รายงาน: รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2552 มอบแด่นักโทษการเมืองชาวพม่า “มิน โก นาย”

 
จากกวางจู 1980 ถึง พม่า 1988
นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มูลนิธิ 18 พฤษภาคม (May18 Foundation) สาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้เริ่มมอบ “รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน” (Gwang Ju Prize for Human Rights)แก่ นักสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นการรำลึกและสืบทอดอุดมการณ์การต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนชาวเกาหลีที่ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เป็นระยะเวลายาวนาน และเผชิญกับการปรามปรามอย่างโหดเหี้ยมทารุณจากกองทัพ
18 พฤษภาคม 1980 (2523)เสียง ปืนดังขึ้นจากฝ่ายทหารเพื่อหวังปราบปรามประชาชนชาวกลางจูที่ลุกฮือขึ้นเรียก ร้องประชาธิปไตย การต่อสู้เป็นไปอย่างยืดเยื้อหลายวัน และประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พวกเขาได้รับประชาธิปไตยที่เรียกร้องก็ต่อเมื่อ 8 ปีหลังจากนั้น หลังรัฐบาลเผด็จการชุน ดู ฮวาน ลงจากอำนาจ และชุน ดู ฮวาน คนเดียวกันนี้ ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตในปี 2539 ด้วยความผิดฐานสังหารหมู่ประชาชนในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2523 แต่ได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตในเวลาต่อมา
มูลนิธิ 18 พฤษภาคม เลือกเอาวันเริ่มแรกแห่งการเปิดฉากต่อสู้เป็นวันแห่งการรำลึก จัดกิจกรรมและมอบรางวัลแก่นักสิทธิมนุษยชนทุกๆ ปี โดยมีหลักการว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับรางวัล คือบุคคลหรือองค์กรในภูมิภาคเอเชียซึ่งทำงานสอดคล้องกับอุดมการณ์ของการลุก ขึ้นสู้ของประชาชนเกาหลีในวันที่ 18 พฤษภาคม 2523 นั่นคือการทำงานเพื่อหลักกาประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ
8 สิงหาคม 1988 (2531) ภายหลังการกดขี่เป็นเวลายาวนานของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า นักศึกษาและประชาชนได้ลุกขึ้นสู้ เป็นเหตุการณ์ที่ถูกจดจำด้วยตัวเลขสี่ตัวว่า8888 (วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988) เหตุการณ์ ครั้งนั้นจบลงด้วยการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้คนเรือนหมื่น ผู้นำนักศึกษาหลายคนเลือกหลบหนีออกนอกประเทศ และหลายคนเลือกหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศพร้อมๆ ไปกับปฏิบัติการใต้ดินเพื่อขับเคลื่อนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย หลายๆ คนถูกจับกุมคุมขังภายหลังจากนั้น มิน โก นายเป็นหนึ่งในจำพวกหลัง
นักโทษการเมือง (เสมือน)ตลอดกาล
มิน โก นาย เป็นลูกผสมระหว่างมอญและจีน เกิดเมื่อวันที่ 18  ตุลาคม  2505 ในกรุงย่างกุ้ง พ่อและแม่ของเขาอพยพจากรัฐมอญ ขณะที่เขากำลังศึกษาในกรุงย่างกุ้ง ในปี  2531 (1988) เขาดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์นักศึกษาพม่า (All Burma Federation of Student Unions - ABFSU)
ภาพของ มิน โก นาย จาก Facebook ที่เจ้าตัวไม่ได้เปิดอ่าน

 
มิน โก นาย จัดตั้งและจัดการองค์กรสหพันธ์นักศึกษาทั่วสหพันธรัฐพม่า All Burma Federation of Student Unions (ABFSU) ซึ่งเป็นองค์กนนักศึกษาที่ต่อต้านการปกครองภายใต้กติกาอันไม่ชอบธรรมของ รัฐบาลบทหาร และสหพันธ์นักศึกษานี้ได้ขยายขึ้นจนกระทั่งเกิดการลุกฮือในเหตุการณ์ 8888 ซึ่งมีผู้คนเรือนแสนออกมาร่วมเดินบนท้องถนนเพื่อต่อต้านระบบเผด็จการและ เรียกร้องประชาธิปไตย และเหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงด้วยการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้คนจำนวนกว่า หมื่นคน
หลัง เหตุการณ์ มิน โก นายต้องหันมาสู้ด้วยยุทธวิธี “ใต้ดิน” เพื่อดำเนินงานขององค์กรต่อไปและต้องค่อยหลบๆ ซ่อนๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อหลบหนีการจับกุมของทางการ แต่หลังจากที่ใช้ชีวิตใต้ดินอยู่ไม่กี่เดือนเขาก็ถูกจับกุมพร้อมกับนักศึกษา อีกหลายคนและถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี เขาได้รับการลดโทษลงเหลือโทษจำคุก 10 ปี จากการอภัยโทษเป็นการทั่วไปของทางการ อย่างไรก็ตาม กรณีของเขาเป็นกรณีหนึ่งที่องค์กรนิรโทษกรรมสากลดำเนินการรณรงค์เรียกร้อง ให้ปล่อยตัว
ใน ระหว่างการจองจำ เขาถูกกระทำทรมานและทารุณกรรมซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเขา รายงานขององค์กรนิรโทษกรรมสากลระบุว่าเขาถูกบังคับให้ยืนในน้ำจนกว่าจะล้มลง ไปเอง ซึ่งส่งผลให้เท้าซ้ายของเขาหมดความรู้สึก เขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 19 พฤศจิกายน ปี 2547หลังจากที่ถูกคุมขังเป็นเวลา 15 ปี
สองปีให้หลัง เขาถูกจับกุมอีกครั้งพร้อมๆ กับอดีตผู้นำนักศึกษา 4 คนในปลายเดือนกันยายน  2549 ซึ่งทางการเพียงแต่แจ้งว่าจับกุมเพื่อสอบถาม แต่ท้ายที่สุดก็ยอมรับว่าได้ทำการจับกุมบุคคลทั้ง 5 จริง หลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การจับกุมครั้งนั้นอย่างกว้างขวางและมีการ เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม มิน โก นายก็ได้รับอิสรภาพอีกครั้งในวันที่ 11 มกราคม 2550
เขาถูกจับกุมอีกครั้งในกลางดึกของวันที่ 21 สิงหาคม 2550 ร่วมกันกับเพื่อนนักกิจกรรมอีก 13 คนซึ่งดำเนินการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าเขาถูกพิพากษาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ต้องโทษจำคุก 65 ปีเช่นเดียวกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆ อีก 22 คน โดยมิน โก นาย ถูกส่งตัวไปจำคุกที่เรือนจำในรัฐฉาน
ผลจากการถูกกักขังเป็นเวลานาน เมื่อปี 2547 ซึ่งผู้สื่อข่าวพิเศษจากหนังสือพิมพ์มิซซิมมา (mizzimma)ได้ รับอนุญาตให้เข้าไปพบเขาขณะที่เขาถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำอินเส่ง รายงานว่าเขามีอาการประสาท สับสน สุขภาพเสื่อมโทรมและร่างกายซูบผอม ขณะนี้สุขภาพของมิน โก นายอยู่ในภาวะวิกฤต เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต ขาซ้ายไม่มีความรู้สึก และผลจากการถูกขังเดี่ยวเป็นเวลานาน ทำให้เขามีปัญหาการได้ยิน และสายตามีปัญหา เนื่องจากเขามีอาการอักเสบที่ตา
ในช่วงเวลาที่เขาได้รับอิสรภาพระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม 2550B มิน โก นายได้ร่วมกับผู้นำนักศึกษาคนอื่นๆ จัดตั้งกลุ่มรุ่น 88 ขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย
นอกเหนือจากรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับจากมูลนิธิ 18 พฤษภาคม สาธารณรัฐเกาหลีใต้แล้ว มิน โก นาย เคยได้รับรางวัล the Civil Courage Prize 2005 จาก People in Need Foundationในปี 2548,  the Student Peace Prize ในปี 2544 และ the John Humphrey Freedom Award ในปี 2542
เฟซบุ๊กของมิน โก นายระบุว่า ข้อความต่างๆที่เขียนสื่อสารถึงเขาในเฟซบุ๊กจะถูกส่งตัวให้กับเจ้าตัวเมื่อเขาได้รับอิสรภาพ
รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2552 มอบแด่ มิน โก นาย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 มูลนิธิ 18 พฤษภาคม แถลงอย่างเป็นทางการว่า ผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2552 ได้แก่ มิน โก นาย ผู้นำนักศึกษาพม่านักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตย

สัญลักษณ์รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน

“คณะกรรมการรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2552 เลือกนายมิน โก นาย เป็นผู้ได้รับรางวัลดังกล่าว มินโกนาย และผู้ร่มอุดมการณ์ได้อุทิศตนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และด้วยการอุทิศตนนี้เราจึงปรารถนาที่จะจดจำและแบ่งปันเฉกเช่นที่เรารำลึก ถึงการต้อสู้ในเหตุการณ์กวางจู 18 พฤษภาคม  คณะ กรรมการมีความปรารถนาอย่างจริงใจว่า มิน ก นาย และเพื่อนร่วมอุดมการณ์จะได้รับการปล่อยตัวเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหวังว่าประชาธิปไตยจะได้หยั่งรากเติบโตอย่างแท้จริงในประเทศแห่งนี้”
คำแถลง ดังกล่าวระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในพม่ายังคงเลวร้าย แม้ในขณะนี้ นักกิจกรรมที่เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนมากยังคงถูกคุมขังอยู่ในคุกที่หนาว เย็น ประชาสังคมระหว่างประเทศได้กดดันรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าให้คำนึกถึงประโยชน์ ของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย หากทว่าก็ยังมีอีกหลายประเทศที่หูทวนลมต่อการเรียกร้องดังกล่าวเนื่องจากผล ประโยชน์
หลัง จากที่รัฐบาลทหารพม่าได้บดขยี้ “การปฏิวัติชายจีวร” ลงด้วยการปราบปรามอย่างทารุณ ผู้แทนพิเศษองค์การสหประชาชาติ นายอิบราฮิม กัมบารี เดินทางไปเยือนพม่า พบกับนางอองซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อปี 2551 อย่างไรก็ตามความพยายามของนานาชาติที่เรียกร้องต่อภูมิภาคนี้ยังคงไร้ผล
ในวันที่ 18 พฤษภาคม รางวัลดังกล่าวจะถูกส่งมอบผ่านตัวแทนของ มิน โก นาย ซึ่งขณะนี้ยังคงถูกจองจำอยู่ในเรือนจำรัฐฉาน ด้วยโทษจำคุก 65 ปี หลังจากถูกจับกุมครั้งหลังสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 สิ่งที่เขาจะได้รับผ่านตัวแทนประกอบไปด้วยโล่รางวัล ประกาศนียบัตร และเงินจำนวน 50,000,000 ล้านวอน หรือประมาณ 1,500,000 บาท
 
รายชื่อผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนก่อนหน้านี้
  • ปี 2543 นายซานานา กุสเมา ประธานาธิบดีติมอร์ตะวันตก
  • ปี 2544 นายบาซิล เฟอร์นันโด ประธานคณะกรรมการสิทธมนุษยชนแห่งเอเชีย
  • ปี 2545 Korean Association Bereaved Families for Democracy
  • ปี 2546 แดนดนียา กามาช จายันติ (Dandaneya Gamage Jayanti)
  • อนุสรณ์สถานผู้สูญหาย ศรีลังกา (Monument of the disappeared, Srilanka)
  • ปี 2547นางอองซาน ซูจี ประธานพรรค NLD สหภาพพม่า
  • ปี 2548 นางวาดาห์ ฮาฟิด ผู้อำนวยการ สมาพันธ์คนจนเมือง (Urban Poor Consortium - UPC) อินโดนีเซีย
  • ปี 2549 นางอังคณา นีละไพจิตร ประเทศไทยและมาลาไล โจยา สมาชิกวุฒิสภา ปากีสถาน
  • ปี 2550 ชา มีล่า อีรอม ผู้อดอาหารเรียกร้องสันติภาพให้กับจังหวัดมานิปุร์ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และ เลนิน รากูวานชิ นักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในอินเดียตอนเหนือ
  • ปี 2551  มุนีร์ มาลิก ทนายชาวปากีสถาน
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2549 – 2551
ข้อมูลอ้างอิง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท