Skip to main content
sharethis

 

 

"การ ออกแบบอุดมการณ์ของพรรคสำคัญมาก เพราะพันธมิตรมีความหลากหลายทางชนชั้น มีกลุ่มผลประโยชน์ตั้งแต่ชนชั้นสูงจนถึงคนยากคนจน.... แต่พอเป็นพรรค แน่นอนว่ามันต้องมีความชัดเจนในทางอุดมการณ์ มันจะเป็นซ้ายอ่อนๆ เป็นสังคมประชาธิปไตย หรือจะเป็นขวาปฏิรูป หรือเป็นเสรีนิยม ก็คงต้องคุยกัน ถ้ามันเอียงไปทางใดทางหนึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเราสูญเสียอีกส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่เอียงเลย ถ้าเรากลางๆ เน้นความเป็นธรรมในภาพกว้าง ต่อต้านคอรัปชั่น มันอาจจะพอไปได้ แต่ถามว่ามันจะเปลี่ยนได้ไหม มันก็ไม่ง่าย"

 

ว่าที่.......พรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (โปรด เติมคำในช่องว่าง-ฮา) ถูกชักชวนมาสนทนาแบบพี่น้อง เพื่อแยกแยะเหตุผลความจำเป็นไม่จำเป็นความเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับการตั้ง พรรค พธม. ตามที่เขาได้รับฟังมา ซึ่งแน่นอนว่าก็มีความเห็นส่วนตัวด้วย

 

อย่างไร ก็ดี นี่เป็นเหตุผลในทางภววิสัย ซึ่งควรรับฟังทั้งมวลชนพันธมิตร กองเชียร์พันธมิตร และกองแช่งพันธมิตร เพราะการตั้งพรรคพันธมิตร อาจเป็นได้ทั้งจุดพลิกและจุดจบของพันธมิตร อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง อาจนำไปสู่ความแตกแยก อาจถูกรุมกระทืบ ทั้งจากศัตรูและผู้ที่เคยเป็นแนวร่วม หรืออาจนำไปสู่ "การเมืองใหม่" (ที่ขอชี้แจงรอบที่เท่าไหร่ไม่ทราบว่าไม่ใช่ 70-30) อย่างที่พวกเขาต้องการก็ได้

 

ถึง อย่างไรพันธมิตรก็ต้องไป ไปสู่อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะถ้าอยู่อย่างนี้พันธมิตรก็ถึงจุดจบ ถึงกาลอวสานแล้วในเมื่อภารกิจของพันธมิตรคือไล่ทักษิณ ไม่มีทักษิณก็ไม่มีพันธมิตร "ถ้าประชาธิปัตย์ไปได้ พันธมิตรก็อยู่ยาก" นี่คือ dilemma ที่สุริยะใสพูดเอง

 

 

 

จากกู้ชาติสู่สร้างชาติ

(เราสร้างเอง)

 

สุริยะใสย้อนว่าความคิดที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองทางเลือก มีมาตั้งแต่ก่อนพันธมิตร

 

"คน ที่ประกาศตัวเรื่องผลักดันพรรคการเมืองใหม่ คือพี่พิภพ อ.สมเกียรติ พี่สมศักดิ์ พี่สาวิทย์ แก้วหวาน นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ พี่สุวิทย์ วัดหนู หรือแม้แต่ผมเอง ก็เคยขายความคิดและผลักดันเรื่องนี้เมื่อ 6-7 ปี ที่แล้ว แต่พอเข้าร่วมกับพันธมิตรความคิดนี้ก็หยุดไป เพราะเราไม่อยากเอาประเด็นเรื่องพรรคไปผูกกับการเคลื่อนไหวต่อสู้ของภาค ประชาชน เดี๋ยวจะเกิดความหวาดระแวงหรือคำถาม"

 

"หลังปี 2549 หลัง รัฐประหาร ผมก็คุยกับพี่สนธิและพี่คำนูณอยู่ครั้งหนึ่งเหมือนกัน ช่วงนั้นยุติพันธมิตรแล้วนะ พูดทำนองว่าเสียดายพลังของพวกเราที่สู้กันมา แล้วจู่ๆ มาประกาศยุติบทบาท มันทำอะไรได้มากกว่านี้หรือเปล่า แวบแรกที่พี่นูณพูดขึ้นคือว่า เฮ้ยใส ทำพรรคไหม ใสลองไหม พี่สนธิก็สำทับว่า เออใสลองทำไหมล่ะ ไปจัดตั้งต่อและเคลื่อนทัพเชื่อมกับภาคประชาชน เชื่อมกับชนชั้นกลาง เกษตรกร แรงงาน ที่พอคุยกันได้ เอาจากฐานพันธมิตรไปก่อน ผมก็บอกว่าพี่ผมขอคิดดูก่อนได้ไหม สถานการณ์มันอาจจะไม่นิ่งและอาจจะเรียกร้องพันธมิตรอีกครั้งก็ได้ อาจจะเป็นพันธมิตรภาค 2 ก็ได้ ผมก็ขอเวลาแก 3 เดือน"

 

"แต่บังเอิญว่าหลังเลือกตั้ง 23 ธ.ค.2549 ได้สมัคร ได้นอมินีมา ก็เริ่มเห็นชะตากรรมของบ้านเมืองแล้วว่าพันธมิตรต้องมาอีกแน่ เรื่องพรรคก็แทบจะหยุดไปเลย จนมาชุมนุม 193 วัน ผมไม่เคยได้ยินจากพี่สนธิแม้แต่ครั้งเดียวว่าเฮ้ยเราทำพรรคกันไหมหลังจากนี้ เรายกระดับพันธมิตรเป็นพรรค-ไม่เคยมี แกนนำคนอื่นก็ไม่เคยพูด จนยุติการชุมนุมผมก็ไม่ค่อยได้คุยกับพี่สนธิ แต่ผมทราบว่าแกก็จะกลับไปเป็นสื่อ ไปมุ่งมั่นกับการทำงานสื่อต่อ เรื่องพรรคไม่มีในหัวเลย"

 

"จนมาช่วงต้นปี 2552 มี ข่าวเรื่องพรรค มีหลายคนไปจับกลุ่ม ท่านมนูญกฤต ฝ่ายซ้ายในพันธมิตรบ้าง หรืออดีตนักการเมืองที่มาขึ้นเวทีพันธมิตร มันเป็นกระแสเคียงคู่มากับพันธมิตร จนมีความคึกคักขึ้นประมาณปลายเดือน ก.พ. จนขนาดแกนนำหารือกันในที่ประชุมว่า เอายังไงเรื่องพรรค แต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปเพราะเท่าที่ผมฟังความคิดที่ค่อนข้างชัดเจน พี่พิภพ พี่สมศักดิ์ อ.สมเกียรติ จะเห็นด้วย แต่ยังไม่ไปไกลถึงขั้นว่าเป็นพรรคแบบไหน เอาใครมาทำ แต่ว่าน่าจะมีนะ เพื่อเพิ่มพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ของเรา ลุงจำลองค่อนข้างจะไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่คัดค้าน จะพยายามเอาบทเรียนจากพรรคพลังธรรมมาให้ดูเป็นตัวอย่างว่ามันไม่ง่ายนะ ผมทำมาแล้ว เป็นหัวหน้าพรรคเป็นถึงรองนายกฯ มีโควต้ารัฐมนตรีตั้งหลายกระทรวง แกก็บอกมันก็ได้แค่นั้น สุดท้ายมันก็แตก เราก็พยายามแลกเปลี่ยนกับแกว่าสถานการณ์มันเปลี่ยน พี่สนธิระมัดระวังตัวสูงมาก เพราะหลังยุติชุมนุมพี่สนธิมุ่งมั่นจะเป็นสื่อ เรื่องพรรคแกอาจจะเปรยๆ กับคนใกล้ชิดว่าไม่อยากทำแล้ว หลังจากนั้นก็ได้ข่าวว่ามีคนบางกลุ่มไปถึงขั้นจดทะเบียนพรรค จะมาขอแกนนำบางคนไปเป็นหัวหน้าพรรค หนึ่งในนั้นก็มีทั้งชื่อพี่สนธิและลุงจำลอง แต่ว่าใช้ฐานมวลชนของพันธมิตร"

 

"หลัง จากไปอเมริกา เป็นจุดกระตุ้นที่สำคัญจุดหนึ่ง ผมไปอเมริกาช่วงหนึ่ง เดือนกว่า ก็เห็นกระแสนี้ กระแสเรื่องพรรคพันธมิตรมีการพูดกันมากตั้งแต่ปลายปี 2549 ก่อน เลือกตั้ง กระแสเรื่องพรรคสูงมาก เฮ้ยทำไมไม่ทำพรรค และหลายคนเป็นประชาธิปัตย์ด้วยที่พูดแบบนี้ แกนนำไปอเมริกากลางเดือน มี.ค. ภารกิจที่ได้มาก็คือข้อเสนอการตั้งพรรคโดยพันธมิตรที่อเมริกา จากหลายมลรัฐที่มาประชุมกัน ก็เลยประกาศบนเวทีว่าจะต้องมาขับเคลื่อนเรื่องพรรค หลังจากนั้นเลยเป็นที่มาของการสัมมนาวันที่ 24-25 เดิมทีการคิดสัมมนา 24-25 ก่อนหน้านี้คิดเพียงหวังว่าจะเป็นเวทีสรุปบทเรียนการเคลื่อนไหว 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้ง 193 วัน ว่าเราได้อะไร เรามีจุดอ่อนจุดแข็ง จะวิเคราะห์สถานการณ์ ไม่มีเรื่องพรรค พอสุดท้ายกระแสเรื่องพรรคสูง ถูกกระตุ้นทั้งจากมวลชน ข้างล่างบางส่วน แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย ต้องยอมรับว่านาทีนี้ก็มีคนไม่เห็นด้วย นี่เป็นที่มาที่ไป"

 

"ฉะนั้นวันนี้ใน 5 แกนนำ ผมว่าค่อนข้างจะเห็นด้วยในหลักการแค่ยังหลวมๆ อยู่ ในทัศนะผมมันจำเป็นต้องมีแม้ยังไม่ไปไกลถึงขั้นว่าต้องไปทำเอง ยังไม่ไปไกลถึงขั้นว่าต้องให้ใครทำ หรือจะจัดความสัมพันธ์ระหว่างพรรคกับแกนนำ หรือพรรคกับพันธมิตรอย่างไร อันนี้ยังไม่ตกผลึก หรือแม้กระทั่งตัวบุคคล ผมก็ยังไม่เคยได้ยินพี่สนธิพูดว่าจะเป็นหัวหน้าพรรค หรืออยากลงเลือกตั้ง ไม่ได้ยินแกพูดแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งพอมีข่าวว่าพี่สนธิน่าจะเป็นหัวหน้าพรรค ก็มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้ยังมีเวลา"

 

"วันนี้ถ้าถามว่ามีใครค้านไหม มีใครต้านไหม ใน 5 แกนนำ ผมว่าไม่มี แต่ก็ไม่ถึงขั้นเห็นด้วยแบบไม่มีเงื่อนไข เพราะมีเงื่อนไขกันทุกคน เช่นว่าแกนนำต้องไม่เข้าไปยุ่งนะ หรือถ้าทำก็แกนนำเข้าไปทำเลย หรือแกนนำเป็นเพียงกรรมการนโยบายพรรค ก็ยังมีหลายสูตรหลายโมเดล คิดว่าหลัง 24-25 ถ้ามติออกมาว่าตั้งพรรค คณะทำงานอาจต้องวางกรอบเวลา 3 เดือน 6 เดือน ก็แล้วแต่ อาจต้องไปดูว่าพรรคมีภารกิจอะไรบ้าง นโยบายอะไรบ้าง จะหาบุคลากรอย่างไร จะหามวลชนอย่างไร จะขายฝันอะไรให้กับประชาชน ผมว่าเรายังมีเวลาคิดเรื่องนั้น แต่ผมคิดว่าโจทย์มันไปเร็วเหลือเกิน ไม่คาดคิดมาก่อนว่ามันจะไปเร็วอย่างนี้ คือมันกระโดดไปไกลถึงขั้นตัวบุคลลไปแล้ว แม้ไม่เห็นด้วยก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยที่มันไปเร็วเกินไป เพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องคุยกัน โดยเฉพาะ 5 แกนนำ ถามว่าตกผลึกทุกจุดไหม ไม่เลย ยังไม่ได้คุยกันขนาดนั้น ตั้งมันอาจจะง่าย แต่ตั้งเพื่ออะไร ตั้งมาทำอะไร ผมว่ามันยากกว่า ซึ่งเรายังไม่ได้คุยกัน โจทย์ใหญ่ๆ ยังไม่ได้ผ่านการขบคิดเลย แต่ข่าวที่ออกมามันก็เป็นทั้งความเห็นส่วนตัว ความอยาก ความมุ่งหวังของแนวร่วม ก็ต้องปล่อยไป"

 

ที่ว่าตั้งมาเพื่ออะไร ในฝ่ายที่เห็นด้วยความความเห็นอย่างไร

"ยัง ไม่ไปไกลถึงขั้นการออกแบบอุดมการณ์ ซึ่งคงต้องหาเวลาคุยกัน แต่ส่วนใหญ่เห็นว่ามาถึงวันนี้ต้องยกระดับพันธมิตร ต้องทำให้เป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง และมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และมีแนวร่วมมีพลังที่มากกว่านี้ ซึ่งอันนี้เป็นชุดความคิดที่ต่างกับเมื่อปี 2549 เพราะเราเห็นว่าภารกิจของเราต่างจาก 2549 ซึ่งตอนนั้นมันกู้ชาติ ไล่ทรราชย์ แต่ว่า 2551 มันเป็นเรื่องสร้างชาติสร้างการเมืองใหม่ ซึ่งอยากได้ก็ต้องทำเอง หลายคนบอกคุณอยากได้ก็ต้องทำเอง ไปฝากประชาธิปัตย์ ฝากพรรคการเมืองในสภา ฝาก สว.ได้ยังไง และศักยภาพคุณน่าจะทำได้ อันนี้ก็เป็นที่มา ที่คิดว่าฉะนั้นต้องคิดเรื่องพรรค ส่วนใหญ่ที่เห็นด้วยก็เห็นด้วยว่าสร้างช่องทางใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องมือการต่อสู้แบบใหม่ พรรคมันจำเป็น ที่จะทำให้พันธมิตรเข้มแข็ง แต่ว่าทั้งหมดยังอยู่ในเป้าหมายเดียวกัน คือทำให้พันธมิตรเป็นการเมืองภาคประชาชน มีประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็งกว่าที่ผ่านๆ มา"

 

"ฉะนั้นพรรคยังไม่ใช่เป้าหมาย และไม่มีทางเป็นเป้าหมาย ในความคิดของคนที่เห็นด้วย

กับ พรรคคือ พรรคเป็นเพียงเครื่องมือเป็นเพียงวิธีการ การไปสู่เป้าหมายมันต้องมากกว่าพรรค ต้องมีแนวทางมีมาตรการที่มากกว่าพรรค เช่นไปคิดว่าจะตั้งมวลชนที่มีคุณภาพอย่างไร จะออกแบบการจัดตั้ง ยกระดับความคิดจิตสำนึก กระชับเครือข่าย สร้างกิจกรรมใหม่ๆ งานร้อนงานเย็นอย่างไร ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่จำเป็น และอาจจะจำเป็นพอๆ กับพรรคด้วยซ้ำไป ฉะนั้นเรายังอยู่บนลู่วิ่งทำให้พันธมิตรเข้มแข็ง เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ทรงพลัง [1] [1]พรรค เป็นเพียงแค่ช่องทาง เครื่องมือตัวใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น นี่สำหรับกรอบคิดของคนที่เห็นด้วย ซึ่งยังไม่ไปไกลถึงขั้นว่าจะต้องเป็นกรีน จะต้องเป็นซ้ายถึงขั้นละตินอเมริกา หรือแบบพลังธรรม เรายังมีเวลาที่จะศึกษาตัวอย่างเหล่านี้"

 

คือไม่ได้คิดถึงผลการเลือกตั้งแต่คิดถึงการจัดตั้ง

"มีการพูดกันถึงขั้นว่าอาจจะต้องยอมเป็นฝ่ายค้านในระยะหนึ่ง อาจจะ 5 ปี 10 ปีด้วยซ้ำไป เพราะเวลาเราคิดอะไรใหม่ เราเป็นสิ่งแปลกปลอมด้วยซ้ำไปในการเมืองแบบเก่า และเราอาจจะน่าขยะแขยงสำหรับนักเลือกตั้งด้วยซ้ำไป ซึ่งเราอาจจะไม่ได้สู้กับแค่พรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทยเท่านั้น ประชาธิปัตย์เองก็ตามเถอะ อาจจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญ อาจจะมากกว่าเพื่อไทยหรือภูมิใจไทยด้วยซ้ำ เพราะฐานมวลชนมันซ้อนกันอยู่ สารพัดการตอบโต้หรือวิชามารจากพรรคการเมือง นักการเมือง หรือระบบ มันมีแน่นอน และจะแรงกว่าในฐานะที่เป็นพันธมิตรด้วยซ้ำไป ซึ่งแกนนำก็ตระหนักในเรื่องนี้ แต่เราก็คิดว่าคุณค่าจากเล็กไปสู่ใหญ่ที่สำคัญและทำให้ยั่งยืนได้ หรือค่อยๆ โต มันสำคัญกว่าโตวันเดียวแล้วมะรืนแตก เหมือนหลายๆ พรรคที่มีกันมา ปัญหาที่คิดกันคือว่าพรรคจะต้องไม่ทำงานเฉพาะการเลือกตั้ง หรือต้องไม่ทำงานเฉพาะที่มีการยุบสภาหรือมีการเลือกตั้งเท่านั้น และงานการเมืองไม่ใช่แค่เข้าสู่สภา แต่พรรคต้องคล้ายๆ กับเป็นเวทีในการหล่อหลอมจิตสำนึกในทางการเมืองของคน ให้เข้าใจเรื่องความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สิทธิเสรีภาพที่เขาพึงมีพึงได้ ในฐานะพลเมืองฐานะประชาชน อำนาจอธิปไตย โจทย์แบบนี้ยังจำเป็นอยู่ พรรคต้องทำงานแบบนี้ ถามว่ามีพรรคไหนทำเรื่องแบบนี้ ไม่มีเลย ประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ทำ ไทยรักไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อย ในช่วงที่ไม่มีเลือกตั้งสาขาพรรคแทบไม่เห็นแม่บ้านด้วยซ้ำไป ไม่มีกิจกรรม มีแต่พิธีกรรมเพื่อรายงานกับ กกต. ผมว่าพรรคใหม่ต้องคิดเรื่องการสร้างงานการเมืองที่ไม่ใช่แค่ในสภา และไม่ใช่ว่าสอบตกจะไม่ทำงาน หรือหยุดไปเลย เราต้องทำให้กลไกของพรรคหรือกระบวนการจัดตั้งของพรรคมันมีชีวิตตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อทำให้มวลชนขยายตลอดเวลา ซึ่งสักวันหนึ่งก็จะทำให้เราอาจจะได้รับเลือกตั้งหรือได้เสียงมากขึ้นก็ได้"

 

แต่ถ้าตั้งพรรคแล้วก็ต้องลงเลือกตั้ง และต้องมั่นใจว่าจะได้ ส.ส.อย่างน้อย 10 คนขึ้นไป

"มีคนบอกว่าไม่ควรจะต่ำกว่า 20 เพราะ จะมีสิทธิในการเสนอร่างกฎหมาย หรือออกนโยบายผ่านกระบวนการนิติบัญญัติได้ พรรคต้องลงเลือกตั้งแน่นอน และต้องคิดเรื่องการเข้าสู่อำนาจ คิดเรื่องการเป็นรัฐบาล คิดเรื่องการช่วงชิงอำนาจรัฐ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย อยู่ที่ว่าเราใช้อำนาจเพื่อใครและเพื่อส่วนรวมจริงไหม ถ้าพันธมิตรจะตั้งพรรค ผมก็มั่นใจต้องมีที่นั่ง และ 20-30 ก็ไม่น่าจะเกินความสามารถ หลายคนคิดไปถึงขั้นว่าอาจจะ 50 ถึง 100 ด้วยซ้ำไป มันอยู่ที่กระแสเหมือนกัน โดยเฉพาะฐานของพันธมิตรซึ่งเป็นคนชั้นกลาง แม้แต่ใน กทม.ก็เหมือนกัน เราต้องยอมรับประการหนึ่งว่า voter ของกทม.อ่อนไหว ต่อกระแสมาก เราจะมีหลักประกันอะไรว่าประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้สักที่นั่งก็ได้ ถ้ากระแสมันพลิก ผมว่าไม่แน่นะ เพราะคนกรุงเทพฯ กระแสมีส่วนสำคัญมาก ถ้าสมมติใช้ระบบเลือกตั้งแบบที่เป็นอยู่ แบบสัดส่วน ภาคละ 10 คน จะไม่หลุดมาหรือสักภาคละ 1-2 คน ถ้า 8 ภาคก็ได้ 8 คน ถ้าโชคดีภาคละ 2 ก็ 16 คน ขอเขตอีกสัก 10 หรือ 15 ก็ 30 ขึ้น แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับกระแส อยู่ที่ความแรงของพรรคด้วย พี่คำนูณถึงบอกว่าต้องมีปรากฏกการณ์สนธิรอบสองให้ได้ ในการเลือกตั้ง ซึ่งมันอาจจะเป็นกระแส มันก็น่าคิด พรรคต้องไปคิดออกแบบศิลปะการต่อสู้ในการเลือกตั้งด้วย อันนี้ต้องไปคิดกัน ทั้งเรื่องทุน วิธีการ นโยบาย ตัวบุคคล มันเป็นโจทย์ที่หินมาก ซึ่งยังมีเวลาคิด"

 

"แต่ผมว่ายังไงก็ได้ที่นั่ง แต่ได้ขนาดไหนยังไม่ทราบ และผมก็ถูกถามเสมอว่า เฮ้ยมันจะได้กี่

เสียง กันวะ นักข่าวมักจะถามแบบนี้ เวลาตั้งคำถามแบบนี้มันก็เป็นระบบคิดแบบเก่า เหมือนกับนักการเมืองเก่าๆ ที่ถามกันว่าจะได้กี่เสียง จะได้เป็นรัฐบาลหรือเปล่า แต่ถ้าถามว่าเราจะไปทำอะไร มันสร้างสรรค์กว่า และมันดูก้าวหน้ากว่า 5 คนมันก็ทำอะไรได้มากกว่า 50 เสียงถ้าเราพิสูน์ตัวเองว่าเราเสียสละจริงและทำให้คนเห็น มันมีคุณค่ามาก ขอใช้สิทธิอภิปรายในสภา ตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลหรือเสนอร่างกฎหมาย อย่าไปคิดว่าเราพูดให้สภาผู้แทนราษฎรฟัง แต่มี 63 ล้านคนที่ดูอยู่ เราแพ้โหวตในสภา แต่มันก็คุ้มใช่ไหมที่เราสามารถชนะใจคนนอกสภาได้ เราต้องเล่นกับประชาชนนอกสภา เราต้องทำงานการเมืองกับประชาชน ไม่ใช่ทำงานการเมืองกับนักเลือกตั้ง เราจะเป็นหอกข้างแคร่ของระบบเก่า เป็นก้อนกรวดในรองเท้าของนักการเมืองแบบเก่า เราจะหยุดรั้งความไม่ชอบมาพากล เหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจโดยมิชอบได้ สามารถเปิดโปงตีแผ่ได้ ฉะนั้นถ้าคิดแบบนี้ แม้แต่ 2 คน 3 คน ก็มีความหมายมหาศาลกับการสร้างการเมืองใหม่ ซึ่งมันต้องใช้เวลานานมากจริงๆๆ อาจจะหลายสิบปี แต่ถ้าไม่เริ่มเลยก็ไม่รู้จะเริ่มตอนไหน"

 

สรุปว่าถ้าจะให้พรรคมีบทบาทในสภาได้ก็ต้องมี 20 ขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องมากนัก

"มากกว่า นั้นอาจจะคุมไม่อยู่ด้วยซ้ำไป อาจจะเป็นปัญหากันเอง ถ้าเป็นพรรคที่เน้นการตรวจสอบและเน้นการโฆษณาทางอุดมการณ์คือความคิดทางการ เมือง 30 ไม่เกิน 50 กำลังพอดี แต่ถ้าจะร่วมรัฐบาลอย่างมีอำนาจ ไม่ใช่ร่วมรัฐบาลแบบเป็นตัวประกอบเขานะ ต้อง 50-70 แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ถ้าจะเป็นฝ่ายค้าน เป็นพรรคที่เน้นแนวทางตรวจสอบจะมีพลังมาก ซึ่งถึงตอนนั้นก็คงต้องดูสถานการณ์ว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่ผมคิดว่าพรรคใหม่มันต้องพร้อมทั้งเป็นรัฐบาลและเป็นฝ่ายค้าน เป็นรัฐบาลก็ต้องมีเงื่อนไขในการเข้าร่วมไม่ใช่ไปขอโควต้าแบบที่เป็นอยู่ เป็นฝายค้านก็ต้องเป็นฝ่ายค้านที่มีคุณภาพ ยกมือไว้วางใจรัฐมนตรีที่ดีได้ ไม่จำเป็นต้องไว้วางใจทุกครั้งไปเพียงเพราะเป็นฝ่ายค้าน การเมืองแบบใหม่มันสร้างได้ตลอดเวลาและทุกเวที มันไม่ใช่แค่เป็น ส.ส.เท่านั้น เป็นคนจนคนเล็กคนน้อยก็สร้างได้ อย่างวันนี้คนจนลุกขึ้นมาทวงสิทธิและปกป้องทรัพยากรของตัวเอง นี่คือการเมืองใหม่และคือหัวใจด้วย เพียงแต่วันนี้เรารอให้นักเลือกตั้งปรับตัวเท่านั้นเอง ฉะนั้นเราจะเปลี่ยนนักเลือกตั้งเป็นนักการเมืองอาชีพได้สัก 5 คน 10 คนในเวลา 2-3 ปี ผมว่ามันก็คุ้ม มันดีกว่าไม่มีเลย"

 

"ผมคิดว่าเอาเข้าจริง โอกาสของพรรคใหม่อยู่ที่นอกสภา โอกาสที่ว่าคือความตื่นตัวของชาวบ้าน

คือ สังคมที่เปิดขึ้น สื่อสารมวลชนที่มีเสรีภาพมากขึ้น ไม่เคยมีโอกาสใหม่ๆ จากพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วในสภาเลย เราไม่เคยคิดแบบนั้น ฉะนั้นถ้าจะแผ้วถางทางเพื่อให้มีที่ทางในสภาให้ได้ เราต้องเป็นมิตรกับพลังนอกสภาให้มากที่สุด นั่นหมายความว่าต้องทำงานแนวร่วมให้มากเหมือนที่พันธมิตรเคยทำ ไม่เช่นนั้นเราก็เป็นเพียง 5 เสียงที่อภิปรายไปวันๆ แต่ไม่มี feedback จากข้างนอกเลย เพราะญัตติดีๆ ส่วนใหญ่เริ่มจากข้างนอก แม้แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ตาม ข้างในไม่มีใครเห็นด้วย สุดท้ายกระแสสีเขียวสูงมากจนต้องโหวตรับ ฉะนั้นถ้าเราเอาฉันทานุมัติจากข้างนอกแล้วไปเคลื่อนในสภา แม้ว่าจะเป็นเสียงเล็กๆ 20-30 เสียง มันก็ทรงคุณค่ามหาศาล แต่พรรคต้องไม่เขวและต้องหนักแน่นเรื่องความเสียสละ ซื่อสัตย์ หัวใจของคุณต้องประชาชนจริงๆ ถ้าคุณพูดถึงประชาชนเพียงเพราะเป็นโวหารเหมือนนักเลือกตั้งที่พูดกันวันละ 3 เวลาอย่าไปทำเลย ผมว่าเรากำลังโกหก คือประชาชนในความหมายของพรรคใหม่จะต้องเป็นเจ้าของพรรคให้ได้"

 

"อันนี้สำคัญนะ ต้องออกแบบ ผมถึงคิดว่าดีที่ 5 แกนนำก็ไม่ค่อยพูดในช่วงก่อนประชุมใหญ่ 24-25 เพราะ ระมัดระวังการชี้นำ ผมก็พูดมากไม่ได้ พูดทั้งหมดก็คือเป็นความเห็นส่วนตัว แกนนำอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับผมเลย ก็ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของผม เพราะคงเป็นเรื่องของมารยาทที่จะไปพูดชี้นำอะไร วันนี้ผมก็ยืนยันว่ามีคนไม่เห็นด้วยก็เยอะ และวันที่ 24 ผมก็รู้ว่าใครจะตั้งใจมาเพื่อบอกว่าเขาไม่เห็นด้วย ต้องปล่อยให้เขาพูด มีแกนนำหลายภาคด้วยจะมาบอกว่าไม่เห็นด้วย ต้องให้เขาพูด และเราต้องฟังด้วย และเปิดเผยด้วย มีคนสังเกตการณ์เข้าไปเยอะ เจ้าหน้าที่ทูตหลายประเทศ บก.หนังสือพิมพ์หลายฉบับ องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เอ็นจีโอ ต่างประเทศก็มี"

 

จากแนวร่วมสู่พรรค

ต้องสูญเสีย

 

งั้นหันไปฟังฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่าเขาคิดอย่างไร เท่าที่ได้รับฟังมา

"คน ไม่เห็นด้วยห่วงอยู่หลายประการ เรื่องใหญ่ๆ หนึ่งคือคิดว่าการเป็นพรรคจะทำให้สร้างแนวร่วมได้ไม่กว้างเท่าพันธมิตร วางโครงสร้างหลวมๆ แบบพันธมิตรมันกว้างกว่า เพราะมาได้ตั้งแต่คนชั้นสูงจนถึงคนยากคนจน มันทำได้เพราะมันหลวมๆ และมีประเด็นร่วมกันคือระบอบทักษิณ ซึ่งศัตรูมันชัดเจน แต่ถ้าเป็นพรรคพอไปคิดเรื่องนโยบาย เรื่องอุดมการณ์พรรค มันอาจจะต้องสูญเสียคนบางกลุ่มไป คนบางกลุ่มอาจจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของเรา ซึ่งอันนี้ก็ต้องทำใจนะ ถ้าคิดเรื่องพรรคมันต้องมีเรื่องแบบนี้แน่ เว้นแต่ว่าคุณเป็นพรรคที่อุดมการณ์ไม่ชัด ได้ทุกกลุ่ม ไปเรื่อยๆ อาจจะเหมือนประชาธิปัตย์ มันก็เหมือนได้ทุกกลุ่มนั่นแหละ แต่ถ้าคุณชัดว่าจุดยืนแบบนี้ อุดมการณ์คุณเอียงมาทางนี้คุณก็ต้องเสียอีกฝ่าย"

 

"สอง ก็คือ เป็นห่วงเรื่องความแตกแยกความขัดแย้งซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องผล ประโยชน์ หรืออำนาจ ซึ่งแน่นอนว่าความเป็นเพื่อนฝูงมันไม่มองหน้ากันเพราะเรื่องนี้ เราก็เห็นกันอยู่ดาษดื่น เรื่องอำนาจวาสนาเรื่องตำแหน่ง สามคือ เป็นห่วงว่าเอาเข้าจริงแล้วต่อให้ชนะเลือกตั้งก็ตาม สุดท้ายเราอาจจะไม่ต่างจากพรรคอื่นก็ได้ เพราะทุกคนก็ห่วงว่าในระบบเก่าแบบนี้มันยังทรงอานุภาพอยู่ขณะนี้ มันจะสามารถเปลี่ยนสีขาวเป็นสีดำเปลี่ยนความดีเป็นความไม่ดีได้ ทุกคนก็เป็นห่วง ห่วงแกนนำ ห่วงความเสียสละ ห่วงพลังอันดีงามของพันธมิตรจะถูกกลืน ถูกย่อยสลาย กลายเป็นจมน้ำดำหรือเป็นทาสของระบบเก่า อีกประการก็อาจจะเกิดจากทัศนะของคนทั่วไปที่เวลาพูดถึงพรรคการเมืองนักการ เมือง จะมีทัศนะเชิงลบว่าพรรคไหนก็เหมือนกัน ส.ส.คนไหนก็เหมือนกัน คอรัปชั่นเหมือนกัน กินมากกินน้อยเท่านั้นแหละ"

 

"ต้อง ยอมรับว่าจุดอ่อนจุดหนึ่งของการเมืองไทย คือไปทำให้คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการเมืองเป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงและไม่ควร เข้าไปยุ่ง ใครก็ตามเป็นนักการเมืองหรือจะทำพรรคมันขยะแขยงไปด้วย มันน่าเกลียดน่ากลัวไปด้วย ซึ่งถามว่าเป็นความผิดเขาไหมที่เขามีทัศนะแบบนี้ ไม่ใช่ เพราะว่าระบบการเมืองเรา พรรคการเมืองเราหรือกระทั่งนักการเมืองเราไม่ได้มีคุณภาพไม่ได้ตอสนองผล ประโยชน์ของเขา และเข้ามาเพียงเพื่อหาประโยชน์ เพื่อถอนทุน มันถูกหล่อหลอมจากปรากฏการณ์แบบนี้มาจริงๆ นี่เท่าที่ฟัง"

 

"ที่ เป็นเหตุผลเฉพาะก็มี เช่นในภาคใต้ แกนนำหลายจังหวัดหรือแม้กระทั่งมวลชนเอง ภาคใต้ค่อนข้างจะเหลื่อมๆ กัน เพราะกลัวไปซ้อนกับประชาธิปัตย์ แย่งมวลชนกันเองทำให้ตาอยู่มาฉวยโอกาสชนะเลือกตั้ง สองคือ พอเป็นพรรคพันธมิตรคนที่ทำงานในนามพันธมิตรจะทำงานยาก หมายความว่าคนในภาคใต้หรือมวลชนอาจจะตั้งคำถามว่า เห็นไหมจะมาหลอกเราเป็นหัวคะแนนเป็นสมาชิกพรรคหรือเปล่า เราขอแค่เป็นยามนะ ขอเป็นแค่การเมืองภาคประชาชนนะ มันก็มี เพราะภาคใต้หลายคนก็มาบ่นกับผมว่า พอกระแสพรรคเริ่มเกิดมา 3-4 เดือนเขาทำงานยากมากใน ฐานะพันธมิตร เพราะถูกระแวง แต่บางคนก็ไม่เอาเพราะเสียดายประชาธิปัตย์ก็มี แต่ในภาพรวมเหตุผลของคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีน้ำหนัก ผมเองผมก็ชั่งใจจะบอกว่าเอาแล้วไป 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่เอา 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ตัดสินใจยาก คงต้องช่วยกันคิดช่วยกันคุย"

 

ที่ มีคนแย้งว่าพันธมิตรจะเสียแนวร่วม มองมุมกลับ ภารกิจพันธมิตรคือไล่ทักษิณ ตอนนี้มันก็จบแล้ว ถ้าไม่คิดเรื่องอุดมการณ์ แนวทางนโยบาย ที่มากไปกว่าไล่ทักษิณ พันธมิตรก็จบเหมือนกัน เดินต่อไม่ได้

"มัน ก็จบ เพราะเป้าหมายก็คือไล่ทักษิณ ถ้าวันหนึ่งไม่มีทักษิณหรือระบอบทักษิณคลี่คลายมลายหายไป มันก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ แต่วันนี้ผมคิดว่า 193 วันของพันธมิตร มันปลูกฝังสำนึกทางการเมืองชุดหนึ่งขึ้นมาคือเรื่องของการเมืองใหม่ เราต้องไม่ลืมว่าการอภิปรายบนเวที แม้แต่ 5 แกนนำ รุ่น 1 รุ่น 2 ก็ตาม มีการพูดถึงแนวคิดการเมืองหลังทักษิณมากหมือนกันนะ พูดถึง change พูด ถึงการเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า-มาก ไม่ว่าจะเศรษฐกิจ การศึกษา ความเป็นธรรมทางสังคม ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพราะเรามีเวลา การชุมนุมยืดเยื้อจึงมีเวลาพูดถึงชุดความคิดเหล่านี้กัน มันถึงกระตุ้น"

 

"ผมเองก็สัมผัส อย่างที่เราเรียกกันว่าพ่อยกแม่ยก ปี 2549 ถ่ายรูปขอลายเซ็น แต่ 2551 -

2552 ถ่าย รูปขอลายเซ็น พร้อมความเห็นที่แนบมา ทั้งเป็นเอกสารหรือขอคุย เยอะมาก มาจากป้ามาจากยาย ซึ่งสะท้อนว่ามวลชนมีการเติบโต มีพัฒนาการของเขา เขาไม่ได้มาเพราะเขาบ้าเกลียดทักษิณเท่านั้น ไม่ใช่ เขาเกลียดทักษิณแล้วยังไง ที่ผมภาคภูมิใจก็คือทำให้เขาไม่ได้หลงใหลได้ปลื้มกับนายกที่ชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ใช่ความผิดของท่านนายกอภิสิทธิ์ ไม่ใช่ความผิดของประชาธิปัตย์ แต่ถ้าประชาชนเมื่อไหร่ก็ตามหลงใหลได้ปลื้มลุ่มหลงกับผู้นำจนเกินไป มันอันตรายมาก ผมว่าการคิดเรื่องพรรคนัยหนึ่งคือการสร้างมุมมองใหม่ต่ออำนาจว่า เฮ้ยให้คนทำแทนไม่ได้ ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ต้องทำเอง มันก็สะท้อนความก้าวหน้าของมวลชนเป็นลำดับอยู่ วันที่ 24-25 เราออกแบบไว้ก็คือให้ความเห็นทั้ง 2 ส่วนได้พูด จะเชิญคนที่เป็นแกนนำภาคที่ไม่เห็นด้วยขึ้นพูด"

 

มัน เป็นปัญหาท้าทาย เพราะถ้าเอาแค่ภารกิจไล่ระบอบทักษิณ พันธมิตรก็ต้องสลายตัว แต่ถ้าก้าวไปสู่อุดมการณ์ที่ชัดเจนขึ้น เช่นยึดผลประโยชน์ประชาชน มันก็จะขัดแย้งกับกลุ่มทุนหรือชนชั้นนำที่เคยหนุนพันธมิตร

"ถูก ต้อง นี่เป็นความละเอียดอ่อน ผมว่าเป็นการบ้านข้อสำคัญ ตรงนั้นน่าห่วงกว่าตั้งไม่ตั้ง คือถ้าไม่ตั้งมันก็จบ หรือแม้ต่อให้ตั้ง ปัญหาคือตั้งยังไง ประเด็นใหญ่อยู่ตรงไหน ฉะนั้นการออกแบบอุดมการณ์ของพรรคผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะต้องไม่ลืมว่าเวลาเรานึกถึงพันธมิตร เรานึกถึงเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 2-3 เรื่อง หนึ่งคือ ความหลากหลายทางชนชั้น มีกลุ่มผลประโยชน์ตั้งแต่ชนชั้นสูงจนถึงคนยากคนจน สองคือจุดเด่นของการชูธงระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามคือความเสียสละของชนชั้นกลาง ของผู้มีอันจะกินในสังคม"

 

"แต่ พอเป็นพรรค แน่นอนว่ามันต้องมีความชัดเจนในทางอุดมการณ์ มันจะเป็นซ้ายอ่อนๆ เป็นสังคมประชาธิปไตย หรือจะเป็นขวาปฏิรูป หรือเป็นเสรีนิยม ก็คงต้องคุยกัน แต่ผมคิดว่าถ้ามันเอียงไปทางใดทางหนึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเราสูญเสียอีก ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่เอียงเลย ถ้าเรากลางๆ เน้นความเป็นธรรมในภาพกว้าง ต่อต้านคอรัปชั่น มันอาจจะพอไปได้ แต่ถามว่ามันจะเปลี่ยนได้ไหม มันก็ไม่ง่าย สังคมเราเป็นสังคมที่กดขี่จริงๆ ถ้าไม่แรงมันก็ไม่เปลี่ยน แต่ถ้าแรงก็ต้องสูญเสีย"

 

"ผม จึงคิดว่าอันนี้อาจจะเป็นศิลปะ อาจจะไม่ใช่แค่ว่าจุดยืนคืออะไร ผมได้บทเรียนจากพันธมิตรคือบางทีมันไม่ใช่จุดยืนเลยระหว่างชนชั้นกลางกับคน ยากคนจนที่เข้าใจซึ่งกันและกัน บางทีมันเป็นเพียงการให้โอกาส การอดทนและทำงานกับเขา ผมถึงบอกว่าคนทำงานกับคนจน บางครั้งก็เพิกเฉยดูดายชนชั้นกลางไป ดูถูกว่าเห็นแก่ตัว เฉื่อยชา ความทรงจำสั้น แต่มีใครจะเชื่อบ้างว่ามีชนชั้นกลางมากมายที่เดินมาหาผมบอกว่ารู้จักสุริยะ ใสมาตั้งแต่เป็นเลขา สนนท. อยู่กับสมัชชาคนจน พี่เข้าใจ ป้าเข้าใจ เจ๊เข้าใจแล้วว่าทำไมสมัชชาคนจนต้องมาชุมนุม 99 วัน แค่นี้ก็หายเหนื่อยแล้ว ฉะนั้นผมคิดว่าเวลาที่เราจะนิยามชนชั้นกลางต้องเอาตั้งแต่นิยามชนชั้นกลาง คืออะไร และเราพร้อมจะทำงานให้โอกาสเขาหรือเปล่า ถ้าให้โอกาสผมว่าไม่แน่ และยิ่งถ้าเราสามารถดึงความเสียสละจากคนทุกชนชั้นมาหลอมรวมเป็นพลังในระดับ ที่ลงตัวได้ มันก็พอขยับไปได้ มันอาจจะไม่ change ใน 5 ปี 10 ปี แต่มันเป็นพลังใหม่ได้ อย่างน้อยมันก็พอจะมีรูหายใจให้กับการเมือง หรือทำให้นักการเมืองรู้ร้อนรู้หนาวมากขึ้น"

 

คนชั้นกลางในพันธมิตรมันก็มีตั้งแต่ขวาถึงซ้าย

"ผม ว่าต้องทำใจ สุดท้ายมันต้องยอม ต้องทำใจ ต้องยอมรับความจริงว่านโยบายหนึ่งมันมีทั้งคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แม้แต่ในซ้ายด้วยกันหรือในขวาด้วยกันก็ตาม แต่ผมคิดว่าคนคนหนึ่งมันไม่ได้ผูกชีวิตตัวเองด้วยเรื่องหนึ่งเรื่องใดไปตลอด ชีวิต มันอาจจะแฮปปี้เรื่องนี้แต่ไม่แฮปปี้เรื่องนั้นก็ได้ ฉะนั้นเวลาเราพูดถึงความเป็นธรรมของประชาชนมันหลายชนชั้นมาก ถ้าจะยืนอยู่กับผลประโยชน์ของคนจนอย่างเดียวแล้วชนชั้นกลางล่ะ ชนชั้นสูงอีก แต่ปัญหาคือเราจะทำให้คนจนอยู่ได้ คนชั้นกลางอยู่ได้ คนรวยไม่กอบโกย ชนชั้นสูงไม่เอาเปรียบ ผมว่าสปิริตอันนี้มันต้องสร้าง ผมว่าสปิริตอันนี้พันธมิตรสร้างระดับหนึ่ง คือความเสียสละจากคนชั้นกลาง แต่ว่าถ้าจะ change มันไม่พอหรอก นักการเมืองที่ดีไม่ใช่แค่ไม่โกง กึ๋นคืออะไรล่ะ จะพาประเทศพ้นจากวิกฤติอย่างไร"

 

แนวร่วมที่หายไปคาดหวังว่าเขาจะเป็นกลุ่มตรวจสอบทางการเมืองต่อไปไหม

"ผม ว่าต่อให้หายจากพันธมิตรก็ไม่เสียดายเพราะวันนี้เขาได้ถูกจุดประกายความคิด เขาได้มีจิตสำนึกทางการเมืองขึ้นมาแล้ว วันนี้คนที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างแรงและรับไม่ได้ก็มีนะ ผมยอมรับเลยว่าถ้าพันธมิตรมีมติตั้งพรรค ก็จะมีบางส่วนที่ถอนตัว ฉันไม่เอาแล้ว นอกจากจะไม่เป็นสมาชิกพรรคฉันก็จะไม่ร่วมกับพันธมิตรแล้ว พูดกับผมแบบนี้ ผมก็ได้ยิน message มาหาผมแบบนี้ก็มี คือต้องยอมรับ แต่ขณะเดียวก็อาจจะได้คนกลุ่มอื่นมากขึ้น แต่ว่าเสียดายไหมคนที่หายไป ผมไม่เสียดาย"

 

"ผม เจอมาแล้วตั้งแต่พันธมิตรไปชุมนุมดอนเมือง สุวรรณภูมิ คนเดินมาบอกผมรับวิธีการแบบนี้ไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันบางคนก็บอกน่าจะทำนานแล้วนะ มันแล้วแต่คนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย แต่ผมไม่เสียดายเลยถ้าเขาเป็นผู้ตื่นตัวทางการเมือง และเอาปัญหาของบ้านเมืองเป็นธุระ เขาอยู่ตรงไหนก็ได้ เราต้องคิดว่านั่นแหละคือการเมืองใหม่ การเมืองใหม่ไม่ได้หมายความว่าต้องพันธมิตรเท่านั้น หรือการเมืองภาคประชาชนต้องในนามพันธมิตรเท่านั้น เขาอาจจะไปสังกัดกลุ่มอื่นก็ได้ แต่เป็นกลุ่มที่ตื่นตัวและปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมและเรียกร้องเพื่อความ เป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องสังกัดเสื้อเหลืองไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกพรรคพันธมิตร เราจงภาคภูมิใจที่การต่อสู้การเคลื่อนไหวของเราสามารถผลิตดอกผลแบบนี้ให้การ เมืองไทยได้ เราต้องภาคภูมิใจมากกว่าจะไปเสียดาย"

 

 

 

ฟีเวอร์หรือจุดจบ

ไม่งั้นก็จบอยู่ดี

 

มอง อีกมุมหนึ่งความคิดตั้งพรรคพันธมิตรก็มาจากการที่พันธมิตรเดินต่อไปไม่ได้ แล้ว เพราะระบอบทักษิณก็อ่อนกำลังลงแล้ว มันมาถึงจุดที่ต่างคนต่างเดินไปตามธรรมชาติของตัวเอง บางคนก็เชียร์ ปชป. บางคนก็ไม่เห็นด้วย

"ถ้า เรานิยามภารกิจพันธมิตรแค่ระบอบทักษิณ มันอาจจะไม่จำเป็นแล้ว หรือปีสองปีข้างหน้าอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่แล้ว ซึ่งมันก็ผูกอยู่กับชะตากรรมของทักษิณว่าหายไปจริงหรือเปล่า ถ้าเรายอมรับว่าระบอบทักษิณมันเริ่มทอนกำลังลงแล้ว ถ้าเรานิยามพันธมิตรในรูปแบบเดิมว่าต้องต่อกรกับ พ.ต.ท.ทักษิณและระบอบทักษิณ ก็คงจะจบไปด้วย แต่ปี 2551 เราพูดเรื่องการเมืองใหม่ พูดเรื่องสร้างชาติ นัยมันก็คือสร้างสังคมใหม่ สร้างชาติ สร้างการเมืองกันใหม่ ฉะนั้นมันก็ถูกเรียกร้องบทบาทใหม่ การคิดเรื่องพรรคจึงไม่แปลกที่มวลชนเขาจะคิดเรื่องนี้ หรือแกนนำบางส่วนคิดเรื่องนี้ ซึ่งผมคิดว่าเอาเข้าจริงๆ แล้วมันก็เป็นเหมือนการยกระดับการต่อสู้ด้วยส่วนหนึ่ง แน่นอนมวลชนเดิมๆ อาจจะหายไปบางส่วน แต่ผมก็เชื่อว่าจะมีมวลชนใหม่ๆ เข้ามา ยิ่งเวลาเราไปเสนอเรื่องที่เขามีผลกระทบเขาก็ไม่เอา เราก็ต้องยอมรับ มันอยู่ที่ว่าพรรคทำเพื่อใครและพิสูจน์ได้ไหม นึกถึงพรรคนี้แล้วเสียสละ ซื่อสัตย์อยางที่พูดไว้หรือเปล่า ถ้ามันจริงผมว่าคนที่จะผละจากเราไปง่ายๆ คงไม่มากนะ แต่เราต้องทำให้เขาสัมผัสได้ อาจจะไม่ต้องคิดเหมือนเรา 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันเป็นงานที่ท้าทายมาก มันไม่ง่ายเลย"

 

การคัดเลือกคนก็สำคัญ เพราะคนขึ้นเวทีพันธมิตรไล่ทักษิณมาได้หลากหลาย

"พวก ผิดหวัง พวกสอบตก นักฉวยโอกาส เยอะแยะไปหมด เห็นมาสารพัดในพันธมิตร แต่ผมคิดว่าเอาเข้าจริงๆ การคิดเรื่องพรรคคือกระบวนการกรองคน ถ้าพรรคเดินแนวทางซื่อสัตย์ เสียสละ กล้าหาญ อย่างน้อยเราก็มีกำแพงกันนักฉวยโอกาส แต่เราต้องสร้างมาตรฐานตรงนี้ให้ได้จริงๆ นะ ซึ่งมันก็ต้องออกแบบ โดยเฉพาะกระบวนการของพรรค มวลชนของพรรคจะมีส่วนร่วมมีความเป็นเจ้าของ อันนี้สำคัญมาก"

 

"วันที่ 24-25 สมมติ ว่าเห็นด้วยกับการตั้งพรรคก็จะต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมา อาจจะวางกรอบเวลาและวางภารกิจหน้าที่ ไปศึกษาเรื่องอะไร เช่น มวลชน การหาแกนนำ กรรมการบริหารพรรค เรื่องโครงสร้างหน้าตาของพรรค เรื่องเนื้อหาหรืออุดมการณ์ เรื่องคนก็ไม่สำคัญไปกว่าอุดมการณ์ รูปร่างหน้าตาพรรคเป็นแบบนี้ แต่ดูหน้าตาคนแล้วมันไม่เข้าเลย ก็ไปไม่ได้เหมือนกัน ผมคิดว่าพรรคพันธมิตรถ้ามีจริง มันจะยุ่งยากมากในช่วงเริ่มต้น มันไม่ได้เริ่มต้นแบบไทยรักไทย หรือประชาธิปัตย์ หรือพรรคอื่นๆ ที่เริ่มต้นจากนักการเมือง ดูอย่างแกนนำ 5 คนหรือแกนนำรุ่น 2 มีนักการเมืองไม่กี่คน และก็เป็นนักการเมืองที่ดูเหมือนทวนกระแสด้วย สอง ยิ่งเริ่มต้นบนฐานพันธมิตรบนความหลากหลายทางชนชั้นหรือผลประโยชน์ที่หลาก หลาย ซึ่งมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ยิ่งยากที่จะทำให้รูปแบบพรรคได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย สาม ป้ายแขวนคอเราก็สาหัสสากรรจ์ เราท้าว่าเราจะสร้างการเมืองใหม่ มีน้ำยาไหม ใหม่จริงไหม แน่นอนสังคมก็รอดู ผมว่าจังหวะก้าวช่วงเริ่มต้นนี้สำคัญมาก ที่จะทำให้ทั้ง 3 ข้อได้คำตอบที่ดีพอ"

 

ที่ว่าเสียแนวร่วม รายแรกก็คือ ปชป. อาจจะเจออะไรหลายอย่าง เช่นคุณจะออกอากาศ ASTV ต่อ ไปได้ไหมถ้าเป็นพรรคการเมือง คุณจะได้รับการยอมรับจากสื่อมากแค่ไหน สื่อจะกลับมาตรวจสอบคุณอีกครั้งในอีกแบบ บางคนอาจไม่มีปัญหา แต่บางคนอาจโดนหนัก

"ผมว่าต้องพร้อมตรวจสอบและไม่ใช่ธรรมดาด้วย การตรวจสอบพรรคพันธมิตรจากสื่อจาก public จะ สูงกว่าการตรวจสอบพรรคทั่วๆ ไป เพราะเราไปวาดภาพไว้สวยหรู และยิ่งใหญ่มากว่าเราจะสร้างการเมืองใหม่ และเราเป็นผู้เสียสละ ฉะนั้นก็บอกเลยว่าคนที่คิดจะเข้าพรรคนี้ต้องเป็นคนเสียสละ อย่างน้อยๆ นะ คือตอนนี้ผมไม่คิดว่าต้องเป็นคนที่เหมือนกัน ต้องเริ่มจากเสียสละก่อน และซื่อสัตย์ อยากทำเพื่อบ้านเมือง ถ้าเริ่มจากกรอบกว้างๆ แบบนี้ก็จะคุยกันได้และน่าจะไปได้ ผมว่าเราถูกตรวจสอบอย่างหนักแน่ เพราะหนึ่งเราตรวจสอบเขามาก่อนด้วย ฉะนั้นการตรวจสอบเราจะเข้มข้นขึ้น 2 เท่า และที่สำคัญการโจมตีจากคู่แข่งการเมืองเดิม ซึ่งก็จะต้องเผชิญหน้าแน่นอนถ้าเข้าสู่สภาหรือลงเลือกตั้ง เราต้องยอมรับว่าอำมหิตของการเมืองแบบเก่า บ้านเรามันอำมหิตอันดับต้นๆ ของโลก แต่ถ้าเราเสียสละจริง ซื่อสัตย์จริง เราก็จะได้พิสูจน์ตัวเอง"

 

"กับ กรณีประชาธิปัตย์ ผมกลับคิดว่าถ้าพันธมิตรต้องแข่งกับประชาธิปัตย์มีแต่ได้กับได้ ต้องยอมรับความจริงว่าคนพรรคประชาธิปัตย์มีบางส่วนที่มีความคิดไปกับ พันธมิตรได้ หรือค่อนข้างคล้อยตามไปกับประเด็นการเมือง แต่เขาไม่มีโอกาสไม่มีที่ทางในรัฐบาล แต่ส่วนหนึ่งซึ่งก็จำนวนไม่น้อยที่ยังหลงใหลได้ปลื้มกับระบบเก่าและยอมที่จะ อยู่แบบนี้ต่อ ฉะนั้นถ้าพันธมิตรต้องแข่งกับประชาธิปัตย์ ถ้าพันธมิตรชูธงเรื่องการเมืองใหม่หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ จะมีแต่ประโยชน์กับทั้งคนภาคใต้และคนไทยทั้งประเทศ ดีกว่าแข่งกับพรรคเพื่อไทยหรือภูมิใจไทย เพราะพรรคเพื่อไทยคือคุณทักษิณ พรรคภูมิใจไทยคือกลุ่มเนวิน แต่ถ้าเราคิดว่าเข้าไปสู้เพื่อสิ่งใหม่ การสู้กับประชาธิปัตย์ในสนามการเมืองเป็นประโยชน์กับคนใต้แน่ เพราะมีคนพูดกันมากว่าคนใต้กับประชาธิปัตย์เหมือนสามี-ภรรยา หรือถึงขนาดว่าเอาเสาไฟฟ้าลงก็ชนะเลือกตั้ง แต่ถ้าเราไปดูวัฒนธรรมการเมืองของคนใต้ ผมว่าเขาเติบโตสูงมาก เขามีความคิดความอ่านทางการเมืองที่เข้มข้นมาก ถ้าพันธมิตรเสนออะไรใหม่ๆ ถ้าประชาธิปัตย์ไม่ปรับตัวก็ต้องเสียใจ แต่ถ้าประชาธิปัตย์ปรับตัวก็เป็นประโยชน์ต่อคนใต้และคนไทย พันธมิตรนี่แหละจะเป็นพรรคที่ทำให้ประชาธิปัตย์ปรับตัวมากกว่าเงื่อนไขอื่น ผมไม่คิดว่าจะมีเงื่อนไขหรือปัจจัยใดทางการเมืองในระบบเก่าที่ทำให้ ประชาธิปัตย์ปรับตัวอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง การทำพรรคแบบพันธมิตรนี่แหละที่จะทำให้ประชาธิปัตย์ปรับตัว"

 

แล้วปรากฏการณ์สนธิฟีเวอร์รอบสองจะกลับมาอีกได้ไหม

"ผมไม่แน่ใจ แต่ผมว่าไม่ง่าย ปรากฏการณ์สนธิฟีเวอร์มันเกิดขึ้นปี 2548 ด้วยเงื่อนไขคือการท้ารบกับอำนาจสูงสุดอำนาจหนึ่ง คือระบอบทักษิณที่เรืองอำนาจมากในทุกมิติคือเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เขาคุมหมด และคนคนหนึ่งชื่อสนธิออกมาท้ารบ ออกมาเดินถนนออกมานำมวลชนสู้ มันกระตุกสังคมอย่างรุนแรง เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่มันเป็นที่เล่าขานเป็นที่เลื่องลือกันมาก มันเป็นปรากฏการณ์ฟีเวอร์ทุกส่วนสนใจถึงขั้นเข้าร่วมด้วยซ้ำไป เราก็ไม่เคยคิดว่าจะมีคนร่วมขนาดนั้นด้วยซ้ำไป แต่ว่าตอนนั้นต้องยอมรับว่าคนมันเห็นชัดว่าระบอบทักษิณโกง ไม่ได้แล้ว ไม่ใช่อย่างที่คิดแล้ว ให้คนจนก็จริงแต่เอาจากคนจนมหาศาล เอาจริงๆ ที่ให้คนจนน่ะก้างปลา แต่เนื้อตัวเองกินแล้ว หรือตุนใส่ถุงแช่เย็นไว้แล้ว แล้วพี่สนธิมาถูกจังหวะ ถ้ามาเร็วกว่านั้นสนธิก็พัง ถ้ามาช้ากว่านั้นก็ไม่ฟีเวอร์ แต่เป็นจังหวะพอดี จังหวะที่หนึ่งระบอบทักษิณก็เริ่มถูกเปิดโปง และก็เริ่มเป็นขาลงจากการทำงานของสื่อของภาคประชาชนองค์กรชาวบ้านทำมาก่อน หน้านั้น เรื่องสิทธิมนุษยชน แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ประชานิยม ทำมาก่อนแต่ว่ามันไม่กระตุกเท่าพี่สนธิ และก็ความเป็นสนธิที่มีศักยภาพในการอธิบาย ข้อมูลใหม่ๆ ที่เอาออกมาเปิดโปง ผมคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าอาจจะมีกลุ่มผลประโยชน์ที่เสียประโยชน์ ได้รู้เช่นเห็นชาติของระบอบทักษิณให้ข้อมูลอะไรมาด้วย มันทำให้การกระตุกของพี่สนธิเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่น่าสนใจหรือสนธิ ฟีเวอร์ในช่วงนั้น"

 

"แต่ ว่ามันจะเกิดรอบสองหรือไม่ผมว่ามันไม่ง่ายหรอก เช่นสมมติว่าพี่สนธิเป็นหัวหน้าพรรคหรือนำทัพลงเลือกตั้งจะฟีเวอร์ไหม ผมไม่แน่ใจ พี่สนธิมีศักยภาพพอที่จะเป็นคู่แข่งที่ท้าทายของพรรคการเมืองอื่นๆ แต่จะได้รับการยอมรับจะฟีเวอร์เหมือนปี 2548 หรือไม่ ผมไม่แน่ใจ ต้องดูสถานการณ์ดูองค์ประกอบหลายอย่าง ขายอะไร เสนออะไร ถ้าทำให้สังคมเห็นแล้วมีความหวังก็ซื้อใจได้ ถ้าทำให้รู้สึกว่ามัน change มันเปลี่ยนจริง เปลี่ยนไปสู่อะไรด้วย มันก็อาจจะฟีเวอร์รอบสองได้ และถ้ามันฟีเวอร์รอบสองจริงผมว่ามันจะขยับการเมืองไปอีกขยักหนึ่งแน่นอน วังวนมันจะขยับไปสู่สถานการณ์ใหม่ แต่จะเป็นแบบไหนผมยังไม่รู้ มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับ impact จาก ปรากฏการณ์นั้นด้วย ว่ามันคืออะไร แต่ต้องยอมรับว่าโจทย์เปลี่ยนไปแล้ว และมันไม่ง่ายด้วยที่จะฟีเวอร์ หรืออาจจะไม่ฟีเวอร์เลยก็ได้ ในด้านกลับกันอาจจะเป็นจุดจบเลยก็ได้ ซึ่งนี่ก็เป็นข้อห่วงใยของคนที่ไม่เห็นด้วยกับพรรค ว่าคิดเรื่องพรรคกำลังเป็นจุดจบของพันธมิตร มวลชนหลายคนก็ comment ก็มีวิธีคิดแบบนี้ แค่คิดเรื่องพรรคก็จบแล้ว ซ้ำร้ายยังเอาพี่สนธิมาเป็นหัวหน้าพรรคลงเลือกตั้งยิ่งจะไปกันใหญ่ ซึ่งก็น่าคิดมาก"

 

สนธิ ในฐานะผู้นำพันธมิตรกับสนธิในฐานะหัวหน้าพรรค จะถูกวิพากษ์วิจารณ์แตกต่างกัน ต้องยอมรับว่าสนธิมีจุดอ่อนเยอะ แม้แต่ในวงการสื่อ สื่อที่เชียร์พันธมิตร 100 ในนั้น 90 อาจจะไม่ชอบสนธิ

"ผม ยอมรับว่ามี ผมคิดว่าถ้าพี่สนธิจะต้องตัดสินใจทำพรรคการเมือง จะเป็นหัวหน้าพรรคเองหรืออะไรก็ตาม และต้องการสร้างปรากฏการณ์สนธิรอบสองก็ตาม ผมว่าพี่สนธิก็ต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่าแรงต้านไม่ใช่แค่จาก นักการเมือง จากสื่อหรือจากแนวร่วมด้วยกันเอง มันคงประเดประดังหรือปะทุออกมา อย่างที่เราไม่คาดการณ์ ก็เป็นไปได้"

 

"แต่ ผมยังคิดว่าทั้งหมดนี่ไม่ได้เป็นปัญหาหรอก ปัญหาอยู่ที่ว่าธงที่พี่สนธิถือคืออะไร เขาจะขายอะไรให้สังคม เขาจะพาสังคมไปทางไหน ตรงนั้นต่างหาก เพราะผมคิดว่าหลายครั้งสื่อจำนวนไม่น้อยที่เริ่มต้นจากการไม่เอาสนธิเลย หรือไม่ได้แฮปปี้กับปรากฏการณ์สนธิ หรือคลางแคลงใจว่าสุดท้ายสนธิจะไปซูเอี๋ยกับทักษิณ แต่วันหนึ่งสื่อก็ต้องยอมรับความจริงว่าเป็นไปไม่ได้และไม่มีทาง และวันนี้ข่าวเรื่องสนธิแอบไปจับมือแอบต่อลับๆ กับทักษิณก็ไม่เคยมี และนี่ก็เป็นสิ่งที่คุณสนธิได้พิสูจน์ตัวเอง ผมว่าเริ่มต้นพันธมิตรหรือปรากฏการณ์สนธิสื่อจำนวนไม่น้อยก็ระแวง จนเป็นเหตุให้สื่อ-เฮ้ย เมื่อสู้ก็ต้องสู้ อีกด้านหนึ่งถึงมาหนุนพันธมิตรก็มี แต่มันก็ไม่ง่าย ไม่ได้บอกว่าเขาจะหนุนต่อไปถ้าทำพรรค มันอยู่ที่ว่าพี่สนธิถือธงอะไร และสังคมใหม่ของแกคืออะไร เพื่อใคร เพื่อส่วนรวมจริงหรือเปล่า ถ้ามันพิสูจน์ตรงนี้ได้ผมว่ามันก็น่าสนใจนะ"

 

"แต่ สุดท้ายมันก็ต้องมาจากมวลชนของพรรคจริงๆ ซึ่งวันนี้ก็ต้องยอมรับว่าเอาเข้าจริงๆ เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับพรรค พอจะดูออกว่ามติจะออกมายังไง แต่เห็นด้วยกับพี่สนธิเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ มันออกมาถ้าภาษามวยก็หืดขึ้นคอ สูสีกันมาก ผมดู comment สัปดาห์ ที่ผ่านมาทั้งจากโทรศัพท์ อีเมล์ กระทั่งเว็บบอร์ดผู้จัดการ หรือในชุมชนพันธมิตร เรื่องพี่สนธิเป็นหัวหน้าพรรค แม้แต่นักข่าวที่แวดล้อมพี่สนธิ ก็ยังไม่ตกผลึกเรื่องนี้ แต่ทั้งหมดผมคิดว่าอยู่ที่มวลชนและอยู่ที่พี่สนธิด้วยว่าคิดอย่างไร"

 

เหมือน จะเลี่ยงไม่ได้ว่าถ้าตั้งพรรคคนที่จะนำพรรคก็ต้องสนธิ แม้จะไม่ใช่ผู้นำเดี่ยว แต่สมมติเลือกตั้งคนที่จะชูเป็นแคนดิเดทนายกฯ ก็ไม่มีใครนอกจากสนธิ

"candidate นายกคงยังไม่ได้คิดกันหรอก แต่ถ้าโจทย์ไปไกลขนาดนั้น [1] [1] เมื่อ สถานการณ์มาถึงมันก็ต้องหา แต่จะเป็นพี่สนธิหรือไม่ก็ตาม แต่คุณลักษณะหนึ่งของพรรคคือเรื่องการนำรวมกลุ่ม มันต้องชัดด้วย โอเคละ จุดเด่นของพี่สนธิหรือ 5 แกนนำ มันเป็นผลพลอยได้ และมันอาจจะเป็นพลังศรัทธาของพันธมิตรด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นพรรคผมถือว่าเป็นจุดเด่นเชิงปัจเจก แต่ว่าจะต้องไม่ให้จุดเด่นนี้ครอบงำหรือชี้นำพรรค อย่างน้อยๆ มันต้องดุลความเป็นองค์กรหรือการนำรวมกลุ่มมาคู่ขนานก็มาทำงานพร้อมๆ กับพลังของปัจเจก ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ เวลาพูดถึงพรรค คนก็จะนึกถึงคนเด่นๆ ของพรรค ยิ่งถ้าเป็นพันธมิตรก็คงต้องนึกถึงพี่สนธิหรือแกนนำ แต่สิ่งท้าทายของเราก็คือว่าจะสร้างกระบวนการนำรวมกลุ่มให้ได้รับการยอมรับ อย่างไร [1] [1]เป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งไม่เคยมีในการเมืองไทย อาจจะมีคนเคยทำแต่ไม่ประสบความสำเร็จ"

 

ที่มีคนบอกว่าการตั้งพรรคคือจุดจบของพันธมิตร มันก็น่าคิด

"น่า คิดมาก ผมได้ยินคำนี้ผมยังขนลุกเลยนะ มันน่าคิด เพราะทุกคนก็มองว่าถ้าเป็นพรรคพันธมิตรก็ต้องพี่สนธิ หลายคนก็ท้วงว่าที่พี่สนธิสัญญาว่าจะไม่เล่นการเมือง ซึ่งผมคงพูดแทนไม่ได้ ต้องเป็นพี่สนธิพูดเอง และต้องตัดสินใจ ไม่มีใครพูดได้ดีเท่าตัวพี่สนธิเอง ก็ยังไม่เคยคุยกัน"

 

ถ้ามองสถานการณ์มุมกว้าง สถานการณ์วันนี้และที่จะเป็นต่อไปนี้ รัฐบาลนี้จะอยู่ยาว อาจไม่ยุบสภาเลย ในสถานการณ์นี้ต่อให้พันธมิตรไม่ตั้งพรรค ภายใต้คำขวัญ "สงบ สันติ สามัคคี" พันธมิตรก็จบอยู่ดี

"นั่น เป็นการคาดการณ์ ซึ่งจริงๆ ก็คุยกันนะ ถ้าประชาธิปัตย์ไปได้ พันธมิตรอยู่ยาก คือความเป็นพันธมิตรไม่จำเป็นหรอก เพราะต้องยอมรับว่าประชาธิปัตย์เขาก็ยืนอยู่ตรงข้ามระบอบทักษิณ ถ้าเขาจัดระเบียบอำนาจได้ ระบอบทักษิณมันก็ไม่ออกอาการ แต่คนคิดเรื่องพรรคเท่าที่ผมฟังเหตุผลนะ คาดการณ์ในทางตรงกันข้ามว่าไปไม่ได้ ท่านนายกฯ อาจจะตั้งใจยังไงก็ตาม แต่ด้วยเงื่อนไขโครงสร้างการเมืองแบบเก่า ง่ายๆ โครงสร้างรัฐบาลชุดนี้ แค่นี้ก็เริ่มเห็นปัญหาแล้ว เรื่องจำนำข้าวโพด โควต้าครม.มันก็เริ่มออกอาการแล้ว เราก็ไม่รู้ว่ามันจะพลิกผันเมื่อไหร่ โครงสร้างแบบนี้ไม่เอื้อที่จะทำให้ประชาธิปัตย์อยู่จนครบวาระหรือกลับมาอีก สมัยโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง มันไปไม่ได้หรอก แม้ประชาธิปัตย์พยายามจะไปก็ตาม"

 

"ฉันทานุมัติ ของสังคมที่จะทำให้ประชาธิปัตย์อยู่ครบวาระ อาจจะไม่ใช่เพราะชื่นชมในความเก่งกล้าสามารถของเขา แต่ไม่อยากเห็นความวุ่นวาย เหมือนวันนี้คนไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาก็เพราะไม่อยากเห็นความวุ่นวาย ก็เลยอิหลักอิเหลื่อ เอาเถอะ อยู่ต่อไปเถอะ ดีที่สุดมันได้แค่นี้แล้ว ผมว่ามันอยู่ในเงื่อนไขแบบนี้มากกว่า มันอยู่ที่ว่าระบบนี้มันจะถึงโค้งสุดท้ายเมื่อไหร่ วันไหน และผมคิดว่าจะเร็วๆ นี้ ฉะนั้นวันนี้แม้ไม่มีพรรคพันธมิตรก็ตาม การเมืองไทยก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีพรรคการเมืองใหม่ๆ ทางเลือกใหม่ๆ ที่มุ่งมั่นเป็นสถาบันทางการเมือง เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง พันธมิตรไม่คิดก็ควรมีคนอื่นมาคิด ซึ่งเท่าที่ทราบก็มีหลายคนคิด แต่จะทำหรือเปล่าหรือทำได้หรือเปล่าอีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมเชื่อว่าปีสองปีนี้เราจะเห็นกลุ่มการเมืองใหม่ๆ บางทีอาจจะไม่เคยเล่นการเมือง ปัญญาชน นักวิชาการ นักธุรกิจ ที่คลีนหน่อยๆ จะลงสนามการเมือง ผมว่าก็เป็นไปได้ เขาอาจจะรอจังหวะ รอการล้มครืนของระบบโครงสร้างการเมืองแบบเก่า"

 

 

 

เบื่อการเมืองเก่า

เลือกพันธมิตร(เจ้าเก่า)

 

รัฐบาลอยู่ได้ไม่ใช่เพราะมีผลงาน แต่เป็นเพราะคนเบื่อความวุ่นวาย

"และคนก็รู้ว่าถ้าไปเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยกลับมาแน่ ทักษิณกลับมา พันธมิตรก็คงมาไล่กันอีก คนมันหลอนกับภาพความขัดแย้งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา คนเลยประคอง ผมว่าเป็นอารมณ์ประคองและให้โอกาส ถือเป็นความโชคดีในความโชคดี เป็นความโชคดีสุดๆ ของประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่มีทางได้เป็นรัฐบาลเลยในโครงสร้างแบบนี้ นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องทหารอยู่เบื้องหลังอีกเรื่องหนึ่งนะ"

 

แต่พันธมิตรเองก็ไม่ใช่จะดีในสถานการณ์ที่คนเบื่อสีเหลืองสีแดง

"ถูก ต้อง คนก็เลยปล่อย ต่อให้พันธมิตรออกมาเคลื่อนไหวขณะนี้ คนก็คงไม่เข้าร่วมมากมาย ตัวพันธมิตรเองนั่นหละ ก็อาจจะรู้สึกว่ายอมได้แม้จะเริ่มเบื่อหน่าย เริ่มออกอาการไม่ไว้วางใจประชาธิปัตย์ก็ตาม แต่ก็รับสภาพ ก็ได้แค่นี้ ต้องเข้าใจ ก็พูดกันเยอะในพันธมิตร บางส่วนถึงคิดเรื่องพรรค"

           

พูดง่ายๆว่าถ้าพันธมิตรไม่พลิกมาทำอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ พันธมิตรก็จบอยู่ดี

"ผม ก็ไม่เห็น ถ้าเราคิดแค่โจทย์สู้ระบอบทักษิณ แต่ถ้าคิดสร้างการเมืองใหม่ ก็ต้องบอกว่าพลังมันจะพอที่จะผลักดันได้หรือเปล่า ถ้าไม่คิดเข้าไปสู้ในสภา ซึ่งผมคิดว่าก็อาจจะได้ แต่มันคงนาน หรืออาจจะไม่ได้เลยก็ได้ เพราะเราสู้อยู่นอกสภาอย่างเดียวและไม่มีช่องทางไม่มีตัวแทนในสภาเลย มันไม่พอแล้วละ เราต้องยอมรับว่าบทเรียนสำคัญที่สุด ที่ผมคิดว่าการเมืองนอกสภาหรือภาคประชาชนคิดกันก็คือ นโยบายของเราแม้หลายเรื่องจะเข้าสู่สภา แต่มันไปบิดในสภา เช่นเวลานักการเมืองพูดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน มันคนละความหมาย พูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของนักการเมืองก็คนละแบบ ผมจึงคิดว่ามาถึงวันนี้พันธมิตรกับประชาธิปัตย์ที่เป็นแนวร่วมที่เคียงบ่า เคียงไหล่กันมา 2-3 ปี มีระยะห่างกันอยู่บ้าง มาถึงจุดที่เอาเข้าจริงคิดใหม่ทั้งคู่ ผมเชื่อว่าในประชาธิปัตย์มีบางส่วนคิดใหม่และอยากเปลี่ยน แต่บางส่วนก็พอใจ ซึ่งประชาธิปัตย์อาจจะแตกได้ในอนาคต แต่ถ้าแตกเพื่อการเปลี่ยนแปลงก็คุ้ม ถ้าประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคที่เล็กลงแต่เข้มแข็งด้วยอุดมการณ์และประโยชน์ คนส่วนใหญ่ก็ควรจะยินดี เพราะเราอยากมีพรรคแบบนี้ไม่ใช่เหรอ และผมมั่นใจอยู่อย่างหนึ่งถ้าพันธมิตรทำพรรค mass ของพันธมิตรจะเป็นลำต้นที่เข้มแข็งมาก นักวิชาการบางคนเสนอทฤษฎี 1 ลำต้น 2 กิ่ง mass ของ พันธมิตรจะได้เปรียบพรรคอื่นเพราะมันผ่านการต่อสู้ที่เข้มข้น อยู่ที่เราจะยกระดับต่อ ประคับประคองอย่างไร แต่ถ้าไปถามว่าพรรคอื่นมี mass แบบนี้ไหม ไม่มี ไทยรักไทยก็เริ่มต้นจากคน 10 คน 15 คน ไปตั้งโต๊ะหาสมาชิก ประชาธิปัตย์ก็เริ่มอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นพันธมิตรเริ่มจากข้างล่าง ไม่ได้เริ่มจากบนหอคอยงาช้าง อยู่ที่ว่าเราจะรักษาต้นทุนตรงนี้ให้ได้อย่างไร"

 

ไม่ปฏิเสธว่าพันธมิตรมีมวลชนที่เหนียวแน่น แต่ในกระแสสังคมทั่วไป คนที่เห็นด้วยกับพันธมิตรวันนี้มีน้อยนะ

 "ผม ว่าเป็นการบ้านที่ท้าทาย คือเอาเข้าจริงๆ ไม่ได้ทำพรรคมาเพื่อเป็นเวทีของพันธมิตรหรอก ถ้าคิดแค่นั้นมันก็จะเป็นเสียงข้างน้อยไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราคิดเพื่อคนส่วนใหญ่ จะเป็นสีไหนก็ตาม เป็นคนที่ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับเรา เป็นคนที่เห็นว่าบ้านนี้เมืองยังมีความอยุติธรรมอีกเยอะ และทำให้ดีกว่านี้ได้ ผมว่าเราจะไปได้ระยะยาว แต่เราต้องเสียสละต้องอดทนจริงๆ แต่ว่าระยะเบื้องต้นเราอาจต้องโรมรันพันตูกับระบอบทักษิณแน่นอน เราอาจจะเป็นพรรคเหลืองเผชิญหน้ากับพรรคแดงในสภา มันก็ต้องทำใจ แต่ระยะยาวไม่แน่ เราอาจจะเป็นโจทย์ร่วมเดียวกันกับทุกฝ่ายในสภาก็ได้ ไม่แน่ เวลาด้วยส่วนหนึ่งมันจะคลี่คลายตัวมันเอง และความมุ่งมั่นของเราด้วยมันจะตอบคำถาม ความแคลงใจของฝ่ายตรงกันข้าม"

 

คือมันจะติดสีเหลืองอยู่ ติดเรื่องความรุนแรง ยึดสนามบินยึดทำเนียบ หรือการเมืองใหม่ คุณเสนอ ส.ส. สรรหาจากสาขาอาชีพ อ้าว! แล้วมาลงเลือกตั้งทำไม (แซวให้พอหัวเราะกันเบาๆ)

"เรื่องการเมืองใหม่วันที่ 24 จะมีการเผยแพร่เอกสารที่เป็นชุดความคิดการเมืองใหม่พันธมิตรซึ่งสังเคราะห์ กันมาตั้งแต่ช่วงชุมนุม จะเป็นครั้งแรกที่เผยแพร่เอกสารชิ้นนี้ ประมาณ 50 หน้าซึ่งเป็นเค้าโครงความคิดเรื่องการเมืองใหม่ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึษา เป็นเค้าโครงเบื้องต้น"

 

เช่นอะไรบ้าง

"เช่นระบบเลือกตั้งซึ่งคนก็ไปติด 70:30 จริงๆ เราก็ออกแถลงการณ์ภายหลังว่าไม่ใช่สรรหา 30 เลือกตั้ง 70 เพียงแต่เราต้องการเปลี่ยนที่มาของการเข้าสู่อำนาจใหม่ให้มันยึดโยงกับสาขา อาชีพมากขึ้น ไม่ใช่แค่ยึดโยงกับเขตหรือพื้นที่ มันสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคมได้มีที่นั่งในสภา จริงๆ เราคิดมากกว่านั้น เวลาเราพูดถึงเสถียรภาพของรัฐบาลแต่เราไม่สนใจความเข้มแข็งของสังคมหรือ ประชาชน รัฐบาลเข้มแข็งแต่สังคมอ่อนแอก็ไม่คุ้ม แต่ถ้าเราเปลี่ยนว่าสังคมต้องเข้มแข็ง เราก็เชื่อว่ารัฐบาลจะเข้มแข็ง ต้องเปลี่ยนวิธีคิดด้วย แม้กระทั่งเรื่องกระจายอำนาจที่มีการพูดกัน เรื่องรัฐสวัสดิการ จะมีความชัดเจนมากขึ้น อ่านแล้วจะพอเห็นชุดความคิด ซึ่งไม่แน่อาจจะเป็นนโยบายพรรคก็ได้"

 

คือสรุปสิ่งที่ได้พูดมา

"ในช่วง 193 วัน ซึ่งมีการสัมมนาใหญ่กัน 9 ครั้ง ผลสัมมนาส่งกลับไปให้แนวร่วมต่างจังหวัด แล้วเขาส่งกลับมา เราก็มาสังเคราะห์ มันก็นำร่อง เรายังมีเวลาคิดเยอะ"

 

"มี อีกส่วนที่ผมลืมพูด พอกระแสเรื่องพรรคออกไป ก็มีกลุ่มทุนที่พอมีอันจะกินสนใจ พวกนี้ไม่เคยเล่นการเมือง ไม่เคยสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นชนชั้นกลางที่ประสบความสำเร็จก็สนใจ ชวนไปคุยหลายคน หรือแม้แต่กลุ่มการเมือง ปัญญาชนบางกลุ่มก็สนใจ เชิญเราไปคุย เยอะมาก หรือกระทั่งบรรดาหัวคะแนน นักเลือกตั้ง ก็จะมีมา ผมคิดว่าทันทีที่มันเป็นพรรค การเข้ามาของหลายส่วนมันจะสูงมาก ซึ่งต้องมีกระบวนการกลั่นกรอง เรื่องทุนเหมือนกัน เราไม่ปฏิเสธทุนหรอกแต่ต้องสร้างเงื่อนไขในการหาทุน ถ้าเป็นทุนเก่าทุนที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เราต้องปฏิเสธ แต่ถ้าทุนไหนคิดว่ามีความรับผิดชอบอยากเห็นบ้านเมืองดี เดินเข้ามาจับมือกับเรา และห้ามมีเงื่อนไข เราต้องวางมาตรฐาน ที่คิดกันไว้บ้างคือน่าจะมีการระดมทุนจากสมาชิกนะ บางส่วนก็เสนอแบบนี้"

 

มันจะต่างจากพันธมิตรที่รับทุนฝ่ายไหนก็ได้

"ขณะเดียวกันถ้าการเงินเรามีวินัยมากขึ้นการบริจาคก็อาจจะมากขึ้น"

 

กลับมาวิเคราะห์สถานการณ์ของรัฐบาล ถ้าอยู่จนครบวาระ

"ผม กลับมองว่าเป็นประโยชน์กับพันธมิตรถ้าคิดเรื่องตั้งพรรค เวลาจะได้ทำให้เราได้คิดอะไรมากขึ้น มีกระบวนการในเขียนนโยบาย สร้างมวลชนให้เข้มแข็ง และหาบุคลากรลงเลือกตั้ง แต่ถ้ายุบสภาปลายปี เราไม่รู้จะทันหรือเปล่า เพราะมันมีกระบวนการทางกฎหมาย และบุคลากร แต่ถ้าเริ่มต้นเราวางระบบดี ระยะยาวเราก็ไปง่าย ในสถานการณ์ถ้าประชาธิปัตย์ยังพอไปได้ ระบอบทักษิณเสื่อมถอยลง ผมว่าก็เป็นโอกาสดีของพันธมิตรที่จะคิดเรื่องพรรคหรือเรื่องแนวทางการต่อสู้ แบบใหม่ๆ แต่ถ้าสถานการณ์มันเร่งเร้าพลิกผัน ผมไม่รู้ว่ามันจะดีหรือร้าย แต่มันจะเป็นปัญหาเรื่องความพร้อมของเรา"

 

ในกระแสที่คนเบื่อการเมือง มันเหมือนรอวันระเบิดของอะไรสักอย่างหรือเปล่า

"ถ้า สมมติว่ามันจริงในสถานการณ์นั้น พันธมิตรจะอยู่ตรงไหนของสถานการณ์ ผมว่าความเป็นพันธมิตรยังมีศักยภาพพอที่จะเคลื่อนไหวทางการเมือง และก็มีพลังทางการเมือง แต่จะได้รับยอมรับหรือไม่อยู่ที่ประเด็น แต่ถ้าสถานการณ์มันระเบิดตูม มีปัจจัยที่นอกเหนือความคาดหมายของเรา ผมว่ายังไงก็ตามการเกาะเกี่ยวกันในความที่เป็นพันธมิตรที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข กันมา 3 ปี เราพร้อมเคลื่อนไหวตลอดเวลา การคิดเรื่องพรรคไม่ได้เป็นปัญหาให้ต้องแตกแยกอะไร ผมเชื่อว่าคนไม่เห็นด้วยก็ไม่ถึงขั้นหันหลังหรอก แต่อาจจะอยู่กับพันธมิตรไปก่อนดีกว่า ทำภาคประชาชนไปดีกว่า"

 

มอง ยาวๆ คิดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป หลังจากความเบื่อของคนที่อุ้มประชาธิปัตย์อยู่อย่างนี้ถ้ามันระเบิดขึ้นมาจะ ออกจากสถานการณ์นี้อย่างไร

"ถ้า ตัวระบบมันไปไม่ได้ และความอึดอัดของคนถึงขีดจำกัด ผมกลับรู้สึกว่าเป็นด้านบวกนะ สิ่งใหม่จะเข้ามาแทนที่สิ่งเก่า ผมเชื่อว่าการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ จะได้เปรียบ และอาจจะเป็นคำตอบก็ได้ ฉะนั้นสิ่งใหม่อย่างเดียวไม่พอหรอก มันอยู่ที่ว่าคิดตอนไหนพูดตอนไหน และก็เสนอตอนไหนด้วย ผมถึงบอกว่าการพูดเรื่องการเมืองใหม่บนเงื่อนไขที่การเมืองเก่ากำลังเข้ามา สู่โค้งสุดท้าย มันถูกที่ถูกทางถูกเวลาในทัศนะผม เพราะเราวิเคราะห์ว่าจริงๆ ก็ไม่น่าจะนาน ที่ความเห็นต่างของประชาชนจะมาถึงขีดสุดที่จะปล่อยให้โครงสร้างระบบเก่าๆ แบบนี้ การเมืองแบบเก่า นักเลือกตั้งหาประโยชน์แบบนี้ ไปไม่ได้แล้ว การลุกฮือหรือการควานหาสิ่งใหม่ๆ ของประชาชนก็อาจจะมี เช่นการแสดงประชามติผ่านการเลือกตั้งว่าต้องการพรรคใหม่ ก็เป็นไปได้ ผมว่ากระแสการเมืองใหม่สร้างไม่ยากหรอก เพราะคนมันอิดหนาระอาใจ มันอึดอัดเต็มที่แล้วกับระบบเก่า เพียงแต่มันหาสิ่งใหม่ไม่ได้ และเขาคอยดู ว่าพันธมิตรมันใหม่จริงหรือเปล่า มันของแท้หรือเปล่า เขาเฝ้าดูเขาเงี่ยหูฟัง"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ล้อมกรอบ)

 

"เราจะเดินไปกับอำมาตย์"

 

 

"ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเดินออกจากอำมาตย์หรือไม่ แต่ท้าทายว่าจะเดินไปพร้อมๆ กับอำมาตย์ และให้อำมาตย์เดินไปพร้อมๆ กับ เรา อย่างรู้ร้อนรู้หนาวกับชะตากรรมของบ้านเมืองอย่างไร เพราะผมเชื่อว่า สุดท้ายแล้วไม่มีใครเห็นแก่ตัวจนไม่เห็นถึงความถูกต้อง จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง มันอยู่ที่การออกแบบว่า เวทีการเมืองจะทำให้เป็นการเมืองที่ทุกฝ่ายเข้ามาเล่นและไม่เอาเปรียบกัน"

 

 เราบอกว่าพรรคพันธมิตรต้องเริ่มต้นจากติดลบนะ เพราะตอนนี้คือกระแสเบื่อทั้งเหลืองและแดง

 

"ผมก็ว่าไม่ง่ายหรอก ส่วนหนึ่งก็ต้องใช้เวลา สอง-ต้องใช้ความมุ่งมั่นของคนทำงานว่าเสียสละจริงหรือเปล่า พร้อมจะพิสูจน์ตัวเองจริงหรือเปล่า แต่แน่นอนว่าชูธงปุ๊บ คนที่เคยต้านก็ต้านอยู่ คนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีกับพันธมิตรฯ ก็ยังค้านอยู่ แต่ถ้าความไม่เห็นด้วยของเขายืนอยู่บนเหตุและ

ผล คนเหล่านี้ก็เป็นแนวร่วมกับเราได้ เราแลกเปลี่ยนได้ แต่ถ้าต้านเพราะอคติ ต้านเพราะเสีย

ประโยชน์ จากการเคลื่อนไหวของเรา ต้องใช้เวลา เพราะไม่มีการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองใดหรอกที่คนเห็นด้วยทั้งประเทศ มีคนเห็นด้วยกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่เขาทำมันเป็นคุณเป็นประโยชน์กับบ้านเมือง ตรงนั้นแหละคือปัจจัยชี้ขาด ดัง นั้น ผมคิดว่าพรรคการเมืองใหม่ถ้าจะทำงานจริงๆ จะต้องมาทำงานการเมืองนอกสภาฯ พอๆ กับในสภาฯ หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป ถ้าทิ้งการเมืองนอกสภาฯ ก็จบ"

 

พลังมวลชนนอกสภาฯ ที่จะพัฒนาไปสู่พรรคการเมืองได้ก็คือสีเหลืองกับสีแดง แต่สีแดงอาจ

จะมีโอกาสน้อยกว่า มีเงื่อนไขเอื้ออำนวยด้อยกว่า

"สีแดงเขาก็ถือว่าพรรคเพื่อไทยเป็นสีแดง"

           

ถ้าพูดถึงสถาบันเสื้อแดงแบบที่เขาคิด

"เงื่อนไขทางสังคมไม่ได้เปิดให้ทางความคิดเสื้อแดงทำพรรค ผมว่ามันก็ไม่แน่ มันอาจจะ

เป็นคู่แข่งการเมืองในสภาฯ ก็ได้ มัน อาจจะดีด้วยซ้ำ ที่จะมีคู่สองความคิดที่ชัดเจนในสภาฯ ผมกลับมองเป็นเรื่องดีนะ ในสภาฯ ตอนนี้มันก็ทุนนิยมไปหมดแล้ว ไม่ได้มีอุดมการณ์ที่หลากหลาย ผมกลับมองเป็นเรื่องดีนะ ถ้าเสื้อแดงจะทำเป็นสถาบันจริงๆ และเข้าไปในสภาฯ จะเป็นประโยชน์มากกว่าจะไปผูกกับกลุ่มเสื้อแดงที่รับใช้ระบอบทักษิณ"

 

เขาต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าไปสู้ในพรรคเพื่อไทยให้เป็นพรรคของเขา

"ซึ่งไม่ง่าย เพราะ ว่าเขาเริ่มต้นจากระบอบทักษิณ และคนในไทยรักไทย มันเกาะกันอยู่ มันพึ่งพิงพึ่งพากันอยู่ แต่พันธมิตรฯ ไม่ได้เริ่มต้นจากประชาธิปัตย์ มันเริ่มต้นจากปรากฏการณ์สนธิ เริ่มต้นจากเอ็นจีโอภาคประชาชน ผู้ใช้แรงงาน ชนชั้นกลาง เข้ามาร่วมกันต่อสู้ ฉะนั้นโอกาสจะมากกว่าเสื้อแดง และถ้าสถาบันเสื้อแดงไปผูกกับเพื่อไทยไม่มีทางเริ่มต้นได้ จะถูกครอบในที่สุด แม้แต่คนที่อ้างว่าเป็นแดงแท้ ในพรรคเพื่อไทยก็ยังถุยๆ กันเลยว่าฉวยโอกาสทั้งนั้น เพียงแต่เป็นอดีตฝ่ายซ้าย มันก็ยังมี ฉะนั้นถ้าจะเป็นสถาบันแดงจริงๆ จะต้องหันหลังให้เพื่อไทย วันนี้พันธมิตรฯ คิดเรื่องพรรค แม้อาจจะไม่ต่างจากประชาธิปัตย์ในเชิงอุดมการณ์นัก แต่ก็ไม่เคยคิดว่าต้องไปแย่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ หรือต้องไปเปลี่ยนเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าสร้างสิ่งใหม่แล้วมันไปได้

 

ดี มันน่าสนใจ ก็ไม่แน่นะประชาธิปัตย์อาจจะกระโดดมาอยู่กับเรา ในระยะยาวก็ไม่แน่ หรืออาจ

จะรวมเป็นพรรคเดียวกันก็ได้ ฉะนั้นถ้าจะให้เป็นประโยชน์ คนที่คิดเรื่องสถาบันเสื้อแดงต้องฉีกตัวออกมาทำ ถึงเวลาแล้ว ผม เชื่อว่ามีคนเสื้อแดงที่ตั้งใจ เพียงแต่มุมมองประชาธิปไตยต่างจากเรา คุณจาตุรนต์พูดถูก-ถ้าไม่เสแสร้ง-ว่าต้องเอาประชาธิปไตยนำการต่อสู้ไม่ใช่ คุณทักษิณ แต่ยังไม่เห็นการขยับ ถ้าเขาขยับตรงนี้มันจะทำให้การเมืองมีเนื้อหาและมีความคาดหวังมากขึ้น ความขัดแย้งในเชิงความคิดอุดมการณ์ไม่เสียหายหรอก และจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายด้วยซ้ำ"

 

ถ้ามีพรรคสีเหลือง-สีแดงในสภาฯ ก็จะดีใช่ไหม

"ถ้ามันเป็นขั้วในสภาฯ ได้ก็ไม่เลวนะ แต่ให้มันชัดหน่อยว่ามันจริงนะ มันไม่แฝง ไม่มี วาระซ่อนเร้น แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขทางสังคม มันเปิดพอที่เสื้อแดงจะทำงานการเมืองเข้าสู่สภาฯ ได้ไหม แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเริ่มต้นเข้าสู่ทางการเมืองอย่างนี้อย่าง เดียว มันเริ่มต้นจากการสร้างสถาบันที่มีมวลชนและมีผลงานนอกสภาฯ ได้ มันต้องทำให้เห็นก่อนว่าบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของคุณทักษิณหรือนักเลือกตั้ง"

 

มัน ไม่จำเป็นต้องเดินสไตล์เดียวกัน เขาอาจจะใช้ซึ่งกันและกัน ไปกับนักการเมือง ขณะที่นักการเมืองต้องเกรงใจเสื้อแดง เขาเดินอีกแบบก็ได้ สภาวะมันไม่เหมือนพันธมิตรฯ

"ถ้าเดินแบบนั้นก็จะตกอยู่ในเกมคุณทักษิณ ผม ว่าคุณทักษิณใช้เสื้อแดงปีกก้าวหน้าได้มากกว่าเสื้อแดงปีกก้าวหน้าใช้คุณ ทักษิณ ที่ผ่านมา ผมคิดว่าถ้าเสื้อแดงปีกก้าวหน้าถอยออกมาและประกาศตัวให้ชัดเจน ผมว่าก็น่าสนใจ แต่ถ้าคิดว่าพึ่งพิงกันแบบนี้ผมว่า-เอาง่ายๆ พูดถึง อ.จรัล ผมฟังปราศัยแกตี 3 ตี 4 ผมว่าไม่ใช่ ผมว่าถูกเขาใช้มากกว่า อาจารย์ไปใช้เขา ขออนุญาตพูดถึงแก ผมรู้สึกอย่างนั้น เสียดายไม่เสียดาย ที่จริงเราอาจจะคิดไม่ต่างกันหรอก แต่ผมคิดว่ามวลชนที่เป็นแดงก้าวหน้าจริงไม่ได้มีเยอะ มันน้อยกว่ามวลชนเหลืองโดยธรรมชาติมากๆ เลย แต่ไปคิดว่าถ้าเราไปเกาะกระแสทักษิณ ไป จัดตั้ง แปลงมวลชนของทักษิณเป็นพลังเสื้อแดงที่ก้าวหน้า ผมไม่รู้ว่ามันได้จริงหรือเปล่า เอาเข้าจริงมันก็ถูกเรื่องทักษิณมาบดบังไปหมด ความคิดใหม่ๆ ที่เป็นความคิดที่ก้าวหน้า เป็นประโยชน์ของคนหมู่มากมันไม่ออก และมันก็มีเรื่องความรุนแรง ผมไม่ได้บอกว่าเสื้อเหลืองทำได้ง่ายกว่าเขา ในกระแสสีเหลืองมันก็มีส่วนหนึ่งที่คิดว่าต้องไปไกลกว่านี้ แต่ว่าอาจจะไม่ได้เด่น แต่โอกาสมันดีกว่าเพราะมันไม่ได้เริ่มจากการผูกติดกับคุณทักษิณ"

 

ไม่อยากพูดเลยว่าในด้านกลับกันเขาก็ว่าพันธมิตรฯ ไปผูกติดกับอำมาตย์ และไม่รู้ว่าใครใช้ใครเหมือนกัน

"มันเป็นความเชื่อ สุดท้ายก็พิสูจน์กัน เขาก็วิจารณ์เราเหมือนที่เราวิจารณ์เขา แต่ผมมองระยะยาวมากกว่า ก็มีคนถามเยอะว่าเสื้อเหลืองเสื้อแดงมีโอกาสเจอกันไหม พูดคุยกันได้ไหม ผมก็บอกว่าโอกาสเจอมันมีแต่จะคุยอะไรกันล่ะ ถ้า เรานิยามความขัดแย้งเหลืองกับแดงแค่เอา-ไม่เอาทักษิณ คุยกันยาก แต่ถ้าเราบอกเหลืองแดงคือความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมของระบบที่ดำรงอยู่ มันอาจเป็นไปได้ ฉะนั้นถ้าจะตั้งโจทย์เชิญเสื้อแดงเสื้อเหลืองไป สมาคมนักข่าวฯ หรือกลุ่มสารเสวนาเคยเชิญหลายครั้ง โจทย์มันล้าหลังไป โจทย์มันดึงคนไปทะเลาะกันเท่านั้นเอง แต่ถ้าชวนคิดชวนมองไปข้างหน้าก็น่าสนใจ ผมมองระยะยาว ผมไม่ได้ไปดูถูกดูดายพลังคนเสื้อแดง โดยเฉพาะคนยากคนจน แถวบ้านผมก็สีแดงเยอะแยะ เขามีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมอยู่เหมือนกันในระบบในโครงสร้าง เพียง แต่ว่าแกนนำอาจจะไปหยิบยื่นว่าทักษิณคือคำตอบ แต่ถ้าแกนนำบอกว่าประชาธิปไตยแบบใหม่คือคำตอบ ไม่แน่ บังเอิญว่าความผิดพลาดคือประชาธิปไตยของเขาเท่ากับคุณทักษิณ ผมก็เสียดาย และวาทกรรมตรงนี้ฝ่ายซ้ายก้าวหน้าในสีแดงไม่ได้ออกมาต่อสู้หรือช่วงชิงนิยาม การท้วงติงจากคุณจาตุรนต์ก็น่ารับฟัง แต่ในยามหนึ่งคุณจาตุรนต์ก็จมอยู่กับเสื้อแดงจนคลับคล้ายคลับคลา คนก็เข้าใจว่าแกก็เป็นแค่หน้าหนึ่งของระบอบทักษิณเท่านั้นเอง"

 

ก็จะถูกย้อนกลับเหมือนกันนั่นแหละ แต่เอางี้ดีกว่าว่า พูดได้ไหมว่าถ้าตั้งพรรคแล้ว มีอุดมการณ์ของตัวเองแล้ว พันธมิตรฯ จะหลุดจากที่เคยอิงอำมาตย์

 "และเขาก็อาจจะไม่เอาคุณด้วย เพราะความคิดของคุณมันไปอีกทางหนึ่ง" เจ้าตัวเสริมให้

 

"ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องดูมวลชนเป็นสำคัญว่าพร้อมหรือตื่นตัวแค่ไหน ถ้าเราเร่ง

ไป เร็วไป เราฆ่าตัวตาย เหมือนวันนี้ฝ่ายซ้ายบางปีกเขาบอกว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ไปปลุกให้ฝ่ายขวากลับมามีบทบาท หรือทำให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยฟื้นคืนชีพ ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย ผมก็โต้แย้งไปว่า การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงต่างหากที่ทำให้อำมาตยาธิปไตยกลับมามีพื้นที่ หรือทำให้พลังอนุรักษนิยมกลับมามีเวที เพราะเสื้อแดงไปเร่งเร้า และเปลี่ยนแปลงในลักษณะถอนรากถอนโคน เช่น การโจมตีอำมาตยาธิปไตย คุณปฏิเสธไม่ได้หรอก คุณบุกไปหน้าบ้านป๋า คุณจะไม่ให้ป๋าสู้ได้อย่างไร ที่ผมพูดถึงป๋าที่คุณทักษิณอ้างว่า อยากรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังรัฐประหารให้ไปถามสุริยะใส เพราะผมไปสัมภาษณ์ OPEN และลง IMAGE ว่าป๋าเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ประเด็นไม่ใช่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง ประเด็นอยู่ที่ว่าถ้าป๋าจะเกี่ยวข้องเพราะอะไร ป๋า รู้สึกว่าถูกคุกคามจากระบอบทักษิณ ป๋าถึงต้องสู้ ฉะนั้นเมื่ออำมาตยาธิปไตยถูกคุกคามจากเสื้อแดง เขาต้องสู้ และผมคิดว่าคนเหล่านี้มีอำนาจก็มาจากการต่อสู้ของเขาเองทั้งนั้นแหละ เขาก็ไม่ได้มาลอยๆ เหมือนกัน เมื่อวันหนึ่งเขาถูกคุกคามจากคนเสื้อแดงเขาต้องสู้ ผมจึงถามกลับว่า การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงต่างหากที่ไปทำให้อำมาตย์โตขึ้น เพราะรู้ว่าต้องสู้ รู้ว่ามีภัยคุกคาม แต่พันธมิตรฯ ไม่ใช้วิธีอย่างนั้น พันธมิตรฯ บอกว่าเราเป็นพวกกัน เรารู้ว่าคุณทักษิณ corrupt เรารู้ว่าคุณทักษิณได้ประโยชน์จากประเทศนี้แล้วไม่ยอมหยุด เราไปชวนทุกฝ่ายมา ชวนทหาร ชวนอำมาตย์ มาช่วยคุยช่วยคิด และผมก็เห็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในเยอะ"

 

"อดีต พลเอกหลายคนคุยกับผม ผมอยากเชิญเขามาเป็นประธาน ครป.เลยนะ มีหลายคนมาเสนอเอาพลเอกคนนี้มาเป็นประธาน ครป. ขนาดนั้นเลย แต่อย่าให้เอ่ยชื่อ ผมรู้สึกว่ากอดคอคิดกอดคอคุยดีกว่าไปชักธงว่ามึงเป็นศัตรู ผม ว่าเราเปลี่ยนเขาได้มากกว่า ผมไม่เคยมองอำมาตย์เป็นศัตรู วันนี้ แต่กำลังจะบอกอำมาตย์ บอกระบอบที่เสื้อแดงโจมตี ว่าประเทศมีปัญหานะ อยู่อย่างนี้ไม่ได้ ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยน แต่เปลี่ยนแบบไหนที่เราจะอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแล้วมีแต่ทักษิณ แต่คนอื่นอยู่ใต้อุ้งเท้าหมด"

 

"ฉะนั้น ในทางวิชาการ มีนักรัฐศาสตร์มาถามผม เสื้อเหลืองทำให้อำมาตยาธิปไตยกลับคืนมา ผมบอกเสื้อแดงต่างหาก และกลับคืนมาอย่างน่ากลัวด้วย ผมรู้สึกว่าเขาต้องปกป้องอาณาจักรของเขา ซึ่งตอนรับร่างรัฐธรรมนูญ ผมก็สัมภาษณ์ลงประชาไท ทั้งที่ผมก็ไม่อยากสัมภาษณ์ เพราะรู้สึกว่าพรรคพวกหลายคนก็ใช้เว็บไซต์ประชาไทเป็นเวทีคัดค้านรัฐธรรมนูญ ที่เขาเรียกว่าฉบับอำมาตยาธิปไตย ผมกลับบอกว่าที่ผมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะที่คุณบอกว่าเป็นอำมาตยาธิป ไตย เพราะผมเชื่อว่าอำมาตยาธิปไตยคือองค์อำนาจหนึ่ง มีอยู่จริงในสังคม และ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ดึงเขาออกจากที่มืด เราชอบไม่ใช่หรือแบบนั้น มาเล่นในกติกาเดียวกัน อย่าเล่นใต้ดิน ก็มาสู้กันในที่แจ้ง ถ้าเราคิดว่าประชาชนตื่นตัวและก็เรียนรู้ได้ ผมไม่กลัวเลยในระยะยาว มัน จะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยน แต่ไปม็อบหน้าบ้านแล้วชี้ด่าอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าอันตรายมาก ทำให้การกลับมาของอำมาตย์น่ากลัวกว่าที่คุณกำลังกล่าวหาพันธมิตรฯ ว่าทำให้อำมาตย์กลับมา น่ากลัวกว่าหลายเท่า"

 

เอ้อ-ไม่ถกเรื่องนี้ดีกว่า เพราะถกกันมาเยอะแล้ว ไม่ต่อความยาว เอาเป็นว่าการตั้งพรรคจะเป็นการเดินออกจากอำมาตยาธิปไตยหรือเปล่า

"ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเดินออกจากอำมาตย์หรือไม่ แต่ท้าทายว่าจะเดินไปพร้อมๆ กับอำมาตย์ และให้อำมาตย์เดินไปพร้อมๆ กับ เรา อย่างรู้ร้อนรู้หนาวกับชะตากรรมของบ้านเมืองอย่างไร เพราะผมเชื่อว่าสุดท้ายแล้วไม่มีใครเห็นแก่ตัวจนไม่เห็นถึงความถูกต้อง จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง มันอยู่ที่การออกแบบว่า เวทีการเมืองจะทำให้เป็นการเมืองที่ทุกฝ่ายเข้ามาเล่นและไม่เอาเปรียบกัน ถ้าทำให้อำนาจตรงนี้ถูกแชร์ผมว่ามันจะไปกันได้ ผมไม่คิดว่าประเทศไทยต้องเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมนะ ต่อให้เปลี่ยนพรุ่งนี้ก็ไปต่อไม่ได้ หรือกลับไปเป็นเมื่อ 70-80 ปี ก็ไม่ได้อีก มันต้องพหุภาคี แต่ว่าจะแชร์กันอย่างไรไม่ให้หลอกใช้ซึ่งกันและกัน แชร์กันบนเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็นตัวตั้ง ผมว่าแบบนี้มันสร้างสรรค์กว่า และเราจะสามารถสร้างแนวร่วมได้ ถ้าเป็นพรรค และคนที่สู้กับเราจะไม่หาย ผมว่าอันนี้ท้าทายกว่าว่าเราจะหนีอำมาตย์อย่างไร ถ้า คิดแบบนั้นผมว่าอาจจะแพ้ก็ได้ เรายังยอมรับความจริงว่าอำมาตย์เป็นองค์อำนาจหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งผมยืนยันว่ามีจริง อยู่ที่เราจะเปลี่ยนเขาอย่างไร หรือทำให้เขาเห็นชะตากรรมของบ้านเมืองคล้ายๆ กับเรา นี่ท้าทายกว่า"

 

ไม่อยากเถียงจริงๆ แต่จำเป็นต้องแย้งว่า ที่บอกว่า "แชร์กัน" มันไม่ใช่ ที่บอกว่าเอาอำมาตย์ออกมาจากมุมมืด คือตอนนี้ยิ่งเอาเขาออกมามีอำนาจมากขึ้น ถ้าคิดจะเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองก็ขัดกันอยู่ดี

"ผมว่าการสร้างตัวตนของพันธมิตรฯ ไม่ง่ายหรอก เพราะเรายึดโยงกับหลายชนชั้น ฉะนั้นการคิดหนีออกจากอำมาตย์ เป็น ตัวของตัวเอง ยิ่งไม่ง่ายด้วยซ้ำไป ผมว่ามันต้องมีหลายระยะ ทางเดินของพันธมิตรฯ คงต้องหลายช่วง บางทีเวลาหนึ่งอาจจะทำให้เราเป็นตัวของตัวเองโดยเงื่อนไขเวลาก็ได้ โดยความพร้อมของสังคมก็ได้ แต่มันต้องมีแบบแปลนนะ ไม่ต้องไป road map ว่าต้องออกจากอำมาตย์หรือเปล่า มันเร็วเกินไป ถ้าเป็นเซนส์ของผมที่คลุกคลีกับการต่อสู้และได้สัมผัสกับชนชั้นสูงอยู่บ้าง ผมไม่รู้สึกว่าเขาหลอกใช้ผมนะ เพราะผมได้พูดว่าผมเห็นปัญหาประเทศอย่างนี้ คนจนไม่ใช่เพราะโง่หรอกแต่ถูกกดขี่มานาน ผมคิดว่ามีคนแบบผมเยอะ และถ้าเราทำสิ่งที่เราทำและพิสูจน์ตัวเองได้ เชื่อว่าเราจะโน้มนำเขาได้ และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เสียเลือดเนื้อ ผมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ผมกลัวการเปลี่ยนแปลงที่มันฆ่าผู้บริสุทธิ์"

 

พูดอย่างเป็นนามธรรมมันสวยหรู แต่พูดเป็นรูปธรรมมันลำบาก ถ้าคุณจะสู้เพื่อประชาชนคุณก็ต้องออกนโยบายที่กระทบชนชั้นสูง ถ้าคุณจะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น ตรวจสอบศาล

 ลดอำนาจกองทัพ มันก็กระทบ และจะทำได้อย่างไรในเมื่อที่ผ่านมาคุณพึ่งกองทัพ พึ่งอำนาจตุลา

การไล่ทักษิณ แล้วไปให้อำนาจเขามากกว่าเดิม

"ผม มองแบบทฤษฎีวิวัฒน์ก็คือมันแค่ช่วงหนึ่ง ผมไม่เชื่อว่าระบบตุลาการอยู่แบบนี้จะอยู่ได้นาน ถึงจุดหนึ่งต้องเปลี่ยน แม้แต่อำมาตย์เหมือนกัน วิวัฒนาการของสังคมมาถึงจุดที่ผมคิดว่า โอเค คุณจะมองปรากฏการณ์เสื้อแดงยังไงก็ตาม แต่การพูดถึงอำมาตย์มันสะเทือนที่สุด อาจจะสะเทือนมากกว่าการเคลื่อนไหวของ พคท.เมื่อ 30-40 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ ผมว่าทุกคนคิดว่าจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองยังไง เพียงแต่มันอยู่ใน timing ไหนที่เขาจะบอกว่าเขาจะเปลี่ยน แต่ผมคิดว่ามันมาถึงจุดที่ทุกคนอยู่แบบเดิมไม่ได้ แต่ เปลี่ยนแบบไหนที่จะอยู่ร่วมกันได้ ไม่คำนึงแต่อำนาจของตัวเอง วันหนึ่งพันธมิตรฯ พึ่งพิงอำมาตย์ พึ่งพิงอำนาจตุลาการ หรืออาจจะเรียกว่าพึ่งพิงชนชั้นสูงก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าในสถานการณ์หนึ่ง เราอาจจะมีความจำเป็นซึ่งกันและกันหรือเปล่า มันก็ไม่แน่ มันอยู่ที่สถานการณ์ด้วยเหมือนกัน"

 

เสื้อแดงก็พูดได้ว่าเขาแค่พึ่งทักษิณชั่วคราว เพราะทักษิณไม่มีทางกลับมากินรวบได้แล้ว

"ผมว่าอาวุธที่เป็นตัวเล่นของการเปลี่ยนแปลงที่สุดคือข้อมูลข่าวสาร และ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การเมืองใหม่เกิดคือสงครามข่าวสาร เงื่อนไขของการเมืองใหม่ ไม่ใช่แค่เพราะคนเป็นแสนมาชุมนุมหรอก คนมาเพราะข้อมูลขาวสาร ฉะนั้นไม่ว่าจะมีพันธมิตรฯ หรือไม่ จะมีพรรคหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่สังคมนี้จะอนุญาตให้ใครบางกลุ่ม มาทำให้สังคมไทยจมปลักอยู่ในสภาพนี้ไปตราบนิรันดร์ ไม่ช้าก็เร็วต้องเปลี่ยน"

 

ย้อนมาที่เรื่องพรรคว่า จะต้องไม่ใช่พรรคพันธมิตรฮาร์ดคอร์ จะต้องเปลี่ยนท่าทีจากเดิมหรือเปล่า

"ผมว่าจำเป็นต้องทบทวนภาพลักษณ์เก่า ผมไม่ได้บอกว่ามันผิดนะ ผมก็ยังเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราตัดสินใจในแต่ละช่วงมันเป็นเหตุเป็นผลในสถานการณ์นั้น แต่ วันนี้มันอาจจะดูว่าไม่จำเป็นก็ได้ ฉะนั้นสถานการณ์เป็นตัวกำหนดบุคลิกลักษณะของคน โดยเฉพาะแท็กติกการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่อัตลักษณ์ที่ผมคิดว่าจำเป็นที่สุดก็คือต้องสร้างแนวร่วม ยิ่งเป็นพรรคต้องทำงานแนวร่วมให้มาก ต้องเข้าหาพลังเงียบ เข้าหาชาวบ้าน จะไปบอกว่าฉันมีมวลชนเสื้อเหลืองก็พอแล้ว มันเปลี่ยน

อะไรไม่ได้หรอก ผมว่างานท้าทายคืองานมวลชน งานขยายแนวร่วมที่คิดว่า vote ให้เราแล้วได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม"

 

สมมติอย่างนี้ว่าเขตเลือกตั้งหนึ่งในอีสาน คุณเอาตัวแทนภาคประชาชนลงในพื้นที่ มีทั้งเสื้อเหลือง NGO ที่ ไม่เห็นด้วยกับเสื้อเหลือง หรือองค์กรภาคประชาชนที่ไปร่วมกับเสื้อแดง คุณจะทำให้ยอมรับกันได้หรือเปล่าว่า คนคนนี้จะไปสู้เพื่อภาคประชาชนและมีความเป็นตัวของตัวเอง

"นี่แหละเป็นสิ่งท้าทายของพรรคพันธมิตรฯ ถ้าเรามั่นใจว่าเราจะเป็นพรรคมวลชน เราต้องเคารพการตัดสินใจของมวลชน ผมคิดถึงขนาดว่าสมมติเราใช้ระบบ primary vote ให้ มวลชนคัดผู้แทนเขาเอง เขาเสนอนาย ก.ขึ้นมาซึ่งผู้บริหารพรรคไม่แฮปปี้เลย ไม่ควรไปวีโตเขา แต่ต้องทำให้กระบวนการคัดสรรผู้สมัครในนามพรรคมันมีพลวัต มีพลัง ถ้าไอ้หมอนี้เป็นเทา แต่ข้างหน้ายังเป็นดำไม่เปลี่ยนเลย ต้องให้รู้สึกว่าครั้งหน้าไม่มีทางได้ แต่มันต้องใช้เวลา ผมชอบคำหนึ่งจำไม่ได้ว่าใครพูด ประสิทธิภาพกับประชาธิปไตยต้องไปด้วยกัน ประชาธิปไตยมันทำให้เกิดประสิทธิภาพได้ โดยเฉพาะการสร้างการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ มันจะให้ทั้งประชาธิปไตยและประสิทธิภาพ ผมจึงคิดว่าเรื่องความรู้สึกเป็นเจ้าของของมวลชนต้องออกแบบให้ดี ต้องให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของตลอดเวลา ซึ่งมันต้องสร้างหลายมิติ ไม่ใช่แค่เลือกตั้ง"

 

ที่ สมมติเช่นประจวบ มีภาคประชาชนทั้งบ่อนอก หินกรูด บางสะพาน บางคนเสื้อเหลือง บางคนไม่เอา บางคนเชียร์เสื้อแดง จะให้เขาร่วมกันได้ไหม

"ไม่ ง่าย มันอยู่ที่ว่าเราขายอะไรกับมวลชนด้วย ถ้านโยบายพรรคไปแตะปัญหาคนยากคนจนและปัญหาชาวบ้านมากขึ้น เราก็จะได้แนวร่วมเพิ่ม แต่ก็ต้องไม่ขัดแย้งกันในพรรค มันอยู่ที่เนื้อหาอุดมการณ์ของพรรค ถ้าเราเอียงมากไปด้านใดด้านหนึ่งเราก็ต้องเสียอีกด้านหนึ่ง มันต้องดูเป็นเรื่องๆ มันต้องดูภาพใหญ่ก่อน พรรคต้องเขียนพิมพ์เขียวประเทศไทยก่อน คือสังคมใหม่ การที่ชาวบ้านลุกมาสู้มันเป็นปลายเหตุจากการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ถ้าเราจัดการที่ต้นตอก่อน แบบแปลนของชาติของพรรคมันชัด แนวร่วมพวกนี้จะเป็นปลายเปิด มาก็ได้ไม่มาก็ได้ อาจจะขึ้นกับความพอใจด้วยซ้ำ แม้ไม่เป็นสมาชิกแต่เขารู้สึกเป็นมิตรกับเรา มันคือพลังของการเปลี่ยนแปลง คือพลังของการเมืองใหม่ด้วยซ้ำ ถ้าออกแบบดีๆ"

 

จะทำได้ไหมที่ให้ภาคประชาชนในพื้นที่เลือกคนของพรรค โดยไม่ทำให้เขารู้สึกว่าต้องมาใส่เสื้อเหลือง ต้องมาขึ้นต่อ 5 แกนนำ

"แต่ เขาเป็นมิตรกับเรา เขาอาจจะไปติดกับความเป็นเหลืองว่าเหลืองคือสถาบันคืออนุรักษ์นิยม แต่ถ้าเราดูในเวทีเหลืองเราจะเห็นเกษตรกรหลายกลุ่ม พูดเรื่องหนี้สิน เรื่องที่ดิน ตรงนี้ต่างหากที่ท้าทายว่าให้พรรคพันธมิตรจัดสรรจัดการผลประโยชน์ของทุก ชนชั้นอย่างลงตัว ถึงผมจะเติบโตมากับคนระดับล่างกับการต่อสู้ของชาวบ้านก็ตาม แต่ผมก็รู้สึกว่าถ้าตั้งพรรคแล้วไปยึดอยู่กับฐานทางชนชั้นข้างล่างมากไปเรา ก็สูญเสียโอกาสจากพลังของชนชั้นกลาง ซึ่งเราเห็นมากในพันธมิตร มันท้าทายที่จะทำให้สองชนชั้นไปด้วยกันได้ จริงๆ มันไม่ใช่เป็นปัญหาทางชนชั้นเลย เป็นโอกาสที่อำนาจรัฐไม่จัดการให้เท่านั้นเอง ถ้าเราทำให้เห็นว่ามันควรมีพรรคแนวนี้ไปช่วงชิงอำนาจ แล้วมาสร้างโอกาสให้เท่าเทียมกันผมว่ามันก็ไปได้"

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net