Submitted on Sat, 2009-05-09 01:03
สถิติอัคคีภัยร้ายแรง (บางส่วน)
ชื่อบริษัท
|
คนตาย
|
บาดเจ็บ
|
วันเดือนปีเกิด
|
Triagle Shirtwaist Company
(รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา)
|
146
|
|
25 มี.ค.2454
|
บ.เคเดอร์ อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์)
บ.ไทยจิวฟู อินเตอร์เนชั่นแนล
(ถ.พุทธมณฑลสาย 4 อ.สามพราน จ.นครปฐม)
|
188
(ญ.174 ช.14)
|
469
|
10 พ.ค. 2536
|
โรงแรม รอยัลจอมเทียนรีสอร์ต
(จ.ชลบุรี)
|
91
|
กว่า 50
|
11 ก.ค.2540
|
Coconut Grove Nightclub
(บอสตัน เมนซาซูเสท สหรัฐอเมริกา)
|
492
|
|
23 เม.ย.2485
|
The Station Nightclub
(เวสต์วอร์ริก รัฐโรดไอส์แลนด์ สหรัฐฯ)
|
100
|
-
|
20 ก.พ.2546
(เวลา 23.08น.)
|
ซานติก้าผับ
(ซ.ทองหล่อ ย่านเอกมัย กทม.)
|
66
|
229
|
31 ธ.ค. 2551
ต่อ 1 ม.ค.2552
|
ภายหลังเกิดโศกนาฏกรรมร้ายแรงที่สุดในประวัติการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยและสากลกรณี
เคเด อร์ (10 พฤษภาคม 2536) ไม่ถึงเดือน นายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย) ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 74/2536 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริง และสาเหตุเกี่ยวกับกรณีเพลิงไหม้บริษัทเคเดอร์ อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และสภาวะความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมี ศ.นิคม จันทรวิทุร เป็นประธานมีนักวิชาการด้านความปลอดภัยและหลายหน่วยงานเข้าร่วมพบข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ มีประวัติการเกิดเพลิงไหม้มา 3 ครั้งแล้ว (16 ส.ค.32, 2 พ.ย.34, 13 ก.พ.36) เพราะอุปกรณีไฟฟ้าเสื่อมและไฟฟ้าลัดวงจร
เคเด อร์ (10 พฤษภาคม 2536) ไม่ถึงเดือน นายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย) ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 74/2536 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริง และสาเหตุเกี่ยวกับกรณีเพลิงไหม้บริษัทเคเดอร์ อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และสภาวะความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมี ศ.นิคม จันทรวิทุร เป็นประธานมีนักวิชาการด้านความปลอดภัยและหลายหน่วยงานเข้าร่วมพบข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ มีประวัติการเกิดเพลิงไหม้มา 3 ครั้งแล้ว (16 ส.ค.32, 2 พ.ย.34, 13 ก.พ.36) เพราะอุปกรณีไฟฟ้าเสื่อมและไฟฟ้าลัดวงจร
ð มีการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารใหม่ และเกิดเพลิงไหม้อีก ทั้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เคยออกหนังสือแนะนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยและสั่งให้ปรับปรุง โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ร่วมกับกองตรวจความปลอดภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเคยตรวจโรงงานเคเดอร์ฯและไทยจิวฟูฯ เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2536 และมีหนังสือแนะนำให้นายจ้างปฏิบัติจำนวน 5 ข้อ ดังนี้
1. ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแทนเจ้าหน้าที่ที่ลาออก
2. ให้จัดหาและบังคับใช้อุปกรณ์คุ้มครอง เช่น ปลั๊กลดเสียง
3. ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ขนของภายในโรงงานและห้ามพนักงานโดยสาร
4. ให้จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย และฝึกซ้อมดับเพลิงพร้อมทั้งรายงานให้
ทราบ
5. ให้มีการตรวจร่างกายประจำปีพนักงาน
(1) สาเหตุเกิดเพลิงไหม้
กรณีโรงงานเคเดอร์
จาก การสืบสวนของกรมตำรวจพบต้นเพลิงอยู่บริเวณขั้นล่างของอาคารที่ 1 พบร่องรอยที่พื้นปูนมีรอยไหม้เป็นสีน้ำตาลและมีพยานยืนยันว่าสาเหตุจากการ สูบบุหรี่ของพนักงานคนหนึ่งในที่เกิดเหตุ
กรณีซานติก้าผับ
จาก การสอบสวน ต้นเหตุของเพลิงไหม้มาจากสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟกต์และดอกไม้เพลิงที่มีการนำมาใช้ ในอาคารเกิดเหตุ มีพยานบุคคลเห็นเหตุการณ์ยืนยันว่า เห็นสะเก็ดไฟ และกลุ่มควันเกิดขึ้นที่เพดานเหนือเวทีหลังจากเล่นสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟกต์และ ดอกไม้เพลิง ซึ่งตอนแรกคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ต่อมากลุ่มควันและเปลวเพลิงได้ขยายตัว ส่งกลิ่นเหม็นและมีเศษวัสดุติดไฟร่วงหล่นลงมา
(2) สาเหตุไฟไหม้ลุกลามมีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก
กรณีเคเดอร์
1. โครงสร้างเหล็กเปลือย เช่น เสาและคานเหล็กรูปพรรณ มิได้ออกแบบให้มีวัสดุหุ้มเพื่อป้องกันไฟไว้เลย ทำให้โครงสร้างพังทลายรวดเร็ว แม้โรงงานเคยเกิดไฟไหม้หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีการเพิ่มมาตรการป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นในการขออนุญาต ก่อสร้างใหม่ เช่น การทำฉนวนหุ้มเสาเหล็กเปลือย
2. การวิบัติอย่างรวดเร็วและทั้งหมด ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดรายละเอียดทางโครงสร้าง เช่น ชิ้นส่วนเพื่อยึดเกาะระหว่างโครงสร้างคานและฟื้น และการค้ำยันด้านข้างของโครงสร้าง
3. บันไดขนาดกว้าง 1.60 จำนวน 2 แห่งออกแบบไว้สำหรับใช้งานตามปกติเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับคนงานจากชั้นละประมาณ 500 คนหลบหนีออกจากอาคารได้ ตำแหน่งของบันไดทั้งสองอยู่ฟากเดียวกันของอาคาร ทำให้คนงานถูกบล็อกด้วยไฟและควันทั้งหมด ลักษณะของบันไดที่เป็นห้องโถงมีประตูกระจกกั้นแยกออกจากห้องทำงาน ทำให้ห้องโถงบันไดซึ่งไม่มีระบบอัดอากาศกลายเป็นกล่องดูดควันและไฟให้ขึ้น ชั้นบนอย่างรวดเร็ว
4. ประตูทางเข้าออกจากอาคาร ซึ่งอยู่ติดกับบันไดมีขนาดกว้าง 1.6 เมตร 2 แห่ง ไม่เพียงพอจะให้คนงานประมาณ 2,000 คนหลบหนีออกจากอาคารได้ทันท่วงที
5. ไม่มีระบบเตือนภัย หรือระบบกระจายเสียงเตือนภัยให้คนงานทราบเลย ห้องทำงานยังเป็นระบบปรับอากาศ มีเสียงเย็บจักรดัง ทำให้คนงานไม่ทราบเหตุการณ์จนกว่าจะเห็นควันไฟแล้ว
6. แม้โรงงานจะติดตั้งท่อฉีดน้ำดับเพลิงชั้นละ 2 หัว แต่เนื่องจากไม่มีการซักซ้อมหรือเตรียมพร้อม เมื่อเกิดไฟไหม้จึงไร้ผล
7. ไม่มีแผนหลบหนีภัย ไม่มีการซักซ้อมการหนีไฟ ทำให้เกิดความประมาท ตื่นตระหนกเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง โดยยามรักษาการณ์และหัวหน้าคนงานประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง จึงตัดสินใจผิดพลาดและล่าช้า
8. ลักษณะของลิฟท์ส่งของที่มีประตูเหล็กยึดทำให้ช่องลิฟท์กลายเป็นปล่อง ทั้งไฟและควันลุกลามจากชั้นล่างขึ้นไปข้างบนสู่ห้องทำงานทุกชั้นอย่าง รวดเร็ว
9. ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารมีการกองเก็บวัสดุไว้ข้างๆ ทางเดิน ทำให้ไฟลุกลามข้ามจากอาคาร 1 ไปอาคาร 2 และอาคาร 3 อย่างรวดเร็ว
10. มีการเก็บกองวัสดุตามทางเดิน และใช้ชั้นล่างเป็นโกดังเก็บวัสดุ ทำให้โรงงานเต็มไปด้วยเชื้อไฟที่ลุกลามข้ามอาคารได้รวดเร็วตลอด
11. ลักษณะอาคารโรงงานไม่มีกันสาด คนงานไม่สามารถปีนหนีออกไปจากห้องเพื่อหลบควันชั่วคราวและรอรับความช่วย เหลือได้ จึงต้องปีนหน้าต่างและกระโดดลงไปทันที
คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรได้ศึกษาพิจารณากรณีเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ฯ เมื่อปี 2536 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
1. บริษัทฯ ได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยมูลค่าพันกว่าล้าน ซึ่งมูลค่าประกันสูงเกินความเป็นจริงมาก
2. โรงงานนี้เคยถูกไฟไหม้มาแล้ว 3 ครั้ง และสร้างลงพื้นที่เดิม แต่มิได้ขุดออกทำลายของเดิม กลับต่อเติมขึ้นใหม่ บริษัทเคเดอร์ฯ รับงานก่อสร้างที่ยึดแบบ และโยธาธิการจังหวัดนครปฐมไม่ตรวจสอบสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟไหม้ น่าจะเป็นความตั้งใจของบริษัทฯ
3. การพิจารณาหลักเกณฑ์ของการตั้งหลักทรัพย์ประกันตัว ตำรวจสมควรใช้หลักเกณฑ์ที่สอดคล้องใกล้เคียงกับที่ศาลใช้
4. ควรกำหนดระยะเวลาตรวจสอบอาคารหรือโรงงานภายหลังสร้างเสร็จได้รับใบอนุญาต แล้ว อาจเป็นเวลา 3 เดือน, 6 เดือนหรือ 1 ปี ซึ่งจากรายงานฯ พบว่ามีการตรวจสอบเพียงครั้งเดียว คือ ครั้งแรกในช่วงก่อสร้างเสร็จเท่านั้น
5. สมควรเร่งให้มีหลักเกณฑ์ในเรื่องการใช้โครงสร้างเหล็กเปลือยเป็นโครงสร้าง หลักของอาคาร โดยไม่มีการหุ้มฉนวนกันไฟ เพื่อให้โครงสร้างหลักของอาคารทนไฟได้เพียงพอที่จะหนีไฟออกมาได้โดยปลอดภัย เช่น 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น
กรณีซานติก้าผับ
3 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ได้ร่วมแถลงข่าวว่า จากการตรวจสอบอาคารมีข้อสังเกตรวม 23 ข้อ ที่บ่งชี้ความไม่ปลอดภัย และการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านอัคคีภัยในคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) พบปัญหาไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัยในสถานบริการหลายประเด็น คือ
1. ซานติก้าผับไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานบริการตามกฎหมาย จนถึงวันเกิดเหตุรวมใช้งานอาคารมาประมาณ 5 ปี (พ.ศ.2546-2551)
2. มิได้ยื่นแจ้งผลการตรวจสอบอาคารเพื่อขอออกใบรับรองความปลอดภัย ตามมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
3. โครงสร้างหลักของอาคาร ก่อสร้างด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเสากลางอาคาร หลังคาเป็นแผ่นเหล็กเคลือบปิดด้วยวัสดุฉนวนที่ติดไฟได้ ผนังในอาคารบางส่วนปิดหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาสเรซิ่น และนวมฟองน้ำ มีพื้นต่างกันหลายระดับ
4. วัสดุตกแต่งภายในตามเสา เพดาน ผนังและขอบหน้าต่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติลุกลามไฟได้ง่าย หากมีสะเก็ดไฟหรือประกายไฟเล็กน้อยและยังสามารถปล่อยควันดำและก๊าซพิษ ซึ่งทำให้หมดสติได้รวดเร็ว และทำให้มองไม่เห็นเส้นทางหนีไฟ
5. ประตูทางเข้าออกหลักของผับ มีจุดเดียวด้านหน้าอาคาร และมีประตูด้านอื่นๆ อีก 3 บาน แต่เป็นประตูขนาดเล็กและบางบานเปิดสวนทิศทางหนี หน้าต่างของอาคารมีทั้งสองชั้น แต่มีเหล็กดัดเป็นอุปสรรคต่อการใช้เป็นทางหนีไฟ
6. ระบบไฟฉุกเฉินพบเพียงชุดเดียวบริเวณหน้าห้องครัวและไม่พบป้ายบอกทางหนีไฟในอาคารเลย
7. ไม่พบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และไม่พบระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ แต่พบถังดับเพลิงจำนวน 3 ถัง ซึ่งในจำนวนนี้มี 2 ถังที่ยังไม่ได้ถอดสลักออกใช้ดับเพลิงเลย
(3) การสอบสวนและการฟ้องร้อง
กรณีเคเดอร์
นายวิโรจน์ อยู่ศักดิ์ พนักงานโรงงานเคเดอร์ฯได้ตกเป็นผู้ต้องหาฐานกระทำโดยประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ พนักงานสอบสวนตั้งหลักทรัพย์ประกันตัว 5 ล้านบาท ในขณะที่ศาลตั้งหลักทรัพย์ประกันตัว 1 ล้าน และพนักงานตำรวจได้คัดค้านการประกันตัว
ผู้บริหารบริษัทเคเดอร์บางคน ถูกตำรวจตั้งข้อหากระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ และได้ประกันตัวไปต่อสู้คดี
นาย พิสุทธิ์ กนกากร วิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างโรงงานเคเดอร์ฯ ได้ถูกคณะกรรมการควบคุมการประกอบอาชีพวิศวกรประกาศเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ตั้งแต่ 28 ก.ค.36) เพราะไม่ได้ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตพนักงาน สอบสวนยังได้ดำเนินคดี และส่งฟ้องข้อหาเป็นผู้มีวิชาชีพควบคุมการก่อสร้างและจัดให้มีการก่อสร้าง ผิดไปจากแบบแปลน แผนผังบริเวณและรายการประกอบแบบแปลน โดยผลที่น่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น
กรณีซานติก้าผับ
ตำรวจตั้งข้อหาผู้บริหารบริษัทไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส (2003) จำกัดซึ่งเป็นผู้ประกอบการซานติก้าผับ 2 ข้อหา คือ กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บสาหัส และความผิดตามพระราชบัญญัติสถานบริการ ที่มีการปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีไปใช้บริการ
กระทรวง ยุติธรรม ได้เข้ามาสอบสวนขยายผล ปรากฏว่า พบความไม่สุจริตหลายประเด็น เช่น เด็กขับรถของร้านเข้ามามีชื่อในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการบริษัท โดยผู้ถือหุ้นกลับไม่แจ้งชื่อตัวเองเป็นกรรมการ ปลอมลายมือชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ มีชื่อคุมงานในการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างและตกแต่งอาคารโดยไม่สุจริต ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย ไม่มีการทำประกันภัยให้ลูกค้า หรือแม้กระทั่งการเสียภาษีสรรพสามิตก็ไม่เคยปรากฏ
(4) ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบทเรียนแต่ละกรณี
= กรณีเคเดอร์ =
1. ถือเป็นกรณีแรกที่ หน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมมือกับองค์กรแรงงาน เคลื่อนไหวต่อรองให้นายจ้างต้องรับผิดชอบช่วยเหลือคนงานที่เสียชีวิต/บาด เจ็บ/ทุพพลภาพและครอบครัวอย่างเต็มที่ จนได้สิทธิประโยชน์ สูงกว่ามาตรฐาน ขั้นต่ำตามกฎหมายและกลายเป็นมาตรฐานบางเรื่องแก่ผู้ประสบวิบัติภัยบางกรณี เช่น โรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มที่โคราชในเดือนสิงหาคม 2536 (ตาย 157 บาดเจ็บกว่า 200) ไม่ใช่ต้องรอไปฟ้องร้องบริษัทหรือรับผิดชอบตนเองตามยถากรรมฝ่ายเดียว เช่น
บริษัทตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทหรือผู้อยู่ในความความอุปการะของผู้ เสียชีวิต 188 รายและลูกจ้างที่ประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ รายละ 1 แสนบาท
บริษัทจ่ายค่าจ้างและค่ารักษาพยาบาล (ส่วนที่เกินกว่ากองทุนเงินทดแทน) ให้ลูกจ้างที่บาดเจ็บและยังอยู่ในความดูแลของแพทย์จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา และพิจารณาให้ทำงานที่เหมาะสมต่อไป หรือจ่ายค่าชดเชย
บริษัท ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรลูกจ้างผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพผ่าน กรมประชาสงเคราะห์ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนจบชั้นอุดมศึกษา (1,000/1,500/2,500 บาทตามชั้นการศึกษา) โดยปรับตามภาวะค่าครองชีพ 8% ทุกปี อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
2. เกิดการจัดตั้ง “คณะทำงานติดตามความช่วยเหลือคนงานเคเดอร์” (องค์กรนอกภาคราชการ) ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการและผู้นำแรงงาน เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือต่างๆกับภาคเอกชน, หน่วยราชการ และญาติพี่น้องผู้เสียหาย
นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบภัย” ซึ่งมีคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนบริษัทฯ สหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนนักวิชาการผู้แทนหลายส่วนราชการทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เป็นพหุภาคีในการติดตาม/ดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้าง
3. คณะทำงานติดตามความช่วยเหลือคนงานเคเดอร์ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน” ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ เพื่อให้เกิดการป้องกันและคุ้มครองสุขภาพ-ความปลอดภัยของคนงานในเชิงปฏิรูป นโยบายกลไกรัฐอย่างมีส่วนร่วมของฝ่ายแรงงาน โดยเรียกร้องให้รัฐดำเนินการได้หลายเรื่อง ดังนี้
3.1 เรียกร้องรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นวันสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน จนกระทั่งมีมติครม. เมื่อสิงหาคม 2540 เห็นชอบให้วันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี (ตั้งแต่ 2541) เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ซึ่งฝ่ายแรงงานทนได้จัดงานรำลึกต่อมาทุกปีและกระทรวงแรงงานก็ได้เลื่อนการ จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ จากเดิมที่จัดในวันที่ 1-5 กรกฎาคมของทุกปีมาให้สอดคล้องกับวันที่ 10 พฤษภาคมตั้งแต่ปี 2541
3.2 เรียกร้องให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ออกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 28 ต.ค.2538 และมีการปรับปรุงฉบับใหม่ต่อมา ซึ่งถือเป็นกรรมการทวิภาคีชุดแรกใน สถานประกอบการที่มีกฎหมายแรงงานกำหนดให้จัดตั้งขึ้น เพี่อให้มีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างร่วมดูแลหารือ ความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมอำนาจนิยมในการบริหารกิจการของนายจ้างหลายแห่งและความ อ่อนแอในการรวมตัวต่อรองของแรงงานย่อมทำให้คณะกรรมการความปลอดภัยฯหลายแห่ง ขาดประสิทธิภาพถ้านายจ้างไม่ประชุม หรือไม่ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการฯไปดำเนินการฯ เป็นต้น
3.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ถือเป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรกที่กำหนดให้มีคณะกรรมการไตรภาคีด้านความปลอดภัยฯ เพื่อเสนอแนะนโยบาย มาตรการป้องกัน ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานต่อรัฐมนตรี รวมทั้งมีส่วนร่วมปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานความปลอดภัยในเรื่องต่างๆตามกฎหมาย แม้ว่าคณะกรรมการไตรภาคีชุดนี้ จะไม่เป็นที่รู้จักยอมรับของคนทั่วไปและการปรับปรุงกฎหมายความปลอดภัยหลาย ฉบับเป็นไปด้วยความล่าช้า
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับนี้ ยังกำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้นายจ้างหยุดการใช้ เครื่องจักรอุปกรณ์ หรืออาคารสถานที่ที่จะก่อเกิดอันตรายแก่ลูกจ้างได้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง พนักงานตรวจแรงงานให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กำหนด และต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่หยุดงานชั่วคราวด้วย
3.4 ในทางสากล ได้มีคณะรณรงค์กรณีเคเดอร์จากไทยพร้อมคนงานที่รอดชีวิตเดินทางไปประเทศ ฮ่องกง เข้าร่วมกับกลุ่มรณรงค์ในท้องถิ่นเดินขบวนประท้วงกลุ่มบริษัทเคเดอร์โฮลดิ้งที่ฮ่องกง อันเป็นบรรษัทข้ามชาติที่มาลงทุนร่วมกับกลุ่มทุนในไทยโดย ใช้แรงงานราคาถูกและสิทธิพิเศษทางภาษีอากร เพื่อเรียกร้องให้เกิดมาตรฐานแรงงานหรือกติกาการลงทุนผลิตตุ๊กตาที่ต้อง คำนึงถึงสุขภาพความปลอดภัยของแรงงาน (Cods of Conduct)
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนออีกหลายเรื่องของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงานที่ไม่ได้รับ การตอบสนองจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดให้ลูกจ้างหรือองค์กรแรงงานมีส่วนร่วมตรวจโรงงานอย่างชัดเจน ,ให้ลูกจ้างมีสิทธิเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ,ให้แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมในการตัดสินใจนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตผู้ใช้แรงงาน, ให้ลด/เลิกสิทธิพิเศษทางภาษีอากรโรงงานละเมิดกฎหมายด้านความปลอดภัยฯชัดเจน รวมทั้งการออกกฎหมายจัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในสถานประกอบการที่เป็นองค์กรอิสระและมีการบริหารครบวงจรที่เรียกร้องต่อ เนื่องมานานปีมาก เป็นต้น
=กรณีซานติก้าผับ =
[“ให้ ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตคนละ 20,000 บาท และได้รวบรวมเงินจากหุ้นส่วนคนอื่นๆได้จำนวนเงิน 2 ล้านบาท เตรียมนำไปช่วยเหลือผู้ตายและผู้บาดเจ็บ” (วิสุทธิ์ เจริญสวัสดิ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซานติก้าผับให้สัมภาษณ์)
[ ผู้บาดเจ็บใช้สิทธิ รักษาพยาบาลตามสิทธิที่ตนเองมีสถานภาพไปก่อน เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ กรมธรรม์ประกันชีวิต หรือบัตรประกันสุขภาพ (สปสช.) จะจ่ายให้เมื่อวงเงินรักษาที่เกินกว่า 15,000 บาท ผู้รักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีเงินจ่ายหรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายศพได้ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กองการประกอบโรคศิลปะไปประสานงานเพื่อ บรรเทาปัญหาต่างๆ หากรายใดมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและไม่อยู่ในระบบประกันใดๆรวมทั้งรายที่ถูก ส่งตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะนำเรื่องเข้าหารือใน ครม.เป็นรายๆไป
เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีเคเดอร์ฯ ผู้ประกอบการซานติก้าผับช่วยเหลือคนตายและบาดเจ็บน้อยมากๆกลายเป็นภาระหนัก หน่วงของหน่วยราชการและครอบครัวผู้เสียหายรวมทั้งบางส่วนต้องฟ้องคดีเรียก ร้องความเป็นธรรมด้วย
[ วันที่ 20 มกราคม 2552 ผู้เสียหายจากกรณีซานติก้าผับได้ฟ้องต่อศาลแพ่งเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 (บังคับใช้ตั้งแต่ 23 ส.ค.51) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจไต่สวนแก่ ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานทั้งฝ่ายกล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหามาให้ศาลพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร โดยมีประเด็นที่เรียกร้อง ได้แก่ การคุ้มครองความเสียหายทางสุขภาพอนามัยที่อาจปรากฏในอนาคต การพิจารณาค่าเสียหายเพื่อการลงโทษจากการไม่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าให้ดี เป็นเจตนาเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
พรบ.วิธี พิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 44 บัญญัติว่าสามารถเอาตัวหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น หรือผู้มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วยได้หาก ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ถูกจัดตั้งหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต หรือมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภคหรือมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของ นิติบุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
วัวหายแล้วล้อมคอก อีกแล้ว !
ระบบความปลอดภัยของสถานบันเทิง
คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้มีขัอกำหนดให้เจ้าของสถานบันเทิง ต้องมีการบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ดังนี้
1. ต้องไม่ทำให้เกิดประกายไฟจากอุปกรณีที่ไม่ได้มาตรฐานหรือออกแบบมาใช้เป็นการเฉพาะภายในอาคาร
2. ต้องไม่อนุญาตให้คนเข้ามาในสถานที่มากเกินไป โดยใช้หลัก 1 ตารางเมตรต่อคน และติดป้ายแสดงความจุสูงสุด ป้ายใบอนุญาต ป้ายประกันภัย และป้ายแสดงผู้รับผิดชอบความปลอดภัยให้เห็นชัดหน้าอาคาร
3. จัดให้มีการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน และซ้อมหนีไฟ
4. จัดให้มีการตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี
5. จัดให้มีการควบคุมการนำรถออกจากสถานที่ขณะเกิดเหตุ เพราะทำให้การจราจรบริเวณนั้นติดขัด ทำให้เข้าถึงที่เกิดเหตุช้า
มติรัฐมนตรี (7 เมษายน 2552) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบความปลอดภัยที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการตาม ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการความปลอดภัยสำหรับอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุชุลมุนวุ่นวาย ทำให้ไม่สามารถอพยพคนออกจากอาคารดังกล่าวได้ทัน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้เสนอมาเพื่อดำเนินการดังนี้
1. กำหนดคำนิยามคำว่า “ความจุคน” “โครงสร้างหลัก” “ทางหนีไฟ” “ผนังทนไฟ” “พื้นที่บริการ” “วัสดุทนไฟ” “สถานบริการ” และ “อาคารขนาดใหญ่” เป็นต้น
2. กำหนดให้สถานบริการแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามขนาดพื้นที่บริการ คือ ประเภท ก ประเภท ข ประเภท ค ประเภท ง และประเภท จ. และให้สถานที่ตั้งสถานบริการต้องมีลักษณะตามที่กำหนด
3. กำหนดให้แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ ประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารสถานบริการต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนด
4. กำหนดให้แบบแปลนระบบไฟฟ้าประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารสถานบริการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
5. ให้สถานบริการจัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารซึ่งแสดงตำแหน่งที่ ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออกและประตูทางออก ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
6. กำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและตกแต่งอาคารสถานบริการ
7. กำหนดให้สถานบริการหรืออาคารที่ตั้งสถานบริการต้องมีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า ระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ตามเงื่อนไขที่กำหนด
8. กำหนดให้สถานบริการแต่ละประเภทต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ระบบสัญญาณเตือน เพลิงไหม้ การติดตั้งเครื่องดังเพลิง ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และการติดตั้งระบบควบคุมการแพร่กระจายของควัน ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กำหนด
9. กำหนดให้สถานบริการต้องจัดให้มีจำนวนทางออก ประตูทางออกทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ และประตูหนีไฟ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด
10. ให้สถานบริการจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟตามแนวทางเดินภายในสถานบริการ จัดให้มีที่ว่างภายนอก โดยรอบสถานบริการ และติดป้ายแสดงความจุคนในสถานบริการกรณีมีพื้นที่บริการตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
11. กำหนดให้สถานบริการต้องจัดให้มีระบบการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และกำหนดให้ระบบท่อลมของระบบปรับภาวะอากาศต้องมีลักษณะตามที่กำหนด
12. ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ หรือเจ้าของอาคารที่ใช้ตั้งสถานบริการจัดให้มีการประกันภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
13. ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการหรือเจ้าของอาคารที่ใช้ตั้งสถานบริการต้องจัด ให้มีผู้ดูแลระบบความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายของสถานบริการ ผู้ตรวจสอบตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจ สอบ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และให้สถานบริการมีการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
สรุปบทเรียนร่วม : อย่าให้ไฟไหม้คน เป็นไฟไหม้ฟาง? |
ประการแรก สาเหตุเชิงโครงสร้างนโยบาย หรือตัวบุคคล ?
การสอบสวนของตำรวจและหน่วยงานรัฐจะมุ่งไปที่ใครคือบุคคลทำให้เกิดเพลิงไหม้
(กรณีเคเดอร์คือผู้ทิ้งบุหรี่ที่ดับไฟไม่หมดและกรณีซานติก้าผับคือ ผู้จุดพลุไฟ) หรือทำสเปเชียลเอคเฟคหรือชี้ไปที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารบางคนของโรงงาน หรือซานติก้าผับที่ประมาทหรือฉ้อฉลโดยขาดการตรวจสอบหาสาเหตุเชิงโครงสร้างระบบมาตรฐานการป้องกันอุบัติภัยที่ ถูกต้องเพียงพอที่จะคุ้มครองชีวิตของแรงงานในโรงงานหรือประชาชนผู้ใช้บริการ เพราะมันไม่ใช่กรณีไฟไหม้ปกติทั่วไป แต่มีผู้คนจำนวนมากต้องตายและบาดเจ็บระหว่างที่กำลังทำงานหรือเข้าไปใช้ บริการในสถานที่นั้น ซึ่งสามารถจัดระบบป้องกันความวิบัติเสียหายร้ายแรงได้ ถ้ากลไกรัฐมีนโยบายมาตรการที่จริงจังต่อเนื่องในการตรวจสอบโดยเข้มงวด เคร่งครัดและโปร่งใสไปตลอด
ประการที่สอง ความรับผิดชอบสังคมของวิชาชีพและการตรวจสอบโดยองค์กรวิชาชีพ
ใน เรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร-สถานประกอบการประเภทต่างๆตลอดจนการ ป้องกันดูแลสุขภาพความปลอดภัยอาชีวอนามัยของแรงงานนั้นมีผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องหลายคน เช่นวิศวกร,สถาปนิก,เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.),แพทย์และพยาบาลอาชีวอนามัย เป็นต้น ซึ่งในกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความ ซับซ้อนขึ้น ย่อมจำเป็นต้องอาชีพใหม่ๆ และเกิดการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพนั้น เพื่อผดุงเกียรติภูมิ และควบคุมจรรยาบรรณของวงการอาชีพเหล่านั้นกันเอง
กรณีเกิดอัคคีภัยร้ายแรงและคนตาย/บาดเจ็บจำนวนมาก คนจำนวนมากเพ่งเล็งไปที่ “วิศวกร” และ “สถาปนิก”มาก ขึ้นทุกที บทบาทการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและ สมาคมสถาปนิกสยามจะมีผู้คนคาดหวังมากขึ้น ดังเช่นวิศวกรผู้ควบคุมก่อสร้างโรงงานเคเดอร์ฯ ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเนื่องจากไม่ได้ควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบ แปลนที่ได้รับอนุญาต และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารโรงงานผิดไปจากแบบแปลน
กรณีซานติก้าผับ พบว่ามีการปลอมลายมือชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่มีชื่อคุมงานก่อสร้าง
ประการที่สาม เสริมสร้างวัฒนธรรม ธรรมาภิบาลแห่งการบังคับใช้กฎหมายอย่างสุจริตเป็นธรรม
นพ.วิจิตร บุณยะโหตระ อดีตเลขาธิการสำนักงานคระกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ซึ่งตั้งใจลาออกภายหลังไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ เคยกล่าวว่า
“ผม ทำงานด้านนี้ (ด้านอุบัติเหตุอุบัติภัย) มากว่า 20 ปี เดินทางไปทั่วโลกไม่มีประเทศใดละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเท่าประเทศไทย กฎหมายนั้นดีอยู่ ไม่ต้องไปเพิ่มโทษอะไร ยิ่งไปเพิ่มโทษก็ยิ่งเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ทุจริตมากยิ่งขึ้น ร่ำรวยมากขึ้น กฎหมายที่รุนแรง อาจจะไม่เป็นประโยชน์กับประชาชนหรือสังคม” (ผู้จัดการ Weekend ฉบับวันเสาร์-อาทิตย์, 21-22 ส.ค.36 : น.5)
กฎหมาย และบทบัญญัติเกี่ยวกับความปลอดภัยจำนวนมากที่หากหน่วยงานรัฐทุกแห่งบังคับ ใช้และลงโทษผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจังต่อเนื่องแล้ว ย่อมเชื่อได้ว่าสามารถปกป้องชีวิตผู้คน และป้องกันผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงกฎหมายได้มาก
แต่ ในภาคปฏิบัติก็คือว่าสังคมไทยยังมีวัฒนธรรมเส้นสายอุปถัมภ์ส่วนบุคคล ระบบอภิสิทธิ์ฉ้อฉล ค่านิยมแบบด้านได้อายอด มือใครยาวสาวได้สาวเอา ข้าราชการยังมีอำนาจและดุลพินิจสูงในการที่จะเลือกปฏิบัติ, ยกเว้น, ออมซอม, สั่งการ หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือผลักดันปฏิรูประบบการบริหารบังคับใช้กฎหมายความ ปลอดภัยของรัฐราชการให้มีประสิทธิภาพ และสุจริตยุติธรรมอย่างแท้จริง
กรมโรงงานอุตสาหกรรม เคยสุ่มตรวจโรงงานจำนวน 144 แห่ง พบว่า
ประมาณ 80% ไม่มีบันไดหนีไฟ
ประมาณ 90% ไม่มีสัญญาณเตือนภัย
ประมาณ 70% ไม่มีอุปกรณ์ดับเพลิงเพียงพอ
(ที่มา : ผู้จัดการ, 28 ก.ค. 36: น.5)
ผลการตรวจความปลอดภัยของสถานประกอบการต่างๆ หลายปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันพบว่าทำผิดกฎหมายความปลอดภัยอันดับต้นๆ คือความปลอดภัยเรื่องอัคคีภัย และการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือ จป. (ดูตารางที่ 1)
เมื่อ เจ้าหน้าที่ตรวจพบสถานประกอบการฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน พบว่า เจ้าหน้าที่แนะนำให้ สปก.เหล่านั้นกว่า 90% ในขณะที่ใช้วิธีออกคำสั่งให้ปรับปรุง, เชิญพบหรือให้ส่งเอกสารตามลำดับ ส่งเรื่องดำเนินคดีน้อยนิด และไม่เคยสั่งหยุดการใช้เครื่องจักร (ดูตารางที่ 2)
ตารางที่ 1
จำนวนสถานประกอบกิจการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
จำแนกตามเรื่องที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง 5 อันดับแรก พ.ศ.2546-2551 (6ปี)
|
เรื่องที่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัย ในการทำงาน
|
|
|||||
พ.ศ.
|
สถานประกอบกิจการที่ผ่านการ ตรวจ (แห่ง)
|
ความปลอดภัยในการทำงาน
ของลูกจ้าง(จป.)
(ร้อยละ)
|
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
(ร้อยละ)
|
การจัดตั้งคณะกรรมการ
ความปลอดภัยฯ
(ร้อยละ)
|
เครื่องจักร
(ร้อยละ)
|
ไฟฟ้า
(ร้อยละ)
|
รวม สปก.ที่
ผิดกฎหมายความปลอดภัย
(ร้อยละ)
|
2551
|
19,173
(100%)
|
1,348
(7.0)
|
1,039
(5.42)
|
729
(3.8)
|
135
(0.7)
|
144
(0.75)
|
3,104
(16.19)
|
2550
|
19,864
(100%)
|
1,987
(10)
|
1,274
(6.41)
|
903
(4.55)
|
149
(0.75)
|
139
(0.7)
|
4,866
(24.5)
|
2549
|
20,026
(100%)
|
1,424
(7.11)
|
1,173
(5.86)
|
570
(2.85)
|
157
(0.78)
|
183
(0.91)
|
3,858
(19.26)
|
2548
|
19,000
(100%)
|
1,509
(7.94)
|
1,207
(6.35)
|
680
(3.57)
|
153
(0.80)
|
157
(0.83)
|
4,136
(21.77)
|
2547
|
23,938
(100%)
|
1,559
(6.51)
|
1,294
(5.41)
|
808
(3.38)
|
146
(0.61)
|
205
(0.86)
|
4,328
(18.08)
|
2546
|
61,647
(100%)
|
2,567
(4.16)
|
2,940
(4.77)
|
990
(1.61)
|
504
(0.82)
|
865
(1.40)
|
8,622
(13.99)
|
ที่มา: - สถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2546 (น.153), พ.ศ.2547 (น.153), พ.ศ.2548
(น.173),พ.ศ.2549 (น.173),พ.ศ.2550 (น.173),พ.ศ.2551 (รายงานความเคลื่อนไหวทาง
เศรษฐกิจ-แรงงานไตรมาส 4/2551 น.24-26)
หมายเหตุ - เรื่องที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องอื่นๆ (รวม12 เรื่อง) นอกเหนือจาก 5 อันดับแรกที่ไม่ระบุไว้ใน
ตารางได้แก่ภาวะแวดล้อม,สารเคมี,ประดาน้ำ,นั่งร้าน,ลิฟท์ขนส่งวัสดุ,ก่อสร้าง,ปั้นจั่น,ตอก
เสาเข็ม,อับอากาศ,สารเคมีอันตราย,หม้อน้ำ,ตกจากที่สูง
- สปก.ที่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัยเรื่องอัคคีภัยถ้าคิดรวมกับผิดกฎหมายความ
ปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เทียบกับสปก.ที่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัยฯทั้งหมดที่
ผ่านการตรวจพบว่า มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของทั้งหมด
ตารางที่ 2
การดำเนินการของเจ้าหน้าที่กับสถานประกอบการ
ที่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน (แห่ง)
ปี พ.ศ.
|
สถานประกอบการที่ผ่านการตรวจ
|
ผลการตรวจสอบ
|
แนะนำ
|
การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ (แห่ง)
|
|||||
ออกคำสั่ง
|
ส่งเรื่องดำเนิน
คดี
|
||||||||
ปฏิบัติถูกต้อง
|
ปฏิบัติผิด
|
ส่งเอกสาร
|
เชิญพบ
|
ปรับ
ปรุง
|
หยุดการใช้เครื่อง
จักร
|
||||
2551
|
19,173
|
16,069
|
3,104
|
2,916
|
26
|
51
|
92
|
0
|
41
|
|
|
|
(100%)
|
(93.94%)
|
(0.84%)
|
(1.64%)
|
(3%)
|
|
(1.32%)
|
2550
|
19,320
|
15,745
|
3,575
|
3,379
|
11
|
46
|
114
|
0
|
34
|
|
|
|
(100%)
|
(94.52%)
|
(0.31%)
|
(1.29%)
|
(3.19%)
|
|
(0.95%)
|
2549
|
19,820
|
17,163
|
2,657
|
2,555
|
18
|
54
|
31
|
0
|
22
|
|
|
|
(100%)
|
(96.16%)
|
(0.7%)
|
(2.03%)
|
(1.2%)
|
|
(0.8%)
|
ที่มา : สถานการณ์แรงงานไทยปี 2550 (มกราคม – ธันวาคม) น.98
รายงานความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ - แรงงานไตรมาส 4: ตุลาคม – ธันวาคม 2551, น.27
รายงานความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจ - แรงงานไตรมาส 4 : ตุลาคม – ธันวาคม 2549 น.25-
28
บรรณานุกรม |
มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน. 10 ปี 10 พฤษภา บทเรียนจากเพลิงมรณะโรงงานเคเดอร์
(บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ,บริษัท โปรโตไทป์ จำกัด,2546
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) จากเคเดอร์สู่ซานติก้าผับจนถึงเสือป่าพลาซ่า ภาพสะท้อนวิบัติ
ภัยที่คนไทยต้องจดจำ (ปัณณธร ชัชวรัตน์และคณะ บรรณาธิการ) กรุงเทพ : บริษัทศรีเมือง
การพิมพ์ จำกัด,2552.
นิตย์สาร Way. “Good bye Santika บทเรียนของจริงสำหรับผู้บริโภค”
ฉบับที่ 24.กรุงเทพฯ. บริษัท เป็นไท พับลิชชิ่ง จำกัด.น 46-49,2552
เนชั่นสุดสัปดาห์. โศกนาฎกรรมซานติก้า เฮียขาวกับผู้ถือกฎหมายใครต้องรับผิดชอบ ?
รายงานพิเศษ.9-15 มกราคม 2552 น.24.-25
บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ “บทวิเคราะห์ความรุนแรงของสถานประกอบการณ์ความปลอดภัยใน
สถานประกอบการ บทเรียนจากเพลิงนรกเคเดอร์ถึงรอยัล จอมเทียน” ในหนังสือความ
ปลอดภัยต้องมาก่อน, สิงหาคม 2540 : น.1-22 (มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน จัดพิมพ์)