ชีวิตคนเก็บขยะที่แม่สอด

 

ภาพโดย

: K’hsei wa

 

ใต้ แสงแดดอันร้อนระอุบริเวณที่ทิ้งขยะของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ท่ามกลางกองขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นสารพัดกลิ่นแย่ๆ พร้อมกับแมลงวันบินว่อนมาเกาะมาตอมกองขยะอย่างไม่ขาดช่วง และไม่แยแสต่อกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นั้น และที่นั่นมีผู้ที่หาของเก่าขายนับร้อยชีวิตทั้งเด็กและผู้ใหญ่ พวกเขาพยายามเก็บเศษกระป๋อง ขวดแชมพู ขวดพลาสติก ที่กระจัดกระจายอยู่ ที่ละใบ ทีละชิ้น มากองรวมกันไว้บนเสื่อที่วางอยู่ตรงหน้าอย่างไม่ย่อท้อ และมองหาเศษขยะจากผู้มีอันจะกินมาทิ้งเรี่ยราด เพื่อคัดเลือกเอาสิ่งที่ใช้ได้ตามที่พวกเขาพอใจ

 

ทีหม่องละ (นามสมมติ) หนึ่งในบรรดาพี่น้องชาวพม่าที่มีอาชีพหาของเก่าบริเวณชายแดนไทย- พม่า ที่ อ.แม่สอด ซึ่งเป็นที่ทิ้งขยะขนาดใหญ่แหล่งที่สองในบริเวณนั้น ได้บรรยายถึงสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าคนเก็บขยะที่แม่สอด

 

สิ่ง ที่ปรากฏเหล่านี้สืบเนื่องมาจากความอดอยากซึ่งมาจากการปกครองด้วยระบบทหาร ที่มีการกีดกันกดขี่ ขูดรีดประชาชนในประเทศพม่านำมาสู่การออกจากชุมชนเพื่อเข้าสู่ระบบการขาย แรงงานในด้านต่างๆ นับหลายพันคน บริเวณชายแดนไทย-พม่า ที่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวพม่าที่ไปมาระหว่างอำเภอแม่สอดของไทย

 

ด้วย ภาพของความเป็นชาวพม่าหรือแรงงานต่างด้าว นายจ้างหรืองานส่วนใหญ่ที่ชาวพม่าได้ทำ คือ งานบ้าน งานร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป ร้านเย็บผ้า งานกรรมกรก่อสร้าง และงานด้านภาคการเกษตร และพี่น้องชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในเขตแม่สอดด้วยงานที่ว่าค่าจ้างขั้นต่ำสุด อยู่ที่ 500 บาทไทยต่อเดือน ส่วนค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 6,000 บาทไทยต่อเดือน

 

งาน เหล่านี้นายจ้างที่รับคนงานมาส่วนใหญ่ จะต้องเป็นแรงงานที่มีพละกำลังหรืออยู่ในวัยหนุ่มและต้องทำงานทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง อย่างไรก็แล้วแต่ งานเหล่านี้ไม่ได้รองรับคนพม่าที่เข้ามาได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น อาชีพการเก็บของเก่าขายที่มีคนทำมากมายเช่นนี้จึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ ชาวพม่าหามาเลี้ยงชีพ พอประทังชีวิตไปวันๆ เท่านั้น

 

ทีหม่อง ละ กล่าวต่อว่า งาน ที่ผมทำอยู่ปัจจุบัน เปรียบเหมือนเป็นงานหลักของผมไปแล้ว ผมได้ทำงานนี้มา 5 ปี หากทำได้ก็พอที่จะมีกิน ในขณะที่ภรรยาของผมก็ได้ตายจากไปในบริเวณนี้เมื่อปีที่แล้ว ปัจจุบันจึงเหลือแต่ผมกับลูกชายวัย 7 ขวบอีกหนึ่งคน

 

ที หม่องละ ได้อาศัยอยู่กับกองขยะโดยการสร้างเพิงพักจากเศษผ้าเต้นท์ ถุงพลาสติก ชิ้นเล็กชิ้นน้อย เสื่อที่เขาไม่ใช้กันแล้ว และชิ้นส่วนจากอย่างอื่นที่พอใช้ได้ เป็นแหล่ง ที่นอน ที่กิน และเป็นที่หลบแดดหลบฝน

 

ใน การเก็บของเก่าขาย (เก็บขยะ) จึงเป็นที่อันตรายมาก โดยเฉพาะด้านสุขภาพของผู้เก็บขยะ แต่พี่น้องชาวพม่าไม่มีทางเลือกอื่น จึงเลือกอาชีพการเก็บของเก่าขาย นอกจากการหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะขายแล้วชาวพม่ายังใช้เป็นที่พักทั้ง บริเวณกองขยะและบริเวณรอบๆ ดังนั้น เรื่องของน้ำที่สะอาด และความสะสะอาดอย่างแทบจะไม่มีเลย

 

พวก เขายังต้องหวาดระแวงกับเหล่าผู้มีอำนาจในเขตปกครองตรงนั้น หากผู้มีอำนาจเข้ามาเมื่อไหร่พวกเขาก็ต้องหนี อย่างปีที่แล้วผู้ปกครองได้เข้ามาจับคนที่เก็บขยะขาย 2 ครั้ง

 

ส่วนใหญ่แล้วงานนี้เป็นงานวันต่อวันจะเริ่มทำตั้งแต่ระหว่าง 3 ทุ่ม ถึงประมาณ 10 โมง บางวันก็ได้ประมาณ 12 กก. หากเป็นประเภทขวดพลาสติกก็จะได้ประมาณ 7 บาทไทยต่อกิโลกรัม

 

ทีหม่อง โยว่ เว (นามสมมติ) ชายวัย 52 เป็นคนเก็บของเก่าขายเช่นกัน เขากล่าวว่าตั้งแต่ตนออกจากบ้านเพื่อจะมาทำงาน แต่พอมาถึงแม่สอดตนก็ได้พยายามหางานทุกอย่างโดยไม่เกี่ยงงาน แต่ก็ไม่มีนายจ้างไหนรับเข้าทำงาน ทำให้บางครั้งคิดอะไรไม่ออก เหมือนคนสิ้นคิด เหมือนคนหมดหนทาง สิ่งที่คิดได้ตอนนั้นคือ จะอยู่ตรงนี้ตรงที่ไม่มีงานทำก็เป็นที่แสนจะลำบาก จะย้อนกลับไปบ้านก็ไม่มีเงินเหลือที่จะกลับในเมื่อสิ่งที่ทำให้เราต้องออกมา ก็เพราะความลำบากทางบ้านที่มีอยู่เดิม

 

“มีนายหน้าบางคนบอกว่าหากมีเงิน 16,000 บาท จะส่งไปทำงานที่กรุงเทพ ฯ เลยรำพึงรำพันกับตนเองว่าเงินมากมายขนาดนั้นจะหาได้ที่ไหนเขากล่าว

 

ที หม่อง โยว่ เว เป็นชาวเมืองมะละแมร์ โดยกำเนิด เขาเล่าว่าจากการปกครองด้วยระบบทหารที่มีการกีดกันกดขี่ ขูดรีดประชาชน ทุกรูปแบบในประเทศพม่า จนตนทนไม่ได้กับการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้น จนต้องมาหางานทำในประเทศไทย ตลอดระยะการมาต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้กับคนที่มาส่ง จากค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายระหว่างทางหากนับเป็นเงินไทยก็ประมาณ 3,000 บาทไทยเลยทีเดียว โดยส่วนตัวไม่มีเงินมากถึงขนาดนั้น เงินที่ได้มาจึงเป็นเงินที่กู้เขามา

 

ที หม่อง โยว่ เว พูดตอนท้ายว่า ตามที่ตั้งใจไว้ในระยะเวลา 1 ปี จะพยายามเก็บเงินให้ได้ประมาณ 10,000 บาท เพื่อส่งให้ลูกเมียที่อยู่ทางบ้านจะได้สร้างบ้านสร้างเรือนอยู่กัน “เราอยู่ในบ้านในเมืองในประเทศของเขา (ประเทศไทย) ไม่ใช่สิ่งสวยงามอย่างตั้งใจหรือความสุขที่เราต้องการ” เขากล่าว

 

ทั้งนี้ โดยความตั้งใจของ ที หม่อง โยว่ เว เขาหวังว่าอีกประมาณ 2 ปี เขาจะกลับบ้านเกิดเมืองนอนที่ มะละแมร์ เพราะความสุขที่แท้จริงของเราคือการได้อยู่กันพร้อมหน้าในครอบครัวหรือบ้าน เกิดเมืองนอนของตนเอง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท