ตัวแทนเกษตรกรชี้ ร่าง พ.ร.บ. เกษตรกรแห่งชาติของกระทรวงเกษตรฯ เอื้อประโยชน์นายทุน

ขณะ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมนำร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรแห่งชาติที่อ้างว่าได้ผ่านการระดมความคิดเห็นจากเกษตรกรมา แล้วเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ทำไมยังถูกเกษตรกรและหลายองค์กรร่วมคัดค้าน ฟังทัศนะความคิดเห็นต่อเรื่องราวดังกล่าวของเกษตรกรตัวจริงเสียงจริง “สมศักดิ์ โยอินชัย” กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.) ผู้แทนกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับการเลือกตั้งจากเกษตรกร และเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรมายาวนาน
 
มอง ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติของรัฐบาลกำลังถูกบรรจุเป็นวาระการประชุมสมัยสามัญทั่วไป อย่างไร?
 
สมศักดิ์: ร่างพ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับของนี้มีปัญหา 4 ประเด็นสำคัญคือ
 
ประเด็น แรก กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาเป็นกระบวนการที่ให้ส่วนราชการเข้ามาเกี่ยวข้องค่อน ข้างเยอะซึ่งที่ผ่านมา หากร่าง พ.ร.บ.ฉบับไหนมีข้าราชการเข้ามามีส่วนเยอะเกินทำให้เกิดความขัดแย้ง เนื่องจากเป็นการบั่นทอนหรือลดการมีอำนาจของภาคประชาชน ร่างพ.ร.บ.สภาเกษตรฯฉบับนี้ก็เหมือนกัน
 
ประเด็น ที่สอง ให้อำนาจไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มากเกินไปโดยให้กระทรวงฯ เป็นสำนักเลขาฯ รัฐได้มีการเสนอแผนแม่บทเข้าคณะรัฐมนตรีแต่ต้องให้กระทรวงเกษตรฯ กลั่นกรองก่อน เสนอแผนนโยบายและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเสนอแนวทางประกันความเสี่ยงของ ผลผลิต ประสานความร่วมมือกับองค์กรในและต่างประเทศ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯเฉพาะ
 
ประเด็นที่ที่สามสัดส่วน ตัวแทนของเกษตรกรที่รัฐได้กำหนดตัวแทนเกษตรกรที่สภาเกษตรจังหวัดเสนอมาจาก องค์กรการเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนเกษตรกรจังหวัด ๗๖ คน ตัวแทนจากองค์กร ๑๖ คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ด้วยระบบฝ่ายรัฐสรรหา และไม่ได้กำหนดสัดส่วนเกษตรกรรายย่อย เนื้อหาหรือหัวใจหลักร่าง พ.ร.บ.เกษตรฯนี้ได้มีการระบุว่าเป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญ เพื่อคุ้มครองสิทธิเกษตรกร และส่งเสริมการรวมกลุ่มและเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่โครงสร้างของสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เขียนไว้นั้น เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มพ่อค้านายทุน และธุรกิจเกษตร ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรโดยตรง
 
ประเด็น ที่สี่ การกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่ไม่มีตัวแทนเกษตรกร จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มทุนเข้ามาหาผลประโยชน์ และจะทำให้สภาเกษตรกรไม่สามารถตอบสนองปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง เกษตรกรรายย่อยได้ตามเจตนารมณ์ของร่างฉบับประชาชน
 
ขอย้อนกลับไปที่ประเด็นเรื่องอำนาจ ของ พ.ร.บ. นี้ต่างกับพ.ร.บ.อื่นๆที่ประชาชนเคยต่อสู้อย่างไร?
 
สมศักดิ์: คิดว่าว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเหมือนกับ พ.ร.บ.ป่าชุมชน และพ.ร.บ.ชุมชนเมือง ที่โดยหลักการแล้วรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ประชาชนเสนอเข้ามา แต่แล้วพอมีการให้อำนาจกับกระทรวงต่างๆ ที่ผ่านมา เนื้อหาถูกบิดเบือน ส่วนภาคการเกษตรเราถือว่า พ.ร.บ. สภาเกษตรกรฯ ต้องเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของเกษตรกรที่ต้องได้รับการคุ้มครองในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านสิทธิต่างๆ รวมถึงการต่อรองของผู้ผลิตหรือผู้ที่มีอาชีพด้านเกษตรกรกรรม ที่สำคัญการผูกขาดการตลาดไม่ใช่ของใครแล้วเกตษรกรต้องมีอำนาจในการที่จะ กำหนด หรือมีทางเลือกที่หลากหลายกว่าที่ผ่านมา หมายความว่าอำนาจหน้าที่ต้องเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข้งกับเกษตรกร กำหนดอำนาจขององค์กรที่สัมพันธ์อยู่กับภาระหน้าที่องค์กร และจัดระดับอำนาจหน้าที่ในฐานะ สภาเกษตรกร
 
พ.ร.บ.สภาเกษตรฯ ที่เกษตรกรอยากให้เป็นแบบไหน?
 
สมศักดิ์: เกษตรกร เรามีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงไม่ผ่านกระทรวงเกษตรฯ ตั้งแต่การจัดทำแผนนโยบายยุทธศาสตร์ แผนช่วยเหลือจากภัยธรรมชาติ กำหนดหลักเกณฑ์การประกันราคาสินค้าการเกษตร จัดสมัชชาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ จังหวัด ประเด็น มีการประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากตัวเกษตรกรและข้อเสนอในระดับต่างๆ และเสนอความเห็นไปยังสภาเกษตรแห่งชาติโดยเกษตรกร ปัญหาคือเราจะขับเคลื่อนเพื่อผลักดันกันยังไงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เฉพาะ 19 เครือข่าย ต้องขายแนวร่วมมากกว่านี้ เพราะยังมีอีกหลายองค์กรที่ยังรับรู้ข้อมูลข่าวสารกันยังไม่ทั่วถึง
 
พ.ร.บ. ที่พูดถึงกันนี้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาชาวเกษตรกรได้อย่างไร?
 
สมศักดิ์: เป้าหมายของเราคือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการนโยบายการพัฒนา และระบบตลาดผูกขาดของภาคเกษตรกรรมไปสู่การฟื้นฟูศักยภาพของตัว เกษตรกร และระบบเกษตรกรรมไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กระบวนการบริหารจัดการจำเป็นต้องตระหนัก เป็นการแก้ปัญหาโดยการนำเอาหลักการ สิทธิเกษตร และเป็นเป้าหมายสภาเกษตรกร หรือการกำหนดขอบเขตการทำงาน การปฏิรูประบบกรรมสิทธิ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม เป็นประเด็นหลักแต่ ที่เป็นอยู่ปัจจุบันมีเพียงระบบกรรมสิทธ์รัฐและเอกชน
 
การ ทำให้เกิดความเข้าใจของการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเป็นเครือข่าย แต่ละเครือข่ายมีการสร้างตัวแทนของตนที่แท้จริงจะทำให้เกิดกระบวนการที่ เครือข่ายต่างๆ มากำหนดยุทธศาสตร์เพื่อไปสู่การพัฒนาและสิทธิเกษตรกรอย่างแท้จริง สิทธิเกษตรกรซึ่งสิทธิเหล่านี้ เช่น สิทธิในปัจจัยการผลิต สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร สิทธิในความมั่นคงของผลตอบแทนและ สิทธิในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่เป็นสิ่งสำคัญจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง สำคัญที่สุด คือ หลักประกันสิทธิเกษตรกร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างการรวมกลุ่ม นี่และเราถือว่าเป็นหลักปรัชญาของ ภาคการเกษตรเราเลย
 
สุดท้ายเมื่อพูดถึงการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีข้อเสนออย่างไรบ้าง?
 
สมศักดิ์: ข้อ เสนอของผมคือพูดตรงๆ เลยว่า 1. องค์กรที่จะทำหน้าที่ในการประสานแต่ละระดับจะเป็นใคร องค์กรไหน ทั้งในระดับภาคและระดับชาติ 2. กระบวนการที่จะระดมความคิดเห็นจากแต่ละส่วนต่างจะมีวิธีการยังไง เพื่อนำไปสู่ เสนอร่างคู่ขนานระหว่างรัฐหรือระดับชาติของภาคการเกษตรของเรา 3.บทบาทหน้าที่ของงานแต่ฝ่ายต้องชัดเจนในการจัดทีมทำงานเรื่อง ร่าง พ.ร.บ. สภาเกษตรกร นี้รวมถึงแหล่งงบประมาณหรือการระดมทุน
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท