มองต่างมุม: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปกป้องหรือคุกคาม?

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับ สถาบันอิศรา จัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม" รองปลัดไอซีที- รอง ผบก.ศตท ระบุ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำเป็น เพื่อให้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่สร้างความเสียหายให้สังคม "สุภิญญา กลางณรงค์" แย้งกฎหมายยังส่อไปในทางคุกคามมากกว่าปกป้อง "พิรงรอง รามสูตร" ชี้ยังมีสุญญากาศ เพราะยังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ที่มาของภาพ: SIU

เมื่อวันที่27 มีนาคมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันอิศราจัดราชดำเนินเสวนาครั้งที่17 /2551 เรื่อง "...คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม"ดำเนินรายการโดยนายฐิติชัยอัฏฏะวัชระ
 
 
นายอังสุมาลศุนาลัยรองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)กล่าวว่าในโลกไซเบอร์สเปซมีการส่งผ่านข้อมูลทำธุรกรรมค่อนข้างเยอะมากจึงจำเป็นต้องมีกฏหมายรองรับการดำเนินการต่างๆเหล่านั้นเพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวข้อมูลหรือการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ทั้งนี้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนเว็บนั้นเกิดจากชีวิตประจำวันชีวิตจริงของผู้ใช้ไม่ใช่โลกไซเบอร์ทุกคนต้องแสดงตัวบุคคลว่าเราเป็นใครซึ่งเวลาแสดงความเห็นอะไรก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฏหมาย
 
รองปลัดกระทรวงไอซีทีกล่าวถึงการเกิดขึ้นของ...ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ว่าเพื่อปกป้องการเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีการที่มิชอบผ่านเครือข่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์อาทิการให้ข้อมูลให้ร้่ายบุคคลอื่นให้ข้อมูลเพื่อเอาทรัพย์สินคนอื่นมาหรือเจตนาล่อลวงสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้รับผลกระทบโดยเปรียบเทียบว่าหากไ่ม่มีกฏจราจรใครจะขับรถอย่างไรก็ได้ก็จะเกิดความวุ่นวายในสังคมจึงพยายามออกกฏระเบียบขึ้น
 
นายอังสุมาลขยายความว่าอำนาจของไอซีทีไม่ได้มีทุกอย่างต้องขอคำสั่งศาลนอกจากนี้ไม่ได้บล็อคทั้งเว็บแต่บล็อกเฉพาะหน้ายูอาร์แอลที่มีปัญหาเท่านั้นเพื่อปกป้องผู้ที่เสียหายทั้งนี้ไม่ต้องการให้มองภาพของอินเทอร์เน็ตในแง่ลบเสียทั้งหมดเราพยายามให้เห็นว่าต้องสร้างสิ่งที่เป็นเนื้อหาดีๆเข้ามาให้เนื้อหาที่ไม่ค่อยดีค่อยๆจางหายไปซึ่งอาจทำได้ด้วยการลดช่องทาง
 
นายอังสุมาลกล่าวว่าคุณธรรมจริยธรรมมีความหมายมากเพราะถ้าทุกคนอยู่ในคุณธรรมจริยธรรมแล้วกฏหมายตรงนี้แทบไม่ต้องไปอ่านเลย  หากไม่ได้ว่าร้ายคนอื่นไม่แสดงสิ่งลามกอนาจารหรือทำเรื่องผิดกฏหมายทั่วๆไปก็อยู่ในสังคมได้ด้วยดีเขากล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดกวดขันเพราะต้องเร่งเข้าไปสู่โลกของการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ต้องการซื้อขายผ่านระบบเพื่อลดช่องว่างของการซื้อขายลงและส่งผ่านสิ่งต่างๆได้ถึงมือผู้ใช้เพราะฉะนั้นความเชื่อมั่นเชื่อถือในระบบนั้นจำเป็นอย่างยิ่งจึงต้องกวดขันสิ่งต่างๆเหล่านี้
 
 
...พิสิษฐ์เปาอินทร์รองผู้บัญชาการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(รอง ผบก.ศตท)กล่าวว่า... คอมพิวเตอร์บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตให้อยู่ในกฎเกณฑ์ที่ไม่ไปสร้างความเสียหายให้สังคมอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกับสื่ออื่นๆเช่นหนังสือพิมพ์วิทยุโทรทัศน์ผู้ให้บริการสื่อนั้นๆต้องควบคุมดูแลให้สร้างสรรค์ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพหรือสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นเว็บมาสเตอร์ต้องกลั่นกรองเนื้อหาที่จะออกสู่ผู้บริโภคให้อยู่ในขอบเขตของกฏหมาย
 
...พิสิษฐ์กล่าวว่าเดิมเรามีกฏหมายอาญารวมทั้ง... อื่นๆที่มีโทษอาญาเพื่อควบคุมการกระทำความผิดต่างๆต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตแพร่หลายมีวิทยาการอย่างรวดเร็วกฏหมายที่มีอยู่ไม่ได้ล้าสมัยแต่การดำเนินการตามกฏหมายเช่นการรวบรวมพยานหลักฐานควบคุมดำเนินคดีประสบปัญหาจึงตรา... ขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมเก็บรวบรวมหลักฐานการยึดวัตถุพยานหลักฐานทางดิจิตอลในระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี
 
...พิสิษฐ์ยกตัวอย่างว่าในอดีตมีข้อหาลัีกทรัพย์ขโมยสิ่งของอย่างแว่นตาส่วนปัจจุบันในโลกอินเทอร์เน็ตมีการลักโดเมนเนมหรือชื่อที่จดทะเบียนเช่นจะเข้าเว็บพันทิพก็เข้าไม่ได้เพราะถูกเปลี่ยนเจ้าของไปแล้วก็ต้องตีความว่าคำว่าโดเมนเนมเป็นทรัพย์หรือไม่หรือการบุกรุกที่ระบุในประมวลกฏหมายอาญาอย่างการเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตในโลกไซเบอร์ก็เป็นการบุกรุกเข้าไปในระบบและแก้ไขเนื้อหาดังนั้นจึงต้องมี... คอมพิวเตอร์เพื่อครอบคลุมความผิดที่เกิดและอำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ในการควบคุมผู้กระทำความผิด
 
สำหรับการดำเนินคดีตาม... คอมพิวเตอร์นั้น...พิสิษฐ์ กล่าวว่าเหมือนคดีอาญาทั่วไปโดยความผิดที่เกิดในเว็บต่างๆ99% เป็นความผิดอาญาอื่นๆเช่นฉ้อโกงออนไลน์ข้อหาหลักคือฉ้อโกงแต่กระทำความผิดผ่านทางออนไลน์หรือการพนันออนไลน์โดย... คอมพิวเตอร์จะเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
เขาอธิบายว่าการดำเนินคดีนั้นเหมือนความผิดทั่วไปที่เกิดขึ้นประจำวันมีตำรวจหน่วยต่างๆที่สอดส่องดูแลรวมถึงได้รับแจ้งจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกระทรวงไอซีทีกระทรวงวัฒนธรรมสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยจะดูที่เนื้อหาเป็นหลักจากนั้นจะส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการคู่ขนานกันไปเช่นเมื่อพบการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ตก็จะประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อไปสร้างภูมิคุ้มกันกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรีให้สืบต่อ
 
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหน่วยงานด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะคือศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (ศตท.) ซึ่งมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรเนื่องจากความผิดทางเทคโนโลยีต้องใช้ความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆเป็นพิเศษเพราะฉะนั้นจึงพยายามที่จะเอาความผิดเหล่านี้มาทำที่กองบังคับการนี้แต่ก็ไม่ได้ตัดอำนาจของตำรวจทั่วประเทศเขาสามารถดำเินินการได้ตามขีดความสามารถของเขา
 
เมื่อส่งเรื่องไปที่หน่วยที่เกี่ยวข้องแล้วเพื่อระงับความเสียหายที่เกิดขึ้นในความผิดนั้นๆก็ต้องมองว่าการกระทำความผิดนั้นกฏหมายให้อำนาจในการปิดกั้นหรือไม่ถ้าอยู่ในขอบเขตที่จะปิดกั้นได้จะส่งเรื่องไปที่กระทรวงไอซีทีเพื่อให้ร้องขอต่อศาลให้มีการปิดกั้นเช่นปัจจุบันเมื่อมีหน้าเว็บเพจเว็บบอร์ดที่มีข้อความที่เกี่ี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเพ่งเล็งเป็นพิเศษและส่งให้ไอซีทีปิดกั้นเป็นประจำโดยทุกสัปดาห์เขาจะรวบรวมส่งให้ไอซีทีเมื่อส่งแล้วก็จะพิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นในแต่ละหน้าเว็บว่าเนื้อหานั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานไหนก็จะส่งต่อไปที่นั่นอย่างไรก็ตามในอนาคตจะมีกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีซึ่งจะมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นเองโดยไม่ต้องส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนการดำเนินคดีจะมีชุดปฏิบัติการเทคโนโลยีที่จะลงไปช่วยหน่วยงานตำรวจพื้นที่ต่างๆที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจการสอบสวนสืบสวนคดีเทคโนโลยีเพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้่น  
 
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาองค์ความรู้ในการสืบสวนสอบสวนคดีเทคโนโลยีโดยเริ่มจากสถาบันการศึกษาเดิมหลักสูตรในโรงเรียนนายร้อยตำรวจมีหลักสูตรสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเป็นหลักสูตรหลักแต่ปัจจุบันได้เพิ่มหลักสูตรการสอบสวนคดีเทคโนโลยีเป็นวิชาบังคับในชั้นปี 3-4 ส่วนพนักงานสืบสวนตามสน. ต่างๆทั่วประเทศก็ได้ฝึกอบรมให้เข้าใจเรื่องการสอบสวนคดีเทคโนโลยีเป็นการเบื้องต้นให้สามารถอำนวยความสะดวกและความยุติธรรมให้ประชาชนได้ในระดับหนึ่งโดยมีศตท. เป็นพี่เลี้ยงในกรณีที่มีปัญหา
 
ขณะเดียวกันหน่วยตำรวจที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคก็ได้มีโครงการจัดตั้งชุดปฏิบัติการสืบสวนสอบสวนคดีเทคโนโลยีประจำภาคเพื่อเป็นพี่เลี้ยงตำรวจในพื้นที่นั้นๆรวมทั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้คำแนะนำรวบรวมข้อมูลหลักฐานเพื่อที่ตำรวจในที่นั้นๆจะได้ไม่ต้องเข้ามาที่ส่วนกลางซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้ในอนาคตการดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีเทคโนโลยีจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่วนคดีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการหมิ่นประมาททางเว็บบอร์ดและการฉ้อโกงออนไลน์ที่เกิดจากการซื้อสินค้าออนไลน์แล้วไม่ไ่ด้รับ
 
 
ผศ.ดร. พิรงรองรามสูตรหัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่าในยุโรปมีอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Cyber Crime Convention) ของสภาแห่งยุโรปซึ่งเป็นต้นแบบของกฏหมายที่ใช้ในระดับพหุภาคีในยุโรปโดยสาระของ... คอมพิวเตอร์ของไทยก็มีอะไรคล้ายกับอนุสัญญาฯนี้โดยตีความการกระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์เป็น2 ส่วนคือการกระทำความผิดต่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์และการกระทำความผิดโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นเึครืองมือในการทำความผิด(computer misuse) โดยมีการวิเคราะห์ในวงวิชาการว่าสาระของอนุสัญญาฯนี้เน้นไปที่ความผิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืิอมากกว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นต่อข้อมูลหรือระบบในคอมพิวเตอร์
 
อย่างไรก็ตามประเด็นที่มีการหยิบยกมาพูดคุยกันคือนอกเหนือจากการจัดการกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นทั่วไปโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือคือการเพิ่มขึ้นของกาารขยายอำนาจของภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐในการเก็บข้อมูลและการควบคุมพฤติกรรมของประชาชน
 
จากการวิเคราะห์เนื้อหาในอนุสัญญาฯพบว่ามีการเพิ่มอำนาจให้รัฐสามารถสอดแนมทางข้อมูลเฝ้าระวังทางข้อมูลเพิ่มอำนาจในกระบวนการสอบสวนสืบสวนของอาชญากรรมอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรืออาจเป็นอาชญากรรมอะไรก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่บัญญัติไว้ก็ได้หรืออาจพูดง่ายๆว่ารัฐใช้ประโยชน์จากกฏหมายนี้เพื่อสืบสวนสอบสวนจับผิดกลุ่มผู้ที่เป็นเป้าหมายคืออาจมีการใช้กฏหมายในทางไม่ีชอบเพราะมีช่องเปิดไว้เยอะมาก
 
ผศ.ดร.พิรงรองกล่าวว่าในยุคที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสื่อสารอาจมีการส่งอีเมลโดยอาจเข้ารหัสลับไว้(encryption) ซึ่ง...คอมพิวเตอร์ก็บอกว่าต้องถอดรหัสลับออกมา (decryption) ซึ่งมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่โดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับปัจเจกเลยโดยขณะที่มีการพูดถึงสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบเธอตั้งคำถามถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกสอบสวนหรือผู้ใช้บริการซึ่งมาตรา15 บอกว่าถ้ายินยอมสนับสนุนหรือยินยอมปล่อยให้มีการนำข้อมูลซึ่งเ้ป็นความผิดต่างๆเข้าสู่ระบบก็มีความผิดฐานเดียวกันซึ่งคำจำกัดความของ"ผู้ให้บริการ" ตาม... คอมพิวเตอร์ก็ตีความกว้างมากและใช้เหมือนในยุโรปซึ่งก็มีการต่อต้านมากมาย
 
นอกจากนี้เธอแสดงความเห็นต่อการขอให้ศาลออกคำสั่งเพื่อไปจับกุมหรือสืบสวนซึ่งมีระบุไว้ทั้งในอนุสัญญาฯและ... คอมพิวเตอร์ว่าไม่แน่ใจว่ามีศาลไหนไหมที่ถ้าตำรวจทำคำร้องขอไปแล้วศาลจะปฏิเสธเนื่องจากเป็นเรื่องเทคนิคและซับซ้ิอนโอกาสที่จะตั้งคำถามน้อยมากนอกจากนี้แล้วในแง่สิทธิเสรีภาพอนุสัีญญาฯของยุโรปก็เหมือนกับ... ของไทยที่ไม่มีส่วนไหนที่พูดถึงสิทธิิเสรีภาพของผู้ต้องสงสัยผู้ใช้หรือผู้ให้บริการเลยโดยในกรณีของไทย...คอมพิวเตอร์นั้นเป็นใหญ่เหมือนเป็นสุญญากาศทางกฏหมายเนื่องจากเมื่อ... คอมพิวเตอร์ออกมา...คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ออกขณะที่ในทุกประเทศที่เซ็นอนุสัญญาฯของยุโรปมี...คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว
 
 
..สุภิญญากลางณรงค์ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตซึ่งเป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆของสมาชิกที่ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งสนใจและห่วงใยในเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกออนไลน์โดยมีกิจกรรมหลักๆคือติดตามผลกระทบจากการประกาศใช้รวมทั้งพยายามมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานของรัฐกล่าวว่าจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมามองว่า... คอมพิวเตอร์ส่อไปในทางคุกคามมากกว่าปกป้องโดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าความมั่นคงแห่งชาติที่พ.ร.บ.ฉบับนี้พยายามปกป้องอาจกลายเป็นการคุกคามความมั่นคงแห่งชาิติด้วยตัวมันเองจากการบังคับใช้ที่มีปัญหา
 
ความต่างข้อหนึ่งของอนุสัญญาฯของสภาแห่งยุโรปกับ... คอมพิวเตอร์ของไทยคืออนุสัญญาฯมีเป้าหมายป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นหลักส่วนเรื่องเนื้อหาไม่ได้มีการกำกับจะมีการกำกับดูแลเนื้อหาอยู่แค่เรื่องเดียวคือการแพร่ภาพอนาจารเด็ก(child pornography) ซึ่งต่างจากมาตรา14 ของไทยซึ่งควบคุมกำกับดูแลเนื้อหาอย่างกว้างขวางซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
 
..สุภิญญากล่าวว่าที่สำคัญคือในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปมีธรรมนูญสูงสุดคือมาตรา10 ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรปกำหนดให้มีศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปโดยหากถูกตัดสิืนในศาลในประเทศโดยไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพเมื่อถูกนำมาสู่สิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปก็จะถูกตัดสินบนหลักของสิทธิมนุษยชนดังนั้นจะเห็นว่าในยุโรปมีกลไกที่สอดคล้องกันคือเรื่องสิทธิเสรีภาพก็ถูกปกป้องด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนเรื่องอนุสัญญาฯก็ไม่ได้ล่วงล้ำไปจำกัดเนื้อหายกเว้นเรื่องภาพโป๊เปลือยเด็กซึ่งนี่เป็นสิ่งที่พ.ร.บ.ไทยยังคลุมเครือระหว่างเรื่องอาชญากรรมและสิทธิในการแสดงความเห็นและรับข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจนเพราะมาตรา14 ให้ความกว้างๆว่าอะไรก็ตามที่เข้าข่ายกระทบต่อความมั่นคงและก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาชนก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจตีความได้ด้วยตัวเองและดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยได้ซึ่งมองว่าไม่รัดกุมและอาจก่อให้เกิดการใช้ที่ไม่เป็นธรรมได้ทั้งนี้เธอคิดว่าน่าจะมีมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่มากกว่านั้นดังเช่นตัวอย่างในยุโรปที่ได้กล่าวไปแล้ว
 
..สุภิญญาเล่าว่าการเปิดช่องให้มีการตีความนำไปสู่การจับกุมโดยมีผู้ที่ถูกดำเนินคดีภายใต้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ในกรณีความมั่นคง5 รายซึ่งก่อให้เกิดความตกใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและนำไปสู่บรรยากาศแห่งความกลัวรายแรกๆที่เป็นข่าวและถูกดำเนินคดีคือพระยาพิชัยและท่อนจันถูกกุมขังเป็นเวลาหลายอาทิตย์และได้รับการประกันตัวเมื่อ2 ปีที่ผ่านมาหลังจากนั้นได้ทราบข่าวอีกรายซึ่งปัจจุบันยังถูกขังอยู่คือสุวิชาท่าค้อซึ่งเป็นผู้ที่ทราบชื่อจริงขณะที่รายอื่นทราบแต่ชื่อผู้ใช้(username) โดยสุวิชาถูกจับตามป.อาญา112 และ...คอมพิวเตอร์ว่าเป็นผู้โพสต์คลิปในยูทิวป์(youtube.com) ซึ่งต้องพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลจากนั้นมีผู้หญิงอายุ25 ปีถูกจับกุมภายใต้กฏหมายนี้และได้รับการประกันตัวไปโดยไม่มีใครทราบความคืบหน้าต่อมาผู้อำนวยการและผู้ดูแลเว็บบอร์ดประชาไทจีรนุชเปรมชัยพรถูกจับกุมเนื่องจากมีข้อความในเว็บบอร์ดทั้งที่ได้ลบข้อความนั้นไปแล้วแต่ถูกดำเนิืนคดีโดยให้เหตุผลว่า ลบช้าเพราะปล่อยไว้ถึง20 วัน
 
..สุภิญญากล่าวถึงปัญหาในการตีความข้อความในอินเทอร์เน็ตว่าในเว็บบอร์ดส่วนใหญ่คนจะโพสต์ข้อความที่ไม่เป็นทางการหรือเป็นแสลงเปรียบเปรยเปรียบเทียบโดยไม่ได้เอ่ยชื่อใครไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงในเชิงข้อเท็จจริงแต่เป็นการแสดงความเห็นในสถานะนิรนามเพราะฉะนั้นจะเห็นว่าหลายเรื่องที่ไม่สามารถฟ้องด้วยกฏหมายหมิ่นประมาทหรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้โดยตรงเพราะการใช้กฏหมายหมิ่นประมาทต้องชัดเจนว่าพูดถึงใครและใครได้รับการพาดพิงแต่ในเว็บบอร์ดเปิดโอกาสให้พูดโดยไม่รู้ว่าพูดถึงใครถ้าคนไม่รู้บริบทก็ไม่รู้ว่าพูดถึงใครเป็นเรื่องที่คนเขียนรู้เองหรือรู้จากการตีความถ้าเป็นมาตรฐานทั่วไปก็ไม่ได้ถือว่าร้ายแรงเพราะไม่ไ้ด้เป็นข้อเท็จจริงหรืออ้างอิงได้ในทางวิชาการแต่สังคมไทยเอาจริงเอาจังกับการแสดงความคิดเห็นแบบนี้มา่กจนนำมาสู่การจับกุมดังกล่าวเนื่องจาก... คอมพิวเตอร์เปิดให้เจ้าหน้าที่ตีความว่าอะไรขัดกับความมั่นคงของชาติและทำให้ตื่นตระหนก
 
ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตกล่าวว่าไม่มีการให้คำความจำกัดความที่ชัดเจนจากรัฐบาลเจ้าหน้าที่ไอซีทีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากรัฐต้องการให้ประชาชนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกกฏหมายจริงๆต้องนิยามออกมาให้ชัดว่าอะไรคือความมั่นคงของชาติอะไรคือความตื่นตระหนกตามมาตรา14
 
..สุภิญญากล่าวว่า...คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ทำให้ธรรมชาติของสื่อใหม่เช่นอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยหา่ยไปพลวัตถูกทำให้ชะงักชะงันด้วยการบังคับใช้กฏหมายที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากธรรมชาติของสื่ออินเทอร์เน็ตที่ต่างจากสื่ออื่นคือความเป็นนิรนาม (anonymous) ของผู้ที่ใช้ซึ่งเกิดจากธรรมชาติของสิ่อใหม่เทคโนโลยีและวัฒนธรรมเสรีในอินเทอร์เน็ตทั่วๆไปในโลกเราแทบจะไม่รู้ว่าใครเป็นใครไม่สามารถทราบตัวตนของแต่ละคนได้แต่... คอมพิวเตอร์กลับทำให้รัฐขอข้อมูลง่ายอย่างมหาศาลจนทำให้ความเป็นนิรนามหายไปอาทิต้องเก็บข้อมูลการใช้งานย้อนหลัง90 วันแสดงบัตรประชาชนเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตคาเฟ่บังคับให้เว็บมาสเตอร์ให้ไอพีแอดเดรสกับเจ้าหน้า้ที่เพื่อสืบสาวต้นตอและทุกวันนี้ทราบมาว่าตำรวจไทยใช้เวลาเพียงสามวันก็หาแหล่งโพสต์ได้แล้วมันตัดตอนการเติบโตตามธรรมชาติของสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งควรมีพลวัตที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆหรือประชาธิปไตยไม่เกิดในสังคมนี้อย่างไรก็ตามการปะทะกันระหว่างมาตรฐานกฏหมายไทยกับกระแสโลกนั้นคงต้องช่วยกันหาว่าจุดลงตัวจะอยู่ตรงไหน
 
 
 
กรณี ผศ.ดร.พิรงรอง ตั้งคำถามถึงการขอหมายศาลเพื่อจับกุมหรือสืบสวน พ...พิสิษฐ์ระบุว่าส่วนใหญ่การดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไปต้องใช้คำสั่งของศาลเท่านั้นการค้นยึดปิดกั้นต้องได้รับการอนุมัติจากศาลซึ่งศาลจะพิจารณาว่าจะกระทำได้หรือไม่โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องนำหลักฐานไปชี้แจงต่อศาลกรณีคำสั่งที่จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่นคำสั่งในการปิดกั้นให้ส่งข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ หากศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยศาลจึงจะออกคำสั่งเพราะฉะนั้นตำรวจเจ้าหน้าที่ไอซีทีต้องแสดงเหตุผลหลักฐานพยานต่อศาลว่าการกระทำนั้นอยู่ในอำนาจที่ฟ้องต่อศาลได้เช่น การแพร่ภาพลามกเจ้าหน้าที่มีอำนาจขอศาลปิดกั้นต้องเปิดให้ศาลดูว่าประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ถ้าศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยจึงจะปิดกั้นได้ ขณะที่การขอหมายเช่นหมายค้นหมายจับเพียงมีพยานหลักฐานที่เชื่อว่าผู้นั้นกระทำความผิดศาลก็ให้อำนาจในการตรวจค้นยึดอายัดออกหมายจับได้โดยผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการพิสูจน์ความผิดได้เพราะไทยใช้ระบบกล่าวหาถ้ากระทำผิดเจ้าพนักงานต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้่ว่าผิด
 
ในการขอคำสั่งขอหมายศาล มีหลายกรณีที่ศาลได้เคยปฏิเสธ อาทิ กรณีที่ไม่สามารถนำเสนอต่อศาลได้หรือเหตุคลุมเครือศาลจะให้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมนี่จึงเป็นการคานอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ให้ดำเนินการโดยลำพังโดยกลั่นกรองในระดับศาลซึ่งเป็นกติกาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ
 
ส่วนภาพที่ออกในสื่อที่เหมือนตำรวจใช้กฏหมายคอมพิวเตอร์คุกคามนั้น พ...พิสิษฐ์กล่าวว่าขอเรียนว่าผู้ต้องหารายชื่อที่ปรากฏในเอกสารที่แจก (ล้อมกรอบด้านล่าง) ขอเรียนว่าเป็นพวกที่มีการกระทำความผิดโดยชัดเจนในคดีความมั่นคงแห่งรัฐโดย 4-5 คนนี้โพสต์ข้อความโดยใช้คำพูดตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความใช้เหตุการณ์โยงตัวบุคคลตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องตีความ
 
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีระดับมาตรฐานในการดำเนินการได้แก่ หนึ่ง ผิดชัดเจนโดยไม่ต้องตีความ ใช้คำพูดตรงไปตรงมา ระบุตัวบุคคลระบุชื่อ ใช้ภาพใช้เหตุการณ์ระบุซึ่งไม่ต้องตีความพวกนี้ต้องดำเนินคดี ต้องปิดกั้น สองพวกที่ใช้คำพูดเฉียดไปเฉียดมาในเว็บบอร์ดถือว่า เทาๆก็จะขอความร่วมมือให้เว็บมาสเตอร์ช่วยกรุณาลบออกผ่านการประสานทางโทรศัพท์หรือทำเป็นหนังสือ จะเห็นว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เราไม่ได้ทำตามกฏหมายเป๊ะๆเลย เพราะคำนึงถึงหลายๆ อย่าง เรื่องความละเอียดอ่อน เรื่องความมั่นคง บางครั้งนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ นโยบายอยู่เหนือกฏหมาย
 
 
รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวเสริมว่า ไอซีทีมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนโดยขณะนี้พยายามจะทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไฮสปีดบรอดแบนด์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้แต่เวลานำไปใช้ สังคมไทยบางเรื่องเรายังนิยมซุบซิบนินทานิยมการใช้บัตรสนเท่ห์ เรายังไม่กล้าาแสดงออกถึงตัวบุุคคล หรือมีความรับผิืดชอบต่อสังคม ต่อตัวบุคคลเวลาเราพูดอะไร เราอยากแค่ว่าชาวบ้านแต่่ไม่อยากให้เขาว่าเราเพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาในแง่คุณธรรมและจริยธรรม เราอาจถูกกดมากเกินไปจึงไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องจึงทำให้ภาพบัตรสนเท่ห์ภาพของการซุบซิบนินทาจึงยังแพร่กระจายอยู่พอมีโลกอินเทอร์เน็ตขึ้นมา เราเลยพยายามใช้ตรงนั้นแสดงภาพในสังคมที่เราเป็นอยู่ ซึ่ง ณปัจจุบันของโลกมัน ต้องเข้ามาสู่ยุคของความรับผิดชอบ เราจะให้องค์ความรู้ต่อใคร เราจะต้องรับผิดชอบในองค์ความรู้ที่เราให้เขาไป เราอยู่ดีๆ จะไปสอนให้เขาเสพกัญชา จะไปสอนเขาทำไม เพราะต้องการขาย หรือเป็นประโยชน์อื่นๆ รึเปล่า เพราะฉะนั้น เราต้องสามารถรับผิดชอบในการแสดงออกของตัวเองได้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น รัฐพยายามสร้างเครือข่ายแต่ถ้าใช้ซุบซิบนินทาเล่นพนันภาพโป๊โลกมันคือะไร สิ่งที่ได้จากการลงทุนของรัฐคืออะไร
 
นายอังสุมาล กล่าวว่า เราเิกิดมาในสังคมที่มีสิ่งไม่ดีที่เขาไม่อยากให้เราเห็นแต่โลกยุคใหม่ เรายังไม่มีวุฒิภาวะที่เพียงพอเราบอกว่าจะจัดเรตหนังเด็กก็เข้าไปดูคือปัญหาของวินัยไม่ได้ถูกสร้างจากจิตแต่ถูกสร้างจากการบังคับเพราะ ฉะนั้น ทุกอย่างจึงไม่ได้ถูกสะสมภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้สิ่งต่างๆ ค่อนข้างวุ่นวาย เราจึงพยายามสร้างสิ่งดีๆ ขึ้นและเราเพียงแต่ปิดกั้นบล็อคนั้นๆโดยส่งถึงศาลศาลเป็นคนสั่งซึ่งเป็นกรณีชัดเจนถ้าคลุมเครือเราก็ไม่ส่งเพราะไม่รู้จะเขียนยังไงเรามองอย่างละเอียดรอบคอยระมัดระวังเพราะเรามีหน้า้ที่ส่งเสริมไม่ไ่ด้ต้องการให้ทุกคนเลิกกิจการหรือหยุดเราต้องการให้สิ่งดีๆได้ป้อนไปสู่เยาวชนเราบ้างสิ่งไม่ดีก็พยายามจะปิดและสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
 
นายอังสุมาล กล่าวว่า โลกของไซเบอร์ปิดกั้นยากมาก พอมีเรื่อง นสพ. ลง เช่น กรณีนักศึกษาสาวขายตัว ทุกคนเปิด hi5 ยิกเลย ทุกคนเหมือนไทยมุง ให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านั้น เราต้องยอมรับว่า เราพยายามจะเข้าถึง สร้างความเข้าใจ เรียกไอเอสพีมาพูดคุยกันว่า ท่านอาจดูแลไม่ทั่วถึง เราอาจจะเจอเราก็แจ้งท่านไป ท่านก็กรุณาช่วยเรา บางเรื่องถ้าเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งถูกแอบถ่ายที่ห้องน้ำ ดันไปออกเว็บให้เขา ก็ต้องขอให้ปิดกั้นให้เร็วที่สุด เพราะเกิดความเสียหายต่อตัวบุคคล จึงขอให้ปิดก่อนหมายศาล เพราะโลกของอินเทอร์เน็ตไม่เหมือน นสพ.ที่เป็นฉบับ หรือกระจายเสียงแล้วจบไป ใครเรียกดูเมื่อไหร่ก็ได้ ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึงหาวิธีการที่จะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด คนที่เสียหายเท่านั้นถึงจะรู้สึกว่าทำไมจึงทำงานช้า คนที่ไม่เสียหายอาจจะบอกแค่ 20 วันจะ้เป็นไรไป ดังนั้น ในอนาคตคงต้องมีความร่วมมือกันอย่างลึกซึ้งและสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า เยาวชนในอนาคตจะอยู่ในสังคมไทยอย่างไร ถ้าเรามีแต่เรื่องของการมอมเมา ต้องคุยกันว่ามีวิธีอย่างไรที่เราจะสนับสนันในด้านดีๆ บ้าง ต้องมีการสร้างโครงข่าย เครือข่ายต่างๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุน
 
 
 
 
...พิสิษฐ์ตอบคำถามผู้ร่วมเสวนา
 
 
ประเด็นที่เห็นว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต้องปรับปรุงมีอะไรบ้าง
มาตรา14 ซึ่งพูดถึงการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์และมีความผิดอาญาฐานเดียวพูดเฉพาะกรณีลามกแต่ปัจจุบันที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มากกว่า 90% เป็นความผิดฐานอื่นซึ่งเมื่อปรากฏในระบบอินเทอร์เน็ตแล้วไม่สามารถนำกฏหมายฉบับนี้ไปบังคับใช้ในความผิดนั้นได้อีกส่วนมองว่ามาตรา20 ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีไอซีทียื่นคำร้องต่อศาลในกรณีที่ปิดกั้นข้อมูลอันเป็นเท็จซึ่งเจตนารมณ์ของผู้เขียนกฏหมายมุ่งหวังปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้เน็ตโดยให้มีการกลั่นกรองหลายชั้นซึ่งบางครั้งอาจไม่ทันเวลาเนื่องจากกระบวนการใช้เวลา15 วันกว่าจะถึง15 วันความเสียหายอาจจะไปถึง5 รอบโลกฉะนั้น อาจจะลดขั้นตอนลงเพื่อระงับความเสียหายจากข้อมูลนั้นๆ
 
 
คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นตำรวจใช้เวลาเท่าไหร่ในการสรุปว่ากระทำำผิดจริง
กรณีของสุวิชา ท่้าค้อ ดีเอสไอตามมาเป็นเวลา6 เดือน ทุกรายมีการติดตามไม่ต่ำกว่า 6 เดือนบางรายเป็นปี
บุคคลพวกนี้ใช้คำพูดตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความต้องติดตามพฤติกรรมดูเจตนาว่า คึกคะนองหรือมีเจตนาจริงๆโดยการพิจารณา ทำอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกระดับชั้น โดยมีการถกว่าเป็นการโพสต์โดยคึกคะนองหลงผิดหรือว่าถูกชักจูง
 
 
มาตรฐานที่จะไม่เข้าข่าย "เจตนา" คืออย่างไร
ไอซีทีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งไอเอสพีไอซีทีเว็บมาสเตอร์มาหารือเพื่อหามาตรฐานการทำผิดในเว็บไซต์ได้ข้อสรุปว่าหนึ่ง ให้อยู่ในดุลยพินิจของเว็บมาสเตอร์ว่าผิดกฏหมายหรือกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นๆหรืิอไม่ถ้ากระทบให้เว็บมาสเตอร์ลบออกด้วยตัวเองถ้ายังปรากฏแต่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าปล่อยไว้จะเกิดความเสียหายจะทำการเตือนเป็นหนังสือให้ดำเนินการแต่ถ้าเว็บมาสเตอร์เห็นว่าไม่น่าจะเสียหายและปล่อยต่อไป จะเข้าสู่กระบวนการเอากฏหมายมาบังคับใช้โดยเมื่อมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ ก็จะสอบสวนดำเนินคดีกับเว็บมาสเตอร์นั้นๆ
 
กรณีประชาไทตนเองไม่ใช่พนักงานสืบสวน แต่มองว่าในกรณีเว็บประชาไทมีประชาชนจำนวนมากที่ร้องเรียนเข้ามายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีการปล่อยปละละเลยให้มีผู้โพสต์ข้อความผิดกฏหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐในเว็บบอร์ดบางข้้อความค้างอยู่4 เดือนไม่ใช่เพียงข้อความเดียวแต่มีจำนวนมากต้องมองในเรื่องเจตนาอาจจะหลงลืมแต่บางข้อความทิ้งไว้เป็นเดือนๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปล่อยปละละเลยหรือไม่เปรียบ เหมือนท่านเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ มีผู้เขียนจดหมายมายังท่านซึ่งเป็นข้อความที่ผิดกฏหมายแล้วท่านก็ยังพิมพ์ ข้อความเหล่านั้น การปล่อยให้ข้อความปรากฏในเว็บก็เหมือนกับการพิมพ์หนังสือแล้วปล่อยให้พิมพ์ ข้อความซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็มองถึงเจตนาได้เช่นกัน ทางตำรวจได้พิจารณารอบคอบถึงผลกระทบ ว่าการจับกุมกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อแต่บางครั้งก็ต้องทำเพราะมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์แม้่กระทั่งการพูดจาในสภาฯใน คณะกรรมาธิการต่างๆ มีหนังสือส่งมาให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำเนินคดีกับเว็บมาสเตอร์หลายราย ซึ่งเราก็พิจารณาเป็นรายๆ ไป ขอเรียนว่าเราใช้การกระทำที่ละเอียดรอบคอบชัดเจน แต่บางครั้งเราชี้แจงไม่ได้ เพราะข้อความเหล่านั้นไม่สามารถนำมาชี้แจงได้จึงทำให้สังคมมองเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านเดียว ซึ่งเราไม่สามารถตอบโต้ได้ว่า ทำไมถึงจับกุม
 
 
มีมาตรฐานในการมองว่าอะไรคือความเห็นทางวิชาการอันไหนคือความมั่นคงอย่างไร
ผู้ต้องหา4-5 รายใช้ข้อความตรงไปตรงมามีชื่อชัดเจนกล่าวถึงเหตุการณ์ที่โยงได้ว่าคือใครไม่สามารถยกข้อความมาในที่นี้ได้จากการเฝ้าตามพฤติกรรมมากว่า 6 เดือนก็ยังไม่เลิกแสดงถึงเจตนาที่จะกระทำเพราะหลักกฏหมายไทยกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาถ้าทำวันเดียวแล้วหายไปเลยไม่มีใครยุ่งแม้จะตรงไปตรงมา แต่พูดทุกวันก็ส่อเจตนาอย่างไรก็ตามการดำเนินการอาจแบ่งไ้ด้หลายกลุ่มมีทั้งที่ต่อต้านเลยหลงผิดเพราะถูกครอบงำความคิดในทางที่ผิดเราจะผลักเขาไปสู่กลุ่มที่หนึ่งหรือเราก็มีนโยบายทำอย่างไรที่จะนำกลับมา เช่นเดียวกับการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในคำสั่ง66/23 คนพวกนี้จะยืนอยู่ตรงกลางพร้อมจะไปข้างใดข้างหนึ่งทำอย่างไรที่จะนำกลับมาในสังคมไทย
 
 
มีเว็บที่ขึ้นบัญชีดำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษหรือไม่
มี 4-5 เว็บไม่ใช่บัญชีดำ แต่ต้องจับตามองเป็นพิเศษเพราะเว็บไซต์ที่แสดงความเห็นตามที่สาธารณะบางเว็บ90% ของผู้มาแสดงความเห็นมีลักษณะกระทบสถาบันของชาติในฐานะเจ้าหน้า้ที่รัฐและพลเมืองของประเทศไทยต้องจับตามองเป็นพิเศษว่าทำไมเว็บอื่นจึงมีความหลากหลายมีความคิดเห็นเรื่องนกเรื่องหมา เรื่องต้นไม้ เรื่องการเมือง แต่เว็บนี้มีแต่เรื่องนั้นทั้งนั้นก็ต้องจับตามอง
 
 
นอกจาก 5 รายในเอกสาร (ล้อมกรอบด้านล่าง) มีรายอื่นที่ถูกจับ หรือจะมีการจับกุมอีกหรือไม่
มีอีก 2-3 รายที่อยู่ระหว่างติดตามพฤติกรรมอยู่
 
 
 
 
 
1. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งใช้นามแฝงว่า "พระยาพิชัย" อาชีพ ผู้ดูแลเว็บ  (Web administrator) เป็นชายอายุประมาณ 30 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยความผิดตามมาตรา 14 (1) และ (2)  ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ถูกฝากขังเป็นระยะเวลากว่า สองอาทิตย์ จากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2550 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท  
 
2. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งใช้นามแฝงว่า "ท่อนจัน" อาชีพอิสระ และเป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) ผู้หญิงอายุ 37  ปี ถูกบุกจับกุมตัวในวันเดียวกันกับ "พระยาพิชัย" และถูกฝากขังจากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท
 
ทั้ง สองถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษคลองเปรม โดยที่สังคมไม่ได้รับรู้และไม่ได้รับการประกันตัวจนกระทั่งมีกระแสข่าวจาก สื่อมวลชนถึงกรณีดังกล่าว จึงทำให้เกิดกระแสเคลื่อนไหวจากองค์กรสื่อและสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่าง ประเทศ จากนั้นทั้งสองได้รับการประกันตัวด้วยวงเงินคนละหนึ่งแสนบาท โดยศาลอาญามีคำสั่งให้ทั้งสองมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งต่อมาทั้งสองคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าทางอัยการได้สั่งฟ้อง อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี
 
3. นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 34 อาชีพ วิศวกร ถูกตำรวจจับกุมตัวที่ขณะกำลังเดินซื้อของในจังหวัดนครพนม พร้อมกับถูกบุกค้นบ้านในกรุงเทพที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยแผนกสอบสวนพิเศษ Department of Special Investigation (DSI) ข้อหาตามพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (2) และ มาตรา 112 ประมวลกฏหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ระหว่างที่ถูกฝากขังนายสุวิชา ได้ขอประกันตัว สองครั้งแต่คำร้องถูกยกทั้งสองครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 อัยการได้ส่งฟ้องศาลกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยการโพสต์รูปและข้อความลงบอินเตอร์เน็ต โดยใช้นามแฝง 2 ชื่อ   
         
ทั้ง นี้ อัยการ ระบุว่า ผู้ต้องหาซึ่งถูกอัยการสั่งฟ้องกระทำความผิดโดยร่วมกับพวกที่หลบหนี หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่า จะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร , นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กโทรนิกส์หรือวิธีการอื่นใดโดยประการที่น่า จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย อัยการขอให้ลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83,91 และ 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3, 14, และ 16    จำเลยให้การต่อศาลรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา โดยศาลนัดฟังคำตัดสินในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 9.00 น.ที่ ศาลอาญารัชดา      
 
4. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นผู้หญิง อายุประมาณ 25 ปี ซึ่งถูกกล่าวว่าเป็นเจ้าของนามแฝง "Buffalo Boy" ถูกจับกุมช่วงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552 สืบเนื่องจากข้อความที่ถูกโพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท หลังจากถูกฝากขังได้สักระยะ จึงได้มีการขอประกันตัวออกไปด้วยวงเงิน 2 ล้าน บาท ปัจจุบันไม่มีใครทราบรายละเอียดของผู้ถูกดำเนินคดีรายนี้ ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ข่าวออนไลน์ประชาไท ได้รับทราบเรื่องนี้จากตำรวจเนื่องจากนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการประชาไทได้รับการเชิญตัวไปให้ปากคำในฐานะพยานในกรณีดังกล่าว  
  
5. นายสาวจีรนุช เปรมชัยพร อายุ 42 ปี ผู้อำนวยการและผู้ดูแลเว็บบอร์ดของ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท www.prachatai.com ถูกจับกุมและบุกค้นสำนักงานโดยกองปราบปราม (Crime Suppression Division)  เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ตามความผิดในมาตรา 14 และ 15 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องด้วยข้อกล่าวหาว่า ได้ดำเนินการปล่อยให้ข้อความของ Buffalo Boy ซึ่งถูกนำมาโพสต์โดยผู้ใช้ชื่อว่า Bento ในพื้นที่เว็บบอร์ดเป็นระยะเวลากว่า 20 วันก่อนที่จะลบข้อความออก นางสาวจีรนุชได้รับการประกันตัวออกไปในวันเดียวกันด้วยหลักประกันประมาณ 70,000 บาท ทั้งนี้ได้ใช้ตำแหน่งข้าราชการมหาวิทยาลัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัว
 
คดี ของนางสาวจีรนุชถือเป็นรายเดียวที่ได้รับการประกันตัวในวันที่ถูกจับกุมใน ขณะที่รายอื่นโดนฝากขังเป็นระยะเวลาประมาณหลายอาทิตย์หรือไม่ได้รับการ ประกันตัวอย่างกรณีของนายสุวิชา ท่าค้อ
 
ในทุกกรณีทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการ ยึด และตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีของนางสาวจีรนุชที่ตำรวจได้มีการ โคลน (Clone)  หรือ ลอกข้อมูลจากหน่วยความจำทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ออกมาแล้วคืนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับนางสาวจีรนุช
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
(1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
 
(2) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
 
 มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตาม   มาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดตามมาตรา 14  
 
 
                                        สรุปข้อมูล โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต
                                        27 มีนาคม 2552
 
แหล่งที่มาของข้อมูล
 

 

 

 
 
หมายเหตุ

ดาวน์โหลดคลิปเสียงการเสวนาได้ที่  SIU (34.47 Mb) (ขอบคุณไฟล์เสียงจากhttp://www.siamintelligence.com)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท