Skip to main content
sharethis

ตอนที่ ปฏิรูปที่ดิน กับกระบวนการยุติธรรม

มุมมองจากนักวิชาการ

ไพสิฐ พานิชกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ หนึ่ง ในผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้สังคมเห็นภาพกว้างในแง่มุมทางวิชาการ และผู้ที่ใช้ตำแหน่งเพื่อเป็นนายประกันให้กับชาวบ้านกรณีที่ดินลำพูนที่ถูก จับกุมดำเนินคดีหลังเข้าทำการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน อธิบายปรากฏการณ์ที่นักวิชาการกว่า 30 คน ที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนั้นว่า ตนคิดว่าฐานความคิดหลักของนักวิชาการกลุ่มนี้ เป็นการกล่าวกันว่าปัญหาของเกษตรกรในเรื่องที่ดินอยู่ที่เป็นการตอบโจทย์ว่า จะกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมารัฐไทยใช้นโยบายที่ทำให้ที่ดินที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ กลายเป็นสินค้า หรือกลายเป็นทุนไปเสีย เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นแบบนี้ก็ทำให้เกิดการเก็งราคาที่ดิน และกลไกที่มีอยู่ในภาครัฐเองนั้นก็ไม่ทำให้เกิดการกระจายที่ดินโดยเป็นธรรม ได้

ไพสิฐ กล่าวต่อไปว่า ความเป็นธรรมในที่ดินหมายความว่าคนที่ถือครองที่ดินเป็นผู้ที่จำเป็นต้องใช้ ที่ดินตามอาชีพของตนเอง เช่น หากอยู่ในภาคธุรกิจไม่จำเป็นต้องถือครองที่ดินในจำนวนมหาศาลในลักษณะที่ไป เก็งกำไร ซึ่งนี่เป็นอันแรกที่จะระบุปัญหามาให้ชัดเจนว่าปัญหาของเกษตรกรที่สำคัญ ประการหนึ่งนอกจากปัญหาราคาพืชผลประการหนึ่งนั่นก็คือปัญหาปัจจัยการผลิตที่ สำคัญก็คือเรื่องที่ดิน จะต้องเอามากระจายให้เกษตรกร แต่แน่นอนว่าต้องมีปัญหาแวดล้อมมาอีกคือระบบการเกษตรสามารถจะอยู่รอดได้ อย่างไร

อันที่สอง ตนคิดว่าเป็นฐานคิดที่สำคัญอีกอันคือ เรื่องของความเป็นธรรม จากกรณีศึกษาของชาวบ้านที่ จ.ลำพูน นั้นข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษา หรือได้จากการฟังข้อมูลรอบด้านคือ มีขบวนการยึดเอาที่ดินที่ชาวบ้านเคยใช้ร่วมกันมาตั้งแต่อดีต หรือว่าของหน้าหมู่ที่เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ที่ใช้ร่วมกัน ไปสู่การแปลงให้เป็นเอกสารสิทธิ์ของเอกชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เอาที่ดินแปลงนี้ไปเข้าสู่ตลาดซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาชั้นที่หนึ่ง

และ ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อสถาบันการเงินรับจำนองที่แปลงนี้ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิ์โดยไม่ชอบ แล้ว กลไกต่างๆ ก็ไม่เคยเข้าไปตรวจสอบว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอย่างไร แต่ไปรับรองสิทธิของสถาบันการเงินที่ใช้หลักประกันพวกนี้ ผลที่ตามมาคือเมื่อมีการบังคับคดี หรือมีการยึดทรัพย์อะไรต่างๆ มีคำพิพากษาของศาลต่างๆ เข้ามา เท่ากับเป็นการยอมรับให้คำพิพากษาของศาลไปฟอกที่ดินที่ดินที่เอกชนใช้โดยไม่ ชอบดังกล่าวนั้นกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายไป

จุด นี้พอประชาชนลุกขึ้นมาถามถึงสิทธิของตนเองที่เคยใช้ที่ดินมาก่อนหรือว่าใน แง่ของการที่ตัวเองน่าจะได้รับการจัดสรรที่ดินไปด้วย กลายเป็นว่าตนเองถูกระบบกฎหมาย การใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐรวมไปถึงการใช้กลไกของการฟ้องคดีมาดำเนินคดีกับ ชาวบ้าน ซึ่งนี่คือประเด็นเรื่องมิติของความเป็นธรรม ไพสิฐ กล่าว

ไพสิฐ กล่าวสรุปว่า เพราะฉะนั้นฐานคิดสองอันนี้จึงเป็นฐานคิดของกรณีที่เข้าไปช่วยในการทำ อย่างไรที่จะทำให้อย่างน้อยๆ คือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกกระบวนการยุติธรรมทาง อาญาเข้ามาทำร้ายโดยไม่เป็นธรรมได้รับการบรรเทา เพราะฉะนั้นจึงมีกลุ่มนักวิชาการประมาณ 30 คน ที่ช่วยกันเข้าชื่อต่างๆ เพื่อส่งสัญญาณหรือเพื่อบอกกับสังคมว่าเกิดอะไรขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรที่โดน กระทำดังกล่าว แน่นอนว่าอาจมีบางส่วนของเกษตรกรที่มีที่ดินอยู่แล้วใช้สิทธิโดยไม่สุจริตใน ที่ดินนี้อยู่ด้วย แต่โดยภาพรวมหลักๆ คือชาวบ้านส่วนใหญ่เดือดร้อนและได้รับผลกระทบ

10 ปีบนเส้นทางการปฏิรูปที่ดิน

นอกจากนี้แล้วกรณีเดียวกัน ประยงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการต่อสู้เรื่องที่ดินของชาวบ้านนับเวลาได้ก็ผ่านมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว บางหมู่บ้านอาจผ่านมาเป็นเวลามากกว่า10 ปี การต่อสู้ที่ผ่านมาสุดท้ายเราต้องการให้ชาวบ้านมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอ ชาวบ้านยังจะต้องรักษาที่ดินทำกินของตัวเองเอาไว้ให้ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จากตอนแรกที่เราคิดเพียงว่าทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ที่ดินทำกินเท่านั้น ถึงวันนี้สิ่งที่จะพูดกันคือว่าแท้ๆ แล้วมันเป็นความจริงหรือว่าเป็นความฝันที่เราร่วมกันต่อสู้กันเป็นเครือข่าย ในนามของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) บางคนมีที่ดินแล้วขายไปเอาใหม่ก็มี บางคนสู้ที่ดินแปลงเดียวโดนดำเนินคดีไป 40 กว่าคดี อันนี้จะเป็นสิ่งที่ไปได้ หรือว่าไปไม่ได้จริง ชาวบ้านต้องตัดสินใจว่าทิศทางต่อไปข้างหน้า ถ้าไปไม่ได้แล้วเราจะเลิกหรือเปล่า

เราต่อสู้กันมาหลายรัฐบาล เท่าที่จำได้เริ่มจากสมัยรัฐบาล พล..ชวลิต ยงใจยุทธ ผ่านมาถึงรัฐบาลชวน รัฐบาลทักษิณ รัฐบาล พล..สุรยุทธ์ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย แล้วมาที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปแล้ว 8 คน แต่ยังไม่มีชาวบ้านกลุ่มไหนที่ได้สิทธิ์ในที่ดินเลย สิทธิที่เราตั้งเป้าเอาไว้ว่าเป็นโฉนดชุมชน* กรรมสิทธิ์ชุมชน แต่ในบางพื้นที่อาจจะมีโฉนดชุมชนแล้วอย่างเช่นที่พื้นที่บ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย  จ.เชียงใหม่ และเพิ่งตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน**ไปได้ไม่นานมานี้ ประยงค์ กล่าว

ภาย หลังจากที่ความคิดเรื่องปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน โฉนดชุมชน และธนาคารที่ดิน ได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะมากขึ้น และด้วยแนวความคิดหลักที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการใช้ที่ดินอย่าง ยั่งยืนของเกษตรกรได้มากที่สุดโดยที่ที่ดินไม่หลุดมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากนิยามการจัดการที่ดินของภาครัฐอย่างสิ้นเชิง ด้วยปัญหาที่ดินที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากปัญหาในระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ สามารถซื้อขายได้ ที่ผ่านมาที่ดินจึงหลุดมือจากเกษตรกรไปไม่หยุดหย่อน แต่แนวความคิดเรื่องของโฉนดชุมชน และธนาคารชุมชนที่จะมาเปลี่ยนการจัดการที่ดินใหม่ทั้งระบบ โดยโอนกรรมสิทธิ์ไปให้ชุมชนจัดการเพื่อความยั่งยืน ดังนั้นจึงมีการนำเอาแนวคิดนี้ไปปฏิบัติมากขึ้นและขยายวงกว้างออกไป เช่นในพื้นที่ขององค์กรชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู จ.ตรัง  เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด บริเวณพื้นที่สาธารณะทุ่งซำเสี้ยว จ.ชัยภูมิ ฯลฯ   

หัวหรือก้อย กับการแก้ปัญหาของรัฐบาลประชาธิปัตย์

หลัง ผ่านการต่อสู้มานานหลายปี และผ่านไปหลายรัฐบาล มีบางรัฐบาลที่ช่วงเวลาการต่อสู้หอมหวาน มีการโวถึงสัญญาก้อนโตที่เขาจะเนรมิตมาให้ตามที่ชาวบ้านเรียกร้อง แต่สุดท้ายก็เป็นฝันกลางวัน จนถึงในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไรนั้น

ประยงค์ อธิบายต่อว่า การต่อสู้ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เริ่มเมื่อวันที่ 19 .. 2551 พวก เราเดินทางไปพบนายอภิสิทธ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นข้อเรียกร้องเดิมให้มีการตั้งธนาคารที่ดินเพื่อแก้ปัญหาที่ดินของชาว บ้านโดยการออกโฉนดชุมชน ส่วนข้อเรียกร้องที่สองเสนอเรื่องกองทุนธนาคารที่ดิน เอาที่ดินมาจัดสรรให้ชาวบ้าน หลังจากนั้น 10 วัน รัฐแถลงก็นโยบาย เพราะว่าก่อนที่จะบริหารประเทศต้องแถลงนโยบายก่อน มีข้อหนึ่งในนโยบายที่แถลงว่าจะมีการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนใน รูปแบบของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ให้เกษตรกรในรูปของโฉนดชุมชน ซึ่งรัฐบาลก็เขียนเอาไว้แล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่มีผลอะไรเกิดขึ้นกับชาวบ้านสักที

เรา เรียกร้องกับรัฐบาลโดยพูดถึงเรื่องโฉนดชุมชน เพราะรัฐบาลบอกว่าหากซื้อที่ดินแล้วเอามาแจกให้นั้น พรุ่งนี้ก็ไปอยู่ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) รัฐบาล จึงไม่แก้ให้ เขาถามว่าถ้าแก้ปัญหาให้แล้วชาวบ้านจะจัดการเรื่องที่ดินอย่างไรอย่างไร เราก็เสนอเรื่องของการใช้โฉนดชุมชน อันนี้เราเจรจามาตั้งแต่รัฐบาล พล..ชวลิต จนผ่านมาหลายรัฐบาล แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักครั้ง เราจึงบอกว่าเรารอไม่ได้และเราจะไม่รอรัฐบาลแล้ว จึงให้ทุกหมู่บ้านลงไปจัดการกันเองทำโฉนดชุมชน รวมทั้งตั้งธนาคารที่ดินขึ้นมา แกนนำสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ กล่าว

*โฉนดชุมชน เป็นคำที่ใหม่สำหรับสังคมไทย ที่มีจุดประสงค์หลักก็คือการเปลี่ยนหลักคิดหรือว่าหลักปฏิบัติในการจัดการ ที่ดินเสียใหม่โดยที่ยึดถือเอา ชุมชน เป็นตัวตั้ง มีการออกกฎข้อห้ามและหลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก โดยมีจุดประสงค์หลักก็คือการรักษาเอาไว้ซึ่งที่ดินซึ่งเป็นฐานการผลิตที่ สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย หลังจากที่หลายสิบปีที่ผ่านมาเมื่อประเทศของเราเดินหน้าในการปฏิรูป อุตสาหกรรม หวังจะแปรเปลี่ยนกสิกรให้ไปเป็นนายทุนการเกษตรหรือนายทุนอุตสาหกรรม นับแต่นั้นที่ดินของชาวบ้านชาวนาสามัญหลายคนก็ปลิวว่อนหลุดมือไปอย่าง ง่ายดาย ด้วยกลไก หรือโครงสร้างต่างๆ ที่ไม่เอื้อให้พวกเขากลายเป็นนายทุนอุตสาหกรรมเหล่านั้น ผ่านมาอีกกว่าหลายสิบปี แนวคิดโฉนดชุมชนก็เกิดขึ้นในสังคมไทยเพื่ออุดช่องโหว่ของการที่ที่ดินหลุด มือจากเกษตรกรในทุกวันนี้

**ธนาคารที่ดินเป็น กลไกที่ตั้งขึ้นรองรับการมีอยู่ของโฉนดชุมชน ที่ต้องการที่จะให้ที่ดินไม่หลุดมือจากเกษตรกร จึงมีการใช้กลไกของชุมชนเป็นตัวจัดการที่ดิน แต่ทว่าเกษตรกรก็ยังคงมีสิทธิ์ในที่ดินของตนเองอยู่อาจจะมีบางเวลา ขณะโอกาสที่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของชุมชน ต้องการที่จะใช้เงินในยามที่จำเป็น และต้องการทรัพย์สินธนาคารที่ดินจะเป็นตัวเข้ามาจัดการเรื่องนี้

หากแก้ปัญหาไม่ได้ จะมีรัฐบาลเอาไว้ทำไม

จาก กระบวนการทั้งหมดที่รัฐบาลใดๆ ก็ตามได้ประกาศใช้ ดูเหมือนว่าการจัดการที่ดินเพื่อแก้ปัญหาที่ค้างคาจะไร้ผล ไล่มาตั้งแต่แนวคิดการออกโฉนดที่ดินซึ่งในที่สุดโดยกระบวนการต่างๆ ได้ทำให้กลายเป็นทรัพย์สิน การที่ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ได้ จัดสรรที่ดินจำนวนหนึ่งให้กับเกษตรกร แต่ปรากฏว่าที่ดินจำนวนมากไม่ได้ตกถึงมือผู้ที่เป็นเป็นเกษตรกรที่แท้จริง การไม่จำกัดการถือครองที่ดินของเอกชน แต่กลับไปยึดถือเพียงสิทธิของปัจเจกชนที่มีหลักคิดว่าคุณมีเงินเท่าไหร่คุณ สามารถซื้อที่ดินแปลงนั้นได้ ไม่นับกลไกของรัฐที่นับวันยิ่งเอนเอียงไปอยู่ข้างนายทุนเงินหนาเข้าทุกๆ วัน จนในที่สุดสถานการณ์ก็บังคับให้ชาวบ้านลุกฮือขึ้นมาจับจอบจับเสียมเข้าไปใน ที่ดินเอกชนเพื่อจัดการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนกันเอง...

หาก จะให้การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะข้อพิพาทในการจัดการทรัพยากรนั้นได้ รับการแก้ไข หน่วยงานรัฐที่มีและมีหน้าที่ กรอบปฏิบัติตามกฎหมายต้องลุกขึ้นมาทำอะไรมากกว่าที่การจะซุกเอาปัญหาไว้ใต้ พรม เพราะหากไม่ทำอะไรเลยมันเป็นคำถามว่าแล้วเรามีรัฐเอาไว้ทำไม อีกทั้งบนโครงสร้างของระบบราชการเป็นโครงสร้างที่เอื้อต่อการทุจริต คอร์รัปชั่น อันที่สองคือคนที่อยู่ในโครงสร้างอำนาจรัฐไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ รวมถึงชนชั้นนำในทางสังคมได้ประโยชน์จากโครงสร้างตรงนี้ ไพสิฐ กล่าว

ทาง ที่จะต้องทำก็คือเอาข้อมูลการถือครองที่ดินในความเป็นจริงดูควบคู่ในทาง กฎหมาย เช่น เอกสารสิทธิ์ดังกล่าวนาย ก นาย ข ครอบครองอาจจะเป็นการครอบครองแทนก็ได้ แล้วลองประมวลรวมรวมในแต่ละจังหวัดใครถือครองที่ดินมากที่สุด ชื่ออะไรบ้าง แล้วลองเปรียบเทียบว่าทั้งประเทศ ถ้าเกิดทำให้การถือครองที่ดินมันเปิดเผยออกมาดังกล่าวแล้วนั้น คิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นการปูพื้นฐานหรือว่ากรุยทางไปว่าบนทรัพยากรที่มีอยู่ จำกัด การจัดการที่เป็นธรรมนั้นควรจะเป็นอย่างไร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าว

ปฏิรูปที่ดิน กับระบบกฎหมายไดโนเสาร์

เรื่อง นี้ ไพสิฐ กล่าวต่อไปว่า ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมคือเขาจะรับเรื่องราวก็ต่อเมื่อมี ข้อพิพาทเกิดขึ้นมาคือมีคดีขึ้นไปสู่ศาล ปัญหาคือโอกาสที่คดีประเภทนี้ที่จะเข้าไปสู่ศาลนั้นค่อนข้างที่จะน้อยในเชิง ของการที่จะใช้ไปถึงเรื่องของการฟ้องศาล เพราะมีการใช้อิทธิพลท้องถิ่น หรืออำนาจมืดไปบีบให้ชาวบ้านยอมในการออกจากพื้นที่ หรือว่าในทางกลับกันหากเป็นกรณีของสถาบันการเงิน เขาฟ้องคดีแล้วก็ดำเนินการในลักษณะของการที่ใช้เครื่องมือของรัฐทั้งหลาย เข้าไปจัดการไม่ให้ชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวหรือออกมาโต้แย้ง หรือว่าไม่มีใครเข้าไปช่วยสนับสนุนเหมือนกับชาวบ้านในพื้นที่ จ.ลำพูน

เพราะ ฉะนั้น กระบวนการยุติธรรมที่รับเรื่องพวกนี้ไปแล้วเขาก็ว่ากันไปตามข้อเท็จจริงเท่า ที่ได้มีการนำสืบในคดีเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านั้นก็จะมีพยานเอกสาร หรือพยานต่างๆ เหล่านี้มากมายที่สถาบันการเงินเขาเตรียมไว้อยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับหากเป็นกรณีเอกสารของภาครัฐแล้ว ศาลมักไม่ค่อยลงไปตรวจสอบว่าสถานะของเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่ เพราะฉะนั้นเท่ากับเป็นการยอมรับไปเลยว่าในกรณีที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ออกจาก หน่วยงานภาครัฐมาแล้วนั้น ใครมีชื่อในนั้นก็เท่ากับข้อสันนิษฐานเลยว่าเป็นเจ้าของ โดยที่ศาลไม่ได้ลงไปสืบดูข้อเท็จจริงของที่มาที่ไป ซึ่งอันนี้พูดเรื่องของเอกสารที่ไม่ชอบ

ใน ขณะเดียวกัน มิติเรื่องของความเป็นธรรม ศาลก็ไม่เคยลงไปสอบถามเลยว่าการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ราคาที่ซื้อขายการตกเป็นหนี้สถาบันการเงินต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นบนหลักของนิติกรรมสัญญา หรือเกิดขึ้นบนหลักของหนี้ที่เป็นธรรมหรือไม่ เขาไม่ได้ดู เขาดูเพียงเอกสารที่ปรากฏเท่านั้น สรุปคือโอกาสที่คดีเข้าสู่ศาลนั้นน้อย อันที่สองคือแม้จะมีคดีเข้าสู่ศาลก็ตามแต่การพิจารณาของศาลก็ไม่ได้ลงลึก เรื่องความเป็นธรรม เพียงแค่มองความถูกต้องจากการมีชื่อในเอกสารสิทธิ์เท่านั้น

ไม่เพียงแต่ตามไม่ทัน กฎหมายที่บังคับใช้ล้าหลังด้วยซ้ำไป.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net