Skip to main content
sharethis

ที่มา: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้


 






หมายเหตุ  : เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย จัดเสวนา-เวทีคลังสมองเครือข่ายแก้ไขปัญหาภาคใต้ "5 ปี ไฟใต้: สงคราม: ความรู้: ความสับสน:...แล้วไงต่อ?" ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


 


 



(ที่มา: อิบรอเฮ็ม มะโซ๊ะ/DSW)


 


การนำเสนอผลการศึกษาในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของ DSW


การศึกษาลักษณะความรุนแรงในพื้นที่


 


 


"ถ้ารัฐใช้นโยบายเหมือนเดิมที่เน้นการทหาร เน้นความเข้มแข็งเป็นหลัก ต้นทุนทั้งหมดที่รัฐต้องลงทุนเพื่อนำไปสู่ความสงบต้องเพิ่มอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท รวมแล้วประมาณ 345,280 ล้านบาท และใช้เวลาอีกประมาณ 5 -10 ปี"


 


ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี


คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


 


"จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีกึ่งทศวรรษของความรุนแรงและการแสวงหาทางออกด้วยเหตุผล"


ระหว่างเดือน ม.ค.2547 ถึง ธ.ค.2551 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจำนวนกว่า 8,600 ราย หากประเมินในรอบ 10 ปี ความรุนแรงได้พุ่งสูงขึ้นในปี 2547 โดยปี 2548 เป็นปีที่มีความรุนแรงพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี เกิดเหตุการณ์จำนวน 2,297 ครั้ง ถ้าเทียบเหตุการณ์เฉลี่ยต่อวัน ปี 2547 มีจำนวน 5 ครั้งต่อวัน ปี 2548 มีจำนวน 6 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ปี 2551 ลดลงเหลือจำนวน 2 ครั้งต่อวัน


 


ในด้านงบประมาณในรอบ 5 ปี ใช้งบประมาณไปแล้วประมาณ 109,000 ล้านบาท จากการคำนวนต้นทุนในการจัดการพบว่า การทำให้เกิดเหตุการณ์ลดลง 1 เหตุการณ์จะต้องใช้งบประมาณ 88 ล้าน บาท ซึ่งเป็นฐานที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นถ้ารัฐใช้รัฐใช้นโยบายเหมือนเดิมที่เน้นการทหาร เน้นความเข้มแข็งเป็นหลัก ต้นทุนทั้งหมดที่รัฐต้องลงทุนเพื่อนำไปสู่ความสงบต้องเพิ่มอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท รวมแล้วประมาณ 345,280 ล้านบาท และใช้เวลาอีกประมาณ 5 -10 ปี


 


ทว่า ปัญหาที่ตามมาและสิ่งที่ควรระวังก็คือการละเมิดสิทธิ การควบคุมเสรีภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผลกระทบในด้านลบและเกิดความกดดันในเรื่องวิถีชีวิตของคนในพื้นที่


 


ในรอบ 5 ปีมีการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุมในพื้นที่กว่า 10,000 ครั้ง มีคดีกว่า 6,000 คดี ในขณะที่เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพียง 2.5% เท่านั้น


 


ในส่วนเหตุการณ์ในปี 2551 มีโน้มที่ลดลงจากปี 2550 ประมาณ 1,200 กรณี แต่เหตุการณ์รายเดือนยังมีความแปรปรวน จำนวนสูงต่ำของเหตุการณ์ไม่แน่นอนแม้เหตุการณ์ลดก็ตาม แต่การเจ็บและตายยังมีสูง ในส่วนกลุ่มเป้าหมายของเหยื่อพบว่าสูงสุดเป็นประชาชนทั่วไป ส่วนอันดับสองเป็นทหาร แต่ในปี 2550 - 2551 น่าสังเกตว่าเหยื่อเป็นผู้ใหญ่บ้านสูงมาก สูงกว่าทหารและตำรวจซึ่งน่าจะเป็นเรื่องการแก้แค้นต่อรัฐไทย


 


การใช้วาทกรรมในทางนโยบายในการแก้ปัญหาต้องมีการใช้กรอบเหตุผลในทางนโยบายมาก ขึ้น เวลานี้ตำรวจใช้การตรวจค้น จับกุม สอบสวน ทำให้มีความชัดเจนขึ้น มีความระมัดระวังมากขึ้น แต่หากมีการละเมิดสิทธิขึ้นก็อาจจะเกิดปัญหาใหญ่ที่มาจากการเฝ้ามองของต่างประเทศ


 


ผศ.ดร.ศรีสมภพ สรุปทิ้งท้ายว่า การปฏิรูปทางโครงสร้างในการแก้ปัญหาระยะยาวที่สำคัญสุดไม่ได้อยู่ที่การทหาร อย่างเดียวแต่อยู่ที่ทางการเมือง ซึ่งต้นทุนที่สูงอาจลดลงถ้าจัดการได้


 


000


 


 


 


"แนวโน้มปี 2552 รัฐต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ คือ การต่อสู้ทางความคิด"


 


นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ


ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนใต้


 


"สงครามที่ภาคใต้: สถานการณ์ทางยุทธศาสตร์ ปี 2552"


สรุปบทเรียนยุทธศาสตร์ในปี 2552 โดยยกจากปี 2551 มาเป็นฐาน พบว่ายุทธศาสตร์ฝ่ายรัฐเน้นใน 2 เรื่อง คือ ความมั่นคงกับการพัฒนา โดยมีกลยุทธ์ คือ รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ และกลยุทธ์ด้านการข่าว


 


โดย กลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สามารถทำได้ดี ส่วนกลยุทธ์ด้านการข่าวก็มีข้อมูลที่ชัดแน่นอน สามารถทำการต่อเป้าหมายได้แม่นยำมากขึ้นในระดับดี แต่การสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ทราบนั้นแย่ ไม่ชัดเจน และยังเป็นประโยชน์กับฝ่ายตรงข้าม ในขณะที่มีเครื่องมือทั้งระดับชาติและท้องถิ่นให้ใช้ได้มากกว่านี้


 


นอกจากนี้ ในด้านการศึกษาก็แย่มากๆ หากเป็นอย่างนี้ต่อไปจะแพ้เขมรในเวลา 5 ปี ในส่วนของเหตุการณ์คนส่วนมากเชื่อว่าสาเหตุใหญ่ไม่ได้มาจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งเดิมเคยเชื่อกันว่าเจ้าหน้าที่สร้างสถานการณ์อาจเพื่อยศ เพื่อตำแหน่ง พอมาปี 2551 หลายคนหลายฝ่ายเชื่อว่ามีขบวนการแยกดินแดนจริง ทั้งนี้ หากมองในส่วนกลยุทธ์ด้านการต่างประเทศพบว่ารัฐสำเร็จมากที่สุด ในขณะที่ฝ่ายก่อการยังไม่สามารถยึดพื้นที่นี้มาครอบครองได้


 


สำหรับ กลยุทธ์ทางฝ่ายขบวนการนำข้อมูลมาจากการประชาสัมพันธ์และการสังเกตของรัฐเอง รวมไปถึงการติดตามข้อมูลในพื้นที่ พบว่า ยุทธศาสตร์ฝ่ายขบวนการมี 3 เรื่อง คือเพาะแก่นแกนทั้งการเมืองการทหารและสร้างเครือข่ายทับซ้อนรัฐไทย


 


กลยุทธ์ที่ 2 คือ การสร้างความน่าสะพรึงกลัวในพื้นที่ 3 จังหวัดซึ่งก็ทำได้สำเร็จ ปัจจุบันสัดส่วนคนไทยพุทธใน 3 จังหวัด เหลือเพียง 70,000 คน จากที่เคยมีประมาณ 300,000 คน ในปี 2547 ส่วนกลยุทธ์ที่ 3 คือการแย่งชิงแนวร่วมทางสากลซึ่งยังทำไม่สำเร็จแต่ก็มีหน่ออ่อนให้สังเกตได้


 


แนวโน้มปี 2552 รัฐ ต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ คือ การต่อสู้ทางความคิด แต่ยังไม่เห็นชัดตรงนี้จากฝ่ายรัฐ อีกประการคือการทำงานการเมืองที่เป็นระบบที่จริงจัง รอบด้าน ครอบคลุมในบริบทการเมืองนำการทหารที่ต้องเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม การทหารในปี 2552 จะจิ๋วแต่แจ๋วมากขึ้น ไม่ใช่การใช้ทหารจำนวนครึ่งกองทัพมาลงในพื้นที่ดังปัจจุบัน


 


ส่วนฝ่ายขบวนการต่อสู้กับรัฐไทยมีแนวโน้มในการเพิ่มกองกำลังมาทดแทนที่สูญเสีย ทราบมาว่ามีเพิ่มกว่า 100 คน เข้ามาในพื้นที่จากการฝึกภาคสนาม แต่ที่อยากให้จับตาเป็นพิเศษคือสงครามอิสราเอลกับกองกำลังฮามาสในฉนวนกาซ่า ซึ่งมีร่องรอยว่ามีการส่งนักรบปัตตานีไปร่วมในสงครามดังกล่าว ซึ่งอาจจะทะลุทะลวงในการสร้างแนวร่วมระดับสากลได้เมื่อสงครามสงบ เพราะมิตรร่วมรบจะแนบแน่นสุด บางคนอาจมองว่าจินตนาการไปเอง แต่การติดตามอย่างกระชั้นชิดทำให้การคาดการณ์ไม่ค่อยผิด


 


000


 


 


มุมมองเจ้าหน้าที่รัฐต่อผลการศึกษาในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของ DSW


 


 


"งบประมาณมิได้ถูกนำไปใช้ด้านการต่อสู้อย่างเดียว"


 


พ.อ.เลอชัย มาลีเลิศ


เสธ พตท.


 


เรื่องข้อมูลของ ผศ.ดร.ศรีสมภพ เรื่องการใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภาคใต้นั้นงบประมาณมิได้ถูกนำ ไปใช้ด้านการต่อสู้อย่างเดียว แต่ส่งไปถึงประชาชนในหมู่บ้าน เช่น งบพัฒนาชุมชน งบฟื้นฟูเยียวยา และค่าตอบแทนกำลังพล รวมถึงการจัดซื้อจัดหาเครื่องป้องกันชีวิตของผู้ปฏิบัติหน้าที่ และนโยบายด้านการต่อสู้เชิงยุทธศาสตร์ต้องทำให้การอยู่ร่วมกันภายใต้กรอบ กฎหมายเดียวกัน 3 จังหวัดภาคใต้ต้องไม่โดนแบ่งแยกเด็ดขาด


 


ส่วน เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนยอมรับว่าที่ผ่านมาอาจมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น บ้าง เพราะเจ้าหน้าที่เป็นปุถุชน มีอารมณ์ความรู้สึก เมื่อเห็นเพื่อนตายต่อหน้าก็อาจมีอารมณ์บ้าง และคู่ต่อสู้เราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่แสดงตน กว่าจะรู้ก็ต้องใช้เวลา แต่ขณะนี้รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนว่าจะต้องดูแลคนกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคนใน พื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีสันติสุขและความสงบ ทั้งยังมีหน้าที่เปลี่ยนแปลงความคิดของแนวร่วมและให้การศึกษาแก่เยาวชน และพยายามไม่ให้เกิดเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น


 


นอกจากนี้ จะต้องคงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้เอาไว้ เพราะจากการสอบถามประชาชนบอกว่าอยากใ้ห้คงไว้ ส่วนกรณีที่ฝ่ายรัฐไม่ค่อยให้ข้อมูลข่าวสารหรือทำการประชาสัมพันธ์การ ปฏิบัติหน้าที่นั้นเพราะเกรงว่าจะเป็นการเปิดช่องให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ความ เคลื่อนไหวต่างๆ ของรัฐมากเกินไป


 


000


 


 


"เรื่องสงครามความคิด ทำอย่างไรจึงจะต่อรองได้ ยังไม่มีนโยบายออกมา แต่คิดว่าทุกอย่างควรต้องหาทางยุติปัญหาด้วยความเป็นธรรม"


 


พ.ต.ท.สมควร คำภีระ


ตัวแทน พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว


 


ใน ส่วนของตำรวจจัดเก็บข้อมูลอย่างละเอียด เช่น ข้อมูลปิดล้อมตรวจค้น แต่อาจมีการรวมการดำเนินคดีทั่วไปด้วย เลยดูเหมือนว่ามีการปิดล้อมตรวจค้นเยอะกว่าที่เ่ป็นจริง แต่ในปีที่ผ่านมารัฐบาลศึกษาเรื่องนี้แล้วสรุปเป็นนโยบายหลายด้าน และสิ่งที่จะนำไปทบทวนในเชิงยุทธศาสตร์ คือเรื่องสิทธิมนุษยชน มีการจัดทำร่างรายงานด้านการเมืองและสิทธิมนุษชนส่งให้สหประชาชาติ และมีการบรรจุหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้เข้าร่วมศูนย์สันติวิธี


 


อย่างไรก็ตาม  ในส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) ยังมีความสำคัญ เพราะมีประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในการซักถาม และได้รับคำชมจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนว่าทำได้ถูกต้อง ไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ


 


ส่วน เรื่องสงครามความคิด ทำอย่างไรจึงจะต่อรองได้ ยังไม่มีนโยบายออกมา แต่คิดว่าทุกอย่างควรต้องหาทางยุติปัญหาด้วยความเป็นธรรม และคิดว่ารัฐจะนำไปกำหนดเป็นนโยบายในปี 2552 ต่อไป


 


000


 


 


"เร็วเกินไปที่จะบอกว่าสถานการณ์ดีขึ้น"


 


พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล


รองปลัดกระทรวงกลาโหม


 


โดยส่วนตัวได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการพูดคุยกับ ผศ.ดร.ศรีสมภพและ นายประสิทธิ์ แต่ในมุมมองด้านความมั่นคงในระดับยุทธศาสตร์เห็นว่าข้อมูลหรือสถิติความ รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลในเชิงยุทธวิธี ซึ่งอาจบ่งชี้และนำไปสู่การกำหนดนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายรัฐ แต่ต้องคำนึงว่าการใช้ประโยชน์หรือความพยายามหาความสำคัญของการศึกษาข้อมูล เหล่านี้จะช่วยในการกำหนดทิศทางการก้าวเดินของรัฐบาลอย่างไร


 


หากมองในระดับยุทธศาสตร์ดูเหมือนทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายใช้ความรุนแรงในพื้นที่ไม่สามารถก้าวข้ามยุทธศาสตร์ของตัวเองไปได้ โดยฝ่ายรัฐยังไม่สามารถกระจายกรอบคิดไปถึงผู้ปฏิบัติระดับล่าง และฝ่ายผู้ใช้ความรุนแรงก็ไม่สามารถขยายผลไปยังแนวร่วมในระดับสากลดังที่นาย ประสิทธิ์กล่าวถึง


 


ตามที่การดำเนินงานของฝ่ายความมั่นคงอ้างว่าสถิติความรุนแรงลดน้อยลง กลุ่มก่อเหตุทำได้แค่คงความรุนแรงไว้ แต่ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้ จุดนี้ถือว่าเร็วเกินไปที่จะบอกว่าสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ต้องมีการเกาะติดและตรวจสอบเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ส่วนการตรวจสอบในกรอบของอาจารย์ทั้งสอง ที่ต้องการนำเสนอคือการให้แง่คิดว่าระดับยุทธศาสตร์เรานำข้อมูลไปใช้ใน ลักษณะอย่างไร หน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคมต้องใกล้ชิดกันมากขึ้น ทุกส่วนต้องเป็นส่วนหนึ่งของทางแก้ปัญหา ต้องตั้งประเด็นว่าผลการศึกษาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์หรือ ยุทธวิธีของผู้ใช้ความรุนแรงในภาคใต้หรือไม่ อย่างไร


 


ตามที่ฝ่ายตัวแทนตำรวจบอกว่าความรุนแรงลดลง เป็นข้อมูลใกล้เคียงกันกับของอาจารย์ทั้งสอง แต่ถ้ามีการมองใน 2 ตัวเลือก คือ หนึ่ง หากฝ่ายก่อความรุนแรงยังยึดยุทธศาสตร์เดิมอยู่ แต่ความรุนแรงในพื้นที่ลดลง แสดงว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายรัฐ


 


สอง หากมองอีกแง่ก็อาจเป็นได้ว่าอีกฝ่ายกำลังอยู่ในระหว่างปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ จึงเพียงแต่รักษาสถานะเอาไว้ เพื่อเตรียมผลัดเปลี่ยนกองกำลังรุ่นใหม่ เชื่อมโยงกับกองกำลังในประเทศมุสลิมที่ได้รับความรุนแรงในซีกโลกอื่น จึงไม่ควรสรุปผลง่ายๆ และเร็วเกินไป


 


ส่วนในแง่ที่ว่าข้อมูลมีผลต่อยุทศาสตร์ของทางรัฐบาลหรือไม่ - ถ้าทำอย่างนี้แล้วความรุนแรงลดลง แสดงว่านโยบายรัฐได้ผล ก็ต้องคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ผู้ก่อเหตุได้รับความเห็นใจจากประเทศ มุสลิมอื่นๆ มากไปกว่านี้ ประเด็นหลักคือ ยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายยังยันกันอยู่ หากหน่วยงานภาครัฐหรือความมั่นคงไม่สามารถเข้าไปยึดหรือครอบครองพื้นที่ได้ มากกว่านี้หรือปล่อยให้ยุทธศาสตร์ยังยันกันต่อไป สถานการณ์ในภาคใต้ก็คงเป็นอย่างนี้ต่อไป แต่มันไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนจะต้องรอไปอีกห้าปีสิบปี แต่รัฐบาลต้องรุกต่อไปอีกก้าวหนึ่ง คือต้องหายุทธศาสตร์เพื่อชิงการนำอีกฝ่าย


 


ประเด็นสุดท้าย การศึกษาข้อมูลลักษณะนี้มีประโยชน์จริง แต่ต้องอย่าลืมว่าผลการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปตลอด มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยน แต่จะปรับอย่างไรให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมอื่นๆ นำไปใช้ได้ ถ้าเราเห็นชอบร่วมกันว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลชุดหนึ่งที่ต้องนำไป รวมกับข้อมูลอื่นๆ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของภาคประชาสังคมได้มากกว่าการมองเป็นส่วนๆ และเนื่องจากข้อมูลในลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งข้อมูลยุทธวิธีและยุทธศาสร์ ถ้าผู้ศึกษาข้อมูลเน้นให้ชัดเจนมากขึ้นว่าข้อมูลชุดไหนจะนำไปใช้ในยุทธวิธี และยุทธศาสตร์ ซึ่งฝ่ายรัฐคงนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น


 


สรุป ได้ว่าสถิติหรือข้อมูลในลักษณะนี้ รัฐมองว่าเป็นข้อมูลทางยุทธวิธี แต่เราเห็นว่าทุกส่วนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ในระดับการกำหนดนโยบายความมั่นคง เราไม่เคยนำข้อมูลมาจากองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือในลักษณะว่าผิดหรือถูก แต่ต้องเป็น Collective head force หรือเป็นแกนนำในการจัดเก็บและนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงและองค์กรภาคประชาสังคมต้องใกล้ชิดกันในเรื่อง ของกรอบคิด และก้าวไปพร้อมๆ กันให้มากกว่านี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net