Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
หมายเหตุ บทความนี้เป็นบทนำของหนังสือ "ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตย และตุลาการ" ของปิยบุตร แสงกนกกุล, สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์, กุมภาพันธ์ 255 2
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.onopen.com ในชื่อ "ตุลาการภิวัตน์" ภิวัตน์ พิฆาต และพิบัติ? ความเรียงว่าด้วยปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" นับแต่ 25 เมษายน 2549
 
 

 
000
แด่ สุพจน์ ด่านตระกูล ( ๒๔๖๖-๒๕๕๒)
ผู้อุทิศตนให้กับ "สัจจะ" ทางประวัติศาสตร์ และความคิด "วิทยาศาสตร์สังคม"
 
 
มักจะมีผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการทำหน้าที่ตัดสินลงโทษอยู่เหนือความเป็นความตายของผู้อื่น
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการเปรียบได้กับสามัญชนผู้ถือขวานไปตัดต้นไม้แทนช่างไม้ผู้ยิ่งยง
ผู้ถือขวานแทนช่างไม้ยากนักที่จะหนีพ้นบาดแผลจากคมขวาน
เล่าจื๊อ, เต๋าเต็กเก็ง
สำนวนแปลโดย พจนา จันทรสันติ ใน วิถีแห่งเต๋า
 
-๑-
 
หลัก นิติรัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องให้มีการแบ่งแยกอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งทั้งสามอำนาจนี้ต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ดังที่มาตรา ๑๖ ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ๑๗๘๙ ของฝรั่งเศสบัญญัติไว้ว่า "สังคมใดที่ไม่มีการคุ้มครองสิทธิ ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ สังคมนั้นไม่ถือว่ามีรัฐธรรมนูญ"
ใน ส่วนขององค์กรตุลาการ นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยคดีที่เอกชนเป็นคู่พิพาทกันเองแล้ว องค์กรตุลาการยังเข้ามามีบทบาทควบคุมองค์กรนิติบัญญัติและองค์กรบริหารอีก ด้วย กล่าวคือ องค์กรตุลาการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร นิติบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และองค์กรตุลาการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการกระทำของฝ่ายบริหารให้ชอบด้วย กฎหมาย องค์กรตุลาการจึงเป็นกลไกสำคัญสำหรับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ในฐานะเป็นผู้พิทักษ์นิติรัฐ-ประชาธิปไตย ควบคุมให้การกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนทั้งหลายเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และป้องกันไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจตามอำเภอใจอันอาจ กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้
กล่าว สำหรับประเทศไทย ในสมัยระบอบเก่า เดิมอำนาจตุลาการเป็นของกษัตริย์ตามคติสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหา กษัตริย์ในฐานะองค์อธิปัตย์เป็นเจ้าของและใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ เป็นไปไม่ได้ที่พระมหากษัตริย์จะสามารถกระทำการทุกอย่างได้ด้วยตนเองเพียง ลำพัง จึงมีการแต่งตั้งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่วินิจฉัยคดีในนามของพระมหา กษัตริย์ แต่ถึงกระนั้นอำนาจตุลาการก็ยังอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์อยู่นั่นเอง จนกระทั่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ๒๗ มิ.ย. ๒๔๗๕ ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยฉบับแรกของไทยได้ "ดึง" อำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเป็นของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้มาเป็นของประชาชน และยกกษัตริย์ขึ้นเป็นประมุขของประเทศ โดยไม่มีพระราชอำนาจในทางการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง หากเป็นสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ก็แยกออกจากกัน โดยอำนาจนิติบัญญัติกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา อำนาจบริหารกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของศาล การกระทำของกษัตริย์ในทางการเมืองต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอ นั่นคือ ผู้ลงนามสนองฯเป็นผู้กระทำและรับผิดชอบ ส่วนการกระทำของกษัตริย์เป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น
 
ใน อดีต ศาลไทยเคยมีคำพิพากษาที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยอยู่มากพอควร สมควรยกตัวอย่างสัก ๒ กรณี
กรณีแรก ใน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย และรัฐบาลจอมพล ป. ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๘ เพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำการตามที่กฎหมายนี้ถือว่าเป็นอาชญากรสงคราม ไม่ว่าการกระทำนั้นจะได้กระทำก่อนหรือหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับก็ตาม ต่อมาเมื่อมีการจับกุมบุคคลดำเนินการฟ้องดคี ศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่เป็นศาลอาชญากรสงครามได้มีคำพิพากษาคดีอาชญากรสงครามที่ ๑/๒๔๘๙ ว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๘ เฉพาะที่ลงโทษการกระทำก่อนวันใช้กฎหมายนี้เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง จึงขัดกับรัฐธรรมนูญ
ใน คดีนี้ ศาลฎีกาได้ยืนยันถึงอำนาจของตนในการพิจารณาว่ากฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาขัดต่อ รัฐธรรมนูญได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก ศาลเป็นผู้ใช้กฎหมาย การพิจารณาว่าอะไรเป็นกฎหมาย หรือกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนั้นถูกต้องหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของศาล ประการที่สอง ใน นามของหลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่ละอำนาจย่อมยับยั้งและถ่วงดุลกัน เมื่อสภาผู้แทนราษฎรตรากฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็ย่อมมีอำนาจบอกถึงความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น ประการที่สาม ในนามของหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องมีองค์กรชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากให้รัฐสภาเป็นผู้ชี้ขาดก็คงไม่เหมาะสมเพราะเป็นการพิจารณากฎหมายที่ รัฐสภาตราขึ้นเอง
  
สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรไม่พอใจที่ศาลได้ล่วงล้ำเข้ามาในแดนอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงได้ตั้งคณะกรรมาธิการคณะหนึ่ง จำนวน ๗ คน ประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตประธานศาลฎีกา และผู้เชี่ยวชาญนิติศาสตร์ คณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจเด็ดขาดของ สภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างศาลและสภาผู้แทนราษฎร ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงกำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัย ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
กรณีที่สอง ภายหลัง รสช. รัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณเมื่อปี ๒๕๓๔ รสช. ได้ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ ๒๖ เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สิน มีคดีขึ้นไปสู่ศาลฎีกาและมีประเด็นว่าประกาศ รสช. ฉบับที่ ๒๖ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๑๓/๒๕๓๖ ยืนยันว่า ศาลฎีกามีอำนาจในการพิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้ หรือไม่ และรวมถึงการพิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ด้วย เว้นเสียแต่ว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้องค์กรอื่นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณา กรณีนี้ แม้รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ จะบัญญัติให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ดังกล่าว แต่ก็จำกัดเฉพาะพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ เท่านั้น ไม่รวมถึงการพิจารณว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับธรรมนูญการปกครอง ๒๕๓๔ (ฉบับก่อน) ดังนั้น จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในประเด็นนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า อำนาจของ คตส. ตามประกาศ รสช ฉบับที่ ๒๖ ข้อ ๒ และข้อ ๖ "เท่ากับ ว่าเป็นการสั่งลงโทษสั่งริบทรัพย์สินในทางอาญานั้นเอง และมิได้ให้สิทธิแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส. ดังกล่าวจึงเป็นอำนาจเด็ดขาด แตกต่างจากอำนาจในการวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งไม่มีอำนาจลงโทษบุคคล" ดังนั้น ประกาศ รสช. ฉบับนี้ จึง "มีผล เป็นการตั้ง "คณะบุคคลที่มิใช่ศาล" ให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาลอันขัดต่อประเพณีการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของ ศาล และการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มี อยู่ตามกฎหมาย จะกระทำมิได้" นอกจากนี้ศาลฎีกายังเห็นว่า อำนาจของ คตส. ในการประกาศยึดทรัพย์สินของนักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติให้ตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะได้มาก่อนหรือหลังประกาศใช้ประกาศ รสช. ฉบับนี้ เป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามกระทำเช่นนั้น จึงถือได้ว่าประกาศฉบับนี้ขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
-๒-
 
ปลายปี ๒๕๔๘ ต่อต้นปี ๒๕๔๙ มีการชุมนุมของ กลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" อย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อขับไล่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนำไปสู่การเรียกร้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานโดยอ้างมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าพระองค์ไม่ สามารถกระทำได้ เพราะ "... ขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ พูดแบบมั่ว แบบไม่ ไม่ ไม่มีเหตุมีผล" จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียด นายกรัฐมนตรีจึงตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ด้วยหวังว่าการเลือกตั้งใหม่จะเป็นทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว อย่างไรก็ตามพรรคร่วมฝ่ายค้านปฏิเสธไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ถูกต้องชอบธรรม พรรคไทยรักไทยยังคงเดินหน้าลงสมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็กล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยพยายามจ้างวาน พรรคการเมืองขนาดเล็กให้ลงสมัคร เพื่อให้การเลือกตั้ง "สมประกอบ"
สถานการณ์ การเมืองในขณะนั้น ไม่ชัดเจนแน่นอน มีแต่ความตึงเครียด และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้น ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้สมาชิกครบ ๕๐๐ คนนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสต่อตุลาการปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ ความว่า
"...ที่ ได้ปฏิญาณนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่ากว้างขวาง หน้าที่ของผู้พิพากษา หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง มีหน้าที่กว้างขวางมาก ซึ่งเกรงว่า ท่านอาจจะนึกว่า หน้าที่ของผู้ที่เป็นศาลปกครอง มีขอบข่ายที่ไม่กว้างขวาง ที่จริงกว้างขวางมาก
 ใน เวลานี้อาจจะไม่ควรพูด แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของ ผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าไม่ถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์ ไม่ทราบว่า เกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้ และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ก็มีทางหนึ่ง ท่านอาจจะต้องลาออก เพราะไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาที่มีอยู่ ต้องหาทางแก้ไขได้
 เขา อาจจะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็บอก ไม่ใช่เรื่องของตัว ศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง เลยขอร้องว่าท่านอย่าไปทอดทิ้งความปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านออกไปได้
แล้ว ก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่า มีการยุบสภา และต้อง ต้องเลือกตั้งภายใน ๓๐ วัน ถูกต้องหรือไม่ ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย ถ้าไม่ถูก ก็จะต้องแก้ไข แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิ ที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร
ไม่ ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่วแต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี
ตรง นี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ"
และทรงมีพระราชดำรัสต่อผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเดียวกัน ความว่า
"ก็ เลยต้องขอร้องฝ่ายศาล ให้คิด ให้ช่วยกันคิด เดี๋ยวนี้ประชาชน ประชาชนทั่วไปเขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ เขายังบอกว่าศาล ขึ้นชื่อว่าศาล ดี ยังมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีเหตุมีผล และมีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา และพิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศชาติจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักของการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มี ไม่มีสมาชิกสภาถึง ๕๐๐ คน ทำงานไม่ได้
ก็ ต้องพิจารณาดูว่า จะทำยังไง สำหรับให้ทำงานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญนี้ พระมหากษัตริย์ เป็นคนลงพระปรมาภิไธย จริง แต่ลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน แต่ว่าในมาตรา ๗ นั้นไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา ๗ เขาเขียนว่า ไม่มีการบทบัญญัติแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า มีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไร ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอ บอกว่า ขอให้มี ให้พระราชทานนายกฯ พระราชทาน ไม่เคย ไม่เคยมีข้อนี้ มีนายกฯ แบบมีการรับสนองพระบรมราชโองการ อย่างที่ถูกต้องทุกครั้ง มีคนเขาก็อาจจะมา มาบอกว่า พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ เนี่ยทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ...
ต้อง วันนี้อยู่ที่ผู้พิพาษาศาลฎีกาเป็นสำคัญ ที่จะบอกได้ ศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร ไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา เพราะว่าผู้พิพากษาศาลฏีกา ที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสิน ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้พิจารณาดู กลับไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไรอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร แล้วต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม...
ฉะนั้น ต้องไปพิจารณาดูดีๆ ว่าควรจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้จริงๆ ประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั่วโลก จะอนุโมทนา อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมี เรียกว่ายังมีน้ำยา และเป็นคนที่มีความรู้ และตั้งใจที่จะ ที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา
ก็ ขอขอบใจท่าน ที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่ แล้วก็ทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ บ้านเมืองก็รอดพ้น ไม่ต้องกลัว ขอขอบใจที่ท่านพยายามปฏิบัติโดยดี แล้วประชาชนจะอนุโมทนา ขอบใจแทนประชาชนทั่วทั้งประเทศ ที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้มแข็ง ขอบใจ ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานด้วยดี มีพลานามัยแข็งแรง ต่อสู้ ต่อสู้นะ ต่อสู้เพื่อความดี ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในประเทศ ขอขอบใจ"
(พระราชดำรัสทั้งสององค์นี้ คัดจากเว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก www.­kanchanapisek.­or.­th)
 
ใน แวดวงวิชาการ ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแนวทาง "ตุลาการภิวัตน์" โดยอ้างอิงพระราชดำรัส ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ และสนับสนุนให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการแก้วิกฤติทางการเมือง ดังนี้
"... พระราชดำรัสที่จะให้คณะผู้พิพากษาเป็นผู้แก้ปัญหาวิกฤตของชาติเป็นการมอง อำนาจศาลอย่างกว้างขวาง แนวที่เปิดทางให้กับสิ่งที่ประเทศยุโรปเรียกว่า กระบวนการตุลาการภิวัตน์ของระบอบการปกครอง (judicialization of politics) และสหรัฐอเมริกาเรียกการตรวจสอบฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติโดยระบบตุลาการ (power of judicial review) ซึ่ง คือการที่อำนาจตุลาการเข้าตรวจสอบการออกกฎหมาย การใช้อำนาจของนักการเมืองอย่างเข้มงวดจริงจังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2540 ประเทศไทย ก็ก้าวเดินมาสู่กระบวนการตุลาการภิวัตน์นี้โดยผ่านศาลรัฐธรรมนูญและศาล ปกครอง แต่เนื่องจากฝ่ายบริหารเข้ารุกล้ำแทรกแซงกลไกราชการและอำนาจตรวจสอบอย่าง หนักจนนำไปสู่วิกฤตดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงแนะให้ทั้ง 3 ศาลได้เข้ามามีบทบาทร่วมกันเพื่อแก้วิกฤต
ตามทฤษฎีการเมือง เราจะมองการพระราชทานคำแนะนำครั้งนี้ได้อย่างไร?
ตามรัฐธรรมนูญ ในฐานะประมุขของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ด้าน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ท่านทรงความชอบธรรม ที่จะชี้ทางแนะนำอำนาจใดอำนาจหนึ่งให้ปฏิบัติเพื่อแก้วิกฤตของชาติ
ในฐานะประมุขของฝ่ายตุลาการ 3 ศาล ซึ่งใช้รูปแบบการประชุมร่วมเพื่อแนะนำอำนาจฝ่ายอื่น เช่น กกต. ก็มีความชอบธรรม เพราะแม้ประชาธิปไตยจะยึดหลักการแยกอำนาจ แต่ไม่ถือเป็นหลักการแยกอำนาจเด็ดขาด การวิพากษ์วิจารณ์ แนะนำซึ่งกันและกันย่อมทำได้ เช่น ฝ่ายบริหารหรือนักวิชาการอาจแนะนำศาลว่า การปฏิรูปการบริหารภายในเพื่อเร่งรัดคดีต่างๆ ก็ย่อมได้
การ แนะนำเป็นการใช้อำนาจอย่างอ่อนเป็นทางอ้อม เพราะเป็นการแนะนำเชิงการเมือง ไม่ใช่เชิงคดีความ แต่ผู้ได้รับคำแนะนำอาจเลือกไม่กระทำก็ได้ เช่นที่ กกต.เลือกที่จะไม่ลาออก โดยถือว่าถูกตามกฎหมาย แต่ไม่ถูกโดยพฤตินัยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อข้อแนะนำประมุขศาลต่อ กกต.เกิดขึ้น สืบเนื่องจากคำแนะนำซึ่งประมุขของประเทศได้พระราชทานลงมา
ดังนั้น การแก้วิกฤตการเมืองโดยตรง 3 ศาลจะมีหนทางปฏิบัติได้อย่างไร?
ใน ประการแรก คือการวินิจฉัยต้นตอของวิกฤตหรือที่มาของปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งที่มาของปัญหาในสายตาของศาล ย่อมไม่ใช่เรื่องเฉพาะเจาะจง เช่น ทักษิณเป็นต้นตอปัญหาหรือเรื่องในระดับนโยบาย แต่ต้องเป็นเรื่องหลักการทั่วไป หรือเรื่องในระดับโครงสร้าง ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภไว้ว่า "ศาล ปกครองมีหน้าที่กว้างขวางมาก... เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไปได้" และศาลปกครองได้วินิจฉัยต่อมาว่า ศาลมีภารกิจในการสนับสนุนระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข ซึ่งเมื่อพิจารณาเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาว่าต้นตอที่การปกครองประชาธิปไตย ดำเนินไปไม่ได้คืออะไร
ต้นตอ ของปัญหาไม่ใช่การเลือกตั้งซึ่งเกิดจาก ทรท.มองว่า ผู้นำตัวเองขาดความชอบธรรมจากปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน หลีกเลี่ยงกฎหมาย จึงชิงยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น แล้วนำมาสู่ปัญหาต่างๆ ตามมา การแก้ปัญหาที่การจัดการเลือกตั้งก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จะเกิดวิกฤตซับซ้อนขึ้นมาอีกได้ ต้นตอของปัญหาคือการที่กลไกตรวจสอบถ่วงดุลของระบอบประชาธิปไตยไม่ทำงาน หรือทำงานไม่ได้เต็มที่ จนทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง
ใน ประการที่สอง เมื่อศาลได้วินิจฉัยต้นตอปัญหาแล้ว การกำหนดภารกิจที่ตามมาก็จะชัดเจนขึ้น คือศาลต้องเติมเต็มในข้อบกพร่องนี้ ในการนี้ศาลได้กำหนดไว้กว้างๆ ว่า ภารกิจคือการเสริมสร้างระบอบ ประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นการตีความอำนาจตุลาการอย่างกว้าง โดยยึดถือเอาการแก้วิกฤตระบอบประชาธิปไตย เป็นภารกิจประวัติศาสตร์ของศาล การกำหนดนี้ถูกต้องเพราะบ่งชี้ภารกิจที่ควรทำในช่วงประวัติศาสตร์ปัจจุบัน นี้ แต่ควรกินระยะเวลาในช่วงยาวนานช่วงหนึ่งที่จะให้เกิดกระบวนการตรวจสอบถ่วง ดุล และให้กระบวนการนี้ไม่ว่าจะเป็นของ ป.ป.ช. ปปง. กกต. สตง. รวมทั้งของศาลทั้ง 3 เอง ดำเนินไปได้อย่างเคร่งครัดจริงจังพอสมควร ไม่ใช่ภารกิจเฉพาะหน้าสั้นๆ ซึ่งกระบวนการนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ หรือ กฎหมายภิวัตน์ หรือ นิติธรรมภิวัตน์ (judicialization of politics) อย่างเคร่งครัดตามแนวที่หลายประเทศเลือกใช้นั่นเอง
ทั้งนี้ ประชาชนย่อมมองอย่างเข้าใจว่า การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ ต้องตัดสินคดีความ ความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ด้วยหลักการไม่ใช่นโยบาย ตัดสินด้วยหลักการกฎหมายทั่วไปไม่ใช่ลักษณะเฉพาะเจาะจง แต่การทำเพียงเท่านี้อย่างจริงจัง ก็จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าระบบมีการตรวจสอบ สิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิทางการเมืองของตนไม่ถูกละเมิด ซึ่งจะช่วยคลี่คลายวิกฤตได้
อย่างไรก็ตาม จากคำแถลงต่างๆ ดูเหมือนว่าทั้ง 3 ศาล จะมองภารกิจตนเองจบลงเพียงการจัดการเลือกตั้งให้ยุติธรรม แต่ไม่ใช่เพื่อให้กระบวนการประชาธิปไตยอยู่ในสภาพที่สมดุลยั่งยืน ดังที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มต้นไว้ ถ้าจะให้ประชาธิปไตยสมดุลยั่งยืนก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือปัญหากลไกและอำนาจการตรวจสอบ การทุจริตของนักการเมืองทำงานไม่ได้ หรือไม่ยอมทำงาน ซึ่งถ้าแก้ไม่ได้วิกฤตก็จะเกิดขึ้นอีก และถ้าดูจากทฤษฎีการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เราจะพบว่า พลังที่จะต้านทานถ่วงดุลฝ่ายอำนาจรัฐ (รัฐบาล+ข้าราชการ+นักการเมือง) ได้ก็มีเพียง 2 ส่วน คือ ภาคประชาสังคม คือสื่อและภาคประชาชน กับอำนาจตุลาการ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีเกียรติภูมิ มีความเป็นอิสระ และโดยฐานะชนชั้นก็เป็นกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ และอำนาจการเมืองมากที่สุด
ในปัจจุบัน ซึ่งทั้งภาคประชาสังคมและ 3 ศาล ช่วยกันแก้ไขวิกฤตอย่างเต็มกำลัง ภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายอำนาจรัฐซึ่งรวมถึงองค์กรอิสระบางส่วน ก็ยังไม่นำพากับเสียงเรียกร้องนี้ ถ้าทางอำนาจตุลาการไม่มองอำนาจ ตุลาการอย่างกว้าง และขับเคลื่อนกระบวนการตุลาการภิวัตน์ แล้วปล่อยให้นักการเมืองดำเนินการปฏิรูปการเมืองด้วยตัวเอง โดยที่ภาคประชาสังคมซึ่งกำลังถดถอยไปเรื่อยๆ เป็นฝ่ายกดดันฝ่ายเดียว ก็ยากที่จะทำให้การปฏิรูปการเมือง ดำเนินไปอย่างมีผลได้ ดุลยภาพก็จะเสียไปอีก นำไปสู่วิกฤตครั้งใหม่ซึ่งคงจะรุนแรงกว่าเก่า และมีโอกาสมากที่จะนำไปสู่ระบอบเผด็จการประชานิยมที่ยาวนาน"
(ธีรยุทธ บุญมี, "พิพากษาหาความยุติธรรมให้ประเทศ เพิ่มดุลยภาพการเมืองไทย ก้าวสู่การปฏิรูปการเมืองหน ๒" นำ เสนอในงานสัมมนาพิเศษ เรื่อง "วิกฤตประเทศไทย ยุคทุนนิยมไล่ล่า" ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙, เน้นตัวหนาโดยผู้เขียน)
 
-๓-
 
ภาย หลังจากพระราชดำรัส ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ มีการประชุมระหว่าง ๓ ศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ ๙/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การจัดคูหาเลือกตั้ที่ส่งผลให้ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ "เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้เกิดผลของการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒ มาตรา ๓ มาตรา ๑๐๔ วรรคสาม และมาตรา ๑๔๔ มาตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการจัดการเลือกตั้ง คือ ตั้งแต่การกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้ง การรับสมัครรับเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียง การนับคะแนนเสียง การประกาศผลการเลือกตั้ง"
ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาที่ ๖๐๗-๖๐๘/๒๕๔๙ ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะ "จัด เรียงคูหาเลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือ ฉากกั้นที่เลือกตั้ง มาเป็นให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง ... จึงเป็นการกระทำที่ทำให้การออกเสียงลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับทั้งในทางข้อเท็จ จริงและในทางความรู้สึกของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง" ศาลปกครองกลางจึง พิพากษาให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดในทุกเขตเลือกตั้ง และเพิกถอนการกระทำต่อมาอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้ง
ภาย หลังศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองเพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ แล้ว มีเสียงเรียกร้องให้ กกต. ที่เหลืออีก ๔ คนลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้ศาลฎีกาได้สรรหา กกต. ชุดใหม่ นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา แถลงว่า "ที่ประชุมของท่านประธานศาลทั้ง ๓ ศาล จึงเห็นพ้องกันว่า ทางศาลจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ก็ต่อเมื่อมีการ สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ จากบุคคลที่มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริง และมีความเป็นอิสระ ปราศจากบุญคุญ ความแค้นแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เข้ามาทำหน้าที่ และการดำเนินการในเรื่องนี้ก็จะดำเนินการได้ต่อเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดปัจจุบัน ได้เสียสละลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ที่ดำเนินการเพื่อเปิดทางให้กระบวนการ สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่โดยศาลฎีกาและวุฒิสภา สามารถดำเนินไปได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ" ในขณะที่ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขานุการศาลฎีกาได้ให้สัมภาษณ์ว่า "เรา ต้องการให้ กกต.ทบทวนตัวเองอีกครั้ง ขอให้ กกต.ทั้งสามท่านคิดว่าจะทำสิ่งอันใด ขอให้ยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก ผมขอเปิดใจว่าศาลฎีกาและศาลยุติธรรมไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เคยทะเลาะกับ กกต.เป็นการส่วนตัว และไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ไม่เคยทำตัวสนับสนุนกลุ่มการเมือง เรายืนหยัดข้างประชาชน เชื่อว่าสถานการณ์ขณะนี้ประชาชนอาจจะอึดอัดที่ปัญหายืดเยื้อ แต่ขอให้เข้าใจว่าศาลต้องทำงานในกรอบของกฎหมาย ไม่อาจทำอะไรให้เร็วดั่งใจได้ เพราะกฎหมายเป็นกติกาของบ้านเมือง ศาลเป็นผู้รักษากฎหมาย สุดท้ายผมขอให้ประชาชนจับตาการไต่สวนคดี กกต.เป็นจำเลยของศาลอาญาอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีกรณีที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง" จากข้อเรียกร้องดังกล่าว มี กกต. ลาออกไป ๑ คน แต่อีก ๓ คนยืนยันไม่ลาออก
สอง เดือนถัดมา ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ให้พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. จำคุก ๔ ปีโดยไม่รอลงอาญาและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๑๐ ปี เพราะ จัดการเลือกตั้งใหม่ที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มิใช่เป็นการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ศาลยังไม่ให้ประกันตัว เพราะ "การจัดเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ และการเลือกตั้งที่ต่อเนื่องมา โดยจำเลยทั้งสาม กลับถูกพรรคการเมืองหลายพรรคและประชาชนส่วนหนึ่งต่อต้าน นอกจากนี้ยังมีแพทย์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และประชาชนหลายสาขาอาชีพทำการประท้วงด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้งโดยเปิดเผย ประกอบกับหลายเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวพรรคเดียวได้คะแนนเสียง น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของสังคม โดยแทนที่จำเลยทั้งสามจะใส่ใจรีบหาทางแก้ไขความไม่พอใจของประชาชน จำเลยกลับเดินหน้าจัดเลือกตั้งต่อไปทั้งที่ยังไม่มีการประกาศรับรองผลการ เลือกตั้งหลายเขตอย่างเป็นทางการจนเกิดการหมุนเวียนผู้สมัคร ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อการจัดเลือกตั้งของจำเลยทังสามมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจำเลยทั้งสามเป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิเคยดำรงตำแหน่งระดับสูงมาก่อน ย่อมตระหนักดีว่ากกต.เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเมืองการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาชนจำนวนมากรวมทั้งพรรคการเมืองไม่ไว้วางใจในความเป็นกลาง ความสุจริตและเที่ยงธรรมของจำเลยทั้งสามแล้วย่อมกระทบกระเทือนถึงการจัดการ เลือกตั้งทุกระดับ การที่จำเลยทั้งสามยังคงปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปโดยไม่ใยดีต่อความเสีย หายที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา และไม่ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า จึงส่อพิรุธและชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าคำนึง ถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์และเชื่อได้ว่า หากศาลอาญาสั่งอนุญาตให้ปล่อยจำเลยทั้งสามระหว่างอุทธรณ์ เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับไปปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส.อีกก็น่าจะเกิดความไม่เรียบร้อย สุจริตและเที่ยงธรรมเหมือนการเลือกตั้งที่ผ่านมา"
ผล จากคำพิพากษาดังกล่าว ทำให้ กกต.ทั้งสามคนต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เปิดทางให้มีการสรรหาและเลือก กกต. ชุดใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ได้ กกต.ที่เป็นผู้พิพากษา ๔ คนและอัยการอีก ๑ คน
 
-๔-
 
เมื่อ ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ได้แสดงผลงานให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดด้วยการ "ล้ม" การเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ และ "ปลด" กกต. ออกจากตำแหน่งแล้ว เสียงสังคมส่วนใหญ่ต่างสนับสนุน "ตุลาการภิวัตน์" บางส่วนแม้เห็นว่าคดีเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ มีข้อวิจารณ์ในหลายประเด็น แต่ก็พอเข้าใจและพออนุโลมได้ เพราะเป็นช่องทางแก้วิกฤตเรื่องการเลือกตั้งที่มีพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียว เพื่อให้การเมืองไทยได้เดินหน้าต่อไปได้ด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งที่ "สมประกอบ"
พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนด วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในการนี้พระองค์ทรงมีพระ ราชกระแสประกอบพระราชกฤษฎีกาความว่า ๑.เหตุผลที่ทรงพระปรมาภิไธย ด้วยเหตุเพราะมีพระราชประสงค์ที่จะเห็นประเทศชาติกลับสู่ความสงบเรียบร้อย โดยเร็ว ๒.มีพระราชประสงค์ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นเป็นไปด้วย ความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง "สมประกอบ" ที่สังคมเฝ้ารอ กลับไม่เกิดขึ้นเพราะรัฐประหารอัปยศ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
 
สุภาษิต "เมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฎหมายย่อมเงียบลง" กล่าวสำหรับประเทศไทยแล้ว เป็นกฎหมายเท่านั้นที่เงียบลง แต่นักกฎหมายกลับเฟื่องฟูมากขึ้น คณะรัฐประหารยุคใหม่ตระหนักดีว่า การทำให้อำนาจ "ดิบ-เถื่อน" อันเกิดจากรัฐประหาร ให้กลายสภาพเป็นอำนาจที่ "อ่อน-นุ่ม" ลงได้นั้น จำต้องอาศัยกลไกทางกฎหมาย และการใช้อำนาจ "ดิบ-เถื่อน" ปราบปรามศัตรูทางการเมืองโดยตรง ย่อมไม่แนบเนียนเท่ากับยืมมือ "กฎหมาย" เข้าปราบปราม คณะรัฐประหารจึงจำเป็นต้องควานหานักกฎหมายจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่บริการ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ในบทความชื่อ "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย" ตอนหนึ่งว่า
"นัก รัฐประหารในเมืองไทยนั้นเป็นนักกฎหมายโดยสัญชาตญาณ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเอามากระทืบทิ้งต่อหน้าต่อตาคนอื่นได้ แต่กฎหมายเล็กน้อยเพียงแค่จะเรียกเก็บค่าน้ำชลประทานสัก ๑๐ บาท ก็ต้องดำเนินตามมาตรการที่ซับซ้อนยุ่งยากให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ทั้งนี้เพราะนักรัฐประหารรู้ดีว่ากฎหมายมีความสำคัญแก่คนไทยอย่างมาก
สำคัญ ก็เพราะว่า กฎหมายทำให้พลังของ "อำนาจ" ตั้งมั่นอยู่ได้ แม้ว่า "อำนาจ" มักจะกดขี่เบียดเบียนให้เดือดร้อน แต่ถ้าไม่มี "อำนาจ" เสียเลยแล้ว "อิทธิพล" ก็จะเหลิงเอาไม่อยู่เสียเลย ซึ่งก็จะกดขี่เบียดเบียนให้เดือดร้อนได้มากไม่น้อยไปกว่า "อำนาจ"
คน ไทยอาจไม่เชื่อใน (การปกครองด้วยกฎหมาย) เหมือนฝรั่ง แต่คนไทยเชื่อใน (การดำรงคงอยู่ของกฎหมาย) และรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมก็บัญญัติให้กฎหมายต่างๆดำรงอยู่อย่างมั่นคงเป็น อย่างยิ่ง
กฎหมายดำรงคงอยู่ให้ประจักษ์ได้ ไม่ใช่เฉพาะในกระดาษ แต่ส่วนสำคัญของกฎหมายที่ต้องดำรงคงอยู่ในทัศนะของคนไทย คือ "อำนาจ" ตุลาการ
ใน อุดมคติของคนไทย "อำนาจ" ตุลาการเป็น "อำนาจ" ที่บริสุทธิ์ที่สุด กล่าวคือ ปราศจากการแฝงเร้นของ "อิทธิพล" โดยสิ้นเชิง ผู้พิพากษาในทัศนะของคนไทยเป็นคนสะอาดบริสุทธิ์เพียงจุดเดียวในกระบวนการ ยุติธรรมทั้งกระบวนการ ความเชื่อเช่นนี้ทำให้คนไทยอุ่นใจได้ว่า "อำนาจ" มีพลังในการคะคานกับ "อิทธิพล" ได้จริง เพราะหากสามารถทำให้กระบวนการยุติธรรมทำงานไปจนคดีขึ้นสู่ศาลแล้ว "อิทธิพล" ก็จะถูกยับยั้งหรือบรรเทาความร้ายกาจลงด้วย "อำนาจ" อันบริสุทธิ์ของผู้พิพากษา...
... เมื่อ เข้าใจได้เช่นนี้ จะยิ่งเห็นได้ชัดว่ากฎหมายและตุลาการนั้นเป็นส่วนสำคัญของเกมอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมจึงบัญญัติให้กฎหมายและตุลาการเป็นสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" ที่นักรัฐประหารจะไปแตะต้องง่ายๆไม่ได้เป็นอันขาด"
(นิธิ เอียวศรีวงศ์, "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย", ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ ๑๓, ฉบับที่ ๑ (พฤศจิกายน ๒๕๓๔), หน้า ๒๖๖-๒๘๕, ตีพิมพ์อีกครั้งใน ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์, สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๗, หน้า ๑๒๕-๑๕๕.)
กล่าว สำหรับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นักรัฐประหารและเนติบริกรผู้ช่วยได้ล้มล้างทฤษฎีของนิธิฯที่กล่าวมาข้างต้น เสียสิ้น นักรัฐประหารและเนติบริกรผู้ช่วยได้ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม (ที่นิธิฯเสนอ) ในส่วนที่ว่า "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมจึงบัญญัติให้กฎหมายและตุลาการเป็นสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" ที่นักรัฐประหารจะไปแตะต้องง่ายๆไม่ได้เป็นอันขาด" พวกเขาไม่เพียงเข้าไปแตะต้องในส่วนกฎหมายและตุลาการเท่านั้น แต่เข้าไป "รื้อ-สร้าง-จัดวาง" กลไกทางกฎหมายและองค์กรตุลาการเสียใหม่
นอกจาก ฉีกรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ แล้ว คณะรัฐประหารยังได้จัดการ "ยุบ" ศาลรัฐธรรมนูญทิ้ง และ "ตั้ง" คณะตุลาการรัฐธรรมนูญใหม่เข้าทำหน้าที่แทนอันประกอบด้วย ประธาน ศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับ เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนห้าคนเป็นตุลาการ รัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง สูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ส่วนบรรดาคดีที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ก็ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ ซึ่งคดีสำคัญคดีหนึ่งที่ค้างอยู่ในกระบวนพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและได้โอน มาเป็นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คือ คดียุบพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์
จะ โดยจงใจหรือไม่ก็สุดที่จะตรัสรู้ได้ ภายหลังรัฐประหารได้ ๑๑ วัน คณะรัฐประหารได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ เพื่อเพิ่มโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ เป็นเวลา ๕ ปี ความว่า "ใน กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดเพราะเหตุกระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.. ๒๕๔๑ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง"
 
-๕-
 
หาก เชื่อกันว่าขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ที่เพิกถอนการเลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ที่ตัดสินให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ พ้นจากตำแหน่ง เป็นขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ที่นำพาสังคมไทยออกสู่วิกฤติได้อย่างแท้จริง หากเบาใจว่ารัฐประหารอัปยศ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารที่นำพาบ้านเมืองสู่ความสงบและหลุดพ้นวิกฤติของความขัดแย้ง ในเมื่อภารกิจนำประเทศพ้นวิกฤติแล้วเสร็จ ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ก็น่าจะยุติลงได้ด้วยดี แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ภายหลังรัฐประหาร พายุ "ตุลาการภิวัตน์" ยังตามมาอีกหลายระลอก เริ่มตั้งแต่คดียุบพรรคภาคหนึ่ง
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๓-๕/๒๕๕๐ ยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา ๕ ปี ในคำวินิจฉัยนี้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ซึ่ง คมช แต่งตั้งขึ้นใหม่แทนที่ศาลรัฐธรรมนูญ) ได้ยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนว่า "ต่อมาวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างผู้ถูกร้องทั้งสามยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหา คปค. เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และมีประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๑ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ สิ้นสุดลง และข้อ ๒ ให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นอันสิ้นลงตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙" และ "การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๓๕ วรรคสี่ บัญญัติให้อรรถคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ไม่ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นศาลหรือองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ ก็ตาม"
ไม่ เพียงแต่ไม่ปฏิเสธการรัฐประหารซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและ ขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ยังยอมศิโรราบต่อผลิตผลของรัฐประหาร ด้วยการนำประกาศ คปค.ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ มาใช้บังคับเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่กรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบเป็น เวลา ๕ ปี ทั้งๆที่ประกาศ คปค ฉบับที่ ๒๗ ออกมาภายหลังจากมีการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการยุบพรรค โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า"หลัก การห้ามออกกฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น มีที่มาจากหลักการที่ว่า ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ แต่หลักการดังกล่าวใช้บังคับกับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น" แต่ "การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิใช่โทษทางอาญา เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจยุบพรรคการเมือง" ย่อมมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
จาก คำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยดังกล่าว จึงมีผู้กล่าวกันว่า ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นรัฐประหาร "ซ้ำ" โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และกำจัดปฏิปักษ์ทางการเมืองของคณะรัฐประหารให้สิ้นซาก
 
เมื่อ กำจัดศัตรูทางการเมืองแล้ว คณะรัฐประหารก็ต้องจัดวางกลไกและกติกาการเมืองต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรู ทางการเมืองฟื้นคืนชีพได้ คณะรัฐประหารได้ "คลอด" สภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐธรรมนูญ นี้มีกลไก "ปราบปราม -ป้องกัน" ศัตรูทางการเมืองของคณะรัฐประหารซ่อนอยู่มาก เช่น เรื่องระบบการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้มีสิทธิแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ในจำนวนที่ไม่ เท่ากัน  บางเขตเลือกตั้งอาจเลือกได้ ๑ คนหรือ ๒ คนหรือ ๓ คนแล้วแต่กรณี  ซึ่ง สร้างความไม่เท่าเทียมกันในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต ในส่วนของส.ส.ระบบสัดส่วนจำนวน ๘๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกบัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็น ๘ กลุ่มจังหวัด กลุ่มละ ๑๐ คนนั้น ไม่มีเหตุผลใดรองรับ  นอกจากเหตุผลที่ว่า หวาดกลัวพรรคการเมืองใหญ่ในอดีตที่เคยเข้ายึดครองที่นั่งของ ส.ส.ระบบสัดส่วนเป็นจำนวนมาก และมีการอ้างตัวเลขคะแนนเสียงที่ประชาชนสนับสนุนเท่านั้น
รัฐธรรมนูญ นี้ให้อำนาจแก่วุฒิสภามาก ทั้งการกลั่นกรองร่างกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง แต่กลับกำหนดให้ ส.ว. มีจำนวน ๑๕๐ คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ ๑ คนและจำนวนที่เหลือให้มาจากการสรรหา การผสมสัดส่วนของส.ว.ที่มาจากการสรรหาไม่อาจตอบปัญหาความเป็นตัวแทนของ ประชาชนได้ตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอำนาจอันมีอยู่มากของวุฒิสภา  ยิ่งกว่านั้น การกำหนดให้จังหวัดแต่ละจังหวัดไม่ว่าจะมีจำนวนประชากรเท่าใดมี ส.ว.ได้จังหวัดละ ๑ คน  ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ในทางวิชาการ สำหรับ ส.ว.ซึ่งมีที่มาจากการสรรหานั้น  ก็ ปรากฏว่าคณะกรรมการสรรหาล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลซึ่งมาจากฝ่ายตุลาการและ ข้าราชการระดับสูงซึ่งดำรงตำแหน่งประธานองค์กรอิสระต่างๆ โดยหาความเชื่อมโยงกับประชาชนมิได้ อันสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญนี้ให้คุณค่าแก่บรรดาอภิชนมากกว่า การยอมรับนับถืออำนาจการตัดสินใจของประชาชน
กลไก สำคัญของรัฐธรรมนูญนี้อีกกลไกหนึ่ง คือ การยุบพรรค ในรัฐเสรีประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะถูกยุบได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำที่เป็นการทรยศต่ออุดมการณ์ ประชาธิปไตย เช่น มีอุดมการณ์หรือนโยบายไปในทางเผด็จการหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การยุบพรรคการเมืองไม่ใช่เกิดจากสาเหตุเล็กน้อย แต่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหลายกลับมีบทบัญญัติที่เอื้อ ให้การยุบพรรคเป็นไปโดยง่าย เช่น กำหนดให้พรรคการเมืองอาจถูกยุบได้หากมีกรรมการบริหารพรรคกระทำผิดตามกฎหมาย เลือกตั้ง นั่นก็หมายความว่า หากมีกรรมการบริหารพรรคใดได้รับใบแดงจาก กกต. พรรคการเมืองนั้นก็อาจถูกยุบได้ ความข้อนี้ นับเป็นการทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมืองโดยแท้
ใบ เหลือง-ใบแดง ก็เป็นอาวุธชั้นดีอีกอาวุธหนึ่ง ในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการแสดงเจตจำนงของประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ได้อย่างชัดเจนที่สุด เมื่อประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองผ่านการเลือกตั้งแล้ว การใช้อำนาจอธิปไตยนั้นต้องมีผลทันที โดยไม่มีองค์กรใดมากีดขวาง แต่รัฐธรรมนูญนี้กลับให้กกต.เพียง ๕ คน เป็นผู้คั่นกลางในการเลือกตั้ง มีอำนาจประกาศผลการเลือกตั้งหรือให้ใบเหลือง-ใบแดงผู้สมัคร อำนาจเช่นว่านี้ยังมีผลเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ไม่อาจมีองค์กรอื่นใดทบทวนคำวินิจฉัยของ กกต.ได้ ใบเหลือง-ใบแดง นอกจากจะไม่ทำให้เกิดการเมือง "ขาวสะอาด" (ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน) ยังกลับกลายเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้การเมืองได้เดินหน้าต่อไปอย่างที่ควรจะ เป็น และไม่แน่นอนเสมอไปว่าการแสดงเจตจำนงของประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตยจะส่งผล ทันที เพราะ กกต.มีอำนาจในการไม่รับรองเสียงที่ประชาชนลงให้ผู้สมัคร
และ เพื่อความปลอดภัยของคณะรัฐประหารเอง ก็จำต้องมีบทบัญญัติสักมาตราหนึ่งที่คุ้มครองคณะรัฐประหารและพวก ด้วยเหตุนี้เอง ภายในรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารจึงบรรจุมาตรา ๓๐๙ ซึ่งบัญญัติว่า "บรรดา การใดๆ ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฏหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
มาตรา ๓๐๙ นับเป็นมาตราอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย รองลงจากมาตรา ๑๗ ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรสมัยจอมพลสฤษดิ์ เพราะ มาตรา ๓๐๙ ได้ "เสก" ให้ คำสั่ง คปค., ประกาศ คปค., การปฏิบัติตามคำสั่งและประกาศ คปค.ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๙ และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่ง คปค. ประกาศ คปค. การปฏิบัติตามคำสั่งและประกาศ คปค. ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ไม่ว่าโดยแท้จริงแล้วจะชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ทุกประการ
มาตรา ๓๐๙ เป็นนวัตกรรมใหม่ของบรรดานักร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มกันคณะรัฐประหารที่ต่อยอดจาก มาตรา ๒๒๒ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ กล่าวคือ เดิมรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารมักจะมีมาตราหนึ่งที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายให้ กับการกระทำของคณะรัฐประหารอยู่เสมอ แต่กรณีรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ นักร่างรัฐธรรมนูญได้คุ้มครอง รสช. เพิ่มเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง โดยกำหนดให้การกระทำของ รสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกประการ ในครั้งนั้นก็มีเสียงวิจารณ์กันมากแล้วว่าการกระทำของ รสช. ไม่อาจถูกตรวจสอบว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ไม่น่าเชื่อว่าเวลาผ่านมา ๑๖ ปี แทนที่บทบัญญัติคุ้มครองคณะรัฐประหารลักษณะนี้จะปลาสนาการไปจากระบบกฎหมาย ไทยตามพัฒนาการประชาธิปไตย กลับกลายเป็นว่ามาตรา ๒๒๒ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ ได้รับการคิดค้นอย่างพิสดารขึ้นไปอีกเพื่อคุ้มครองคณะรัฐประหารอย่างรัดกุม -มิดชิดมากขึ้น โดยคุ้มครองคณะรัฐประหาร "ล่วงหน้าไปยังอนาคตด้วย" คือไม่เพียง "เสก" ให้การกระทำทั้งหลายของคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นมาแล้ว ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ยัง "เสกล่วงหน้า" ว่าในอนาคตหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้แล้ว หากมีการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐประหาร ก็ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นกัน กล่าวได้ว่า มาตรา ๓๐๙ เป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงการบรรลุวิชาขั้นสูงสุดของเนติบริกรผู้รับใช้คณะ รัฐประหาร คงเหลือเพียงแค่เขียนรัฐธรรมนูญให้ ชายกลายเป็นหญิง หญิงกลายเป็นชายกระมัง ที่เนติบริกรไทยยังทำไม่ได้ (หรือยังไม่ได้ทำ?)
อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญได้ยอมรับมาตรา ๓๐๙ อย่างชัดเจน และนำมาใช้รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓๐ เรื่องการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยกมาตรา ๓๐๙ เพื่อรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค ฉบับที่ ๓๐ (ซึ่งตราขึ้นหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และมาตรา ๓๐๙) (คำวินิจฉัยที่ ๕/๒๕๕๑) นั่นก็หมายความว่า ทั้งในตัวบทของรัฐธรรมนูญเอง และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่างยืนยันว่ามาตรา ๓๐๙ รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้กับผลิตผลของคณะรัฐประหารและการกระทำที่ เกี่ยวเนื่อง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
 
ใน โลกสมัยใหม่ คณะรัฐประหารย่อมไม่อาจยึดอำนาจบริหารประเทศไว้ได้นาน เพราะนานาอารยประเทศไม่ให้การยอมรับ เมื่อคณะรัฐประหารประเมินว่าปราบปรามศัตรูทางการเมืองและจัดวางกติกาหรือ กลไกต่างๆเพื่อไม่ให้ศัตรูทางการเมืองได้ฟื้นคืนชีพแล้วเสร็จ คณะรัฐประหารและพวกจำต้องเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบปกติด้วยการจัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ประกาศอย่างชัดเจนถึงแผนบันได ๔ ขั้น ที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องหลังจากรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ได้แก่ "๑.การ ยุบพรรคจะต้องเกิดขึ้น เพราะคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความผิดทางกฎหมาย ๒.คดีที่ผิดเรื่องการโกงกิน และการคอร์รัปชันจะปรากฏ ๓.พรรคจะเริ่มแตก และวิ่งกระจัดกระจาย และ ๔.เรื่องของคดีก็จะสิ้นสุดและไปสู่การลงประชามติของร่างรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง"
การณ์ กลับตาลปัตร การเลือกตั้ง ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ภายใต้กติกาและเงาของคณะรัฐประหาร พรรคการเมืองที่ได้จำนวนเสียงมากที่สุดกลับเป็นพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็น พรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไป
จาก ผลการเลือกตั้ง ๒๓ ธันวาคม หลายต่อหลายคนมองว่าคณะรัฐประหารและพวกประสบความพ่ายแพ้ เพราะผลการเลือกตั้งชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคการเมืองขั้วเดิม ทั้งๆที่กลไกอำนาจรัฐทั้งหลายล้วนแล้วแต่ไม่เอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมือง นั้นก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแสดงออกซึ่งการปฏิเสธรัฐประหาร ๑๙ กันยาในรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาให้ถ่องแท้ เราจะพบว่าคณะรัฐประหารและพวกไม่ได้พ่ายแพ้ไปอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราตั้งสมมติฐานว่า "ธง" ของคณะรัฐประหารและพวก คือ การกำจัดรัฐบาลเข้มแข็งออกไปจากการเมืองไทย ไม่ต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งสามารถอ้างว่าตนเองมาจาก เสียงข้างมากอย่างแท้จริง ไม่ต้องการผู้นำทางการเมืองในระบบที่ "พอฟัดพอเหวี่ยง" กับผู้มีบารมีนอกระบบ ก็นับได้ว่าคณะรัฐประหารและพวกยังประสบความสำเร็จอยู่ เพราะ กลไกทางกฎหมายที่คณะรัฐประหารและพวกสร้างขึ้นได้ส่งผลให้เห็นเป็นที่ ประจักษ์และยังคง "ออกดอกผล"ต่อไปในอนาคต
เมื่อ พรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรและแกนนำรัฐบาล คือพรรคการเมืองขั้วเดียวกันกับศัตรูของคณะรัฐประหาร ในขณะที่กลไกทางกฎหมายที่คณะรัฐประหารวางไว้ยังคงดำรงอยู่
ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" จึงยังไม่จบ???
 
-๖-
 
ใน ระหว่างจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช มีข่าวหนาหูว่าอาจมีการแจกใบเหลือง-ใบแดงจำนวนมาก เพื่อให้เสียงของพรรคร่วมรัฐบาลไม่พอ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยังมั่นใจว่าพรรคของตนมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอยู่ ในท้ายที่สุด พรรคพลังประชาชนก็ฝ่าแรงต้านจนจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
การ บริหารงานของรัฐบาลสมัครเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะถูกปิดล้อมด้วยกลไกทางกฎหมาย ซึ่งจัดวางไว้ในรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐบาลสมัครตัดสินใจจะเริ่มดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อคกลไก เหล่านี้ ก็เข้าทางกลุ่มพันธมิตรฯในการหาเหตุออกมาชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง แม้รัฐบาลสมัครจะเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน แต่ก็ไม่มีช่วงเวลา "ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์" เหมือนรัฐบาลอื่น บรรดาสื่อมวลชน พันธมิตรฯ ฝ่ายค้าน และส.ว.บางส่วนโจมตีรัฐบาลตั้งแต่วันแรกๆ มีกลุ่มคนที่ขมักเขม้นสำรวจกลไกที่วางไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อหาช่อง "ชง" เรื่องไปยังองค์กรอิสระและศาลเป็นจำนวนมาก มิพักต้องกล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลหรือ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะขยับทำอะไร เป็นอันต้องมีคำขู่จากสารพัดองค์กรว่าจะ "ยุบพรรค - ปลด - ถอดถอน - ตัดสิทธิเลือกตั้ง" อยู่ร่ำไป
ในที่สุด พายุ "ตุลาการภิวัตน์" ระลอกใหม่ ก็โหมเข้ามาเป็นชุดใส่รัฐบาลสมัคร...
๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ๙๘๔/๒๕๕๑ ให้รับคำฟ้องขอเพิกถอนการเสนอร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาต่อคณะรัฐมนตรี เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาและให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และเพิกถอนการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา นอกจากนี้ศาลปกครองกลางยังได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อ บรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาไปในคราวเดียวกัน
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ศาลฎีกามีคำสั่งที่ ๕๐๑๙/๒๕๕๑พิจารณาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของนายยงยุทธ ๕ ปีตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอมา
ในวันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๖-๗/๒๕๕๑ ว่าคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เป็น "หนังสือ สัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง" โดยที่ถ้อยคำในมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง มีเพียงว่า "หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย..." ไม่มีคำว่า "อาจ"
๘ กันยายน ๒๕๕๑ ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๕๔๗/๒๕๕๑ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางในคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร องค์คณะในคดีนี้เป็นองค์คณะพิเศษ ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด และตุลาการ หัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ซึ่งโดยปกติมักจะไม่ตัดสินคดี จากนั้นไม่นาน คอลัมน์ข้าราษฎรในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ ได้เผยแพร่บทความ โดยสายสะพายผู้เขียนคอลัมน์บอกว่าเป็นการเล่าเรื่องสมมติเพื่อตั้งคำถาม ทดสอบตุลาการ ดังนี้
"ใน การพิจารณาคดีสำคัญคดีหนึ่งของศาลสูง ผู้บริหารศาลได้จ่ายสำนวนให้ตุลาการคณะหนึ่งพิจารณา ปรากฏว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นเสียงข้างมาก 3 ใน 5 เสียงเห็นว่า ควร กลับคำสั่งของศาลชั้นต้น มีการยกร่างคำสั่งเสียงข้างมากดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าความเห็นขององค์คณะที่พิจารณาคดีนี้ไม่ตรงกับความเห็นของผู้บริหาร ศาล จึงมีการดึงคดีกลับและจ่ายสำนวนไปให้อีกองค์คณะหนึ่งซึ่งมีผู้บริหารศาลดัง กล่าวเป็นหัวหน้าคณะเอง ผลการพิจารณาขององค์คณะใหม่ตรงกันข้ามกับองค์คณะที่โดนดึงสำนวนคืน แม้เสียงจะไม่เป็นเอกฉันท์ ทั้งนี้เสียงข้างน้อยในองค์คณะใหม่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่มีการดึงสำนวน ขึ้นและมีการบันทึกไว้ในกระบวนพิจารณาด้วย คำถามแรก คือ การกระทำของผู้บริหารศาลเป็นการกระทำจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่บัญญัติว่า "ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย"( รัฐธรรมนูญ มาตรา 197 วรรค สอง) หรือไม่ คำถามสอง ถ้าการกระทำของผู้บริหารศาล เป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดทาง อาญาอื่นหรือไม่ คำถามสาม ถ้าท่านเป็นผู้พิพากษาตุลาการในศาลดังกล่าว รู้เห็นและเป็นตุลาการที่อยู่ทั้งในองค์คณะเดิมและองค์คณะใหม่ ท่านจะทำอย่างไร 1.นิ่งเฉยเสีย ขืนโวยวายหรือร้องเรียนจะเดือดร้อนแก่ตัวเอง 2.เห็น ว่า อยู่ในสภาวะน้ำท่วมปาก เพราะถ้าร้องเรียน(มีหลักฐานอยู่แล้ว เช่น บันทึกการจ่ายสำนวน คำสั่งให้คูกรณีชี้แจง เจ้าของสำนวนเปลี่ยนคน บันทึกกระบวนพิจารณา) จะเป็นการทำลายสถาบันศาลเพราะจะทำให้สาธารณชนไม่เชื่อถือศรัทธา 3.ร้อง เรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)หรือนำหลักฐานมา เปิดโปงต่อสาธารณะเพราะ ถ้าปล่อยให้มีผู้บริหารศาลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เท่ากับองค์กรมีลักษณะเน่าใน ประชาชนย่อมไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายและไม่ เป็นเป็นธรรม เนื่องจากจะมีการแทรกแซงการพิจารณาพิพากษาคดีจากผู้บริหารศาลได้เสมอ ไม่ว่า ในทางปฏิบัติจริง ผู้พิพากษาตุลาการจะทำอย่างไร ไม่รู้ไม่เห็น เพราะไม่ใช่หน้าที่ การกระทำของท่านต้องเป็นไปตามคำสัตย์ปฏิญาณที่ว่า จะซื่อสัตย์สุจริตและปราศจากอคติทั้งปวงนั้น เป็นเพียงถ้อยคำที่ท่องแบบนกแก้วนกขุนทองหรืออยู่ในมโนสำนึกที่แท้จริง"
๙ กันยายน ๒๕๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๑๒-๑๓/๒๕๕๑ ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะเป็น "ลูกจ้าง" โดยศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า "...การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผลจึงมิใช่แปลความคำว่า "ลูกจ้าง"ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากร เท่านั้น... ดังนั้น คำว่า "ลูกจ้าง" ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ จึงมีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลความตามความหมายทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" ว่าหมายถึง "ผู้รับจ้างทำการงาน ; ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร" โดย มิได้คำนึงว่าจะมีการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง สินจ้าง หรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หากมีการตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้ว ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ ทั้งสิ้น... พยานหลักฐานทั้งหมดมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องทำหน้าที่พิธีกรในรายการชิมไป บ่นไป หลังจากเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วโดยผู้ถูกร้องยังคงได้รับค่าตอบแทน ที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินจากบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด ดังนั้น การที่ผู้ถูกร้องเป็นพิธีกรให้แก่บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็นการรับจ้างทำการงานตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" ตาม นัยแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ แล้ว กรณีถือได้ว่า ผู้ถูกร้องเป็นลูกจ้างของบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจึงสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๒ วรรคหนึ่ง ()"
ล่าสุด ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคภาคสอง อันได้แก่ คำวินิจฉัยที่ ๑๘/๒๕๕๑ ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี คำวินิจฉัยที่ ๑๙/๒๕๕๑ ยุบพรรคชาติไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี และคำวินิจฉัยที่ ๒๐/๒๕๕๑ ยุบพรรคพลังประชาชนและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี
     
-๗-
 
จากปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" ตลอดเกือบสามปี ผู้เขียนยืนยันว่านี่ไม่ใช่ "การควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ" (Judicial Review) ใน นามของนิติรัฐ องค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่าย นิติบัญญัติ (ผ่านทางการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ) และฝ่ายบริหาร (ผ่านทางการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง) อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ หรือ "judicial review" ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างปราศจากเงื่อนไขหรือไร้ซึ่งขอบเขต ต้องไม่ลืมว่าอีกมุมหนึ่ง หลักนิติรัฐในรัฐเสรีประชาธิปไตยก็เรียกร้องให้มีการแบ่งแยกอำนาจ และจำเป็นต้องหาดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลาย องค์กรตุลาการเองก็เช่นกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีอำนาจ "เชิงรับ" ศาลไม่อาจควบคุมองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารได้ในทุกกรณี ตรงกันข้าม เรื่องจะขึ้นไปสู่ศาลได้ก็ต่อเมื่อมีการริเริ่มคดีโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เสียก่อน และศาลไม่อาจลงมาหยิบยกเรื่องใดขึ้นพิจารณาได้ด้วยตนเอง การพิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างปราศจากกฎเกณฑ์ กว่าที่องค์กรตุลาการจะผลิตคำพิพากษาได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่เงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีหรือไม่ การฟ้องทำตามรูปแบบหรือไม่ วัตถุแห่งคดีเป็นกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภา (กรณีศาลรัฐธรรมนูญ) หรือเป็นการกระทำของฝ่ายปกครอง (กรณีศาลปกครอง) หรือไม่ ฟ้องภายในอายุความหรือไม่ ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาหรือไม่ จากนั้นยังต้องผ่านกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมอีก ในท้ายที่สุดเมื่อศาลตัดสิน ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลเป็นการทั่วไปหรือมีผลผูกพัน เฉพาะคู่ความ มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต
 
ผู้เขียนยังเห็นอีกว่าปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" ในประเทศไทยตลอด ๓ ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่การตัดสินคดีความอย่างก้าวหน้า (Judicial activism) และไม่ใช่การตีความกฎหมายอย่างสร้างสรรค์ (Constructive interpretation) เพราะ การตัดสินคดีความอย่างก้าวหน้า คือ การที่ผู้พิพากษาพยายามใช้และตีความกฎหมายอย่างสร้างสรรค์เพื่อวินิจฉัยคดี ให้เกิดผลไปในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนออกไป มากขึ้น การตัดสินคดีความอย่างก้าวหน้าจึงไม่ใช่การตัดสินคดีความเพื่อปราบปรามศัตรู ทางการเมืองขั้วตรงข้าม ไม่ใช่การตัดสินคดีความเพื่อ "ปลด" นักการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดีความเพื่อตามยุบพรรคการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดีความที่แทรกแซงเข้าไปในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นอำนาจของรัฐบาลโดยแท้
โรนัลด์ ดวอร์กิ้น สนับสนุนการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้าของผู้พิพากษา ดวอร์กิ้นเสนอไว้ว่าผู้พิพากษาต้องทำหน้าที่ประดุจดังเฮอร์คิวลิส เขาเห็นว่ากฎหมายไม่ได้มีแต่เรื่องกฎเกณฑ์ (Rules) แต่ยังมีหลักการ (Principles) กำกับอยู่ด้วย หลักการเป็นมาตรฐานภายในกฎหมาย ที่ไม่ได้มีเพื่อความก้าวหน้าหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม แต่มีเพราะการเรียกร้องของความยุติธรรม หลักการเป็นไปเพื่อความยุติธรรม ความเป็นธรรม ศีลธรรม เราอาจสืบค้นหลักการเหล่านี้ได้จากคดีความ กฎหมายบัญญัติ หรือศีลธรรมของชุมชน นโยบาย (Policy) กับ หลักการ (Principles) เป็นคนละเรื่องกัน ดวอร์กิ้นให้คำนิยามไว้ชัดเจนว่า " ข้าพเจ้าเรียกว่า "นโยบาย" สำหรับมาตรฐานที่ให้นิยามเป้าประสงค์ที่เราต้องการไปถึง เช่น อาจเพื่อการปรับปรุงในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของชุมชน... ข้าพเจ้าเรียกว่า "หลักการ" สำหรับมาตรฐานซึ่งเราต้องรักษาไว้ ไม่ใช่เพราะว่ามันทำให้เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ก้าวหน้าหรือมั่นคง แต่เพราะว่ามันเป็นข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ความเป็นธรรม หรือมิติด้านศีลธรรมอื่นๆ" (Ronald Dworkin, Prendre les droits au sérieux, PUF, 1995, p.80.) เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ดวอร์กิ้นยกตัวอย่างว่า "จำนวนอุบัติเหตุทางรถยนต์ต้องลดลง นี่เป็นนโยบาย และไม่มีบุคคลใดจะได้รับประโยชน์จากความผิดของตนเอง นี่เป็นหลักการ" ดวอร์กิ้นยกตัวอย่างคดี Riggs v. Palmer ปี ๑๘๘๙ มีประเด็นให้พิจารณาว่าทายาทที่ฆ่าปู่ยังคงรับมรดกจากปู่ตามที่ปู่เขียนใน พินัยกรรมหรือไม่ ศาลบอกว่าหากพิจารณาตามกฎหมายบัญญัติแล้ว เมื่อพินัยกรรมระบุให้ทายาทผู้นี้เป็นผู้รับมรดก ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ศาลเห็นว่ามีหลักทั่วไปอยู่ข้อหนึ่ง คือ ไม่มีบุคคลใดจะได้รับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเอง ศาลจึงวินิจฉัยว่าทายาทผู้นี้ไม่มีสิทธิรับมรดกจากปู่ แม้พินัยกรรมของปู่จะกำหนดให้ก็ตาม การที่ศาลยกหลักทั่วไปมาปรับใช้ หลักทั่วไปนี้ก็คือหลักการตามความหมายของดวอร์กิ้นนั่นเอง
ข้อความ คิดเรื่อง "หลักการ" ของดวอร์กิ้น มีเพื่อยืนยันว่าผู้พิพากษาไม่อาจสร้างกฎเกณฑ์ได้เอง (ซึ่งต่างจากฮาร์ทที่เห็นว่าในบางกรณี ผู้พิพากษาอาจสร้างกฎเกณฑ์ได้ หากกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่ชัดเจนหรือมีผลประหลาด) ดวอร์กิ้นเห็นว่า ต่อให้คดีที่ยากที่สุด (Hard cases) ก็ตาม อย่างไรเสียก็ยังคงมี "หลักการ" ซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาแบบเฮอร์คิวลิสต้องหาให้พบ แล้วจะได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด (One right answer) เพราะผู้พิพากษาเฮอร์คิวลิสเป็น "นักกฎหมายผู้ชำนาญการ ทรงความรู้ อดทนอดกลั้น และฉลาดหลักแหลม เหนือมนุษย์" จึง ต้องรับภาระในการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาในคดีที่ยาก ด้วยการยึดมั่นในกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สร้างกฎหมายขึ้นมาใหม่หรือแก้ไขกฎหมายด้วยตนเอง แต่ต้องตีความด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลเลิศที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ด วอร์กิ้นเห็นว่ากฎหมายมีความเป็นเอกภาพ เขาเปรียบเทียบเป็น "สายโซ่ของกฎหมาย" กับนวนิยายเรื่องหนึ่งที่เขียนโดยกลุ่มนักเขียน นักเขียนนวนิยายคนหนึ่งรับหน้าที่เขียนบทหนึ่ง นักเขียนคนต่อมาก็ต้องเขียนบทต่อไปที่มีความเชื่อมโยงร้อยเรียงจากบทก่อน โดยที่บทใหม่ต้องเขียนให้ดีที่สุด อุปมาของดวอร์กิ้นนี้เสมือนกับพัฒนาการการตัดสินคดีของศาลสูงสหรัฐอเมริกา นั่นเอง เช่น ภายหลังสิ้นสุดสงครามแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกา สภาครองเกรสได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อเลิกทาสในปี ๑๘๖๕ และรับรองสิทธิเลือกตั้งของคนผิวดำในปี ๑๘๗๐ แต่ในคดี Plessy v. Ferguson ปี ๑๘๙๖ ศาลสูงสหรัฐอเมริกากลับตีความบทบัญญัติที่ว่า "การคุ้มครองความเสอภาคตามกฎหมาย" เพื่อรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการแบ่งแยกที่นั่งบนรถไฟระหว่างคนขาว กับคนดำ ในกรณีที่แบ่งแยกแล้วคนดำได้ประโยชน์แต่คนขาวเสียประโยชน์ เพราะศาลถือว่าเป็นการ "แบ่งแยกแต่เสมอภาค" เกือบ ๖๐ ปีต่อมา ศาลสูงได้วางหลักใหม่ในคดี Brown v. Board of Education ปี ๑๙๕๔ ลินดา บราวน์สมัครเข้าเรียนโรงเรียนประถมของคนผิวขาวที่ตั้งอยู่ข้างบ้าน แต่โรงเรียนไม่รับสมัคร เธอและพวกจึงมาฟ้องต่อศาล ในคดีนี้ ศาลสูงได้กลับหลักจากคดี Plessy v. Ferguson โดยให้เหตุผลว่า "เรา ไม่อาจหมุนนาฬิกาย้อนกลับไปปี ๑๘๖๘ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องความเสมอภาค เช่นกัน เราไม่อาจย้อนไปปี ๑๘๙๖ ปีที่ตัดสินคดี Plessy v. Ferguson เราต้องพิจารณาการศึกษาสาธารณะในฐานะเป็นดังแสงสว่างของการพัฒนา และอยู่ในชีวิตของคนอเมริกันทั่วทั้งชาติ เพียงเท่านี้เราก็จะพิจารณาได้ว่าการแบ่งแยกสีผิวในโรงเรียนของรัฐละเมิด หลักการคุ้มครองความเสมอภาคตามกฎหมายหรือไม่" การแบ่งแยกสีผิวจึงขัดรัฐธรรมนูญ
การ สนับสนุนบทบาทของผู้พิพากษาในการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้าตามความคิดของด วอร์กิ้นนั้นตรงกันข้ามกับปรัชญาของเต๋า ในเต๋าเต็กเก็ง เล่าจื๊อแสดงทัศนคติต่อกฎหมายและองค์กรตุลาการในแง่ไม่ดีนัก เขาเห็นว่า กฎธรรมชาติเป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์กว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เป็นกฎเกณฑ์ที่นำมาซึ่งความยุติธรรม การที่มนุษย์บัญญัติกฎหมายเพื่อแก้ปัญหามากเท่าไร "โจรผู้ร้ายยิ่งชุกชุม ประชาราษฎรยิ่งยากจน อาวุธยิ่งแหลมคม ประเทศยิ่งวุ่นวายสับสน" ดังนั้น "ปราชญ์ย่อมปกครองด้วยการไม่ปกครอง" ในส่วนขององค์กรตุลาการนั้น เล่าจื๊อเห็นว่า บรรดาตุลาการเป็นกลไกของความรุนแรง มุ่งแก้ไขแต่ปัญหาและข้อผิดพลาดและรับอาณัติมาทำลายล้างผู้อื่นโดยใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือ และในท้ายที่สุด ตุลาการก็ต้องรับความเดือดร้อนจากการที่ตนเองได้ใช้ความรุนแรงนั่นเอง เล่าจื๊อเปรียบเทียบว่า ตุลาการเป็นคนธรรมดาที่รับอาสาเป็นผู้ถือขวาน (กฎหมาย) ไปตัดต้นไม้ (ความรุนแรง) แทนช่างไม้ ผู้ถือขวานไปตัดต้นไม้แทนช่างไม้ "ยากนักที่จะหนีพ้นจากบาดแผลของคมขวาน"
ใน มุมมองของฌาคส์ แดร์ริดา การตัดสินคดีของผู้พิพากษา ไม่ใช่เป็นการบังคับปรับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างกฎหมายด้วย เมื่อสร้างกฎหมายใหม่โดยผ่านการตัดสินคดีหรือตีความมากขึ้น ในที่สุดก็ถือว่าไม่มีกฎหมายใดๆเลย แต่เป็นผู้พิพากษาที่สร้างขึ้นเองในแต่ละคดี ดังนั้น การตีความกฎหมายก็คือกฎหมายนั่นเอง ผู้พิพากษาในทัศนะของแดร์ริดาจึงมีเสรีภาพกว้างขวางมาก เมื่อผู้พิพากษามีอำนาจมากเช่นนี้ การตัดสินคดีของผู้พิพากษาจึงต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลอื่นๆจะละเลยไม่ใส่ใจกฎหมายด้วยเห็น ว่าเป็นเรื่องของผู้พิพากษาเท่านั้น ตรงกันข้าม ทุกคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่ใช่เป็นสมบัติของนักกฎหมายเท่านั้น
สำหรับ เยอร์เก้น ฮาเบอร์มาสแล้ว เขาไม่เชื่อว่าเราจะค้นพบผู้พิพากษาที่เก่งกาจเหมือนเฮอร์คิวลิสตามจินตภาพ ของดวอร์กิ้น ถึงกระนั้นฮาร์เบอมาสก็สนับสนุนให้ผู้พิพากษาใช้และตีความกฎหมายอย่าง สร้างสรรค์ เขาเห็นว่าคำพิพากษาที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยความมั่นคงแน่นอนในกฎหมาย และความถูกต้องสมเหตุสมผล ความชอบธรรมของคำพิพากษาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผ่านการถกเถียงทั้งจากคู่ ความ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย ตลอดจนสังคม การเขียนคำพิพากษาของผู้พิพากษาจึงไม่ได้เขียนเพื่อคู่ความเท่านั้นแต่คำ พิพากษาต้องสื่อถึงสังคมด้วย ในเรื่องคดีความต่างๆจึงไม่ควรถูกผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เท่านั้น แต่ต้องอยู่ในพื้นที่สาธารณะให้สังคมได้มีโอกาสถกเถียง การเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้วิจารณ์คำพิพากษาจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการ สร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้แก่คำพิพากษานั้น
 
เช่นกัน ปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" ตลอด ๓ ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ judicialization of politics เพราะ judicialization of politics คือ ความพยายามทำให้เรื่องที่เกี่ยวพันกับการเมืองหรือสังคมเข้าสู่การพิจารณา ขององค์กรตุลาการ เมื่อเรื่องเหล่านี้แปรสภาพกลายเป็นข้อพิพาทในศาลแล้ว องค์กรตุลาการก็มีโอกาสแสดงบทบาททางการเมืองหรือวางหลักการนโยบายต่างๆด้วย การกระทำผ่านคำพิพากษา องค์กรตุลาการจึงมีส่วนร่วมในทางการเมืองจากการตัดสินคดีนั่นเอง
judicialization of politics เกิดขึ้นได้ในสองกรณี กรณีแรก สภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคมวิทยาการเมือง เสียงเรียกร้องของสังคม ตลอดจนนิตินโยบายเรียกร้องให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาท เพราะเห็นว่าเรื่องทางการเมืองในบางกรณี ให้ฝ่ายการเมืองจัดการกันเองยังไม่เพียงพอ และกลไกทางการเมืองแก้ปัญหาไม่ได้ เช่น กรณีนักการเมืองทุจริตหรือบริหารงานผิดพลาดร้ายแรง เดิมนักการเมืองต้องรับผิดชอบทางการเมือง (ลาออก ไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง) ต่อมาเห็นกันว่าความรับผิดเพียงแค่นี้ยังไม่เพียงพอ จึงแปรสภาพเรื่องเหล่านี้ให้เป็นคดีโดยอาจให้มีความรับผิดทางอาญา (มาตรฐานเข้มข้นกว่าบุคคลทั่วไป) แล้วให้ศาลเป็นผู้พิจารณาคดี ซึ่งองค์กรตุลาการมีความเป็นอิสระย่อมจัดการคดีเหล่านี้ได้ดีและอิสระกว่า ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองจัดการกันเอง เมื่อเห็นพ้องต้องกันเช่นนี้ ก็ต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อขยายเขตอำนาจขององค์กร ตุลาการให้ครอบคลุมถึงกรณีใดบ้าง เช่น กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเฉพาะให้ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาคดีทุจริตของ นักการเมือง หรือกำหนดให้การกระทำบางประเภทของนักการเมืองถือว่ามีความผิดทางอาญาและให้ ศาลเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยเพราะถือว่าแปรสภาพเป็นคดีอาญาแล้ว สำหรับประเทศไทย ปรากฏให้เห็นในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยกรณีแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง จัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมาทำหน้าที่โดย เฉพาะ มีวิธีพิจารณาและกระบวนการขั้นตอนที่แตกต่างจากคดีอื่นๆ
กรณีที่สอง ความเข้มแข็งของชุมชนกฎหมาย ในสังคมต้องมีกลุ่มคนที่นิยมใช้ช่องทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมต่อสู้ ในอิสราเอล judicialization of politics เฟื่องฟูมาก เพราะมีกลุ่ม cause lawyers หมั่น "ชง" เรื่องไปศาล ทำให้ศาลมีโอกาสเข้ามามีบทบาททางการเมืองและสังคมโดยกระทำผ่านทางคำพิพากษา ในยุโรป มีสมาคมและองค์กรเอกชนมากมายที่คอยตรวสอบฝ่ายการเมืองและหาช่องทางฟ้องคดี อย่างขยันขันแข็ง หากไม่มีการฟ้องคดี ศาลก็ไม่มีเวทีให้แสดงบทบาท ดังนั้น judicialization of politics ย่อมแปรผันตามจำนวนคดี หากมีการฟ้องคดีมาก โอกาสเกิด judicialization of politics ก็มีมากตามไปด้วย
ผลงานรูปธรรมของ judicialization of politics ในยุโรป อเมริกา อิสราเอล คือ ศาลปรับใช้กฎหมายเพื่อพิพากษาคดีไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิของคนกลุ่มน้อย judicialization of politics มุมหนึ่ง เปิดโอกาสให้ศาลเข้ามามีบทบาททางการเมือง อีกมุมหนึ่ง เปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยใช้ศาลเป็นช่องทางสู้กับเสียงข้างมาก ให้คนกลุ่มน้อยใช้ศาลปกป้องสิทธิของตน
จะเห็นได้ว่า judicialization of politics ทำให้องค์กรตุลาการมีบทบาทเชิงรุกมากกว่าเดิม แต่เชิงรุกที่ว่านี้เป็น "รุกในรับ" เป็น "รุกแบบมีเงื่อนไข" คือ ศาลไม่อาจลงไป "เล่น" การเมืองได้เอง แต่ต้องมีคนฟ้องคดีขึ้นมาและแสดงผ่านคำพิพากษาซึ่งสาธารณชนก็เข้ามาตรวจสอบ มาตรฐานและความถูกต้องเหมาะสมของคำพิพากษาได้อีก โดยศาลต้องตระหนักเสมอว่า หากแสดงบทบาทเชิงรุกมากเกินไปก็อาจโดนฝ่ายการเมืองใช้อำนาจโต้กลับได้ จึงต้องหาดุลยภาพให้พอเหมาะ
judicialization of politics จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลจะอาศัยคำพูดของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้ ศาลได้เข้าไปแทรกแซงเรื่องการเมืองได้โดยที่ไม่มีกฎหมายกำหนด
 
ผู้เขียนได้สำรวจตำราต่างประเทศเท่าที่สติปัญญาจะพึงมี ขอยืนยันว่า Judicial Review, Judicial activism, Judicialization of politics ในนานาอารยประเทศ ไม่มีกรณีศาลเพิกถอนการเลือกตั้งทุกเขตทั่วประเทศด้วยมูลเหตุเพียงจัดคูหา ออกด้านนอก ไม่มีกรณีศาลสั่งยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแบบ "เหมารวม-ยกเข่ง" ด้วยมูลเหตุเพียงว่ามีกรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งกระทำความผิด ไม่มีกรณีที่ศาลใช้กฎหมายเป็นโทษย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่มีกรณีให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งเพราะมีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเป็น ลูกจ้าง และในวันที่ศาลตัดสินลักษณะต้องห้ามก็หมดไปแล้ว ตรงกันข้าม Judicial Review, Judicial activism, Judicialization of politics ในนานาอารยประเทศ มีแต่กรณีศาลตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภา ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ศาลใช้และตีความกฎหมายเพื่อขยายความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
 
-๘-
 
เรา อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า เดิมศาลไทยมักจะจำกัดอำนาจตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีข้อพิพาทที่ก้าวล้ำเข้าไปในเรื่องบริหารหรือเรื่อง นโยบาย จะเห็นได้จากมีคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนมากที่ศาลไม่รับฟ้อง เพราะ เห็นว่าเป็นเรื่องนโยบายบ้าง เป็นเรื่องดุลพินิจของฝ่ายบริหารบ้าง เป็นเรื่องการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๗ ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรสมัยจอมพลสฤษดิ์บ้าง เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้องบ้าง พึ่งปรากฏให้เห็นในช่วงสามปีนี้เองว่าศาลไทยขยันขันแข็งเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามความขยันแข็งที่ว่านี้ ก็มีมิติเดียวอยู่นั่นเอง คือมิติ "ปราบปราม" นักการเมือง แต่ในเรื่องขยายความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั้น กลับไม่มากเท่าไรนัก จริงอยู่แม้จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่เมื่อเทียบกับการปราบปรามนักการเมืองแล้ว ก็ยังถือว่าน้อยอยู่มาก
ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน คือ คดีศิริมิตร บุญมูล
ศิริมิตร บุญมูล ทนายความมีร่างกายผิดปกติเนื่องจากโปลิโอ ไปสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาพิจารณาเห็นว่า ศิริมิตรมีร่างกายไม่เหมาะสมตามพ ระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เห็นสมควรไม่รับสมัคร ต่อมา ก.ต. ในการประชุม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑๔ และ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓ เห็นชอบด้วยกับความเห็นของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัด เลือกเพื่อบรรจุเป็น ข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา จึงมีมติไม่รับสมัครเนื่องจากเป็นกรณีที่ร่างกายไม่เหมาะสม ศิริมิตรเห็นว่าพระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการน่าจะไม่ชอบด้วยหลักความเสมอภาคตาม รัฐธรรมนูญ จึงร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาล รัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญดังกล่าว ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตามที่ศิริมิตรร้องขอ
ศาลรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ ๑๖/๒๕๔๕ พิจารณาว่า "...การ รับสมัครสอบคัดเลือกนอกจากจะพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถแล้ว ยังต้องพิจารณาสุขภาพของร่างกาย และจิตใจว่ามีความสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และมีบุคลิกลักษณะที่ดีพอที่จะเป็นผู้พิพากษา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติโดยปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ การปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้พิพากษามิใช่เพียงแต่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีในห้องพิจารณาเท่านั้น บางครั้งต้องเดินทางไปนอกศาล ปฏิบัติหน้าที่ เช่น เพื่อเดินเผชิญสืบ เพื่อสืบพยานที่มาศาลไม่ได้ การพิจารณาเพื่อรับสมัครสอบ คัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา จึงมีมาตรการที่แตกต่าง และเข้มงวดกว่าการคัดเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่งอื่นอยู่บ้าง...จึงวินิจฉัยว่า "... เมื่อพิจารณาถึงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ (๑๐) คำว่า "มีกาย ... ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ"... เป็นไปตามความจำเป็นและความเหมาะสมของฝ่ายตุลาการ จึงเห็นว่า บทบัญญัติของ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ (๑๐) ดังกล่าว ...ไม่กระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมาย ให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ แต่อย่างใด..."
กล่าวให้เข้าใจโดยง่าย คือศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าตัวกฎหมายที่เขียนลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครไว้ว่า "มีกาย ... ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ" ไม่ขัดกับหลักความเสมอภาค เพราะกรณีการรับสมัครสอบผู้พิพากษามีความจำเป็นต้องพิจารณาร่างกายของผู้สมัครประกอบด้วย
ใน ส่วนของมติของ ก.ต.ที่ไม่อนุญาตให้เขาสมัครสอบนั้น ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่มีอำนาจพิจารณาในส่วนนี้ ไปฟ้องศาลปกครองก็ไม่ได้อีก เพราะมาตรา ๙ วรรค ๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ยกเว้นไว้ว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจในกรณีที่เกี่ยวกับการดำเนินการของ ก.ต. ตามกฎหมายข้าราชการตุลาการ ทั้งๆที่มติของ ก.ต. นั้นโดยเนื้อแท้ของมันน่าจะเป็น "เสมือน" คำสั่งทางปกครอง (ในหลายประเทศที่มีศาลปกครองกับศาลยุติธรรมคู่กันก็ให้ศาลปกครองมีอำนาจ พิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของ มติ ก.ต. ได้) แต่บริบททางประวัติศาสตร์และเหตุผลเฉพาะของไทย ทำให้กฎหมายศาลปกครองเขียนยกเว้นไม่ให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาความชอบด้วย กฎหมายของการดำเนินการของ ก.ต. ศิริมิตรจึงเหลืออยู่ช่องทางเดียวในการต่อสู้กับมติ ก.ต. นั่นคือเอากลับไปฟ้องต่อศาลยุติธรรม เมื่อเอามติของ ก.ต. ไป ฟ้องต่อศาลยุติธรรม คนใน ก.ต, ก็ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม แล้วเอาเรื่องนี้ไปฟ้องต่อศาลยุติธรรม คนตัดสินก็มีธรรมเนียม แนวคิด ค่านิยมออกไปในทำนองอนุรักษ์นิยมแบบเดียวกัน ลองตรองดูเถิดว่าผลจะเป็นอย่างไร
ศิริ มิตรเอา มติ ก.ต. ไป ฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่รับด้วยเหตุผลว่าศิริมิตรยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม มาตรา ๕๕ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ควรเข้าใจในเบื้องต้นว่าสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแคบกว่าการฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง กล่าวคือ ผู้ฟ้องต้องถูกโต้แย้งสิทธิก่อนจึงจะฟ้องได้ ศาลจะพิจารณาว่าสิทธิที่ผู้ฟ้องยกขึ้นมาอ้างว่าถูกโต้แย้งนั้นมีกฎหมาย รับรองสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องหรือไม่ กรณีนี้ศิริมิตรยังไม่มีสิทธิเข้าสอบ ไม่มีกฎหมายใดรับรองว่าศิริมิตรมีสิทธิสอบ ศิริมิตรเพียงขอสมัครสอบแล้ว ก.ต. ปฏิเสธซึ่งยังไม่ถือว่ากระทำการโต้แย้งสิทธิศิริมิตร
น่า สังเกตว่ากรณีของศิริมิตรที่ฟ้องขอเพิกถอนมติของ ก.ต. นี้ ศาลยุติธรรมน่าจะวางหลักเรื่องการฟ้องคดีตามมาตรา ๕๕ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ยืดหยุ่นกว่าเดิม เนื่องจากคำฟ้องขอเพิกถอนมติ ก.ต. โดยเนื้อแท้แล้วมีลักษณะทำนองเดียวกับคำฟ้องในคดีปกครองที่ขอเพิกถอนคำสั่ง ทางปกครอง จึงควรนำหลักในคดีปกครองมาใช้ กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ฟ้องก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงขนาดว่าสิทธิของตนถูกกระทบเหมือนในคดีแพ่ง หากเราไม่เดินตามแนวนี้แล้ว ต่อไปหากมีมติ ก.ต. ที่ไม่ให้สมัครสอบ ผู้ที่ถูกปฏิเสธจะหันหน้าไปพึ่งใคร หันหน้าไปที่ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกไม่มีอำนาจ หันมาหาศาลปกครองก็มีกฎหมายเขียนยกเว้นไว้ว่าไม่มีอำนาจเช่นกัน เหลือเพียงศาลยุติธรรมที่พอเป็นที่พึ่งได้ ก็มาติดที่สิทธิในการฟ้องคดีแคบ เช่นนี้มิต้องไปหาศาลเจ้าหรือ
ศิริ มิตรไปสมัครสอบเข้าเป็นอัยการผู้ช่วย เช่นเดียวกัน คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีมติไม่รับสมัครเพราะศิริมิตรมีร่างกายไม่เหมาะสม ศิริมิตรจึงไปฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอเพิกถอนมติ ก.อ.นี้ ระหว่างพิจารณาคดี ศิริมิตรได้ร้องขอให้ศาลปกครองส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณว่า มาตรา ๓๓ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ขัดกับหลักความเสมอภาคตามมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ ๔๔/๒๕๔๕ พิจารณาว่า "...การ รับสมัครสอบคัดเลือกนอกจากจะพิจารณาถึง ความรู้ ความสามารถแล้ว ยังต้องพิจารณาสุขภาพของร่างกายและจิตใจว่ามีความสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และมีบุคลิกลักษณะที่ดีพอที่จะเป็นข้าราชการอัยการ การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการมิใช่เพียงปฏิบัติหน้าที่ในห้องพิจารณา คดีหรือในสำนักงานเท่านั้น บางครั้งต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงาน เช่น เพื่อเดินเผชิญสืบ เพื่อสืบพยานที่ไม่อาจมาศาลได้ การร่วมชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวน การออกไปเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในชนบท เป็นต้น การพิจารณา เพื่อรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย จึงมีมาตรการที่แตกต่า และเข้มงวดกว่าการคัดเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่งอื่นอยู่บ้าง..." จึงวินิจฉัยว่า "...เมื่อ พิจารณาถึงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๓๓ (๑๑) คำว่า "มีกาย...ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ"... เป็นไปตามความจำเป็นและความเหมาะสมของฝ่ายอัยการ จึงเห็นว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๓๓ (๑๑) ดังกล่าว... ไม่กระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ แต่อย่างใด..."
ในส่วนของมติ ก.อ.ที่ไม่ให้ศิริมิตรสมัครสอบนั้น ศาลปกครองชั้นต้นยกฟ้อง เพราะเห็นว่า "...การ ที่ผู้ฟ้องคดีมีรูปกายพิการ เดินขากระเผลก กล้ามเนื้อแขนลีบจนถึงปลายมือทั้งสองข้าง กระดูกสันหลังคด แจ้งว่าเป็นโปลิโอตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ และได้รับการผ่าตัดดามเหล็กที่กระดูกสันหลังไว้เพื่อให้ไหล่ทั้งสองข้างเท่า กัน ตามรายงานผลการตรวจของคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าว จึงเป็นความแตกต่างที่ถึงขั้นเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะงานของพนักงานอัยการเมื่อเทียบกับบุคคลปกติทั่วไป การที่ผู้ถูกฟ้องคดี ... มีมติไม่รับสมัครผู้ฟ้องคดีนั้น เป็นการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นการใช้ดุลพินิจอย่าง เป็นธรรมและชอบด้วยเหตุผล..." ศิริมิตรอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นและพิพากษาให้เพิกถอนมติของ ก.อ. ดังกล่าว เพราะเห็นว่า "...ผู้ ฟ้องคดีแม้จะมีรูปกายพิการ แต่ความพิการดังกล่าวไม่ถึงขนาดทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจช่วยเหลือตนเองได้หรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานโดยปกติได้ โดยงานที่ผู้ฟ้องคดีเคยทำในขณะเป็นทนายความมาแล้วนั้นมีลักษณะทำนองเดียวกับ งานของข้าราชการอัยการดังกล่าว จึงน่าเชื่อว่าแม้สภาพกายของผู้ฟ้องคดีจะพิการ แต่ความแตกต่างดังกล่าวไม่ถึงขั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะงานของอัยการ... โดยที่ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ และคณะอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นเพียงความเห็น เบื้องต้นที่เสนอต่อผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อประกอบการพิจารณาเท่านั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีมติไม่รับสมัครผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีเหตุผลที่หนักแน่น เพียงพอว่าการที่ผู้ฟ้องคดีมีกายพิการดังกล่าวจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานใน หน้าที่ของข้าราชการอัยการได้อย่างไร มติของผู้ถูกฟ้องคดี ... จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดี..."
แต่ เรื่องยังไม่จบ เพราะ กฎหมายศาลปกครอง มาตรา ๗๒ (๑) บอกว่ากรณีฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอน มติ ก.อ. แต่ไม่ได้หมายความว่า ก.อ. จะ ต้องมีมติใหม่ให้ศิริมิตรเข้าสอบ ว่าให้ชัดคือ มติ ก.อ. บอกว่าไม่ให้สอบ ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนมติ ก.อ ก็คือเพิกถอนการไม่ให้สอบ แต่ศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจไปบังคับให้ ก.อ มีมติรับคุณศิริมิตรเข้าสอบได้อยู่ดี
จะ เห็นได้ว่าการต่อสู้ของศิริมิตร บุญมูล ทั้งในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรมนั้น ค่อนข้างหนักหนาสาหัส ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรตุลาการกลับไม่ "ภิวัตน์" ในเรื่องเหล่านี้เท่ากับ "ภิวัตน์" ในเรื่องปราบปราบนักการเมือง
 
เมื่อ เผชิญหน้ากับรัฐประหาร ศาลไทยไม่เคยปฏิเสธรัฐประหาร ไม่เคยประกาศผ่านคำพิพากษาว่ารัฐประหารไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรงกันข้ามในคำพิพากษาศาลฎีกาหลายกรณี ศาลยอมรับการดำรงอยู่ของคณะรัฐประหาร โดยถือหลักว่าเมื่อเริ่มแรกรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้กระทำการจนสำเร็จและยึดอำนาจได้อย่างบริบูรณ์ สามารถยืนยันอำนาจของตนและปราบปรามอำนาจเก่าหรือกลุ่มที่ต่อต้านให้เสร็จ สิ้น เมื่อนั้นคณะรัฐประหารก็มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจออกรัฐธรรมนูญใหม่หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญเก่า ตลอดจนการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายได้ พูดง่ายๆก็คือ ศาลไทยให้ความสำคัญ "อำนาจ" ในความเป็นจริงเป็นสำคัญ มากกว่าจะพิจารณาถึงความถูกต้องของ "กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจ" นั่นเอง
เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๒/๒๕๐๕ "ในพ.ศ.๒๕๐๑ คณะปฏิวัติได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกด้วยคำแนะนำหรือยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ก็ตาม" หรือคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๔/๒๕๒๓ "แม้ จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครอง ผ่นดินไม่ ประกาศหรือคำสั่งนั้นจึงยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่"
ถึง กระนั้นก็ตาม ศาลไทยพยายามใช้และตีความกฎหมายเพื่อพิพากษาไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนจากประกาศคณะรัฐประหารอยู่บ้าง โดยพิจารณาว่าประกาศของคณะรัฐประหารขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังกรณี "กฎหมายควบคุมอันธพาล" หรือกรณีประกาศ รสช.เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง กรณี "กฎหมายควบคุมอันธพาล" นั้น ศาลแขวงอุบลราชธานีในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๙๑๘/๒๕๑๒ เห็นว่าประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๓ พ.ศ.๒๕๐๓ เกี่ยวกับการควบคุมตัวอันธพาลนั้นขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย ว่าบุคคลใดเป็นอันธพาล และมีอำนาจส่งตัวบุคคลนั้นไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพจึงมีผลเท่ากับเป็นการ ตั้งให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจพิจารณาคดีชี้ความผิดและลงโทษบุคคลได้ นอกจากนี้ประกาศฉบับนี้ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการลงโทษที่แน่นอนชัดเจน และโทษที่จะลงนั้นหนักเบาสถานใด สุดแท้แต่คณะกรรมการจะพิจารณา ทำให้โทษที่ได้รับไม่ได้สัดส่วนกับความผิดและไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ยืนยันในคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๑๓ ว่าประกาศฉบับนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
แม้ ศาลจะไม่ปฏิเสธความเป็นกฎหมายของประกาศคณะรัฐประหาร แต่ศาลก็พยายามใช้และตีความเพื่อลดความเข้มข้นของประกาศคณะรัฐประหารและ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามประกาศคณะรัฐประหารต่างๆ เพื่อควบคุมตัวในข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงบ้าง ในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ในข้อหาเป็นภัยต่อสังคมบ้าง ศาลก็จะใช้และตีความกฎหมายไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยการสั่งให้ปล่อยตัวบ้าง ลดจำนวนวันคุมตัวบ้าง ตลอดจนพิจารณาว่ามูลเหตุแห่งการควบคุมตัวนั้นตรงตามที่ประกาศคณะรัฐประหาร กำหนดหรือไม่
มี ข้อควรสังเกตว่า เมื่อศาลไทยเผชิญหน้ากับรัฐประหาร ผลิตผลของคณะรัฐประหาร คำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารแล้ว ศาลจะรับรองการดำรงอยู่ของสิ่งเหล่านี้ เว้นเสียแต่ว่า ผลิตผลของคณะรัฐประหารเข้ามารุกล้ำศาล มีผลกระทบกระเทือนต่อศาล หรือลิดรอนอำนาจของศาล เมื่อนั้นศาลก็ไม่ลังเลที่จะปฏิเสธคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเหล่า นั้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธผ่านทางคำพิพากษา หรือปฏิเสธผ่านทางการแสดงออกด้วยการกดดัน การปฏิเสธประกาศคณะรัฐประหารผ่านทางคำพิพากษา ก็โดยการวินิจฉัยว่าประกาศคณะรัฐประหารขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ "ตั้ง "คณะบุคคลที่มิใช่ศาล" ให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล" หรือ "ใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล" ส่วนการปฏิเสธประกาศคณะรัฐประหารด้วยการกดดัน ก็เช่นกรณี "กฎหมายโบดำ" ที่คณะรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจรได้ตราประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๙ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ เกี่ยวกับระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ฝ่ายตุลาการเห็นกันว่าประกาศนี้ส่งให้ฝ่ายบริหารเข้าแทรกแซงความเป็นอิสระ ของศาล มีการรณรงค์คัดค้านประกาศนี้อย่างกว้างขวาง ประธานศาลฎีกาออกโรงมาเขียนแถลงการณ์สาธารณะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน มีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศนี้ เพียงสองสัปดาห์ รัฐบาลถนอมก็ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องผลักดันให้ตราพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๙
คง ไม่เกินเลยไปที่จะกล่าวว่า ศาลไทยพร้อมจะ "ชน" กับคณะรัฐประหาร ถ้าคณะรัฐประหารเข้ามาล้ำแดนความเป็นอิสระของศาลหรือเข้ามาแตะต้องวัฒนธรรม องค์กร แต่กลับกรณีที่คณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลอันขัดต่อการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงนั้น ศาลไทยกลับยอมรับ หรือกรณีที่หัวหน้าคณะรัฐประหารใช้อำนาจเผด็จการตามมาตรา ๑๗ แบบสฤษดิ์ ศาลไทยกลับนิ่งเฉยไม่รับคำฟ้องโดยให้เหตุผลว่าไม่มีอำนาจ ตลอดจนกรณีที่คณะรัฐประหารตราธรรมนูญการปกครองชั่วคราวเพื่อใช้แทน รัฐธรรมนูญเดิม โดยมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ให้อำนาจเผด็จการแก่หัวหน้าคณะรัฐประหารเพียงผู้เดียว ศาลไทยกลับยืนยันว่าทำได้ คงเหมือนที่เสน่ห์ จามริกตั้งข้อสังเกตไว้ใน "การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ" ว่าท่าทีของฝ่ายตุลาการที่ต่อต้านประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๙ อย่างจริงจังถึงขั้นชุมนุมประท้วงนั้น เพราะเนื้อหาของประกาศฉบับนี้กระทบต่อการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการ น่าเสียดายที่ท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจนรุนแรงขององค์กรตุลาการเช่นนี้กลับไม่ เกิดขึ้นกับการก่อการรัฐประหารหรือประกาศคณะรัฐประหารที่มีเนื้อหาไม่เป็นธร รมอื่นๆ
 
-๙-
 
ปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" แบบไทยๆเข้มข้นมากขึ้นจนเกิดปัญหาว่า องค์กรตุลาการกับองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนกลายเป็นคู่ขัดแย้ง กัน เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างองค์กรที่มีฐานความชอบธรรมทางการเมืองอย่าง รัฐสภาและรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน กับองค์กรตุลาการที่ไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองเท่ากับรัฐสภาและรัฐบาล แน่นอนที่สุด เราไม่อาจ "ลบ" อำนาจการตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการออกไปได้ เพราะทำให้ปราศจากซึ่งองค์กรที่เป็นกลางและอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐ เช่นกัน หากแก้ไขให้องค์กรตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรม ก็คงไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้องค์กรตุลาการสูญสิ้นความอิสระไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของ องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมตลอดเวลา จึงต้องหาวิธีประสานให้องค์กรตุลาการมีความชอบธรรมทางการเมืองมากขึ้น ถูกตรวจสอบจากภายนอกได้โดยที่ยังคงความอิสระเอาไว้
ใน หลายประเทศ แก้ไขโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้วิจารณ์คำพิพากษาได้เต็มที่ เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและมอบอำนาจในส่วนตุลาการให้ศาลใช้แทน เมื่อเป็นเจ้าของอำนาจก็ย่อมมีสิทธิที่จะวิจารณ์ผู้ใช้อำนาจแทนตนเองได้ นอกจากนี้ยังกำหนดให้การพิจารณาคดีต้องเปิดเผยเป็นหลัก พิจารณาโดยลับเป็นข้อยกเว้น และเปิดโอกาสให้เข้าถึงคำพิพากษาโดยง่าย ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ ก็กำหนดให้บุคคลภายนอกทำหน้าที่เป็นคณะลูกขุนในการพิจารณาคดี โดยให้มีอำนาจพิจารณาในข้อเท็จจริงและให้ศาลวินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมาย บางประเทศใช้วิธีปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริหารงานบุคคลขององค์กรตุลาการ เสียใหม่ด้วยการเพิ่มสัดส่วนของบุคคลที่ไม่ใช่ผู้พิพากษาเข้าไป เช่น ฝ่ายการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ในขณะที่บางประเทศอาจไปไกลถึงขนาดให้ฝ่ายการเมืองเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา ในศาลสูงสุด เช่น สหรัฐอเมริกา ให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา หรือ ฝรั่งเศส ให้ประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา แต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญฝ่ายละ ๓ คน นอกจากนี้เพื่อการถ่วงดุลกันระหว่างองค์กรทางการเมืองกับองค์กรตุลาการ ยังอาจสร้างกระบวนการถอดถอนผู้พิพากษาออกจากตำแหน่งด้วยก็ได้ โดยให้วุฒิสภาเป็นผู้ถอดถอน
 
ใน ชีวิตทางการเมือง เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าองค์กรตุลาการมีบทบาททางการเมือง แต่บทบาททางการเมืองเช่นว่านั้นต้องกระทำผ่านคำพิพากษาและภายใต้ความเป็น เหตุเป็นผลตามกฎหมายเท่านั้น และถึงแม้องค์กรตุลาการอาจเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านคำพิพากษาของตน แต่องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลยภาพระหว่าง อำนาจไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องบางเรื่องเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับแนวนโยบายของรัฐบาลหรือเรื่อง ทางการเมืองโดยแท้ องค์กรตุลาการก็จำต้องสงวนท่าทีและควบคุมการใช้อำนาจของตนเองลง หากองค์กรทางการเมืองอื่นเห็นว่าองค์กรตุลาการได้ใช้อำนาจตัดสินคดีอัน เป็นการรุกล้ำเข้ามาในแดนอำนาจของตนเองมากจนเกินไป ก็เป็นไปได้ว่าองค์กรทางการเมืองนั้นอาจใช้อำนาจเพื่อตอบโต้การใช้อำนาจของ องค์กรตุลาการ อันเป็นเรื่องปกติของรัฐที่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจ เช่น ใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือให้รัฐสภาตรากฎหมายใหม่เพื่อลบหลักการที่ปรากฏใน คำพิพากษา ใช้วิธีนำเรื่องไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ใช้วิธีประกาศต่อสาธารณะอย่างชัดเจนถึงการไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา ใช้วิธีนิ่งเฉยไม่บังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ตลอดจนใช้วิธีแต่งตั้งผู้พิพากษาใหม่ๆเข้าไปเพิ่มเติม เป็นต้น
การ ใช้อำนาจตอบโต้องค์กรตุลาการปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศสสมัยประธานาธิบดีเดอโกลล์ และในสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีรูสเวลท์
กรณีของฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเดอโกลล์และรัฐบาลได้นำร่างรัฐบัญญัติฉบับหนึ่งเสนอให้ประชาชน ได้ลงประชามติเพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการแก้ไขวิกฤตการณ์แอลจีเรีย ซึ่งประชาชนก็เห็นด้วยให้ใช้กฎหมายดังกล่าวและมีผลบังคับใช้เป็นรัฐบัญญัติ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๑๙๖๒ มาตรา ๒ ของรัฐบัญญัตินี้ ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีในการออกมาตรการทั้งทางนิติบัญญัติและทางปกครอง เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์แอลจีเรีย ประธานาธิบดีเดอโกลล์จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒ ดังกล่าว ออกรัฐกำหนดลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๑๙๖๒ จัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียเพื่อเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในทุกข้อพิพาทที่ เกิดขึ้นในดินแดนแอลจีเรีย ต่อมาศาลทหารนี้ได้พิพากษาให้นาย Canal โดนโทษประหารชีวิต นาย Canal ได้ ฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดให้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาว่ารัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียไม่ ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีสถานการณ์พิเศษที่จำเป็นเพียงพอถึงขนาดต้องจัดตั้งศาลพิเศษขึ้น พิจารณาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง และบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียเป็นศาลชั้นต้นและศาล สุดท้ายโดยไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอื่นได้เป็นการขัดหลักกฎหมายอาญา ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนาย Canal ที่โดนโทษประหารชีวิตกลับไม่สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวได้ จึงพิพากษาให้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียเสีย
รัฐบาล ไม่พอใจกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเป็นอย่างมาก เพราะเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดได้เข้ามาแทรกแซงการบริหาร และคำพิพากษาเพิกถอนการจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียเป็นการขัดขวางต่อ การดำเนินนโยบายแก้ไขวิกฤตการณ์แอลจีเรียของรัฐบาล ปฎิกริยาของรัฐบาลที่มีต่อศาลปกครองสูงสุดนับว่ารุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อน นายกรัฐมนตรีแถลงว่า "รัฐบาล เห็นถึงความผิดปกติของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษานี้เป็นความพยายามเข้ามาปฏิบัติภารกิจซึ่งอยู่ในแดนของฝ่ายบริหาร และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่รับอาณัติมาจากประชาชน และกระทบต่อความรับผิดชอบในหน้าที่ของรัฐบาลและชาติ" ๔ วันถัดมา คณะรัฐมนตรีแถลงว่า "การแทรกแซงของศาลปกครองสูงสุดปรารถนาให้การปฏิบัติการตามรัฐกำหนดต้องสะดุดหยุดลง" รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารถึงกลับกล่าวว่า "รัฐบาลเห็นว่าคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมีอยู่จริง แต่ไม่มีค่าบังคับทางกฎหมายแต่ประการใด"
รัฐบาล ตัดสินใจแข็งข้อต่อฝ่ายตุลาการและไม่สนองตอบคำพิพากษา แทนที่รัฐบาลจะยุบศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียและเยียวยาให้ทุกอย่างกลับคืนสู่ สถานะเดิมก่อนมีการจัดตั้งศาลทหาร รัฐบาลกลับใช้อำนาจตอบโต้คำพิพากษาด้วยการเสนอร่างรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลความ มั่นคงแห่งรัฐต่อรัฐสภาอย่างรีบด่วน ร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ หนึ่ง เพื่อรับรองรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรีย และสอง ปิดช่องไม่ให้ศาลปกครองเข้ามาตรวจสอบการจัดตั้งศาลทหารในแอลจีเรียอีก เพราะเมื่อออกกฎหมายในรูปรัฐบัญญัติแล้ว ศาลปกครองก็ไม่อาจเข้ามาตรวจสอบได้ รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวและมีผลบังคับใช้เมื่อเมื่อ วันที่ ๑๕ มกราคม ๑๙๖๓ เมื่อมีรัฐบัญญัติรับรองรัฐกำหนด ก็เป็นอันว่ารัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียหลุดพ้นจากการตรวจสอบ ของศาลปกครองทันที อีกทั้งรัฐบัญญัติดังกล่าวยังมีบทบัญญัติในมาตรา ๕๐ ซึ่งยืนยันให้รัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารในดินแดนแอลจีเรียมีผลสมบูรณ์ย้อนหลัง นับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ อีกนัยหนึ่งคือ ให้รัฐกำหนดมีผลสมบูรณ์นับแต่เริ่มต้นนั่นเอง
อีก กรณีหนึ่ง เดอโกลล์ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ในครั้งนั้นเดอโกลล์ประสบความยุ่งยากในการหาคะแนนเสียงจากทั้งสองสภาเพื่อ สนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อประเมินคะแนนนิยมของตนแล้ว เห็นว่าประชาชนยังนิยมตนเองสูงมาก เดอโกลล์จึงหนีไปใช้ช่องทางตราเป็นร่างรัฐบัญญัติแล้วให้ประชาชนออกเสียง ประชามติในร่างรัฐบัญญัติแทน โดยอ้างว่ากรณีดังกล่าวเป็น "การจัดองค์กรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ" ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๑ อนุญาตให้ออกเสียงประชามติได้ กรณีนี้ได้รับการวิจารณ์กันมาก ข้อแรก เดอโกลล์ไม่ให้ความเคารพต่อรัฐสภาซึ่งต้องเป็น "ด่านแรก" ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่า ต่อไปหากประธานาธิบดีต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้วประเมินว่าเสียงใน สภาไม่เพียงพอ หรือไม่ต้องการเสียเวลา ก็หันไปใช้มาตรา ๑๑ แทน ข้อสอง หากประธานาธิบดีเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนสูง ก็จะนำทุกเรื่องไปออกเสียงประชามติกันหมด เพื่อหาความชอบธรรม และอาจเสี่ยงต่อการเผด็จอำนาจได้แบบที่นโปเลียน โบนาปาร์ต และหลุยส์ นโปเลียนผู้เป็นหลานเคยทำมาแล้ว ผลปรากฏว่าประชาชนให้ความเห็นชอบตามที่เดอโกลล์เสนอ ก่อนประกาศใช้ ส.ส.บางส่วนจึงเข้าชื่อร้องขอต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๑๙๖๒ พิจารณาแล้ว "เพื่อรักษาดุลยภาพของอำนาจ รัฐบัญญัติที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะตรวจสอบความชอบด้วย รธน ได้นั้น หมายถึง รัฐบัญญัติแบบที่รัฐสภาลงมติเท่านั้น ไม่รวมถึงรัฐบัญญัติแบบที่ประชาชนลงประชามติ เพราะถือเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของชาติโดยประชาชนทางตรง ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต้องให้ความเคารพ" จะเห็นได้ว่ากรณีนี้ทั้งๆที่เดอโกลล์ บิดผันรัฐธรรมนูญ แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ไม่กล้า "ชน" กับเดอโกลล์ เพราะเรื่องที่เดอโกลล์ต้องการแก้ไขนั้น ผ่านการออกเสียงประชามติมาแล้ว
กรณีของสหรัฐอเมริกา ในสมัยของประธานาธิบดีรูสเวลท์ มีนโยบาย New Deal เพื่อ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม โดยเพิ่มบทบาทของรัฐในการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ รัฐสภาตรากฎหมายจำนวนมากเพื่อใช้เป็นเครื่องมือของนโยบาย New Deal อย่างไรก็ตามศาลสูงสหรัฐอเมริกาได้ "ล้ม-ขัดขวาง" โครงการต่างๆตามนโยบาย New Deal ด้วย การวินิจฉัยว่ากฎหมายเหล่านั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น กฎหมายกู้วิกฤติเหมืองแร่ กฎหมายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของสตรี เป็นต้น เมื่อนโยบาย New Deal ต้องสะดุดบ่อยครั้ง ประธานาธิบดีรูสเวลท์จึงทนไม่ได้ ต้องประกาศขู่ว่าจะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปศาลสูงตามนโยบาย Court Packing เช่น ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาเพิ่มมากขึ้น ศาลสูงสุดมีท่าทีอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับผู้พิพากษาศาลสูงที่ต่อต้านลัทธิแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยรัฐได้พ้น จากตำแหน่งไปหลายคน ทำให้ประธานาธิบดีรูสเวลท์มีโอกาสแต่งตั้งผู้พืพากษาใหม่ๆเข้าไปแทน เมื่อรัฐสภาตรากฎหมายออกมาใหม่ (ซึ่งก็มีเนื้อความทำนองเดียวกันกับกฎหมายที่ศาลสูงเคยวินิจฉัยไปแล้วว่าขัด รัฐธรรมนูญ) ศาลสูงสุดก็วินิจฉัยว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ก่อนหน้านั้น ในคดี Pollock v. Farmers"Loan Trust Co. ศาลสูง สุดสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจตรากฎหมายเก็บภาษีทางตรง ประเภทภาษีเงินได้ ภายหลังคำพิพากษานี้ รัฐสภาจึงร่วมกันแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๑๖ ปี ๑๙๑๓ เพื่อ "ลบ" หลักการจากคำพิพากษาดังกล่าว ด้วยการกำหนดในรัฐธรรมนูญชัดเจนเลยว่า รัฐสภามีอำนาจตรากฎหมายเก็บภาษีประเภทนี้ได้
หรือในกรณีของไทยเอง ที่หลังจากศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าพ.ร.บ.อาชญากรสงคราม ๒๔๘๘ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้วนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรต่างไม่พอใจเพราะเห็นว่าองค์กรตุลาการก้าวล้ำเข้ามาใน แดนของฝ่ายนิติบัญญัติ จึง ได้ตั้งคณะกรรมาธิการคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจเด็ดขาดของ สภาผู้แทนราษฎร ในท้ายที่สุด เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างศาลกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อีกใน อนาคต ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงกำหนดให้มีองค์กรพิเศษทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะด้วยการจัดตั้งคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
จะ เห็นได้ว่าการใช้อำนาจตอบโต้กันระหว่างฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติกับ ฝ่ายตุลาการเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อองค์กรตุลาการมีความเป็นอิสระแล้วจะหลุดลอยจากหลัก การแบ่งแยกอำนาจ ความอิสระขององค์กรตุลาการนี้เป็นความอิสระภายใต้การตอบโต้ขององค์กรทางการ เมืองอื่น อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจขององค์กรทางการเมืองเพื่อตอบโต้องค์กรตุลาการจะ เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นกับบริบททางการเมืองในขณะนั้นประกอบด้วย ดังกรณีของประธานาธิบดีเดอโกลล์และประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่กล้าชนกับศาล เพราะประเมินว่าตนยังมีคะแนนนิยมจากประชาชนอย่างสูง
 
-๑๐-
 
ประชาธิปไตย คืออะไร? อาจเป็นคำถามที่ตอบยาก แต่อย่างน้อยประชาธิปไตยก็มีสาระสำคัญพื้นฐานอยู่ ก็คือ การปกครองโดยเสียงข้างมาก และเสียงข้างมากต้องเคารพและไม่ไปข่มเหงรังแกเสียงข้างน้อย ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยต้องอดทนต่อกฎเกณฑ์ที่มาจากมติของเสียงข้างมาก และอดทน รณรงค์ทางการเมืองเพื่อรอวันกลับไปเป็นเสียงข้างมาก แน่ละ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้มีเพียงการเลือกตั้ง ตรงกันข้าม ประชาธิปไตยยังต้องมีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี การมีส่วนร่วมของประชาชน การชุมนุมประท้วง อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการปกครองประชาธิปไตย เราจะมีเครื่องมือใดที่ใช้วัดความนิยมทางการเมืองได้ดีเท่านี้ หรือต้องให้ผู้มีบารมี-คุณธรรมเท่านั้นหรือที่มีสิทธิออกมาบอกได้ว่านายก รัฐมนตรีต้องเป็นใคร รัฐบาลต้องเป็นใคร?
ตลอด ๖๐ ปีของประชาธิปไตยแบบไทยๆ (ใช้ปี ๒๔๙๐ หลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ไป ๑ ปีเป็นเกณฑ์ เพราะเป็นปีที่รัฐประหารรัฐบาลประชาธิปไตย ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีรัฐประหาร-วงจรอุบาทว์ของการปกครองไทย และเป็นปีที่อุดมการณ์คณะราษฎร ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เริ่มถูกกำจัดจนหายไปจากการเมืองไทย) มีความพยายามลดคุณค่าของการเลือกตั้ง ให้การเลือกตั้งเป็นเรื่องสกปรก มีแต่การซื้อเสียง ประชาชนผู้ลงคะแนนเป็นคนโง่ นักการเมืองเป็นปีศาจ การเมืองแบบผู้แทนเป็นเรื่องเหลวไหล มีแต่เอาชนะคะคานและมุ่งหาผลประโยชน์ ความพยายามเช่นนี้มีเพื่ออะไร? ก็เพราะว่าหากการเลือกตั้งและการเมืองในระบบรัฐสภาถูกลดคุณค่าจนต่ำเตี้ยติด ดินแล้ว ย่อมทำให้อำนาจของผู้อวดอ้างว่าตนมีบารมี มีคุณธรรม มีการศึกษา และผู้ที่อ้างว่าตนไม่อยากไปแปดเปื้อนกับการเมืองสกปรกนั้น สูงเด่นขึ้นมาแทน เมื่อประชาชนเหม็นเบื่อกับการเมืองในระบบรัฐสภา ก็จะไปเรียกหาผู้อวดอ้างว่าตนมีบารมี มีคุณธรรมเข้ามาแทนที่นั่นเอง
ผู้ เขียนเห็นว่า ข้อเสนอเรื่อง "ตุลาการภิวัตน์" และปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" เป็นส่วนหนึ่งของการลดทอนคุณค่าของประชาธิปไตยด้วยการตำหนิการเมืองในระบบ ผู้แทน และหันไปเชิดชูสถาบันจารีตนิยมอย่างองค์กรตุลาการ
ใน ความเห็นของผู้เขียน ปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" อันเป็นผลต่อเนื่องจากพระราชดำรัส ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ ต่อเนื่องจากข้อเสนอของธีรยุทธ บุญมี และต่อเนื่องจากรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่เพียงแต่ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมือง ตรงกันข้ามยังทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทาย-สั่นคลอนอย่าง ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลายครั้ง "ตุลาการภิวัตน์" อาจบังคับให้คนต้องเคารพ อาจสะกดให้คนเห็นต่างต้องสยบยอม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขายอมรับนับถือ "ตุลาการภิวัตน์" ในทุกกรณี ตรงกันข้ามอาจเป็นเพราะพวกเขาหวั่นเกรงในอำนาจ (ทั้งทางการและไม่เป็นทางการ) มากกว่า ต้องไม่ลืมว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆในประวัติศาสตร์การเมืองของหลายประเทศ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการที่ประชาชนรู้สึกว่าไม่มีความยุติธรรม
มีคำถามว่า ณ เวลานี้ ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" จบหรือยัง?
ต่อ คำถามนี้ผู้เขียนคงตอบไม่ได้ นอกเสียจากแนะนำให้พิจารณาไปที่รัฐบาลปัจจุบัน พินิจดูว่านายกรัฐมนตรีคือใคร มาจากพรรคใด เข้ามาเป็นรัฐบาลได้เพราะอะไร มีใครสนับสนุนอยู่ แล้วท่านอาจได้คำตอบชัดเจนว่า นับจากนี้ "ตุลาการภิวัตน์" จะยุติบทบาทหรือบรรเทาเบาบางลงหรือไม่?
 
...............
 
หนังสือ เล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความของผู้เขียนตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา แก่นกลางของหนังสืออยู่ที่การทำความเข้าใจต่อบทบาทขององค์กรตุลาการใน ประชาธิปไตย การวิจารณ์คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยในคดีที่เกี่ยวกับการเมือง และมีบางบทความเกี่ยวกับพระราชอำนาจและบทบาทของกษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตย อันต่อเนื่องมาจากหนังสือรวมบทความเล่มแรกของผู้เขียน อาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยบทความที่เป็น "ปฎิกริยา" ต่อกระบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" (ถ้าหากจะเรียกเช่นนั้น) ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยนับแต่พระราชดำรัส ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙
เจตนา ของผู้เขียนไม่ได้ต้องการ "รื้อ-ล้ม" อำนาจตุลาการ หรือเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตุลาการต้องมาจากการเลือกตั้งเพื่อสร้างความชอบ ธรรมทางการเมือง เพียงแต่เห็นว่า "ตุลาการภิวัตน์" ที่ผ่านมาไม่สอดคล้องกับหลักการนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และข้อเสนอ "ตุลาการภิวัตน์" ของธีรยุทธ ไม่ถูกต้อง เป็นการนำมาพูดไม่หมด ตุลาการภิวัตน์เวอร์ชั่นธีรยุทธ บุญมี ไม่มีอะไรมากไปกว่าการประดิษฐ์ถ้อยคำสวยหรูและหยิบยกกรณีของต่างประเทศมา เพียงแต่ชื่อโดยจงใจละทิ้งเนื้อหาสาระสำคัญ ทั้งนี้ก็เพื่อนำมารับใช้ความคิดบางประการของเขาเท่านั้นเอง
ตุ ลาการภิวัตน์ตลอดสามปี มีแต่ปราบปรามนักการเมือง ไม่ได้มีการขยายความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ไม่ได้ควบคุมองค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนมิให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจอันอาจกระทบต่อ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ผู้เขียนเห็นว่าองค์กรตุลาการต้องตระหนักเรื่องการจำกัดอำนาจตนเอง (Self-restreint) มิฉะนั้น "ตุลาการภิวัตน์" ที่ปรารถนา ก็เป็นได้เพียง "ตุลาการพิฆาต" ที่ไม่ "ภิวัตน์" ให้สังคมก้าวหน้า ที่ไม่ "ภิวัตน์" เรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่ไม่ ภิวัตน์" เรื่องรักษาดุลยภาพของอำนาจ แต่กลับ "พิฆาต" ศัตรูทางการเมือง "พิฆาต" นักการเมืองในระบบผู้แทน และ "พิฆาต" นักการเมืองขั้วเดียว-ขั้วเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
บทความ ต่างๆที่นำมารวมเล่มในครั้งนี้ ยังคงเจตนารมณ์เดิมกับเล่มที่แล้ว คือ เป็นบทความที่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อในวงกว้าง เขียนด้วยภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้กะไดปีนขึ้นไปอ่าน เป็นบทความที่ไม่สมควรนำไปใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ เพราะไม่มีรูปแบบตามมาตรฐานวิชาการที่ต้องมีอ้างอิง เชิงอรรถ และเค้าโครง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้รวบรวมหนังสือ และบทความที่ผู้เขียนอ่านและใช้ประกอบการเขียน หรืออ่านแล้วจุดประกายให้เขียน ไว้ในท้ายหนังสือแล้ว หากผู้ใดสนใจตรวจสอบความถูกต้องหรือต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม ก็สามารถพลิกไปดูรายชื่อเอกสารเหล่านั้นได้ที่ท้ายเล่ม
หนังสือ เล่มนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีสำนักพิมพ์โอเพ่น และพี่โญ - ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ที่ตัดสินใจกล้าพิมพ์รวมเล่มออกจำหน่าย ทั้งที่รู้ดีว่าหนังสือประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นอาจกระทบต่อความมั่นคงของสำนักพิมพ์ก็เป็นได้ เพราะเนื้อหาของหนังสือไม่ถูกจริตต่อกลุ่มคนจารีตนิยม-อนุรักษ์นิยม ซึ่งครอบงำสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน ผู้เขียนยังต้องขอบคุณ จุ๊- บุญชัย แซ่เงี้ยวที่ เป็นธุระในการพิสูจน์อักษร จัดวางรูปเล่ม และหมั่นทวงงานของผู้เขียนอย่างกระตือรือร้น รวมทั้งต้องขอบคุณ ตี๋ - ธีรณัฏฐ์ ขวัญกิจประณิธิ ที่ออกแบบและวาดได้ "สวย" ซึ่งสวยทั้งในแง่รูปภาพสวยงาม และสวยทั้งในแง่สื่อความหมาย
ขอ อนุญาตขอบคุณ รศ.ดร.วิษณุ วรัญญู ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่สละเวลามาเขียนคำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ แม้ว่าโดยสถานะของท่านแล้ว อาจดูยากลำบากในการมาเขียนคำนิยมให้กับหนังสือที่มีเนื้อหาเช่นนี้ เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.วิษณุฯได้เปิดโอกาสให้ผู้เขียนร่วมติววิชากฎหมายรัฐธรรมนูญของท่าน หลายโอกาสท่านได้ให้กำลังใจต่อการแสดงความเห็นต่อสาธารณะของพวกเรากลุ่ม ๕ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ.
ผู้ เขียนขอบคุณ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล และอาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร ที่ร่วมกันออกแถลงการณ์สาธารณะในนามกลุ่ม ๕ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. มาตลอดนับตั้งแต่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ พวกเราร่วมรับทั้งดอกไม้และก้อนอิฐมาด้วยกันเกือบ ๓ ปี
ต้อง ไม่ลืมที่จะขอบคุณ พี่ลาภ บุญลาภ ภูสุวรรณ จากประชาชาติธุรกิจ พี่ยุ้ย พิณผกา งามสม และทีมงานประชาไท พี่ปุ๊ ธนาพล อิ๋วสกุล และทีมงานฟ้าเดียวกัน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้เผยแพร่บทความ ท้ายสุด ขอบคุณสมาชิกเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันทุกท่านที่ร่วมกันถกเถียงอย่างสร้างสรรค์
 
ผู้ เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวลดทอนพลัง "ตุลาการภิวัตน์" แบบไทยๆ ที่ครอบงำสังคมอยู่ในปัจจุบัน และสะกิดให้สังคมไทยได้ฉุกคิดว่าองค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ อำนาจและความอิสระที่นิติรัฐ-ประชาธิปไตยหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่
ด้วย ความเชื่อมั่นว่า วันหนึ่งสังคมไทยจะมีองค์กรตุลาการประดุจเฮอร์คิวลิส ที่ใช้และตีความกฎหมายอย่าง "ก้าวหน้า-สร้างสรรค์" ตามจินตภาพของดวอร์กิ้น มิใช่องค์กรตุลาการที่เป็นผู้ถือขวานไปตัดต้นไม้แทนช่างไม้ดังเช่นข้อคิดของ เล่าจื๊อ
 
      ปิยบุตร แสงกนกกุล
      ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
      วันครบรอบ ๔๐ ปี Jan Palach นักศึกษาหนุ่มชาวเชโกสโลวะเกีย
    เผาตัวประท้วงการบุกเข้ายึดครองเชโกสโลวะเกียโดยรัสเซีย  
      
       ณ หอพักนักศึกษา
     มหาวิทยาลัย Nantes ประเทศฝรั่งเศส
 
 
 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net