Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 ธนาพล อิ๋วสกุล


http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=21825






หมายเหตุ
ข้อเขียนนี้ผมตั้งใจเสนอต่อสาธารณะเพื่อให้ทุกท่านในที่นี้ได้ร่วมกันเสนอความเห็น มิได้มีเจตนาขัดขวางการทำงานของผู้ที่จะดำเนินกิจกรรมในวันอังคารนี้แต่อย่างใด แต่ผมหวังว่าการร่วมกันอภิปรายร่วมกันในที่นี้จะเป็นการเปิดประเด็นในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นให้มากขึ้น


ถึง เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย

ตามที่ท่านที่เอ่ยนามมาข้างต้นจะเดินทางไปพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อยื่นจดหมายถึง นายกรัฐมนตรีในหัวข้อ "ข้อเสนอต่อนโยบายการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน" ในวันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 8.30 . นั้น ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้

(
ก่อนจะไปเรื่องเนื้อหา ในส่วนตัวผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว แทนที่เราจะจัดเวทีให้นายกฯหรือใครที่รับผิดชอบมาซักถาม หรือเอาผู้รับผิดชอบกับคู่กรณีมาเจอกัน วิธีการอย่างนี้มันเหมือนกับการ เข้าหาผู้ใหญ่ยังไงก็ไม่รู้ ภาพที่ออกมาคงประมาณรัฐบาลรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย แล้วหลังจากนั้นก็คงมีข่าว ประมาณนี้ รายละเอียดข้อเสนอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ และนายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ รองประธานทีดีอาร์ไอ ยื่นเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0102090152&sectionid=0101&selday=2009-01-09 )

กลับมาที่เนื้อหา ในข้อเสนอหนึ่งที่บอกว่า

"
ให้รัฐบาลมีแนวทางผลักดันให้เกิดกลไกการกำกับดูแลกันเองทั้งวิทยุชุมชนและกลุ่มประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดเกณฑ์ที่ชัดเจนทั้งในเรื่องความมั่นคง และกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

ปัญหาของผมคือ ข้อเสนอดังกล่าวมันขัดกัน ถ้าประชาชนต้องดูแลกันเองแล้วทำไมต้องให้รัฐบาลมาผลักดัน การที่รัฐมาผลักดันกลไกเหล่านี้มิกลายเป้นการยื่นดาบไปให้รัฐจัดการประชาชนหรอกหรือ แม้ว่าจะเป็นประชาชนกลุ่มน้อยก็ตาม



ถ้าจำกันได้การเกิดขึ้นของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติในปี 2540 เป็นการรวมตัวกันของเอกชนคือคนทำหนังสือพิมพ์ เพื่อจะ ดูแลกันเอง มิใช่หรือ (ส่วนจะสำเร็จหรือไม่นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง)

นี่เป็นประเด็นที่ 1

ในประเด็นที่ 2 ต่อให้ประชาชนควบคุมกันเองโดยไม่มีรัฐมาควบคุมนั้น อะไรคือหลักประกันของคนกลุ่มน้อย โดยที่คนที่คิดไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกรณี "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

ถ้า "คนส่วนใหญ่" เห็นว่าคนส่วนน้อยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้นไม่ต้องหมายความว่า "คนส่วนน้อย" นั้นจะต้องงดแสดงความเห็น คนส่วนน้อยนั้นต้องติดคุกติดตะรางดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่

กรณีโชติศักดิ์ นั้นเราจะถือว่าเป็นการควบคุมกันเองของประชาชนหรือไม่

(
นอกเรื่อง- เลขาคปส. คนปัจจุบันยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีวิทยุผู้จัดการคุกคามโชติศักดิ์ หลังจากโชติศักดิ์ยืนหนังสือให้ตรวจสอบผู้จัดการ ด้วยเหตุผลว่าคปส. ทำงานนโยบาย)

ผมเห็นตรงข้ามครับ ผมคิดว่าปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่ประชาชนหรือสังคมควบคุมกันเองอย่างหนาแน่นเท่านั้น แต่ลึกลงไปทุกคนก็มีการควบคุมกันเองอยู่แล้ว และมากกว่าประชาชนหรือสังคมด้วยซ้ำไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน




ธนาพล อิ๋วสกุล

ปล. เสรีภาพต้องเป็นของคนส่วนน้อย เพราะคนส่วนใหญ่เป็นผู้นิยามเสรีภาพอยู่แล้ว

 



-------------


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พลเมืองเน็ต-คปส.-FACT ร้องรัฐสร้างความชัดเจนปราบเว็บไซต์-วิทยุชุมชน อย่าจับสิทธิประชาชนเป็นตัวประกัน



 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net