Skip to main content
sharethis

เมื่อร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ก้าวเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคของการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เจ้ากระทรวงไอซีทีรายนี้ย่อมเจอโจทย์สุดหิน เช่น การวางกรอบ วางระบบ พัฒนาโครงข่ายการสื่อสารใหม่ อย่าง 3 จี ...

ธีรมล บัวงาม
สำนักข่าวประชาธรรม

เมื่อร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ก้าวเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคของการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เจ้ากระทรวงไอซีทีรายนี้ย่อมเจอโจทย์สุดหิน เช่น การวางกรอบ วางระบบ พัฒนาโครงข่ายการสื่อสารใหม่ อย่าง 3 จี อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง รวมถึงเรื่องที่มีมิติมากไปกว่าเทคโนโลยี แต่คาบเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร ซึ่งผู้คนหลายฝ่ายจ้องจับตาอยู่ว่า พ...องค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ..... จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร หลังจากรัฐสภาถอนร่างพ...องค์กรจัดสรรฯ ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐบาลสมชาย ออกจากการพิจารณาและตีกลับ ด้วยเหตุที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่

ฉะนั้นอนาคตของพ...องค์กรจัดสรรจึงยากจะคาดเดา และรมว.ไอซีทีคนใหม่จะมีแนวทางจัดการอย่างไรก็ไม่มีใครล่วงรู้ได้ เพราะตั้งแต่เริ่มปฎิบัติงานในตำแหน่งจากวันที่ 26 ธันวาคม 2551 จนถึงวันนี้ถ้อยแถลงที่ชัดเจนที่สุด คือ จะปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อความหรือภาพที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่จดทะเบียนจากต่างประเทศ รวมถึงปิดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ที่เผยแพร่เกมออนไลน์ที่มีเนื้อหา ลามกอนาจาร

อย่างไรก็ดี ย้อนกลับไปในช่วงรัฐบาลสมชายที่มีการยกร่างพ...องค์กรจัดสรรฯ พรรคประชาธิปปัตย์ (ฝ่ายค้านในขณะนั้น) ก็เป็น 1 ใน 5 กลุ่มคนที่พยายามยกร่างกฎหมาย และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเพิ่มเติมจากร่างของรัฐบาลสมชาย แม้จะไม่รับความสนใจและเกิดผลในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาก็ตาม แต่ปัจจุบันเมื่อพรรคประชาธิปปัตย์เข้ามากุมหางเสือของรัฐนาวานี้ จึงเป็นไปได้ที่เนื้อหา ความคิดที่บรรจุในร่างพ...องค์กรจัดสรรของพรรคประชาธิปปัตย์ที่รัฐบาลชุดก่อนไม่สนใจ อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ร่างกฎหมายนี้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาชนิดรื้อถอนแบบ ยกเครื่องใหม่ หรือแก้ไขหน้าตา ประมาณ ผ่าตัดศัลยกรรม ไม่มากก็น้อย ซึ่งบทความนี้จะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจและข้อถกเถียงสำคัญๆ มาพิจาณาเชิงเปรียบระหว่างร่างกฎหมายของรัฐบาลสมชาย พรรคประชาธิปัตย์ และฉบับภาคประชาชน

องค์กรอิสระ

ฉบับรัฐบาล

1. ใช้กระบวนการแต่งตั้งโดยให้คณะรัฐมนตรีคัดเลือกและแต่งตั้งในขั้นตอนสุดท้าย
2. กลไกกำกับดูแลคือ กสช. ซึ่งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการในหน่วยย่อย คือ กกสท. และกกทค.
3. ไม่ห้ามกรรมการดำรงตำแหน่งหรือถือหุ้นในธุรกิจ โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม

ฉบับประชาชน

1. ใช้กระบวนการสรรหา โดยวุฒิสภากลั่นกรอง
2. เพิ่มสัดส่วนภาคประชาชนในกระบวนการสรรหา
3. กลไกกำกับดูแลภาพรวม คือ กสทช. และแยกกรมการออกเป็นหน่วยย่อย คือ กสท. และกทค. เพื่อกำกับดูแลเฉพาะด้าน
4. ห้ามกรรมการดำรงตำแหน่งหรือถือหุ้นในธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมในระยะเวลา 5 ปี ก่อนเป็นกรรมการ

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. ใช้กระบวนการเสนอชื่อโดยองค์กรนิติบุคคล ผู้เสนอคัดเลือกกันเอง และวุฒิสภาคัดเลือกเป็นลำดับสุดท้าย
2. กลไกกำกับดูแลคือ กสช. ซึ่งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการในหน่วยย่อย คือ กกสท. และกกทค.
3. ห้ามกรรมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลประโยชน์ทางตรงทางอ้อมระหว่างดำรงตำแหน่ง

การจัดสรรคลื่นความถี่ให้ประชาชน

ฉบับรัฐบาล

1. ให้ชุมชนท้องถิ่นรวมตัวประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์โดยไม่แสวงหากำไร แต่หารายได้ให้เพียงพอได้ รายได้ส่วนเกินส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้อปท.ติดตามรายได้

ฉบับประชาชน

1. จัดสรรให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เปิดช่องให้ประชาชนทำวิทยุชุมชน และโทรทัศน์ชุมชน
2. ให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัดและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. จัดสรรให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 โดยไม่แสวงหากำไร แต่กสช.จะอนุญาตให้สามารถหารายได้ให้เพียงพอตามวิธีการและจำนวนที่กำหนด
2. ให้กสช.กำหนดหลักเกณฑ์ลักษณะของภาคประชาชนที่พึงได้รับการจัดสรรและสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่

การมีส่วนร่วมของประชาชน

ฉบับรัฐบาล

1. การจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และกำกับดูแล ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

ฉบับประชาชน

1. การจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และกำกับดูแลต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
2. ให้คณะกรรมการติดตามประเมินผลรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อใช้ในการติดตามและตรวจสอบ

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. การจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และกำกับดูแล ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

กระบวนการและกลไกตรวจสอบ

ฉบับรัฐบาล

1. ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล มาจากการแต่งตั้งของกสช.ทำหน้าที่ประเมินผลการทำงานแล้วรายงานให้ กสช.ทราบและส่งให้วุฒิสภา พร้อมเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

ฉบับประชาชน

1. ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล มาจากการสรรหาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
2. ให้กสทช. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีโดยละเอียดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล มาจากการแต่งตั้งของกสช.ทำหน้าที่ประเมินผลการทำงานแล้วรายงานให้ กสช.ทราบและส่งให้วุฒิสภา พร้อมเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

กองทุน

ฉบับรัฐบาล

1. ให้มี กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้มีบริการทั่วถึง
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วย หน่วยงานรัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง กสช.แต่งตั้ง

ฉบับประชาชน

1. ให้มีกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนภาคประชาชน
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนมาจากการคัดเลือกกันเองในสัดส่วนที่ทัดเทียมกัน ประกอบด้วย ภาครัฐ วิชาชีพ วิชาการ และภาคประชาชน

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. ให้มี กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้มีบริการทั่วถึง ส่งเสริม วิจัยและพัฒนาบุคลากร
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วย หน่วยงานรัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง กสช.แต่งตั้ง

ประเด็นเฉพาะกาล

ฉบับรัฐบาล

1. เปิดช่องให้รัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นไปให้สัมปทาน สามารถดำเนินการตามเดิมได้

ฉบับประชาชน

1. ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนแจ้งงรายละเอียดการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่แก่ กสทช.
2. ในระหว่างที่ยังไม่มีกสทช.ห้ามหน่วยงานรัฐจัดสรรคลื่นความถี่ ออกใบอนุญาต หรือให้ประกอบกิจการเพิ่มเติม

ฉบับพรรคประชาธิปัตย์

1. เปิดช่องให้รัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นไปให้สัมปทาน สามารถดำเนินการตามเดิมได้

รายละเอียดเหล่านี้เป็นเพียงประเด็นบางส่วน ที่อยากจะชี้ชวนให้ศึกษาทำความเข้าใจ เพราะความแตกต่างของกฎหมายแต่ละฉบับ ไม่ได้อยู่ที่ความต่างทางการใช้ภาษา ที่สำคัญการถกเถียงไม่ได้จบลงด้วยการบอกว่า ประชาชนจะมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 เพราะกฎหมายมันควรจะเป็นข้อบัญญัติที่คนทุกฝ่ายในสังคม ซึ่งแม้จะแตกต่างกันมากแค่ไหนก็สามารถยอมรับในกติกาบางอย่างร่วมกันได้

ข้อมูลประกอบการเขียน

http://www.mict.go.th
http://www.media4democracy.com

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net