐๙  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๒)  (๑๓)  หรือ  (๑๔)


                   ()   ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป  โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับแต่งตั้ง  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท


                   ()   ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี  เว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๑๓๓  ()


                         มาตรา   ๒๐๗    รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมืองมิได้


                         มาตรา   ๒๐๘    รัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดตามที่บัญญัติในมาตรา  ๑๑๐  มิได้  เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  และจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน  บริษัท  หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน  หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วย


                                      มาตรา      ๒๐๙     รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท  หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป  ทั้งนี้  ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ  ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป  ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง  และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆ  เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว


                                      มาตรา      ๒๑๐        รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน  ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้เข้าประชุมในเรื่องใด  รัฐมนตรีต้องเข้าร่วมประชุม


                         เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๕๗  และมาตรา  ๑๕๘  ให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา   ๒๑๑   คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ  ทั้งนี้  ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่


                         ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง  หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน  คณะรัฐมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะดำเนินการไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จำเป็นก็ได้


                         มาตรา   ๒๑๒   ในการบริหารราชการแผ่นดิน  รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  กฎหมาย  และนโยบายที่ได้แถลงไว้ตามมาตรา  ๒๑๑  และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน  รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี


                                      มาตรา      ๒๑๓       ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้  ในกรณีเช่นว่านี้  รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้


                         มาตรา   ๒๑๔    ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน  นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้


                                      การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่า  จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกิจการสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งซึ่งมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  การออกเสียงประชามติที่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ  จะกระทำมิได้


                         ประกาศตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดวันให้ประชาชนออกเสียงประชามติซึ่งจะต้องไม่ก่อนเก้าสิบวันแต่ไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  และวันออกเสียงประชามติต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


                                      ในระหว่างที่ประกาศตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ  รัฐต้องดำเนินการให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น  แสดงความคิดเห็นของตนได้โดยเท่าเทียมกัน


                         บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ


                         ในการออกเสียงประชามติ  หากผลปรากฏว่ามีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเป็นจำนวนไม่มากกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ  ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมากไม่เห็นชอบด้วยกับเรื่องที่ขอปรึกษานั้น  แต่ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติมากกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติและปรากฏว่าผู้ออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบ  ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับเรื่องที่ขอปรึกษานั้น


                         การออกเสียงประชามติตามมาตรานี้ให้มีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น


                         หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ


                         มาตรา    ๒๑๕    รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง  เมื่อ


                   ()   ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๒๑๖


                   ()  อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร


                   ()   คณะรัฐมนตรีลาออก


                   คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง  ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่  แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตาม  (๒)  จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ  หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ  หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้  เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง


                         มิให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๑๘  ()  และวรรคสอง  และมาตรา  ๒๐๔  มาใช้บังคับกับคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและอยู่ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง


                         ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๒๑๖  ()  ()  ()  ()  ()  หรือ  (๘)  ให้ดำเนินการตามมาตรา  ๒๐๒  และมาตรา  ๒๐๓  โดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๑๖    ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว  เมื่อ


                   ()   ตาย


                   ()  ลาออก


                   ()   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๒๐๖


                   ()   ต้องคำพิพากษาให้จำคุก


                   ()   สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา  ๑๘๕ หรือมาตรา  ๑๘๖


                   ()   กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา  ๒๐๘ หรือมาตรา  ๒๐๙


                   ()   มีพระบรมราชโองการตามมาตรา  ๒๑๗


                   ()   วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง


                         ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๙๖  และมาตรา  ๙๗  มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม  (๒)  ()  ()  หรือ  (๖)


                         มาตรา    ๒๑๗    พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ


                   มาตรา  ๒๑๘  ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยสาธารณะ  ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ  หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ  พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้


                         การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง  ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้


                         ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป  ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า  ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า  คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ  หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป  แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น


                         หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด  และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม  ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก  มีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล


                         ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น  หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป


                         การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด  ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ในกรณีไม่อนุมัติ  ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                                      การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภาในกรณียืนยันการอนุมัติพระราชกำหนด  จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้นๆ


                         มาตรา    ๒๑๙    ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตามมาตรา  ๒๑๘  วรรคสาม  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา  ๒๑๘  วรรคหนึ่ง  และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว  ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา


                         เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาได้รับความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว  ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง


                         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา  ๒๑๘  วรรคหนึ่ง  ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น


                                      คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา  ๒๑๘  วรรคหนึ่ง  ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด


                                      มาตรา         ๒๒๐       ในระหว่างสมัยประชุม  ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน  พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้


                   พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง  จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๑๘  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๒๑   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย


                         มาตรา    ๒๒๒  พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก


                   ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก


                         มาตรา    ๒๒๓   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา


                         มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


                         ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง  และการลงมติต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่


                                      มาตรา         ๒๒๔      พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ  สัญญาสงบศึก  และสัญญาอื่น  กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ


                         หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ  หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา  ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา


                         มาตรา    ๒๒๕   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ


                         มาตรา    ๒๒๖   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์


                   มาตรา  ๒๒๗ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวง  อธิบดี  และเทียบเท่า  และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย


                         มาตรา    ๒๒๘   ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง  จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น  มิได้


                   มาตรา  ๒๒๙  เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี  ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานและรองประธานวุฒิสภา  ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และสมาชิกวุฒิสภา  ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา


                                      บำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี  ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานและรองประธานวุฒิสภา  นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา


                         มาตรา    ๒๓๐    การจัดตั้งกระทรวง  ทบวง  กรม  ขึ้นใหม่  โดยมีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น  ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ


                                      การรวมหรือการโอนกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่มีผลเป็นการจัดตั้งเป็นกระทรวง  ทบวง  กรม  ขึ้นใหม่  หรือการรวมหรือการโอนกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่มิได้มีการจัดตั้งเป็นกระทรวง  ทบวง  กรม  ขึ้นใหม่  ทั้งนี้  โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น  หรือการยุบกระทรวง  ทบวง  กรม  ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา


                         ภายในสามปีนับแต่วันที่มีการรวมหรือการโอนกระทรวง  ทบวง  กรม  ตามวรรคสองจะกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นในกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่จัดตั้งขึ้นใหม่  หรือในกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่ถูกรวมหรือโอนไป  มิได้


                   พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง  ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่จัดตั้งขึ้นใหม่  การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม  การโอนข้าราชการและลูกจ้าง  งบประมาณรายจ่าย  รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน  เอาไว้ด้วย


                         การดำเนินการตามวรรคสองกับกระทรวง  ทบวง  กรม  ที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นแล้ว  ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  โดยให้ถือว่าพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นนั้น  มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้ดังเช่นพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย


                         มาตรา    ๒๓๑    บทกฎหมาย  พระราชหัตถเลขา  และพระบรมราชโองการ  อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน  ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา    ๒๓๒   บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว  ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน


หมวด  


ศาล


 


 



 


ส่วนที่  


บททั่วไป


 



 


                   มาตรา    ๒๓๓   การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย  และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์


                         มาตรา    ๒๓๔   บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ


                         การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น  จะกระทำมิได้


                   มาตรา  ๒๓๕  การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ  จะกระทำมิได้


                         มาตรา   ๒๓๖   การนั่งพิจารณาคดีของศาลต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ  และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใด  จะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้  เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๓๗   ในคดีอาญา  การจับและคุมขังบุคคลใด  จะกระทำมิได้  เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล  หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ  โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ  โดยไม่ชักช้า  กับจะต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบในโอกาสแรก  และผู้ถูกจับซึ่งยังถูกควบคุมอยู่  ต้องถูกนำตัวไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน  เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ตามกฎหมายหรือไม่  เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ


                   ()   มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ  หรือ


                   ()  มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา  และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี  หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน  หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย


                                      มาตรา         ๒๓๘       ในคดีอาญา  การค้นในที่รโหฐานจะกระทำมิได้  เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือหมายของศาล  หรือมีเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๒๓๙  คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว  และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้  การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย  และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทราบโดยเร็ว


                                      สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน  ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      บุคคลผู้ถูกควบคุม  คุมขัง  หรือจำคุก  ย่อมมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว  และมีสิทธิได้รับการเยี่ยมตามสมควร


                                      มาตรา         ๒๔๐       ในกรณีที่มีการคุมขังตัวบุคคลในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใด  ผู้ถูกคุมขังเอง  พนักงานอัยการ  หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง  มีสิทธิร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อมีคำร้องเช่นว่านี้  ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน  ถ้าเห็นว่าคำร้องนั้นมีมูล  ศาลมีอำนาจสั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน  และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย  ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที


                         มาตรา    ๒๔๑    ในคดีอาญา  ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว  ต่อเนื่อง  และเป็นธรรม


                         ในชั้นสอบสวน  ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้


                                      ผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมมีสิทธิตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน  เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว  ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  หรือผู้มีส่วนได้เสีย  ย่อมมีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๔๒   ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามที่กฎหมายบัญญัติ  ในกรณีที่ผู้ถูกควบคุมหรือคุมขังไม่อาจหาทนายความได้  รัฐต้องให้ความช่วยเหลือโดยจัดหาทนายความให้โดยเร็ว


                                      ในคดีแพ่ง  บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      มาตรา         ๒๔๓      บุคคลย่อมมีสิทธิไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญา


                                      ถ้อยคำของบุคคลซึ่งเกิดจากการจูงใจ  มีคำมั่นสัญญา  ขู่เข็ญ  หลอกลวง  ถูกทรมาน  ใช้กำลังบังคับ  หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ  ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


                         มาตรา    ๒๔๔   บุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง  การปฏิบัติที่เหมาะสม  และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๔๕   บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง  การปฏิบัติที่เหมาะสม  และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         บุคคลใดได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น  และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น  บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ  ทั้งนี้  ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๔๖    บุคคลใดตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี  หากปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด  หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด  บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควร  ตลอดจนบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะการนั้นคืน  ทั้งนี้  ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๒๔๗  บุคคลใดต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด  บุคคลนั้น  ผู้มีส่วนได้เสีย  หรือพนักงานอัยการ  อาจร้องขอให้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้  และหากปรากฏตามคำพิพากษาของศาลที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด  บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควร  ตลอดจนบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคำพิพากษานั้นคืน  ทั้งนี้  ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๔๘   ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  ศาลทหาร  หรือศาลอื่น  ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน  ประธานศาลปกครองสูงสุด  ประธานศาลอื่น  และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ  เป็นกรรมการ


                         หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๔๙    ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย


                         การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น


                         การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการ  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ


                         การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดี  จะกระทำมิได้  เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี


                   การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น  จะกระทำมิได้  เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ  เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น  เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย  หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา


                         มาตรา    ๒๕๐    ผู้พิพากษาและตุลาการจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้


                         มาตรา    ๒๕๑    พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ  และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง  เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย


                   การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาและตุลาการในศาลอื่นนอกจากศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  และศาลทหาร  พ้นจากตำแหน่ง  ตลอดจนอำนาจพิพากษาคดีและวิธีพิจารณาของศาลดังกล่าว  ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลนั้น


                         มาตรา    ๒๕๒   ก่อนเข้ารับหน้าที่  ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้


                   "ข้าพระพุทธเจ้า  (ชื่อผู้ปฏิญาณ)  ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า  ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โดยปราศจากอคติทั้งปวง  เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน  และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร  ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ"


                         มาตรา    ๒๕๓   เงินเดือน  เงินประจำตำแหน่ง  และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาและตุลาการ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ  ทั้งนี้  จะนำระบบบัญชีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับ  มิได้


                                      บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้นำมาใช้บังคับกับกรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ด้วย  โดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๕๔   บุคคลจะดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม  กรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง  หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการของศาลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น  ในเวลาเดียวกันมิได้  ทั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่งหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ


ส่วนที่  


ศาลรัฐธรรมนูญ


 



 


               มาตรา  ๒๕๕  ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้


                   ()   ผู้พิพากษาในศาลฎีกา  ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา  ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ  จำนวนห้าคน


                   ()  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด  ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ  จำนวนสองคน


                   ()  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์  ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา  ๒๕๗  จำนวนห้าคน


                   ()   ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา  ๒๕๗  จำนวนสามคน


                                      ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง  ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ  แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ


                                      ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


                         มาตรา    ๒๕๖    ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  และ  (๔)  ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้


                   ()   มีสัญชาติไทยโดยการเกิด


                   ()  มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์


                   ()   เคยเป็นรัฐมนตรี  กรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด  อธิบดีหรือเทียบเท่า  หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์


                   ()  ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๐๖  หรือมาตรา  ๑๐๙  ()  ()  ()  ()  ()  ()  (๑๓)  หรือ  (๑๔)


                   ()   ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  หรือผู้บริหารท้องถิ่น


                   ()   ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง ในระยะสามปีก่อนดำรงตำแหน่ง


                         ()      ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตุลาการศาลปกครอง  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                         มาตรา    ๒๕๗   การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๒๕๕  ()  และ  (๔)  ให้ดำเนินการดังนี้


               ()  ให้มีคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย  ประธานศาลฎีกา  คณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  พรรคละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  เป็นกรรมการ  คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  จำนวนสิบคน  และผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  จำนวนหกคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น  ทั้งนี้  ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว  มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่


                   ()  ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อในบัญชีตาม  ()  ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  ในการนี้  ให้ห้าคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  และสามคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  มีไม่ครบห้าคน  หรือจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  มีไม่ครบสามคน  ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกในบัญชีนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป  และในกรณีนี้  ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวน  เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคนหรือสามคน  แล้วแต่กรณี  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก


                         ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๕๕  วรรคสองและวรรคสาม  มาใช้บังคับ


                         มาตรา    ๒๕๘   ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง


                   ()   ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ


               () ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจ  หรือของหน่วยงานของรัฐ


                   ()   ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน  บริษัท  หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน  หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด


                   ()   ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด


                                      ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา  ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด  หรือวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี  เลือกบุคคลตาม  (๑)  ()  ()  หรือ  (๔)  โดยได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น  ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม  (๑)  ()  หรือ  (๓)  หรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว  ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือก  แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพอิสระภายในเวลาที่กำหนด  ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยรับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๖๑  มาใช้บังคับ


                         มาตรา    ๒๕๙    ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                         ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่


                         ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย


                         มาตรา    ๒๖๐    นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง  เมื่อ


                   ()   ตาย


                   ()  มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์


                   ()   ลาออก


                   ()   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๒๕๖


                   ()  กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา  ๒๕๘


                   ()   วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง


                   ()   ต้องคำพิพากษาให้จำคุก


                         เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง  ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา  ๒๖๗


                         มาตรา    ๒๖๑    ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด  ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา  ๒๕๕  และมาตรา  ๒๕๗  ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง


                   ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง  ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้


                   ()   ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้นำมาตรา  ๒๕๕  ()  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้  ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง


                   ()  ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด  ให้นำมาตรา  ๒๕๕  ()  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้ ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง


               () ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๒๕๕  ()  หรือ  (๔)  ให้นำมาตรา  ๒๕๗  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ในกรณีนี้  ให้เสนอชื่อผู้สมควรเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  ()  หรือ  ()  เป็นจำนวนสองเท่าของผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งต่อประธานวุฒิสภา  และให้วุฒิสภามีมติเลือก  ทั้งนี้  ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง


                         ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในระหว่างที่อยู่นอกสมัยประชุมของรัฐสภา  ให้ดำเนินการตามมาตรา  ๒๕๗  ภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดสมัยประชุมของรัฐสภา


                                      ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๕๕  วรรคสอง  มาใช้บังคับ


                         มาตรา    ๒๖๒   ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา  ๙๓  หรือร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา  ๙๔  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง


                   ()   หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า


                   ()  หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  มีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว  ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า


                   ()   หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา  ทราบโดยไม่ชักช้า


                         ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย  ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย


                                      ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น  ให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


                                      ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม  ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป  และให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา  ๙๓  หรือมาตรา  ๙๔  แล้วแต่กรณี  ต่อไป


                                      มาตรา         ๒๖๓       บทบัญญัติมาตรา  ๒๖๒  ()  ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภา  หรือรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  ให้ความเห็นชอบแล้ว  แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย  โดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๖๔    ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา   และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น  ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว  และส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย


                         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย  ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้


                   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง  แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว


                         มาตรา    ๒๖๕    ในการปฏิบัติหน้าที่  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด  หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ  ตลอดจนขอให้ศาล  พนักงานสอบสวน  หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้


                         ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย


                         มาตรา    ๒๖๖    ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ  ตามรัฐธรรมนูญ  ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา  เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย


                         มาตรา    ๒๖๗    องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย  ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเก้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก  เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้


                                      ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ


                   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน  ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                         คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา  สรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา  เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย  และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง


                   มาตรา  ๒๖๘  คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด  มีผลผูกพันรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  และองค์กรอื่นของรัฐ


                         มาตรา    ๒๖๙    วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด  ซึ่งต้องกระทำโดยมติเอกฉันท์ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                         วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง  อย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย  การให้โอกาสคู่กรณีแสดงความเห็นของตนก่อนการวินิจฉัยคดี  การให้สิทธิคู่กรณีขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตน  การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  และการให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญด้วย


                         มาตรา    ๒๗๐    ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ  โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ


                                      การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


                   สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณและการดำเนินการอื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ส่วนที่  


ศาลยุติธรรม


 



 


                   มาตรา    ๒๗๑    ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง  เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น


                   มาตรา  ๒๗๒ ศาลยุติธรรมมีสามชั้น  คือ  ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  และศาลฎีกา  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้หรือตามกฎหมายอื่น


                         ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา  โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย  ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา  จำนวนเก้าคน  ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ  และให้เลือกเป็นรายคดี


                         อำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


                         มาตรา    ๒๗๓   การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อน  แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล


                   การเลื่อนตำแหน่ง  การเลื่อนเงินเดือน  และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม  ในการนี้ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชั้นศาลละหนึ่งคณะ  เพื่อเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณา


                         มาตรา    ๒๗๔  คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้


                   ()   ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ


               () กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล  ชั้นศาลละสี่คน  รวมเป็นสิบสองคน  ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล  และได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในทุกชั้นศาล


                   ()   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน  ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ  และได้รับเลือกจากวุฒิสภา


                         คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  และวิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   มาตรา  ๒๗๕  ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ  โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา


                   การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม


                                      สำนักงานศาลยุติธรรมมีอิสระในการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดำเนินการอื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ส่วนที่  


ศาลปกครอง


 



 


               มาตรา  ๒๗๖  ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน  หรือระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน  ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น  ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น  และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้


                         มาตรา    ๒๗๗   การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อน  แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล


                         ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดิน  อาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้  การแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด  ให้แต่งตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมด  และต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติและได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน  แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล


                         การเลื่อนตำแหน่ง  การเลื่อนเงินเดือน  และการลงโทษตุลาการในศาลปกครอง  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๗๘   การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดนั้น  เมื่อได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและวุฒิสภาแล้ว  ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป


                         มาตรา    ๒๗๙    คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองประกอบด้วยบุคคล  ดังต่อไปนี้


                   ()   ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการ


                   ()  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคนซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองและได้รับเลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง


                   ()   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาสองคน  และจากคณะรัฐมนตรีอีกหนึ่งคน


                         คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  และวิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      มาตรา         ๒๘๐        ศาลปกครองมีหน่วยธุรการของศาลปกครองที่เป็นอิสระ  โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด


                         การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ


                   สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดำเนินการอื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ส่วนที่  


ศาลทหาร


 



 


                   มาตรา    ๒๘๑    ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากตำแหน่ง  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


 


หมวด  


การปกครองส่วนท้องถิ่น


 



 


                   มาตรา    ๒๘๒   ภายใต้บังคับมาตรา    รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น


                         มาตรา    ๒๘๓   ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้  ย่อมมีสิทธิได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติแต่ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม  ทั้งนี้  จะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้  มิได้


                         มาตรา    ๒๘๔   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย  การปกครอง  การบริหาร  การบริหารงานบุคคล  การเงินและการคลัง  และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ


                         การกำหนดอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ  โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ


                         เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง  ให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ  ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง


               () การจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยคำนึงถึงภาระหน้าที่ของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองเป็นสำคัญ


                   ()   การจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ตาม  (๑)  และ  (๒)  ประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ  โดยมีจำนวนเท่ากัน


                         ในกรณีที่มีการกำหนดอำนาจและหน้าที่และการจัดสรรภาษีและอากรตาม  (๑)  และ  (๒)  ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดแล้ว  คณะกรรมการตาม  (๓)  จะต้องนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาทบทวนใหม่ทุกระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีการกำหนดอำนาจและหน้าที่หรือวันที่มีการจัดสรรภาษีและอากร  แล้วแต่กรณี  เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกำหนดอำนาจและหน้าที่  และการจัดสรรภาษีและอากรที่ได้กระทำไปแล้ว  ทั้งนี้  ต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ


                         การดำเนินการตามวรรคสี่  เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาแล้ว  ให้มีผลใช้บังคับได้


                         มาตรา    ๒๘๕   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


                         สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง


                         คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น


                         การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ


                                      สมาชิกสภาท้องถิ่น  คณะผู้บริหารท้องถิ่น  หรือผู้บริหารท้องถิ่น  มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี


                         คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ  พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  หรือของราชการส่วนท้องถิ่น  มิได้


                                      คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง  หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น  คณะผู้บริหารท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น  หรือในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามมาตรา  ๒๘๖  และต้องมีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว  มิให้นำบทบัญญัติวรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคหก  มาใช้บังคับ  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      มาตรา         ๒๘๖        ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง  เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป  ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การลงคะแนนเสียงตามวรรคหนึ่งต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด


                                      มาตรา         ๒๘๗       ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้


                         คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเสนอมาด้วย


                         หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อรวมทั้งการตรวจสอบ  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      มาตรา         ๒๘๘       การแต่งตั้งและการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง  ต้องเป็นไปตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่นและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นก่อน  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ  โดยมีจำนวนเท่ากัน


                         การโยกย้าย  การเลื่อนตำแหน่ง  การเลื่อนเงินเดือน  และการลงโทษพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         มาตรา    ๒๘๙    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น


                         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น  และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ  แต่ต้องไม่ขัดต่อมาตรา  ๔๓  และมาตรา  ๘๑  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         การจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย


                         มาตรา    ๒๙๐    เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   การจัดการ  การบำรุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่


                   ()  การเข้าไปมีส่วนในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่  เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน


                   ()  การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่


หมวด  ๑๐


การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ


 



 


ส่วนที่  


การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน


 



 


                   มาตรา    ๒๙๑    ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้  มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน  คู่สมรส  และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง


                   ()   นายกรัฐมนตรี


                   ()  รัฐมนตรี


                   ()   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                   ()   สมาชิกวุฒิสภา


                   ()   ข้าราชการการเมืองอื่น


                   ()   ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                      บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว  รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา  โดยผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีและสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้าด้วย


                                      มาตรา         ๒๙๒       บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา  ๒๙๑  ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าว  และต้องยื่นภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้


                         ()    ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง  ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง


                         ()     ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง  ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง


                         ()      ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา  ๒๙๑ ซึ่งได้ยื่นบัญชีไว้แล้ว  ตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง  ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก  ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตาย  ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย


                   ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  ผู้บริหารท้องถิ่น  สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่ง  นอกจากต้องยื่นบัญชีตาม  (๒)  แล้ว  ให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย


                         มาตรา    ๒๙๓    เมื่อได้รับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแล้ว  ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมอบหมาย  ลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบัญชีทุกหน้า


                         บัญชีและเอกสารประกอบตามวรรคหนึ่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีให้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว  บัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นห้ามมิให้เปิดเผยแก่ผู้ใด  เว้นแต่การเปิดเผยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาด  และได้รับการร้องขอจากศาลหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                         ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว


                         มาตรา    ๒๙๔    ในกรณีที่มีการยื่นบัญชีเพราะเหตุที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดพ้นจากตำแหน่งหรือตาย  ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งนั้น  แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ  รายงานดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                   ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ  ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไป


                         ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๓๐๕  วรรคห้า  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๙๕    ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ  ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นตามมาตรา  ๒๙๒  หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว  แล้วแต่กรณี  และผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ  เป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง


                         เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง  ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป  และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๙๗  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                                      มาตรา         ๒๙๖        บทบัญญัติมาตรา  ๒๙๑  มาตรา  ๒๙๒  มาตรา  ๒๙๓  วรรคหนึ่งและวรรคสาม  และมาตรา  ๒๙๕  วรรคหนึ่ง  ให้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามที่บัญญัติในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วยโดยอนุโลม


ส่วนที่  


คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


 



 


                   มาตรา    ๒๙๗    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา


                         กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์  มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๒๕๖ 


                         การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๕๗  และมาตรา  ๒๕๘  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้  โดยให้คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวนสิบห้าคน  ประกอบด้วย  ประธานศาลฎีกา  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน  เป็นกรรมการ


                         ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


                         มาตรา    ๒๙๘    กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                   กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่


                         การพ้นจากตำแหน่ง  การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง  ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๖๐  และมาตรา  ๒๖๑  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                         มาตรา    ๒๙๙    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม  จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง  และขอให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้


                         มติของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง  ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา


                         มาตรา    ๓๐๐     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ


                   คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำการตามวรรคหนึ่งเป็นข้อๆ  ให้ชัดเจน  และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา  เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา


                         กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ถูกกล่าวหา  จะปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นมิได้จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยกคำร้องดังกล่าว


                         มาตรา    ๓๐๑     คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้


                   ()   ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภาตามมาตรา  ๓๐๕


                   ()  ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา  ๓๐๘


                   ()   ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต


                   ()  ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา  ๒๙๑  และมาตรา  ๒๙๖  ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้


                   ()   รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี  สภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา  ทุกปี  และนำรายงานนั้นออกพิมพ์เผยแพร่ต่อไป


                   ()   ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๔๖  และมาตรา  ๒๖๕  มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วย  โดยอนุโลม


                         มาตรา    ๓๐๒   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ  โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


                         การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและวุฒิสภา


                                      สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอิสระในการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดำเนินการอื่น  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ส่วนที่  


การถอดถอนจากตำแหน่ง


 



 


               มาตรา  ๓๐๓  ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  ประธานศาลฎีกา  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  หรืออัยการสูงสุด  ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ  ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่  ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้


                         บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ด้วย  คือ


                   ()   กรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


                   ()  ผู้พิพากษาหรือตุลาการ  พนักงานอัยการ  หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง  ทั้งนี้  ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต


                         มาตรา    ๓๐๔    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา  ๓๐๓  ออกจากตำแหน่งได้  คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อๆ  ให้ชัดเจน


                                      สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้


                         หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการที่ประชาชนจะเข้าชื่อร้องขอตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต


                         มาตรา    ๓๐๕    เมื่อได้รับคำร้องขอตามมาตรา  ๓๐๔  แล้ว  ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว


                                      เมื่อไต่สวนเสร็จแล้ว  ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา  โดยในรายงานดังกล่าวต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอข้อใดมีมูลหรือไม่  เพียงใด  พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการนั้น


                                      ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอข้อใดเป็นเรื่องสำคัญ  จะแยกทำรายงานเฉพาะข้อนั้นส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาไปก่อนก็ได้


                         ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนับแต่วันดังกล่าว  ผู้ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ  และให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตามมาตรา  ๓๐๖  และอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป  แต่ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล  ให้ข้อกล่าวหาข้อนั้นเป็นอันตกไป


                         ในกรณีที่อัยการสูงสุดเห็นว่ารายงาน  เอกสาร  และความเห็นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งให้ตามวรรคสี่ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้  ให้อัยการสูงสุดแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบเพื่อดำเนินการต่อไป  โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบูรณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน  ในกรณีนี้  ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและอัยการสูงสุดตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง  โดยมีผู้แทนจากแต่ละฝ่ายจำนวนฝ่ายละเท่ากัน  เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์  แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อไป  ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการฟ้องคดีได้  ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน  ก็ได้


                         มาตรา    ๓๐๖     เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา  ๓๐๕  แล้ว  ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว


                         ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งรายงานให้นอกสมัยประชุม  ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ  และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ


                         มาตรา    ๓๐๗    สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง  ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา


                         ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน  และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี


                         มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด  และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้  แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


ส่วนที่  


การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


 



 


                         มาตรา         ๓๐๘        ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือข้าราชการการเมืองอื่น  ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น  ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  มีอำนาจพิจารณาพิพากษา


                         บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ  ผู้ใช้  หรือผู้สนับสนุนด้วย


                                      มาตรา         ๓๐๙         ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา  ๓๐๘  มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา  ๓๐๑  ()  ได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต


                                      ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๓๐๕  วรรคหนึ่ง  วรรคสี่  และวรรคห้า  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


                   มาตรา  ๓๑๐   ในการพิจารณาคดี  ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา  และอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร


                                      ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๖๕  มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลม


                   บทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา  ๑๖๖  และมาตรา  ๑๖๗  มิให้นำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


                         มาตรา    ๓๑๑     การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก  โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ


                         ความเห็นในการวินิจฉัยคดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วย


                   ()   ชื่อผู้ถูกกล่าวหา


                   ()  เรื่องที่ถูกกล่าวหา


                   ()   ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา


                   ()  เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย


                   ()   บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง


                   ()   คำวินิจฉัยคดี  รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง  ถ้ามี


                                      คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด


หมวด  ๑๑


การตรวจเงินแผ่นดิน


 



 


                   มาตรา    ๓๑๒    การตรวจเงินแผ่นดิน  ให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง


                         คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกเก้าคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา  จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน  การบัญชี  การตรวจสอบภายใน  การเงินการคลัง  และด้านอื่น


                         คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ  โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน


                   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน  การบัญชี  การตรวจสอบภายใน  การเงินการคลัง  หรือด้านอื่น


                         ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน


                                      กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว


                         คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การสรรหาและการเลือก  และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน


                   การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  จะต้องเป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความซื่อสัตย์สุจริต  และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว


หมวด  ๑๒


การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ


 



 


                   มาตรา    ๓๑๓    การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการ  ดังต่อไปนี้


                   ()   ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี  หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอหรือร่วมเสนอญัตติดังกล่าวได้เมื่อพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้  หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย


                         ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ  จะเสนอมิได้


                   ()  ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ


                         ()    การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ  ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย  และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


                   (๔)     การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา  ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย


                         การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตราให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ


                   ()   เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว  ให้รอไว้สิบห้าวัน  เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป


                   ()   การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย  ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย  และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


                   ()   เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว  ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๙๓  และมาตรา  ๙๔  มาใช้บังคับโดยอนุโลม


บทเฉพาะกาล


 



 


มาตรา              ให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  ดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไป


              (๑)        พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  พ.ศ.  ๒๕๔๒


         (๒)   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒


         (๓)   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน  พ.ศ.  ๒๕๔๒


       (๔)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  พ.ศ. ๒๕๔๒


ให้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  ดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้


         (๑)    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  พ.ศ. ๒๕๕๐


         (๒)   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  พ.ศ.  ๒๕๕๐


         (๓)   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  พ.ศ. ๒๕๕๐


                         ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จทุกฉบับ  โดยในระหว่างเวลาดังกล่าวจะยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้


                         ในการดำเนินการตามวรรคสาม  ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้


                   ()   ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสาม  ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  ในกรณีที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว  แต่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสาม  ยังไม่แล้วเสร็จทุกฉบับ  ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมด  และห้ามมิให้มีการดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  จนกว่าจะมีการให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสามแล้วเสร็จทุกฉบับ  ในกรณีนี้  ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาและดำเนินการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้


                   ()  ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสามทุกฉบับแล้วเสร็จ  ภายในกำหนดเวลาตาม  (๑)  ให้วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว


                   ()   ในกรณีที่วุฒิสภาไม่สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสามทุกฉบับให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตาม  (๑)  หรือ  (๒)  ให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมด  ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว  และให้นำมาตรา  ๙๓  และมาตรา  ๙๔  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว  โดยอนุโลม


                         ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วหรือถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วตามมาตรานี้  ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา  ๙๓  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้โดยพลัน  และมิให้นำกำหนดเวลาตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับ


                         มิให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๖๙  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  มาใช้บังคับกับการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคสี่  (๑)  และ  (๒)  


                   ในการดำเนินการตามมาตรานี้  มิให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๑๖๘  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับ


                   มาตรา               ในกรณีที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไม่สามารถพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา    วรรคสาม  ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาตามมาตรา    วรรคสาม  และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งดังกล่าว  และในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าบทบัญญัติใดของกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  ขัดหรือแย้งหรือไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้  คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดระเบียบที่จำเป็นขึ้นใช้แทนบทบัญญัตินั้นได้เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม  ระเบียบดังกล่าวและความเห็นที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น  ขัดหรือแย้งหรือไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้  ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา


                         เมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว  และยังไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา   วรรคสามครบทุกฉบับ  ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ได้ตราขึ้นตามมาตรา    โดยให้เริ่มนับกำหนดเวลานับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป  เป็นต้นไป


                         มาตรา                         นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้ง  และการอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้ง


                                      ()     การให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา  ๑๐๕  วรรคสอง  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ออกเสียงลงคะแนน


                         ()      การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ  การตรวจสอบและการคัดชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ซ้ำกันออกจากการสมัครรับเลือกตั้ง  และการประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อ


                         ()    การกำหนดแบบบัตรเลือกตั้งซึ่งต้องมีที่สำหรับทำเครื่องหมายว่าไม่ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง  และการประกาศจำนวนผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                         ()      การสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยรัฐ  รวมทั้งวิธีการแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเองหรือบุคคลอื่นที่อาจกระทำได้


                   ()   การจำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง  การแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งโดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง  การตรวจสอบและการประกาศผลการตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                   ()  การนับคะแนนและการประกาศผลการนับคะแนนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง  ซึ่งต้องกระทำโดยเปิดเผย   สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งแต่เพียงแห่งเดียว  เว้นแต่เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเฉพาะท้องที่  คณะกรรมการการเลือกตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้


                   ()  การนับคะแนนและการประกาศผลการนับคะแนนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา


               () การประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ  และการเลื่อนผู้มีรายชื่ออยู่ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทนผู้ได้รับเลือกตั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อซึ่งพ้นจากตำแหน่ง


                                      มาตรา                          นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง


                   ()  การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง  การจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  และการนับคะแนนใหม่


               () การให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


                   ()  กระบวนการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง


                   ()  การดำเนินคดีในศาลโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งในความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง


                   ()   ความร่วมมือที่ศาล  พนักงานอัยการ  พนักงานสอบสวน  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐต้องให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง


                   ()  การรับรองและการแต่งตั้งผู้แทนองค์การเอกชนเพื่อประโยชนฺ์ในการตรวจสอบการเลือกตั้ง


                   ()  การจัดให้มีหน่วยงานที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดำเนินการอื่น  โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด


                   ()   กำหนดเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเริ่มควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  ซึ่งต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้


                                      มาตรา                          นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   การจัดตั้งพรรคการเมือง  ซึ่งอย่างน้อยให้กระทำได้โดยบุคคลตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป  และการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองในทะเบียนพรรคการเมือง


                         ()   การเลิกพรรคการเมือง  ทั้งนี้  โดยมิให้นำเอาเหตุที่พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง  หรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง  มาเป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง


                   ()  การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองและการจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง


                   ()  การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาสาขาพรรคโดยรัฐ


                         ()      การสนับสนุนทางการเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่พรรคการเมืองโดยรัฐ  การจำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง  และการควบคุมการรับบริจาคของพรรคการเมือง


                   ()   การตรวจสอบสถานะทางการเงินของพรรคการเมือง  รวมทั้งการตรวจสอบและการเปิดเผยที่มาของรายได้และการใช้จ่ายของพรรคการเมือง


                   ()  การจัดทำบัญชีแสดงรายรับและรายจ่ายของพรรคการเมือง  และบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง  ซึ่งต้องแสดงโดยเปิดเผยซึ่งที่มาของรายได้และการใช้จ่ายประจำปีของพรรคการเมืองในทุกรอบปีปฏิทิน  เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบและประกาศให้สาธารณชนทราบ


                                      มาตรา         ๑๐              นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                   ()  ความร่วมมือที่ศาล  พนักงานอัยการ  พนักงานสอบสวน  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐต้องให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                         ()    คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                   ()   อำนาจหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา


                         มาตรา    ๑๑        นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()      การกำหนดลักษณะอันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ  และการกระทำอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่


                   ()    การห้ามกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม  ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐต้องรับผิดชอบ  ทั้งในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือหลังพ้นจากตำแหน่งตามเวลาที่กำหนด


                   ()    ตำแหน่งและชั้นของผู้พิพากษาหรือตุลาการ  พนักงานอัยการ  ตำแหน่งและระดับของข้าราชการ  พนักงาน  และผู้ดำรงตำแหน่งอื่น  ที่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและที่อาจถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญนี้


                   ()     การให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมทั้งเอกสารประกอบ  หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินนั้นเป็นระยะ  และหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน


                   ()     วิธีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ  กระทำการทุจริตต่อหน้าที่  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  หรือกระทำการที่ส่อให้เห็นว่ามีพฤติการณ์ดังกล่าว  ซึ่งต้องระบุพฤติการณ์และมีหลักฐานหรือเบาะแสตามสมควร


                         ()           กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงและทำสำนวนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหา  โดยให้คำนึงถึงฐานะของตำแหน่งซึ่งมีอำนาจให้คุณให้โทษในระดับสูง  และการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหาตามสมควร


                   ()     กระบวนการพิจารณาของวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ใดผู้หนึ่งออกจากตำแหน่ง  ซึ่งจะต้องเปิดเผย  เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะสำคัญ  และการลงมติซึ่งต้องกระทำเป็นการลับ


                         ()       กระบวนการไต่สวนและวินิจฉัยในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ  กระทำการทุจริตต่อหน้าที่  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  โดยต้องกำหนดกระบวนการให้เหมาะสมกับระดับของตำแหน่งและการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหาตามสมควร


                         ()       การดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา


                         (๑๐)     ความร่วมมือที่ศาล  พนักงานสอบสวน  หรือหน่วยงานของรัฐต้องให้แก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


                   (๑๑)   การดำเนินการตามมาตรา  ๓๐๕  วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  เพื่อฟ้องคดี  รวมทั้งอำนาจในการนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีต่อไป


                   (๑๒)  หลักเกณฑ์และวิธีการให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินในกรณีที่ปรากฏว่ามีการโอนหรือยักย้ายทรัพย์สิน


                   (๑๓)  โทษที่ประธานกรรมการหรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะได้รับในกรณีที่กระทำการโดยขาดความเที่ยงธรรม  กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  ซึ่งต้องมีโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่กำหนดโทษนั้นไม่น้อยกว่าสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น


                         มาตรา    ๑๒       นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   อำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


                   (๒)   วิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ซึ่งต้องเป็นระบบไต่สวนข้อเท็จจริง  โดยยึดสำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสรุปไว้เป็นหลัก  และต้องยึดถือหลักในเรื่องการฟังความทุกฝ่าย  และสิทธิในการต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหา


                   ()   การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย  เว้นแต่จะมีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชนฺ์สาธารณะสำคัญ


                   ()   การห้ามดำเนินคดีซ้ำหรือซ้อนกัน


                         ()    การแต่งตั้งบุคคลให้ดำเนินคดีตามมาตรา  ๓๐๕  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


                   ()   การบังคับตามคำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


                   ()  การอื่นอันจำเป็นเพื่อให้กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเที่ยงธรรม  โดยเฉพาะความร่วมมือที่ศาลอื่น  พนักงานสอบสวน  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ  ต้องให้แก่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


                         มาตรา    ๑๓       นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้  กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน  อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


                   ()   อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  อันได้แก่  การวางนโยบาย  การให้คำปรึกษาและคำแนะนำ  การเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน  การกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน  การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาในเรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลัง  การกำหนดโทษปรับทางปกครอง  การพิจารณาวินิจฉัยความผิดทางวินัยและงบประมาณและการคลังในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุด  และการพิจารณาเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน


                   ()  การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน


                   ()  การจัดให้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  การปฏิบัติงาน  และการดำเนินการอื่น


                   มาตรา    ๑๔       ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระยังคงดำรงตำแหน่งต่อไป  จนกว่าจะมีการสรรหาใหม่ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา     ๑๕       ให้สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป  และประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนเท่าที่มีอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้


                         ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้คงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช   ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  อยู่ต่อไปจนครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร  หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  หรือเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  แล้วแต่กรณี


       ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคสองว่างลงเพราะเหตุอื่นใด  นอกจากถึงคราวออกตามอายุสภาผู้แทนราษฎรหรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  พ.ศ.  ๒๕๕๐  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  พ.ศ.  ๒๕๕๐  และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  พ.ศ.  ๒๕๕๐


                         ในระหว่างดำเนินการตามวรรคสาม  ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนเท่าที่มีอยู่


                   มาตรา     ๑๖       ให้วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ทำหน้าที่วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป  และประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนเท่าที่มีอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้


                         ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  คงเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้อยู่ต่อไป  จนกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาจะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


         มาตรา           ๑๗           ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  มีวาระสามปีนับแต่วันที่  ๑๙  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑  และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการเลือกตั้งคราวถัดไปหลังจากสิ้นสุดสมาชิกสภาพ


                         ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาว่างลงก่อนครบวาระตามวรรคหนึ่ง  ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนเท่าที่มีอยู่


เมื่อสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหามีวาระครบสามปีตามวรรคหนึ่ง  ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่ขาดเพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนสองร้อยคนตามมาตรา  ๑๒๑  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้               ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งตามวรรคสามมีวาระการดำรงตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่  และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการเลือกตั้งคราวถัดไปหลังจากสิ้นสุดสมาชิกสภาพ


                         ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ว่างลงเพราะเหตุอื่นใด  นอกจากถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา  ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  พ.ศ.  ๒๕๕๐  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  พ.ศ.  ๒๕๕๐  และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  พ.ศ.  ๒๕๕๐


                                      มาตรา       ๑๘            ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร  รองประธานสภาผู้แทนราษฎร  และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  คงเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร  รองประธานสภาผู้แทนราษฎร  และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


                   มาตรา ๑๙     ให้ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  คงเป็นประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


                         มาตรา   ๒๐       ให้คณะกรรมาธิการซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  คงเป็นคณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                                      มาตรา         ๒๑          ให้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา  และข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  และให้ข้อบังคับการประชุมดังกล่าวสิ้นผลลงเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วแต่กรณี  ดังต่อไปนี้


                         (๑)   เมื่อสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา  ๑๕  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  สิ้นอายุหรือถูกยุบหรือเป็นกรณีตามมาตรา   วรรคสาม


                                      (๒)     เมื่อมีการตราข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ 


                                      (๓)     เมื่อมีการตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้


                                      มาตรา       ๒๒         ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้


                                      มาตรา       ๒๓          บรรดาประกาศ  คำสั่ง  กฎ  หรือการใดที่กระทำโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  หรือสืบเนื่องจากประกาศ  คำสั่ง  กฎ  หรือการดังกล่าว  หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  เป็นอันใช้บังคับไม่ได้


                         มาตรา   ๒๔      บทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  กฎหมาย  หรือกฎที่อ้างถึงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  ให้ถือว่าบทบัญญัติที่ถูกอ้างถึงนั้น  เป็นการอ้างถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้  ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน


 


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ


    ..........................................


            ประธานรัฐสภา


 


 


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net