Skip to main content
sharethis

 

เมื่อเวลา 09.30 – 12.00 น. วันที่ 13 พ.ค. 52 ที่โรงแรมพาวิเลี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะกรรมการไตรภาคี โรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 1/2552 โดยมีนายสนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมการเป็นประธาน มีคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน มีนายนูรุดดีน ดะแซสาเมาะ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารสังคม บริษัท ทรานส์ ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีทีเอ็ม (TTM) เจ้าของโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยในวาระเรื่องความคืบหน้าในการแก้ไขมาตรการการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ เอ็นจีแอล (NGL) นายนูรุดดีน ได้มอบหมายให้ตัวแทนบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจีเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด หรือ ยูเออี (UAE) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลาง รายงานความคืบหน้าในการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการขนส่งก๊าซ NGL เพื่อประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ (EIA) โรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซียตามที่ได้รับมอบหมาย
ตัวแทน UAE รายงานว่า เส้นทางขนส่งก๊าซ NGL ไปยังประเทศมาเลเซียตามสัญญาการส่งก๊าซที่ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางจากโรงแยกก๊าซจะนะ จังหวัดสงขลา ไปยังด่านชายแดนปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เส้นทางจากโรงแยกก๊าซจะนะไปยังด่านชายแดนบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และเส้นทางจากโรงแยกก๊าซจะนะไปยังคลังน้ำมันของบริษัท อากิ แบม ออยล์ จำกัด ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยผลการศึกษาทางด้านผลกระทบจราจรทั้ง 3 เส้นทางมีความคล่องตัว
ส่วนผลการศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยทีมงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จาก 1,200 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ดำเนินการ 3 ครั้ง พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบถึงการขนส่งก๊าซ NGL แต่ส่วนใหญ่คิดว่าไม่จะได้รับผลกระบทจากอุบัติเหตุ ฝุ่นละออง ถนนเสียหาย เสียงดังรบกวน และของเหลวรั่วไหลจากการขนส่ง
ขณะ ที่ทีมงานได้เสนอมาตรการให้พิจารณาดูด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร สามารถลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นว่ามีความเหมาะสม และส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการขนส่งดังกล่าวทั้งสามเส้นทาง รวมทั้งมีข้อเสนอให้เพิ่มมาตรการและเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูล รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการความปลอดภัยและการควบคุมการขนส่ง NGL โดยมาตรการการดังกล่าวมี 11 ข้อ
นาย โกษี กมลศิรินทร์ ผู้จัดการส่วนคุณภาพ ความปลอดทางด้านสิ่งแวดล้อม ทีทีเอ็ม กล่าวต่อที่ประชุมว่า เรื่องการขอเปลี่ยนแปลงการขนส่งก๊าซ NGL เนื่องจากเดิมจากการศึกษาปริมาณที่ได้และการส่งมอบก๊าซ NGL ให้เจ้าของคือ มาเลเซีย โดยผ่านทางท่อจากโรงแยกก๊าซจะนะไปยังท่าเรือขนส่งก๊าซ แต่เมื่อมีการดำเนินการ พบว่าปริมาณก๊าซ NGL ที่ได้มีน้อยกว่าการประมาณการในช่วงที่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมถึง 2 – 3 เท่าตัว ปัจจุบันมีก๊าซ NGL อยู่ประมาณ 24,000 ตัน ทำให้การขนส่งทางท่อในทะเล ไม่สามารถดำเนินการได้ ทีทีเอ็ม จึงเปลี่ยนแปลงการส่งมอบก๊าซ NGL โดยใช้สถานีสูบถ่ายที่โรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซียใส่รถบรรทุกขนส่งให้บริษัท เปโตรนาส
“เพราะ ฉะนั้น นายสิดทา ทาสิง ตัวแทนบริษัท เปโตรนาส ในฐานะบริษัทร่วมทุนของทีทีเอ็ม กล่าวต่อที่ประชุมว่า บริษัท เปโตรนาส ต้องการให้มีการขนส่งก๊าซ NGL โดยใช้เส้นทางจากโรงแยกก๊าซจะนะ ไปยังคลังน้ำมันของบริษัท อากิ แบม ออยล์ จำกัด ซึ่งจากการศึกษาของบริษัท ยูเออี ก็พบว่าเส้นทางนี้มีคะแนนความเหมาะสมสูงสุด ขณะเดียวกันตามเส้นทางนี้ก็ไม่มีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้านการขนส่ง ก๊าซ NGL จึงขอให้ที่ประชุมอนุญาตด้วย ขณะเดียวกันขณะนี้เปโตรนาสเองก็กำลังศึกษาเรื่องการวางทุ่นขนถ่ายสินค้าทาง ทะเล คาดว่าจะเสร็จในเดือนธันวาคม 2552
นายจรูญฤทธิ์ ขำปัญญา ผู้จัดการใหญ่ ทีทีเอ็ม กล่าวต่อที่ประชุมว่า การขนส่งก๊าซ NGL เป็นเรื่องของเจ้าของผลิตภัณฑ์ คือ บริษัท เปโตรนาส ที่ต้องการขนส่งในเส้นทางดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันทางทีทีเอ็ม ก็กำลังศึกษาเรื่องการขนส่งก๊าซ NGL ทางท่อด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีการขนส่งก๊าซ NGL ไปแล้วในเส้นทางดังกล่าว เพื่อขนส่งทางเรือต่อไปยังประเทศมาเลเซีย ส่วนผลกระทบต่างๆ ดูแล้วไม่มีผลกระทบอะไรมาก ก็คงไม่น่าจะมีปัญหา ในระยะนี้ก็ต้องขนส่งในเส้นทางนี้ไปก่อน
นาย สนั่น ลิ้มวิวัฒน์ จากสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ตั้งขอสังเกตกรณีการตอบแบบสอบถามว่า ในเมื่อมีผู้ที่ไม่ทราบข้องมูลเป็นส่วนใหญ่แต่ไปตอบว่าเห็นด้วยทั้งนั้น จึงเสนอให้กลับไปถามใหม่
นาย อัมพร ด้วงปาน กรรมการไตรภาคีฯ กล่าวต่อที่ประชุมว่า เท่าที่ผ่านมาที่มีปัญหา เนื่องจากระเบียบมีแต่ไม่ค่อยปฏิบัติตามกติกา กฎหมายมีแต่ใช้กฎหมายกันไม่ค่อยได้ เรื่องนี้ก็เช่นกัน เรื่องการขนส่งก๊าซทางบกต้องมีผลกระทบแน่นอนไม่มากก็น้อย ไม่เกิดตอนนี้ แต่อาจเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นทางที่ดีคือ กำหนดออกมากอย่างไรก็ให้เป็นอย่างนั้น บริษัทจะขาดทุนหรือมีกำไร ไม่ใช่เรื่องที่จะมามีผลกระทบกับชุมชน
นาย เฉลิม ทองพรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีการดำเนินการขนส่งก๊าซอยู่ ขณะเดียวกันก็ศึกษาไปด้วย น่าจะไม่ถูกต้อง มันต้องศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงดำเนินการได้
“ผล สำรวจที่ออกมาไม่สามารถสรุปได้เลยว่าชุมชนเห็นด้วยเลย ประเด็นที่หนึ่ง เนื่องจากประชาชนไม่มีฐานข้อมูล ไม่ทราบว่าตอนนี้ ทีทีเอ็มใช้การขนส่งทางบก แล้วมันจะเกิดอันตรายอะไรบ้าง มันจึงออกมาแบบไม่มีผลกระทบ เพราะไม่รู้” นายเฉลิม กล่าว
นายจรูญฤทธิ์ กล่าวตอบเรื่องดังกล่าวว่า การขนส่งก๊าซ NGL ทางท่อ เป็นเรื่องการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำมาเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ต้องดูว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ สิ่งที่เคยศึกษาไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี เพราะฉะนั้นข้อมูลเดิมมันใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีศึกษาเรื่องการลงทุนอีกเท่าไหร่
“การขนส่งก๊าซ NGL ทางรถยนต์ก็คือ น้ำมันเบนซินดีๆ นี่เอง การขนส่ง NGL ก็ทำอย่างปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรือสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม คือ ถ้ามีรถเพิ่มจะมีปัญหาเรื่องการจราจรอย่างไร” นายจรูญฤทธิ์ กล่าว
นาย สนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวต่อที่ประชุมว่า สมมุติฐานผิดกัน พวกหนึ่งเชื่อว่ามันมีอันตราย แต่นักวิชาการหรือคนที่ศึกษาบอกว่ามันก็เหมือนน้ำมันเบนซิน เพราะฉะนั้นตรงนี้มันไม่มีอันตราย เราต้องเป็นธรรมกับเขาด้วย
“ผมอยากให้พวกเราพิจารณาตัวเองด้วยว่า ถ้าเราให้ผ่านตรงนี้ เพื่อให้ สผ.พิจารณาอีกที ผมจะให้โหวด” นายสนธิกล่าว
จาก นั้นนายสนธิขอให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยยกมือ ปรากฏว่าไม่มีใครยกมือ แล้วก็ให้ทุกอย่างเป็นไปตามนั้น พร้อมกับกล่าวว่า ถ้าอยากให้ สผ. เห็นชอบก็ต้องดำเนินการตามมาตรการให้ได้ทั้ง 11 ข้อ
รายงานข่าวจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย อำเภอจะนะ ระบุว่า สำหรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย ไปยังประเทศมาเลเซียประกอบด้วย การขนส่งก๊าซทางท่อส่งก๊าซไทย – มาเลเซีย ได้แก่ ก๊าซมีเทน อีเทน โปรเพน ซึ่งขนส่งทางท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว ส่วนก๊าซหุงต้ม (LPG) ขนส่งทางท่องส่งก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ส่วน NGL หรือ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน ขนส่งทางรถยนต์
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า อย่างไรก็ตามในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ไม่ได้ระบุบทกำหนดโทษสำหรับเจ้าของโครงการที่ไม่ได้ดำเนินการตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ แต่อย่างใด
สำหรับ การแก้ไขมาตรการการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวตามที่ตัวแทนบริษัท ยูเออี นำเสนอ ทั้ง 11 มาตรการ ประกอบด้วย 1.การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ทราบเกี่ยวกับความปลอดภัยการป้องกันและการให้ ความรู้เพิ่มเติมกับประชาชนให้มีความเข้าใจ 2.การประสานงานที่มีความรวดเร็ว 3.การควบคุมการคัดเลือกคนขับรถที่จะมาปฏิบัติงานขนถ่าน NGL ต้อง มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง 4. มีการตรวจระดับแอลกอฮอและสารเสพติดในคนขับรถ 5.อบรมกฎระเบียบความปลอดภัย การระงับเหตุฉุกเฉินเบื้องต้นอย่างต่อเนื่อง 6.ห้ามจอดรถรายทางตลอดการเส้นทางการขนส่ง 7.การทำประกันภัยประเภทที่ 1
8. ติดตั้งถังดับเพลิงประจำรถ 9.กำหนดความเร็วรถที่ขนส่งและมีการติดป้ายที่ตัวถังรถที่ขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ เหลว 10. การติดระบุหมายโทรศัพท์ที่ตัวถังรถให้เห็นชัด ประชาชนหรือผู้พบเห็นสามารถที่จะโทรไปแจ้งได้หลังจากที่เห็นว่าขับเกินกว่า กำหนด 11.ให้การสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานบรรเทาสาธารณะภัยผ่านการให้ข้อมูลเชิง เทคนิคของ NGL และ 12.การสนับสนุนเครื่องมือความพร้อมของบุคลากรหน่วยงาน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net