Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประมวลคำขวัญวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม รายชื่อประธานจัดงาน
และงบประมาณสนับสนุนจัดงาน 21 ปี (พ.ศ. 2531 - 2551)

 

ปี

คำขวัญวันแรงงานแห่งชาติ

ชื่อประธานคณะกรรมการจัดงาน

ชื่อประธานสภาองค์การลูกจ้าง

งบประมาณ (บาท)

2531

ประชาชนต้องมีประกันสังคม

วัฒนะ เอี่ยมบำรุง

สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย

450,000

2532

ผู้ใช้แรงงานต้องมีประกันสังคม และการจ้างงานที่เป็นธรรม

ทนง โพธิ์อ่าน

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

500,000

2533

ผู้ใช้แรงงานต้องมีประกันสังคม และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

อนุศักดิ์ บุญยะประณัย

แรงงานเสรีแห่งชาติ

945,000

2534

ผู้ใช้แรงงานต้องมีเสรีภาพ และความเป็นธรรม

บรรจง พรพัฒนานิคม

แรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย

500,000

2535

กรรมกรต้องมีเสรีภาพ

สมาน สีทอง

สภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

945,000

2536

กรรมกรจงร่วมกัน สร้างสรรค์ประชาธิปไตย

สุวิทย์ หาทอง

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

945,000

2537

ประเทศจะก้าวหน้า ต้องพัฒนาแรงงาน

พานิชย์ เจริญเผ่า

สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย

1,315,000

2538

เศรษฐกิจจะก้าวหน้า ต้องพัฒนาความปลอดภัย

อัมพร บรรดาศักดิ์

พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2539

ขจัดความยากจน พัฒนาคนสู่แรงงาน

อนุศักดิ์ บุญยะประนัย

แรงงานเสรีแห่งชาติ

2,393,800

2540

ปฏิรูปการเมือง พัฒนาแรงงาน

สร้างสรรค์ประชาธิปไตย

ชิน ทับพลี

สภาลูกจ้างแห่งชาติ

1,600,000

2541

แรงงานพ้นวิกฤติ หยุดขายรัฐวิสาหกิจ

หยุดเลิกจ้าง

บรรจง พรพัฒนานิคม

แรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย

1,600,000

2542

ชาติพ้นวิกฤต หยุดขายรัฐวิสาหกิจ หยุดเลิกจ้าง

พานิชย์ เจริญเผ่า

สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2543

กรรมกรจะมั่นใจ รัฐบาลต้องประกันการว่างงาน

ประเทือง แสงสังข์

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2544

กรรมกร รวมพลัง สร้างแรงงาน สู่สากล

เสน่ห์ ตันติเสนาะ

เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

1,600,000

2545

กรรมกรต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

พนัส ไทยล้วน

แรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2546

พัฒนาแรงงาน สร้างมาตรฐานสู่สากล

มนัส โกศล

พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2547

ประเทศจะพ้นวิกฤต รัฐต้องพัฒนาชีวิตของแรงงาน

ประเทือง แสงสังข์

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2548

กรรมกรสร้างเศรษฐกิจ รัฐต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต นำผลผลิตสู่สากล

พนัส ไทยล้วน

แรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

2549

รวมพลังแรงงาน สมานฉันท์ชาวไทย เทิดไท้องค์ราชัน

บรรจง บุญรัตน์

ศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย

3,000,000

2550

80 ปีพรรษาองค์ราชัน

แรงงานสมานฉันท์

สร้างสรรค์เศรษฐกิจ

ชีวิตพอเพียง

มนัส โกศล

พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000 + งบส่วนกลางสนับสนุนโอกาสครบ 80 พรรษาอีก 1,500,000

2551

แรงงานพัฒนา พาชาติก้าวไกล สู่อนาคตไทย อาลัยสมเด็จพระพี่นางเธอ

อุดมศักดิ์ บุพนิมิต

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

1,600,000

 ที่มา: รวบรวมโดย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

 

ข้อสังเกต คือ (1) วันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ถือเป็นปีแรกที่ มีการจัดงานวันกรรมกรสากล หรือวันเมย์เดย์ครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการนำขององค์การสหอาชีวะกรรมกร ซึ่งชูคำขวัญว่า "กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน"

 

(2) รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี รับรองให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ (ไม่ใช่ "วันกรรมกรสากล") เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2499 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้ และกำหนดให้เป็นวันหยุดงานประจำปี เมื่อมีการบังคับใช้พระราช-บัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 แม้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยคณะรัฐประหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเดือนตุลาคม 2501 และมีกฎหมายแรงงานฉบับใหม่เกิดขึ้นต่อมา ในภายหลังก็ยังกำหนดให้เป็นวันหยุดตามประเพณีประจำปีที่นายจ้างต้องให้ ลูกจ้างหยุดงาน (ยกเว้นส่วนราชการ)

 

(3) ตั้งแต่ ปี 2540 เป็นต้นมา กระทรวงแรงงานจัดสรรงบประมาณประจำปีสนับสนุนกิจกรรมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ แก่สภาองค์การลูกจ้างต่างๆ ปีละ 1.6 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณจัดงานแน่นอน แต่ก็มีบางปีที่มีการขอเงินสนับสนุนเพิ่มเติมต่อรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือสำนักงานประกันสังคม

 

(4) ตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2551 รวมระยะ 21 ปี ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานจัดงานมาแล้ว 2 ครั้ง มีจำนวน 6 คน ได้แก่ นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย (ปี 2533 และ 2539) เสียชีวิตเพราะเลือดออกจากทางเดินอาหารมากเนื่องจากโรคแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547, นายบรรจง พรพัฒนานิคม (ปี 2534 และ 2541) นายประเทือง แสงสังข์ (ปี 2543 และ 2547), นายพนัส ไทยล้วน (ปี 2545 และ 2548), นายพานิชย์ เจริญเผ่า (ปี 2537 และ 2542) ปัจจุบันได้ยุติบทบาทในวงการสหภาพแรงงานแล้ว, นายมนัส โกศล (ปี 2546 และ 2550)

 

(5) ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่รัฐบาลเสนอชื่อและเคยถูกแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก (ก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540) มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายทนง โพธิ์อ่าน,นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย, นายพานิชย์ เจริญเผ่า และนายพนัส ไทยล้วน (นายมนัส โกศล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในยุคเผด็จการ คมช.ปี 2550)

 

(6) นายทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานจัดงานวันแรงงานปี 2532 ได้สูญหายไปตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองโดยกลุ่มทหารที่เรียกว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เนื่องจาก มีบทบาทสูงเด่นในการต่อต้านอำนาจเผด็จการ รสช.ที่คุกคาม-ทำลายสิทธิเสรีภาพแรงงานหลายเรื่อง เช่น การยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การห้ามพูดประเด็นการเมืองและห้ามจัดงานที่สนามหลวงในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2534 คัดค้านการเลือกตัวแทนฝ่ายแรงงานโดยรัฐบาล เพื่อไปประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฯลฯ

 

(7) ปีที่นายกรัฐมนตรี(นรม.) ไม่มาร่วมพิธีกรรมกล่าวเปิดงานในวันแรงงาน 1 พฤษภา และรับข้อเรียกร้องโดยตรงจากคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติได้แก่

 ในปี 2534, 2535 นรม.อานันท์ ปันยารชุน

 ในปี 2542 นรม.ชวน หลีกภัย

 ในปี 2547 และ 2549 นรม.ทักษิณ ชินวัตร

 ในปี 2551 นรม.สมัคร สุนทรเวช

 

(8) ปี 2547 เป็นปีเดียวที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (ประกอบด้วย 4 สภาองค์การลูกจ้าง) ร่วม กับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดงานวันแรงงานร่วมกัน เป็นอีกขบวนหนึ่งแยกออกจากสภาองค์การลูกจ้าง 5 แห่งที่จัดงานที่สนามหลวง รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

 

ปี 2550 เป็นปีแรกที่สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรร่วมจัดวันแรงงานกับสภาองค์การลูกจ้าง 11 แห่ง

 

ปี 2551 เป็นปีแรกที่สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมเป็นองค์กรจัดงานวันแรงงานกับสภาองค์การลูกจ้างอีก 11 แห่ง (รวมเป็น 12 สภาองค์การลูกจ้าง)

 

(9) มี 2 ปีที่มีผู้นำสหภาพแรงงานจากรัฐวิสาหกิจเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ คือ ปี 2531 นายวัฒนะ เอี่ยมบำรุง (ประธาน สร.การสื่อสารโทรคมนาคม) ในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย ก่อนที่ รสช.จะยุบ สร.รัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 19 เม.ย.34 และปี 2543 นายเสน่ห์ ตันติเสนาะ (ประธานสร.การประปานครหลวง) ในฐานะเลขาธิการ สรส.

 

(10) เกือบทุกปี สถานที่จัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่มีคณะกรรมการจัดงานมาจากผู้แทนสภาองค์การ ลูกจ้างต่างๆ เป็นแกนนำ จะจัดกิจกรรมเดินขบวนจากบริเวณพระบรมรูปทางม้ารัชกาลที่ 5 ไปที่ท้องสนามหลวง ยกเว้น ปี 2534 รัฐบาลเผด็จการ รสช.ขณะนั้นห้ามเดินขบวนห้ามจัดที่สนามหลวงและให้ไปจัดที่ศูนย์ เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง และปี 2551 จัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพราะรัฐบาลต้องการใช้สนามหลวงเป็นพื้นที่จัดสร้างเมรุมาศสมเด็จพระพี่นาง เธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

(11) หลายปีที่ผ่านมาตราบถึงปัจจุบัน จะมีการแบ่งแยกจัดกิจกรรมเดินขบวนในวันแรงงานเป็น 2 ขบวนการ บางปีจะมีการเดินขบวนสวนทางกันด้วย กล่าวคือ ขบวนที่นำโดยสภาองค์การลูกจ้างต่างๆ มักจะตั้งต้นขบวนที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าเพื่อเดินไปที่ท้องสนามหลวง ในขณะที่อีกขบวนหนึ่งที่นำโดยศูนย์ประสานงานกรรมกร หรือคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มักจะตั้งต้นขบวน ณ บริเวณอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยหรือหน้ารัฐสภา เพื่อเดินไปชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ก่อภาพพจน์ความแตกแยกเป็นประจำทุกปีแก่สาธารณะชนและผู้ใช้แรงงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net