ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: เสนอไปให้ไกลกว่า "อคติชาติพันธุ์" ไม่ควรมองข้าม "อคติทางชนชั้น"

(23 ธ.ค.) สุภัตรา ภูมิประภาส ผู้สื่อข่าวและนักเขียน กล่าวในหัวข้อ ""ตลก" ในสื่อบันเทิง "ผู้ร้าย" ในข่าว: อคติของ (ชน) ชาติ ... (ชน) ชั้น และความลักลั่นของวาทกรรม" ในการประชุมวิชาการ ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ ว่า "อคติทางชาติพันธุ์" ซึ่งมักถูกหยิบมาใช้วิจารณ์ว่าก่อให้เกิดการเหยียดหยามดูถูกชนเผ่าต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลักนั้น ไม่ใช่ปัจจัยเดียว แต่ยังมีอคติทางชนชั้นด้วย

 

โดยสุภัตรา ได้ยกตัวอย่างว่าขณะที่ละครที่เสนอภาพชนเผ่าอย่าง แก้วกลางดง ซึ่งถูกวิจารณ์ว่า มีอคติทางชาติพันธุ์ เพราะให้ภาพชนเผ่าว่า พูดไม่ชัด สกปรกและล้าหลัง แต่เมื่อดูวิธีการปฎิบัติของสื่อต่อพ่อหลวงจอนิ โอโดเชา กลับยกย่องในฐานะปราชญ์ปกาเกอญอ หรือแม่หลวงนาแส ยะป๋า ได้รับการยกย่องในฐานะนักต่อสู้เพื่อสิทธิิมนุษยชนลาหู่

 

หรือกรณีที่กลุ่มแม่่หญิงลาวลุกขึ้นมาประท้วงนิโคล เทริโอกับเท่ห์ อุเทน พรหมมินท์ว่าไปว่าลาวสกปรก เขียน ธีระวิทย์ก็ได้เคยทำการศึกษาแล้วพบว่า กรณีนี้เป็นการใช้อคติทางเชื้อชาติมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองและธุรกิจ

 

นอกจากนี้ ขณะที่แรงงานข้ามชาติตกเป็นผู้ร้ายในสื่อ โดยมีภาพซึ่งพวกเขาถูกจับในลักษณะ "เป็นกองๆ" แต่เมื่อสื่อทั้งไทยและเทศ เสนอข่าวของจ๋ามตอง ผู้หญิงไทใหญ่ซึ่งต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีไทใหญ่ หมอซินเธียชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นหมอแมกไซไซ กลับถูกเสนอในภาพนางเอก

 

รวมถึงคนมุสลิม อย่างชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการ, สุรินทร์ พิศสุววรณ เลขาธิการอาเซียน, พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร คนพวกนี้ปรากฎตัวในสื่อ โดยคนมองข้ามความเป็นมุสลิมของพวกเขาไป รวมถึงหมอแว ผู้ต้องหาคดีเจไอ ที่พอสื่อรู้ว่า มีผู้ต้องหาเป็นหมอ คดีนี้ถูกเน้นขึ้นมา จนเพื่อนในวงการสื่อบางคนจำชื่อคนอื่นนอกจากหมอแวไม่ไ่ด้ แม้ว่า หมอแวจะเป็นมุสลิมและตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคงก็ตาม

 

หรือกรณีการพูดไม่ชัดของคนไทยเชื้อสายจีน ในกรณีธานินทร์ เจียรวนนท์กับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่พูดไำทยไม่ชัด เรื่องชาติพันธุ์ก็ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป รวมถึง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ประกาศตัวว่า เป็น "ปราชญ์เจ็กๆ" อานันท์ ปันยารชุน ประกาศตัวว่าเป็นมอญด้วย ถามว่า คนรู้สึกว่าเป็นการดูถูกไหม

 

สุภัตราตั้งคำถามว่า ควรจะข้ามอคติของผู้ใช้วาทกรรมนี้จากการมุ่งไปที่จำเลยตัวเดียว ไปสู่อคติอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เพราะอคติทางชาติพันธุ์อาจไม่ใช่ตัวหลักอีกแล้ว

 

"สิ่งที่ดิฉันนำเสนอไม่ได้บอกว่าอคติชาติพันธุ์ไม่มีแล้วและต้องก้าวข้ามไปเลย แต่ดิฉันอยากเสนอให้คนที่ใช้วาทกรรมนี้ช่วยก้าวข้ามอคติไปมองตัวอื่นๆ สังคมมันปลี่ยนไปเยอะแล้่วและมีบริบทอื่นๆ อีกมากมาย และผู้ใช้วาทกรรมเองก็มีการเลือกปฎิบัติมากมาย อย่างเช่นกรณีพูดไม่ชัด ให้ภาพพี่น้องชนเผ่าในเชิงที่ต้องการพัฒนา ล้าหลัง ดิฉันไม่ได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องหนึ่งใจเดียวกันเลย ทุกคนคงทราบว่าเป็นบทประพันธ์ของใคร"

 

 


ข่าวจากการประชุม "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ที่เกี่ยวข้อง

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "ศรีศักร วัลลิโภดม" หวั่นชาตินิยมรวมศูนย์พ่นพิษ ไม่เปลี่ยนวิธีคิดก็รอวันเจ๊ง, 23/12/51

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "หมอโกมาตร" ย้ำอคติชาติพันธุ์ในระบบสุขภาพ, 23/12/51

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: 6 ปีหลักประกันสุขภาพ "ไม่" ถ้วนหน้า ลอยแพชาว "สยาม" ในดินแดนไทย, 23/12/51

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: เสนอไปให้ไกลกว่า "อคติชาติพันธุ์" ไม่ควรมองข้าม "อคติทางชนชั้น", 24/12/51

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: สายชล สัตยานุรักษ์อภิปราย "ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง", 25/12/51

ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: ปาฐกถานำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, 28/12/2551

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท