Skip to main content
sharethis

5 พฤษภาคม 2552
 
รายงานล่าสุดชี้ ประชาชนในรัฐกะเหรี่ยงเสี่ยงขาดแคลนอาหาร
องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง (The Karen Human Rights Group) ออก รายงานล่าสุดชี้ประชาชนในรัฐกะเหรี่ยงอาจเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร เนื่องจากเสบียงของชาวบ้านมักถูกกองทัพพม่าที่ประจำการอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ทำลายหรือยึดไป นอกจากนี้ชาวบ้านยังถูกทหารพม่าจำกัดในเรื่องการเดินทางในการไปซื้ออาหารจาก พื้นที่อื่น
 
ขณะเดียวกัน ชาวบ้านในรัฐชินบางพื้นที่ที่เผชิญกับการขาดแคลนอาหารมาตั้งแต่ปี 2550 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนแล้ว อย่างไรก็ตาม พบชาวบ้านในรัฐชินและรัฐกะเหรี่ยงป่วยเป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก และบางส่วนถึงขั้นเสียชีวิต (DVB)
 
 
7 พฤษภาคม 2552
 
พม่าประกาศเปิดให้ใช้อินเตอร์เน็ตเพียงสัปดาห์ละ 4 วัน
หลังถูกคณะกรรมการคุ้มครองสื่อ (The Committee to Protect Journalists) โจมตี ว่าพม่าเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่จำกัดสิทธิประชาชนในการเข้าถึงโลกออนไลน์มากที่สุด ทำให้ทางการพม่าไม่พอใจอย่างหนักและเตรียมสั่งร้านอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ เปิดให้บริการเพียงสัปดาห์ละ 4 วัน
 
ใน ปี 2546 พม่ามีร้านอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ 20 แห่ง ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น464 แห่ง ซึ่ง355 แห่งอยู่ในย่างกุ้ง แต่ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อน ทั้งนี้ ประชาชนในพม่าสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ (IMNA)
 
 
แรงงานพม่าที่แม่สอดประท้วงนายจ้าง
แรงงาน ชาวพม่าจากโรงงานเย็บผ้าแห่งหนึ่งใน อ.แม่สอด จ.ตาก ออกมาประท้วงหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อ.แม่สอด เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างไทยจ่ายค่าแรงในอัตราที่กฎหมาย รวม ถึงให้การดูแลในด้านสุขภาพของแรงงานอย่างเหมาะสม พร้อมจัดหาน้ำดื่มให้เพียงพอต่อจำนวนแรงงาน เพราะขณะนี้แรงงานพม่าส่วนมากยังได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานมีสภาพที่ย่ำแย่
 
ก่อน หน้านี้เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา แรงงานพม่าจากโรงงานดังกล่าวได้ยื่นจดหมายร้องเรียนไปยังสำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ถูกปฏิเสธในขั้นต้นและไม่ได้รับความสนใจจากนายจ้างจึงตัดสินใจออกมา ประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม
 
ขณะ ที่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติในไทยออกมาเรียกร้องทางการไทยให้ ความเสมอภาคและให้การคุ้มครองแก่แรงงานข้ามชาติเนื่องในวันแรงงานสากลที่ ผ่านมา (DVB)    
 
 
ทหารพม่าทิ้งลูกเมียชาวคะฉิ่นเพียบ
มี รายงานว่าหญิงชาวคะฉิ่น โดยเฉพาะชนเผ่าราวังในเมืองนองมง ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตปูเตา ทางตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ที่แต่งงานกับเจ้าหน้าที่ทหารพม่าถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น
 
ทั้งนี้ ทหารพม่าในเมืองนองมงเกือบทั้งหมดได้แต่งงานกับหญิงสาวในพื้นที่ แต่หลังจากถูกสั่งย้ายไปประจำในพื้นที่อื่นก็ทอดทิ้งลูกและภรรยา เนื่องจากครอบครัวไม่สามารถเดินทางติดตามไปกับสามีเพราะติดขัดเรื่องค่าใช้ จ่ายในการเดินทาง ทำให้เด็กที่เกิดจากทหารพม่าต้องกำพร้าพ่อเป็นจำนวนมาก
 
ประชาชน ในเมืองปูเตาเปิดเผยว่า ชนเผ่าราวัง จิ่งเผาะและลีซู ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ถูกทหารพม่ากดดันให้นับถือศาสนาพุทธและ เปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามวิถีของชาวพม่า ขณะที่หญิงพื้นเมืองจำนวนมากตกเป็นเครื่องมือของกองทัพพม่า ทั้งนี้ ชาวคะฉิ่นประกอบไปด้วยชนเผ่าหลัก 6 กลุ่มคือ ชนเผ่าจิ่งเผาะ ราวัง ลีซู อาชิ มารู ลาชิ (KNG)
 
 
8 พฤษภาคม 2552
 
พบท่อส่งก๊าซต้นเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชน
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแผ่นดินมอญ (Human Rights Foundation of Monland : HURFOM ) ออกรายงานล่าสุดชื่อ ‘Laid Waste: Human Rights Along the Kanbauk to Myaing Kalay gas pipeline’ ชี้ว่า ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่อาศัยใกล้กับท่อส่งก๊าซจากเมือง Kanbauk ไปยังเมือง Myaing Kalay ถูก ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารพม่า ทั้งการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งพบมีเด็กอายุเพียง 12 ปีรวมอยู่ด้วย และการยึดที่ทำกินของชาวบ้านไปกว่า 15,000 เอเคอร์ เป็นต้น
 
ใน รายงานระบุว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนทหารเข้ามาในพื้นที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับท่อส่งก๊าซ อย่างไรก็ตามท่อส่งก๊าซ Kanbauk - Myaing Kalay ซึ่งมีความระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมือง Kanbauk ในเขตตะนาวศรี และข้ามผ่านใน 5 เมืองในรัฐมอญก่อนที่จะไปสิ้นสุดที่เมือง Myaing Kalay รัฐกะเหรี่ยง ถูกนำไปใช้ในโรงงานซีเมนต์ซึ่งเป็นของกองทัพพม่า
 
อย่างไร ก็ตามรัฐบาลพม่ายังมีโครงการทำท่อส่งอีกหลายโครงการร่วมกับบริษัทต่างชาติ อย่างจีน ซึ่งจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกหลายแห่งในพื้นที่อื่นของประเทศ (DVB)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net