Skip to main content
sharethis

 

20 .. 52 - “กองทุน สำรองเลี้ยงชีพ” สวัสดิการสำคัญอันหนึ่งที่นายจ้างจัดสรรให้แก่แรงงาน กำลังถูกผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อนายจ้างที่แสดงความประสงค์จะขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราว สูงถึง 229 ราย มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 5,580 ล้านบาท ซึ่งจะมีลูกจ้างกว่า 50,606 คน อาจได้รับผลกระทบ

น.ส.อารยา ธีระโกเมน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม) เปิดเผยว่า จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 มีจำนวนนายจ้างที่แสดงความประสงค์จะขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราวสูงถึง 229 นายจ้าง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 5,580 ล้านบาท มีจำนวนลูกจ้างที่อาจได้รับผลกระทบ 50,606 คน เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้า ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ที่มีจำนวน 150 นายจ้าง มูลค่าสินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,462 ล้านบาท และจำนวนลูกจ้างที่อาจได้รับผลกระทบ 23,256 คน

โดย ธุรกิจที่ขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราวมีทั้งในส่วนธุรกิจผลิตและ ขายส่ง ผลิตและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขนส่ง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจำนวนนายจ้างที่ประสบปัญหาเพิ่มขึ้นจากเดือน กุมภาพันธ์ สมาคมเล็งเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อ สมาชิกกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้ออมในวัยชรา ลดปัญหาการพึ่งพิงผู้อื่น และแบ่งเบาภาระของรัฐบาล การที่นายจ้างไม่สามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนจนถึงขั้นต้องปิดกองทุนจะส่ง ผลกระทบอย่างมากต่อเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกกองทุน อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินออมที่ควรได้รับเมื่อเกษียณอายุก็จะหมด ไปด้วย

แต่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าว สมาคมจึงนำส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พิจารณาอนุมัติให้นายจ้างที่ประสบปัญหาด้านการเงินหยุดนำส่งเงินเป็นการ ชั่วคราวอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังต่อไป

ภาพรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทยในระบบสากล ถือว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่นายจ้างให้กับแรงงานงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่พนักงาน เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานให้นายจ้างนานยิ่งขึ้น

สำหรับ สถานการณ์ล่าสุดเดือน มีนาคม 2552 พบว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2551 ทั้งในด้านจำนวนกองทุน จำนวนสมาชิก จำนวนนายจ้าง ตลอดจนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของ NAV ก็ ยังเติบโตในอัตราที่น้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามผลตอบแทนการลงทุนที่ลดลงจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก ตลอดจนการเมืองในประเทศ ซึ่งมีผลต่อความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นและอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ ขณะที่ในช่วงต้นปี 2552 นายจ้างบางส่วนเริ่มขอปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อปรับลดต้นทุนของบริษัท

สำหรับ การขยายตัวมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตั้งแต่ปี 2545-2550 เป็นต้นมา พบว่ามีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12.13% แต่ในปี 2551 ซึ่งบรรยากาศการลงทุนไม่เอื้ออำนวยเนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลให้ NAV ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาพรวม ขยายตัวเพียง 5.34% จากปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพล่าสุดในวันที่ 31 มี.ค.2552 อยู่ที่ 471,335.88 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวของ NAV เท่ากับ 4.00% จากสิ้นเดือน มี.ค.2551 โดยเป็นอัตราที่ชะลอลงจากปีที่ผ่านๆ มา ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของ NAV ที่ สำคัญมาจากการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ดิ่งลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบจากปี ก่อนหน้า โดยพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับลงอย่างรุนแรงถึง 44% ในปี 2551

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนกองทุน พบว่าตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา จำนวนกองทุนเริ่มปรับลดลงมาเรื่อยๆ โดยสาเหตุน่าจะมาจากการที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนใหญ่มักจะเลือก ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบกองทุนร่วมหรือ Pooled Fund มาก ขึ้นเนื่องจากมีเงินลงทุนไม่มากนัก รวมทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนอีกด้วย ซึ่ง บลจ.ก็จะนำเงินกองทุนจากบริษัทต่างๆ มาบริหารภายใต้หนึ่งกองทุน โดยล่าสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีจำนวนทั้งสิ้น 519 กองทุน

เมื่อ พิจารณาถึงจำนวนสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันที่ 31 มี.ค.2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,061,400 ราย เพิ่มขึ้น 103,596 ราย จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (ณ วันที่ 31 มี.ค.2552) ในขณะที่จำนวนนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีจำนวน 10,028 ราย เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2551 ทั้งสิ้น 981 ราย

เมื่อ พิจารณาการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน พบว่า บลจ.เพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปยังพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งจะพบว่าในปี 2550 เป็นต้นมา การจัดสรรการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันสูงเกินกว่า 40% ส่วนการจัดสรรเงินลงทุนไปยังหุ้นกู้ภาคเอกชนและเงินฝากไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่สัดส่วนลงทุนในตราสารทุนในช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (ปี 2546-2550) มีค่าเฉลี่ยประมาณ 12% หลังจากนั้นมาในปี 2551 และต้นปี 2552 ก็ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 7%

ส่วนการจัดสรรเงินลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลงทุนในตราสารหนี้มากที่สุดถึง 77.5% ของ NAV (แบ่ง เป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 46.3% หุ้นกู้ 20.4% และตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน 10.8%) ตามด้วยการลงทุนในเงินฝากธนาคารและบัตรเงินฝาก 13.2% และตราสารทุน 7.0%

วิเคราะห์สถานการณ์ในปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกร ได้วิเคราะห์แนวโน้มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2552 โดยคาดว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) น่าจะยังขยายต่อไปได้ จากนโยบายการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของไทยที่ค่อนข้างจะเป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Portfolio) ซึ่ง จะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน หรือเงินฝาก ทำให้การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเผชิญความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะการลงทุนที่ไม่เอื้ออำนวย ตลอดจนความเปราะบางของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงขาดเครื่องชี้ที่สะท้อนสัญญาณ การฟื้นตัวที่ชัดเจน รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย อาจทำให้การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2552 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

1) ด้าน การลงทุน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การกระจายเงินทุนในตลาดต่างๆของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังเผชิญความผันผวนและ หลากปัจจัยเสี่ยง กล่าวคือการลงทุนในตราสารหนี้อาจเผชิญแรงกดดันจากการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อ และอุปทานพันธบัตรรัฐบาลในช่วงปลายปี

2) ด้าน จำนวนสมาชิก ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย ยังอาจนำมาสู่ปัญหาการว่างงาน การลดคนงาน และการชะลอการจ้างงาน อันอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของจำนวนสมาชิกกองทุนฯ ตลอดจนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิได้เช่นกัน โดยมีความเป็นไปได้ว่าอัตราการเติบโตของจำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน ปี 2552 มีโอกาสต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาที่ประมาณ 7-8%

3) ด้าน นายจ้างและการส่งเงินสมทบ จากปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและและความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งนำมาสู่ปัญหาความผันผวนและการชะลอตัวของกระแสรายรับในภาคธุรกิจ ได้ส่งผลให้ในช่วงต้นปี 2552 นายจ้างที่เคยจ่ายเงินสมทบเกินอัตราขั้นต่ำที่ 2% บาง ส่วนเริ่มขอปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้นเพื่อเป็นการ ปรับลดต้นทุนของบริษัท ขณะที่ ล่าสุด กลุ่มนายจ้างก็ได้ปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการขอหยุดนำส่งเงินเข้ากองทุน เป็นการชั่วคราวไปยัง กลต. และกระทรวงการคลัง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็ยังไม่ได้ผ่อนผันในประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2552 ที่ ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คาดว่าอาจมีนายจ้างพิจารณาทางเลือกในการปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนสำรอง เลี้ยงชีพเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของ NAV กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

 

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร [3]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น  เงิน ของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม" และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" นั่นคือ นอกจากลูกจ้างจะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยลูกจ้างออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ  จึง อาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างนานๆ  

 

การ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และมีนายจ้างช่วยออมแล้ว ยังมีการนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผลงอกเงยโดยผู้บริหารโดยมืออาชีพที่เรียก ว่า "บริษัทจัดการ" โดยดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคนตามสัดส่วนของเงิน ที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน

 

เงิน ออมของสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตจากเงินสะสมและเงินสมทบที่ต้อง มีการนำส่งเข้ากองทุนทุกเดือน รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุน อย่างไรก็ดี กองทุนจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลให้สมาชิก เนื่องจากจะสะสมยอดเงินทั้งหมดให้เป็นก้อนใหญ่ เพื่อเก็บไว้รอจ่ายคืนให้สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น เมื่อลาออกจากงาน นอกจากนี้ กองทุนจะไม่ให้สมาชิกถอนเงินออกบางส่วน เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกนำเงินไปใช้ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการออมเงินเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ

 

สมาชิก กองทุนมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวนทุกกรณี พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม สำหรับในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบ สมาชิกจะได้รับตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ซึ่งสมาชิกสามารถขอดูรายละเอียดของข้อบังคับกองทุนได้ที่คณะกรรมการกองทุน

 

ใน กรณีที่มีการเปลี่ยนงาน สมาชิกอาจขอคงเงินไว้ในกองทุนของนายจ้างเดิมเป็นการชั่วคราวเพื่อรอโอนเงิน จากกองทุนเดิมไปออมต่อในกองทุนนายจ้างรายใหม่ ซึ่งเป็นการออมอย่างต่อเนื่องในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เพื่อสมาชิกจะได้มีเงินออมจำนวนที่มากพอเมื่อถึงวันเกษียณอายุ และมีชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีคุณภาพ  นอกจากนี้ การออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้จนเกษียณอายุ เงินที่รับออกจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนด้วย

 

 

 

 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

แนวโน้มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปี 2552...NAV อาจเติบโตต่ำสุดในรอบ 7 ปี (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 15-05-2552)

สมาคม บลจ.อ้อนคลังผ่อนปรน (เว็บไซต์ไทยรัฐ, 19-05-2552)

www.thaipvd.com/thaipvd_v3/gettingstart/gettingstart.shtml

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net