รายงานจากสหประชาชาติ : ชุมชนแออัดที่เพิ่มสูงขึ้น มีความเสี่ยงประสบภัยธรรมชาติมากขึ้น

สหประชาชาติรายงานที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า การขยายพื้นที่อย่างรวดเร็วของชุมชนแออัดในเมืองทั่วโลกและการเปลี่ยนแปลง ด้านสภาพอากาศอย่างฉับพลันทำให้ความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติขั้นร้ายแรง (megadisasters) เช่น อุทกภัยและพายุไซโคลน เพิ่มสูงขึ้น

 

งาน วิจัยที่ทำการศึกษาธรรมชาติการของเกิดภัยพิบัติและวางแผนเพื่อลดความรุนแรง จากภัยพิบัติยังได้ระบุไว้ว่า คนกว่าล้านคนในเขตชนบท มีความเสี่ยงสูงกว่าในการเผชิญกับภัยธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม เนื่องจากป่าถูกทำลายหรือจากความแห้งแล้งที่มาจากการลดลงอย่างเฉียบพลันของ ปริมาณน้ำฝน

 

รายงานที่ยาวเกือบ 200 หน้ายังได้ระบุการเตือนภัยจากงานวิจัยก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเติบโตของ เมืองที่ไม่ได้รับการตรวจสอบและการวางผังที่ขาดความรอบคอบในชนบท นอกจากนี้ยังได้มีการค้นหาความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างการ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศกับจำนวนและความถี่ของการเกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงภัยแล้งร้ายแรงกับพายุชุดใหญ่ด้วย

 

ใน รายงานที่เผยแพร่ในประเทศบาห์เรนระบุว่า "การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติและความยากจนเพิ่มสูงขึ้น ในแง่หนึ่งมันก็ทำให้ภัยจากภูมิอากาศและจากสภาพอากาศเพิ่มสูงขึ้น ในอีกแง่หนึ่งมันก็ทำให้ครอบครัวและชุมชนที่ยากจนมีความสามารถในการรับมือ กับสถานการณ์และการฟื้นฟูตัวเองลดลง"

 

รายงานระบุว่า ในตอนนี้มีประชากรอย่างน้อย 900 ล้านคนอาศัยในหมู่บ้านที่เป็นกระท่อมและในสถานที่อาศัยชั่วคราวในเมืองที่ ไม่สามารถต้านทานกับภัยธรรมชาติจำพวกพายุไซโคลน อุทกภัย หรือ แผ่นดินไหว ได้ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้มีแนวโน้มสูงขึ้นราว 25 ล้านคนต่อปี

 

มีตัวอย่างที่ทำนายว่าประชากรจำนวนมากในกรุงมะนิลาที่มีประชากรมากกว่า 19 ล้านคน อาจถูกคลื่นสึนามิท่วมถึง ส่วนอินเดีย จีน และส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบกับภัยธรรมชาติร้ายแรง (megadisasters) เช่น พายุไซโคลนนาร์กีสเมื่อปีที่แล้ว ที่คร่าชีวิตชาวพม่าไปราว 140,000 คน และแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในจีนที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 90,000 คน และทำให้อีก 5 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย

 

บัน คิมูน เลขาธิการสหประชาชาติผู้ที่กำลังอยู่ในบาห์เรนเพื่อเผยแพร่รายงานกล่าวว่า "เอเชียจะได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ" โดยเขาได้บอกอีกว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกมากกว่า 300 ครั้งเมื่อปีที่ผ่านมาสร้างความเสียหายกว่า 1 แสน 8 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 6 ล้านล้าน บาท)

 

รายงาน ยังได้ระบุอีกว่า "ความเกี่ยวเนื่องระหว่างความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติ ความยากจน และ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ...ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างหลวม ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโลก"

 

แอน ดรูว มาส์ครีย์ ผู้เขียนรายงานบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะยับยั้งผู้คนจากการอพยพข้ามถิ่น เพื่อหางาน "แต่มันมีหนทางที่จะบรรเทาสภาพความยากจนข้นแค้น หากผู้นำเลือกจะเคลื่อนไหว" เขากล่าวต่อ "ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะมีความมุ่งมั่นทางด้านการเมืองไหม"

 

มาส์ ครีย์แนะให้ริเริ่มกระทำการกับเมืองหลายเมือง รวมถึง โบโกต้าของโคลัมเบีย และ การาจีของปากีสถาน โดยบอกให้มีการพยายามพัฒนาสภาพการตั้งถิ่นฐานที่ไม่มีการรับรอง และที่อยู่แบบหมู่บ้านเพิงกระท่อมของประชาชน

 

"ปัญหา คนจนเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอพยพย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดตามกันมา" มาส์ครีย์กล่าว "เรากำลังพูดว่า สิ่งนี้บ่งบอกถึงหายนะที่กำลังใกล้เข้ามา แต่มันก็ยังมีอะไรบางอย่างที่เราทำได้ เพื่อทำให้ความเสี่ยงลดลง"

 

ที่มา: แปลจาก

 

UN: Growth of slums boosting natural disaster risk, AP, Brian Murphy, 17-05-2009

http://news.yahoo.com/s/ap/20090517/ap_on_re_mi_ea/ml_un_disaster_risks

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท