ตำรวจแถลงความคืบหน้าคดี พธม. และ นปช.

 

 

20 เม.. 52 - เมื่อเวลา 20.30 น.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ผบช.ภ. 1) พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.ปราโมช ปทุมวงศ์ รอง ผบช.ภ.กล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงและความคืบหน้าดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการณ์แห่งชาติ (นปช.)


พล.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวว่าในสวนของบช.น.หน่วยหลักที่มีคดีเกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเน้นย้ำพนักงานสอบสวนเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ดำเนินการทุกคดีในเป็นธรรมยึดหลักเป็นกลาง


พล.ต.ต.อำนวยกล่าวว่า จะขอทำความเข้าใจ 2 เรื่องคดีความต่างๆ ของกลุ่ม พธม. ที่ก่อคดีขึ้น และคดีของ นปช. ซึงมีคำวิพากษ์วิจารณ์ ตำรวจใช้มาตรฐานเดียวกันหรือไม่ ตำรวจทุกคนภายในการนำของ ผบ.ตร. ที่จะไม่แบ่งฝ่ายรักษากฎหมายอย่างเที่ยงธรรม คดีพธม.บุกยึดทำเนียบ และบุกยึดเอ็นบีที ทั้งสองคดีส่งอัยการ คดีปิดล้อมทำเนียบผู้ต้องหา 21 คนรับทราบข้อกล่าวกล่าวหาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม และขอเวลาถึง 27 เมษายนพนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนคดี คดียึดสนามบินดอนเมือง คืบหน้าไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าคดีพธม. คืบหน้าไปทั้งหมด 95 เปอร์เซ็นต์
 

ส่วนคดี นปช. แกนนำ 14 คนที่ปลุกระดมฝ่าฝืนกฎหมายศาลอาญาได้ออกหมายจับและจับไปแล้ว 4 คน คดีที่ 2 ก่อเหตุที่กระทรวงมหาดไทย ออกหมายจับ  21 คน จับได้ในที่เกิดเหตุ 1 คน และคดีความผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกหมายจับผู้ต้องสงสัย 29 คน ขณะนี้จับและควบคุมไปแล้ว 5 คน จะเห็นได้ว่าคดีความนปช.และพธม. คืบหน้าตรงไปตรงมาตรวจสอบได้


"เมื่อวานมีข่าวปล่อยว่าทหารจับคนเสื้อแดงขึ้นรถไป 10 กว่าคนแล้วหายไปในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สามแยกดินแดง ซึ่งข้อมุลตรงนี้อย่าเชื่ออะไรที่ไร้หลักฐาน และในวันนั้น มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งขัดขวางการทำงายของเจ้าหน้าที่ จึงจับกุมตัวตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินก่อนนำตัวไปที่ศุนย์การทหารม้า จ.สระบุรี  19 คน รับสารภาพ 4 คนส่งฟ้องศาลแขวงพระนครเหนือ ส่วนหนึ่งผัดฟ้อง ปล่อยตัว บางคนให้ประกันตัว บางคนอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ไม่ใช่ทหารจับแล้วหายไป"พล.ต.ต.อำนวยกล่าว

 

พล.ต.ต.อำนวย กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกล่าวหาว่าปฏิบัติสองมาตรฐาน ในการดำเนินคดีกับกลุ่มเสื้อแดงและเสื้อเหลือง ต้องขอชี้แจงว่าการจับกุมนั้นมี 2 ประการ ประการแรก จับเพื่อระงับเหตุ หยุดยั้งไม่ให้ก่อเหตุ เช่นทุบรถเมื่อเจ้าหน้าที่เห็นก็ต้องจับเพื่อระงับเหตุ ในส่วนที่สองก่อเหตุเสร็จแล้วก็ไม่ความจำเป็นต้องระงับเหตุ กลุ่มคนเสื้อเหลืองโดนดำเนินคดีอยู่ เมื่อตำรวจออกหมายเรียกก็ต้องมาพบพนักงานสอบสวน ถ้าไม่มาก็ต้องออกหมายจับ  สำหรับกลุ่มเสื้อแดงจับกุมขณะก่อเหตุ ยึดรถเมล์ รถแก๊ส จำเป็นต้องจับเพื่อไม่ให้ก่อเหตุ


ประการที่สอง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลุ่มคนเสื้อเหลือง เมื่อออกพ.ร.ก.แล้วไม่มีการออกข้อกำหนดข้อบังคับ ในผู้ปฏิบัติไปบังคับใช้กฎหมาย เหมือนกับออกมาแก้บน และครั้งนั้นออกมาเพื่อใม่ให้คนสองกลุ่มทำร้ายกัน แต่การออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้ มีการออกข้อบังคับ ออกสถานที่ควบคุม เจ้าหน้าที่ควบคุมได้ที่ไหน  ส่วนกรณีสถานีโทรทัศน์ดีทีวี ถูกจัดสัญญาณแต่เอเอสทีวี ไม่ถูกตัดสัญญาณ นั้น กรณีดีทีวีมีความผิดชัดเจนปลุกปั่นระดม ส่วนเอเอสทีวี มีคำสั่งศาลปกครอง 2 คำสั่งคุ้มครองอยู่

 

สำหรับการประกาศให้รางวัลจับกุมคนร้ายก่อเหตุที่กระทรวง มหาดไทยรายละ 5 หมื่นบาท มีคำถามคนเสื้อเหลืองไม่มีการตั้งรางวัล คนที่ไปก่อเหตุที่มหาดไทยประกาศว่าเจอตัวนายกฯให้จับบังคับให้ลาออก และภาพที่เผยแพร่ออกไปคือคนร้ายถือด้ามธงกระแทกเข้าไปในรถนายกฯ เห็นแต่ใบหน้าจำเป็นต้องให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามา เพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจ ถ้าเป็นที่ต่างประเทศเจ้าหน้าที่สามารถยิงทิ้งได้เลย การตั้งรางวัล 5 หมื่นบาทถือว่าน้อยไป แต่ที่เห็นชัดและทราบมีอยู่คนเดียวคือ นายสุพร อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน
 

พล.ต.ท.ฉลอง กล่าวว่า การดำเนินคดีกับกลุ่มพธม.ขณะนี้มีคดีเกิดขึ้น 10 คดี แยกเป็นรู้ตัวผู้กระทำผิด 4 คดีไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดอีก  6 คดีและงดการสอบสวนไปแล้ว ส่วนคดีที่รู้ตัวผู้กระทำผิดทำเสร็จสิ้นแล้ว 3 คดี มีคดีอาวุธปืน โทรคมนาคม โดยศาลตัดสินไปแล้วเมื่อ 5 ม.ค. 52 และวันที่ 10 ม.ค. 52  ส่วนคดีพยายามฆ่าข้างโรงแรม โนโวเทล จะสรุปเสนออัยการ ภายใสสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามสำหรับการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ มีผู้กระทำผิดจำนวนมาก มีหน่วยงานเกียวข้องมากมาย พนักงานสอบสวนต้องใช้เวลาศึกษาให้ระเอียดรอบคอบและรอหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ประกอบกับฐานความผิดอัตราโทษสูง เป็นฐานความผิดที่จะพิจารณาการร่างกฏหมายตามหลักสากล  อย่างไรก็ตามการยึดสนามบินสุวรรณภูมิสอบสวนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในอาทิตย์นี้ก่อนนัดประชุมร่วมกับบช.น. เพื่อออกหมายจับผู้ที่กระทำผิดต่อไป


พล.ต.ต.ปราโมช กล่าวว่า ในส่วนของ บช.ภ.2 นั้นมีคดีหลัก 3 คดี เกิดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. คดีทุบรถนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุจับกุมได้ 1 คนภายหลังจับเพื่มอีก 1 คน และมีการอนุมัติออกหมายจับ 12 คน ส่วนคดีที่ 2 ทำร้ายเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรี จับกุม 2 คนจาก 3 คน คดีบุกรุกโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช มีผู้ต้องหา 70 คน จับกุม 18 คน


พล.ต.ต.อำนวย กล่าวเพิ่มเติมกรณีตำรวจถูกกล่าวหาว่าเข้าเกียร์ว่าง ขอเรียนว่าการที่ตำรวจตั้งแนวกั้นแล้วไม่สามารถสกัดผู้ชุมนุมได้นั้นเกิดจากปัจจัยประการแรกคือ ยึดถือนโยบายไม่ให้ใช้ความรุนแรง ผ่อนปรนตลอดเวลา และไม่เข้าใจเกณฑ์เส้นแบ่งที่จะปฏิบัติ ประการที่ 2 ไม่มีเกณฑ์แบ่งวัดถึงตอนไหนใช้กำกลังประชาชน ทำให้ตำรวจละล้าละลัง กรอบของการชุมนุมทำได้แค่ไหนยังไม่มี แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ครม.เสนอร่างพ.ร.บ.ควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะ ประเทศอังกฤษมีกฎหมายนี้มานานแล้วเข้าใกล้ยังไม่ได้ ของเราเขย่าประตูจัดการได้หรือไม่ยังไม่ทราบ เพราะไม่มีเกณฑ์ ถ้ามีกฎหมายตำรวจรุ่นต่อๆไปจะดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท