Skip to main content
sharethis

 

 

 
เมื่อ วันที่ 9 พ.ค. 52 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่การจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน "กรณีโฉนดชุมชน" บ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง
นาย สาทิตย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเยี่ยมพื้นที่ในครั้งนี้ว่า "เนื่องจากคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่ง ประเทศไทย ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 6 ชุด อันมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ การศึกษากฎหมายและแนวทางการกระจายการถือครองที่ดิน โฉนดชุมชน และธนาคารที่ดิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้ 2 เรื่อง ทั้งโฉนดชุมชน และธนาคารที่ดิน สำหรับโฉนดชุมชนต้องดูพื้นที่ตัวอย่าง ต้องทำให้เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันการบุกรุกป่า และการรับรองสิทธิให้ชุมชนที่อยู่มาก่อนได้ทำกิน"
 
ด้าน นายอานนท์ ศรีเพ็ญ ตัวแทนองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ได้นำเสนอภาพรวมปัญหาและข้อเรียกร้องของเครือข่ายต่อนายสาทิตย์ว่า " เครือข่ายฯมีทั้งหมด 17 องค์กร ชุมชนทับเขือ-ปลักหมูก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายฯ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพื้นที่ชุมชนถูกประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขต อุทยานแห่งชาติ ได้สร้างให้เกิดความเดือดร้อนและความขัดแย้ง ถูกข่มขู่ คุกคาม ไร่ลื้อ เผาบ้านเรือนและทำลายทรัพย์สินของชาวบ้าน แม้ว่าเครือข่ายจะได้มีการรวมตัวกันต่อสู้เรียกร้องด้วยวิธีการต่างๆแต่ ปัญหาความขัดแย้งก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นข้อเรียกร้องของเครือข่าย คือ ให้รัฐสนับสนุนโฉนดชุมชนในที่ดินทำกินเดิมเพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดินรายย่อย ตกอยู่ในมือนายทุน รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน"
 
นาย สมนึก พุฒนวล ตัวแทนชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมูในฐานะเจ้าของพื้นที่ได้เล่าถึงประวัติชุมชน แนวคิดและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนว่า " มีหลักฐานที่สามารถสืบได้ว่าชุมชนมีการก่อตั้งมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ปี 2507 ชาวบ้านถูกคุกคามอย่างหนักในปี 2541 จะถางป่าปลูกต้นไม้ทำกินก็ไม่ได้ เพราะที่ดินถูกประกาศเป็นเขตป่า จึงได้มีการคิดค้นรูปแบบการจัดการโดยชุมชนขึ้นเพื่อพิสูจน์ความชอบธรรมของ การอยู่ในพื้นที่ เริ่มจากการวางแผนการจัดการ การทำแนวเขต การเตรียมรับรองสิทธิโฉนดชุมชน ที่ครอบคลุมถึง การจัดการป่า การจัดการระบบการผลิตที่รักษาระบบนิเวศน์ การจัดการสังคมและวัฒนธรรม มีระบบกติกาการรักษาดูแลทรัพยากร ป่า สายน้ำ ห้ามบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ห้ามวางยา ห้ามใช้สารเคมี"
 
สำหรับ การจัดการโฉนดชุมชน นายสมนึกได้ให้รายละเอียดทั้งในด้านแนวคิดและรูปแบบวิธีการไว้ว่า " เริ่มจากการรังวัดพื้นที่ทั้งหมดของชุมชนขึ้นมาเป็นโฉนด 1 ใบ ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้งชุมชน ที่ดินไม่สามารถซื้อขายได้ เพราะไม่ได้นิยามที่ดินว่าเป็นสินค้า แต่ที่ดินคือชีวิต ซึ่งชุมชนต้องมีแนวคิดเรื่องนี้ร่วมกันก่อน ถ้าสมาชิกต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอยู่ข้างนอก ก็จะมีธนาคารที่ดินของชุมชนรองรับ เพื่อซื้อขายให้ชุมชน ป้องกันไม่ได้ที่ดินหลุดมือไปอยู่กับคนนอก และพี่น้องที่ไม่มีที่ดินทำกินในชุมชนก็จะได้รับสิทธิการจัดสรรแทนตรงนี้ได้ ด้วย"
 
นายสาทิตย์ ได้กล่าวตอบการนำเสนอของชาวบ้านว่า "เข้าใจว่าทางฝายอุทยานฯมีข้อมูลการถือครองที่ดินของชุมชนชุดหนึ่ง 1,367 ไร่ และชาวบ้านก็มีข้อมูลของตนเอง ที่ต้องทำคือต้องมีการรังวัดที่ดินร่วมกันก่อน มีตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้านมานั่งคุยกัน ถ้าด้านไหนตรงกันให้เดินไปก่อน ถ้ามีข้อโต้แย้งจะมีกรรมการลงมาดู ทราบข้อเท็จจริงว่า ที่เป็นป่าการทำเแนวเขตมีหลักว่าจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลภายนอกมาบุกรุก เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องยาก ถ้ามีการบุกรุกเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่อุทยานต้องดำเนินการ ข้อตกลงคือในพื้นที่โฉนดชุมชนอุทยานต้องไม่เข้ามาคุกคาม ในส่วนนโยบายต้องเอาหลักคิดโฉนดชุมชนไปคุยร่วมกัน เพื่อให้มีมติครม.รองรับเพื่อให้การดูแลกันเองในชุมชนเจ้าหน้าที่อุทยานไม่ เข้ามายุ่งกับชุมชนที่มีการจัดการป่าอย่างสมดุลย์และยั่งยืน"
 

ใน ท้ายที่สุดเพื่อให้เกิดรูปธรรมการดำเนินการโฉนดชุมชนที่เริ่มจากชุมชนทับ เขือ-ปลักหมู และจะเป็นแนวทางการทำงานในพื้นที่อื่นตามมาด้วย ได้มีวงประชุมพูดคุยระหว่างนายสาทิตย์ หน่วยงานรัฐในพื้นที่ กับชาวบ้านในเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ซึ่งมีตัวแทนชาวบ้านจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ และกองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยร่วมด้วย โดยมีผลสรุปร่วมกันคือ จะมีการตั้งคณะกรรมการรังวัดพื้นที่โฉนดชุมชน ที่มีสัดส่วนตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 11 คน ตัวแทนชาวบ้าน 11 คน รวมทั้งหมด 22 คน ซึ่งจะมีการแต่งตั้งภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้ ในหลักการทำงานนั้นให้คณะกรรมการประชุมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์กรอบ แนวทางการสำรวจร่วมกัน โดยคณะกรรมการต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.52

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net