Skip to main content
sharethis

รายงานเสวนา -เวทีคลังสมองเครือข่ายแก้ไขปัญหาภาคใต้ "5 ปี ไฟใต้ : สงคราม : ความรู้ : ความสับสน :...แล้วไงต่อ?" ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ร่วมกับสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย

ที่มา: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ใต้

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ร่วมกับสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย จัดเสวนา-เวทีคลังสมองเครือข่ายแก้ไขปัญหาภาคใต้ "5 ปี ไฟใต้ : สงคราม : ความรู้ : ความสับสน :...แล้วไงต่อ?' ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

 

 

(ภาพ : อิบรอเฮ็ม มะโซ๊ะ) 

000

 

นโยบายของรัฐกับการจัดการและควบคุมความรุนแรง 

"รัฐบาลมาแล้วก็ไป แต่ประชาชนอยากเห็นวาระแห่งรัฐและเอามาประลองกันที่ 3 จังหวัดภาคใต้"

นายสุกรี หลังปูเต๊ะ

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

"นโยบายของรัฐกับการจัดการและควบคุมความรุนแรง'

ประเด็น สำคัญในหัวข้อนี้หากมองจากข้อเสนอของหะยีสุหลงจะพบว่าปัจจุบันการเสนอ ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการบริหารพื้นที่ก็ยังคงมีอยู่ ในด้านความยุติธรรมเกี่ยวกับอิสลามก็ยังมีการเรียกร้องศาลอิสลามเพื่อมาให้ ปลอดภัยจากความเป็นบาปที่ไม่อาจใช้กฎหมายของพระเจ้าได้โดยคนในพื้นที่มีที่ ยืน ทางด้านการศึกษาก็ยังพูดถึงโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม กองทุนกู้ยืมที่ปราศจากดอกเบี้ย และในเรื่องเศรษฐกิจก็พูดถึงระบบที่ปราศจากดอกเบี้ยบนพื้นฐานมุสลิมซึ่งยัง เป็นปัญหาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาลมาแล้ว 4 รัฐบาลก็ตาม

ทั้ง นี้ ปัญหาหลักในปัจจุบัน คือ การผลักกันไปมาและหาเจ้าภาพไม่ได้จึงต้องมีวาระแห่งรัฐ เพราะรัฐบาลมาแล้วก็ไป แต่ประชาชนอยากเห็นวาระแห่งรัฐและเอามาประลองกันที่ 3 จังหวัดภาคใต้

ข้อ เรียกร้องของหะยีสุหลงในอดีตทำให้เขาเป็นกบฎ แต่ปัจจุบันมีเวทีหลายเวทีพูดถึง เช่นล่าสุดที่เวทีนโยบายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติก็ได้นำเสนอในแนวทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น ถ้านโยบายแห่งรัฐกับนโยบายที่มาจากแต่ละรัฐบาลเป็นทางเดียวกันจะทำให้ไม่ ต้องผวาเรื่องใครจะมาเป็นรัฐบาล หรือต้องทำการบ้านกันใหม่ ต้องทำให้แต่ละคนมีส่วนในการกำหนดนโยบายแต่ประชาชนได้ประโยชน์

นโยบายรัฐต้องไม่เป็นชักกะเย่อทางการเมือง เป็นการเมืองของการต่อสู้ รัฐ อาจมองการต่อสู้ในนิยามการเมืองของการเป็นกบฎเมื่อตีกรอบความมั่นคง แต่ประชาชนมองเรื่องความมั่นคงว่าของความมั่นคงเป็นมนุษย์ ขอให้คนทั้ง 4 กลุ่ม คือ คนในที่อยู่ข้างใน คนในที่อยู่ข้างนอก คนนอกที่อยู่ข้างใน คนนอกที่อยู่ข้างนอกได้ที่หนึ่ง ขอให้ดูมาเลเซียที่แปรความแตกต่างทางเชื้อชาติมาเป็นความเข้มแข็งว่าทำได้ อย่างไร ขอมองเฉพาะแค่ด้านการศึกษา นโยบายการศึกษาแทนที่จะมองการภาษาของคน 3 จังหวัดเป็นภาพลบ เป็นอุปสรรคก็สามารถมองในแง่การค้าได้

คนไทยหาภาษาที่ 3 แต่มองภาษาในแว่นของความมั่นคง คนใน 3 จังหวัดต้องใช้ภาษาอาหรับในทางศาสนาอยู่แล้ว หากมีการพัฒนาก็สามารถดึงดุลการค้ามาเป็นพันล้านได้ซึ่งคนชายแดนมีโอกาสทำการค้าได้มาก

 

มุมมองจากฝ่ายการเมืองต่อผลการศึกษา

"ใช้ หลักเดียวดูแลพื้นซึ่งมีลักษณะพิเศษ แต่ความรุนแรงและความไม่สงบยังดำรงอยู่ หรือจะเปลี่ยนไปใช้วิธีดูแลแบบพิเศษแต่สามารถช่วยให้สงบสุขได้"

นายจาตุรนต์ ฉายแสง

อดีตรองนายกรัฐมนตรี

ถ้า ไม่สามารถสร้างความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของประเทศให้แก่คนในทุกภาคส่วนก็ ไม่อาจแก้ปัญหาได้ นโยบายด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และการจัดการทรัพยากรในพื้นที่จึงเป็นเรืองสำคัญ และเห็นด้วยที่โยงเข้าสู่การสร้างความรู้สึกร่วมของการเป็นเจ้าของประเทศ ร่วมกัน แต่ขอเพิ่มเติมถึงเรื่องนโยบายชาติพันธุ์และต้องพูดถึงประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ด้วย

คนใน 3 จังหวัด ภาคใต้มีประวัติศาสตร์ของการเป็นรัฐและอาณาจักร มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของศาสนาที่ทำให้ชาติพันธุ์ทางภาคใต้มี ลักษณะพิเศษมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในไทย เพราะมีการรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนแน่นหนา และมีการสืบทอดทางภาษาและวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น นอกจากการส่งเสริมเสรีภาพในการนับถือศาสนาแล้ว อาจต้องพูดถึงการใช้หรือการอ้างแนวคิดในเชิงศาสนามาใช้เกินกว่าบริบทของ ศาสนาจนนำไปสู่การก่อความรุนแรง

โจทย์อีกอย่างคือการพัฒนาให้ประชาชนใน 3 จังหวัด เป็นผู้ร่วมกำหนดหรือเป็นหลักในการกำหนดนโยบายทางศาสนา หรือการศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนามากที่สุด เพราะนี่เป็นสาเหตุหลักของสิ่งที่อาจารย์สุกรีพูดว่าประชาชนไม่มีความรู้สึก ร่วมในการเป็นเจ้าของประเทศ

ส่วน เรื่องการจัดการปัญหาความุรนแรงก็สำคัญ แต่การจัดการไม่ดูแลเรื่องความรุนแรงไม่ได้ เพราะมันมีความเสียหายไปไกลต่อประชาชนและประเทศ ดูจากข้อเสนอจะเห็นว่าจุดร่วมของมันคือข้อเสนอมีลักษณะพิเศษ มีทางออก ทางแก้ การจัดการกลไก ที่ต้องอาศัยการเข้าใจและยอมรับว่า 3 จังหวัดภาคใต้มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนอีก 73 จังหวัด จึงต้องคำนึงถึงลักษณะพิเศษเหล่านี้ แต่คำถามคือรัฐไทยเข้าใจหรือยอมรับหรือไม่ ซึ่งอาจจะเข้าใจแต่ไม่ยอมรับให้มีการจัดการที่พิเศษ เพราะรัฐไทยต้องการใช้หลักเดียวกันในการปกครอง

ทางแก้จึงมีอยู่ 2 อย่าง คือ การใช้หลักเดียวดูแลพื้นซึ่งมีลักษณะพิเศษ แต่ความรุนแรงและความไม่สงบยังดำรงอยู่ หรือจะเปลี่ยนไปใช้วิธีดูแลแบบพิเศษแต่สามารถช่วยให้สงบสุขได้ ต้องใช้การเมืองนำการทหาร และนโยบายเป็นเรื่องสำคัญ แต่แนวทางก็สำคัญเช่นกัน คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากไม่เข้าใจคำว่าแนวทาง แต่ละคนต้องการทำหน้าที่ของตัวเองให้ได้ผลที่สุด จึงจำเป็นต้องมีนโยบายและแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน เพราะรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ถ้าเปลี่ยนรัฐบาลก็ต้องเปลี่ยนนโยบาย หากคนในพื้นที่มีแนวทางของตนเองที่ชัดเจน สังคมช่วยกันผลักดัน ก็จะช่วยให้รัฐบาลมีแนวทางที่ดี และมีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง เป็นเอกภาพ และมีประสิทธิ์ภาพด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Deep South Watch: เวที 5 ปีไฟใต้: ทุ่ม 3 แสนล้านแค่ยันทางยุทธศาสตร์

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net