Skip to main content
sharethis

 

ผู้สนับสนุนนางออง ซาน ซูจี ในญี่ปุ่นเดินขบวนไปยังหน้าสถานทูตพม่าในกรุงโตเกียว เรียกร้องให้ปล่อยนางออง  ซาน ซูจี เมื่อ 27 พ.ค. (ที่มา: AP/Daylife.com)

 

 

 

นักกิจกรรมพม่า ตะโกนคำขวัญระหว่างชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยนางออง ซาน ซูจี ที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงเทพมหานคร เมื่อ 27 พ.ค. (ที่มา: Reuters/Daylife.com)

 

 

 

ตำรวจกัมพูชาเดินผ่านนักกิจกรรมพม่าที่รวมตัวชุมนุมหน้าสถานทูตพม่าในกรุงพนมเปญ เรียกร้องให้ปล่อยนางออง ซาน ซูจี เมื่อ 27 พ.ค. (ที่มา: Getty Images/daylife.com)

 

 

 

กิจกรรมภาวนาเพื่อนางออง ซาน ซูจี ที่กรุงไทเป ไต้หวัน เมื่อ 27 พ.ค. (ที่มา: Rueters/Daylife.com)

 

 

ออง ซานซูจี ในศาลวันที่ 26

ตามที่นางออง ซาน ซูจี ให้การต่อศาลเป็นวันแรกเมื่อ 26 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ในวันดังกล่าวและวันที่ 27 พ.ค. ยังคงมีนักกิจกรรมในหลายเมืองทั้งในกรุงเทพ พนมเปญ ไทเป และโตเกียว ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ หน้าสถานทูตพม่าในเมืองนั้นๆ

 

ใน การพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 26 พ.ค. อองซานซูจีดูสีหน้าหมองและอ่อนล้าขณะให้การกับศาล ซึ่งเธอได้ให้การโดยคร่าวๆ อย่างระมัดระวังเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อต้นเดือนก่อนหน้านี้ มีผู้สนับสนุนซูจีสิบกว่าคนเข้าไปเบียดเสียดกันในห้องพิจารณาคดีส่งเสียงอือ อึงจนทำให้ผู้เข้าร่วมรับฟังต้องตั้งใจฟังถึงจะได้ยินคำให้การ โดยจะสามารถได้ยินใจความสำคัญเมื่อผู้พิพากษาบอกคำให้การให้กับผู้บันทึก สำนวนเท่านั้น

 

และ เมื่อมีการถามนางซูจีว่าเธอได้รับของขวัญและหนังสือมาจากนายเย็ตตอว์ ชายชาวอเมริกันที่บุกเข้าบ้านเธอหรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการค้นพบของหลายอย่างในบ้านเธอที่จะเป็นการทำให้เธอ ละเมิดข้อบังคับขณะถูกกักบริเวณ โดยนางซูจีได้ตอบว่า ไม่รูว่านายยิตทอว์ลืมมันหรือคิดจะทิ้งมันไว้ มีแต่นายยิตทอว์ที่ทราบ

 

ใน การพิจารณาคดีในวันที่ 26 พ.ค. มีการอนุญาตให้นักข่าวและนักการฑูตเข้าร่วมสังเกตการณ์อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองที่มีการอนุญาต โดยขณะที่นางซูจีกำลังเดินเข้ามาในห้องพิจารณาคดีทุกคนก็ยืนขึ้นอย่างสงบ เธอบอกกับนักข่าวและนักการฑูตที่มาเข้าร่วมสังเกตการณ์ขณะที่กำลังเดินผ่าน ว่า มันยากที่พูดอะไรแบบนี้ แต่ก็ขอบคุณมากกับการที่พวกคุณมา

 

โดย ผู้สังเกตการณ์ยังคงยืนอยู่แม้ว่าจะมีตำรวจนอกเครื่องแบบกล่าวอย่างฉุนเฉียว ว่าทุกคนสามารถนั่งลงได้แล้ว พวกเขายอมนั่งลงหลังจากที่นางอองซานซูจีนั่งลงแล้ว พอหลังจากการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นในวันนั้น ก่อนที่ตัวรวจหญิงจะนำตัวนางอองซานซูจีออกจากห้องพิจารณาคดี เธอหันกลับมาบอกกับผู้สังเกตการณ์ว่า ขอบคุณสำหรับความเป็นห่วงและการสนับสนุนจากพวกคุณ มันเป็นเรื่องดีที่ได้เห็นผู้คนจากโลกภายนอก

 

 

 

การ์ตูนล้อการเมืองโดย Harn Lay ที่พิมพ์ในเว็บไซต์ของนิตยสารอิระวดี www.irrawaddy.com ในชื่อว่า “Did someone turn a blind eye?” (ที่มา: Harn Lay/Irrawaddy)

 

 

ซูจีออกแถลงการณ์เหตุเกิดจากผู้รักษาความปลอดภัย (ของรัฐบาล) ละเลยหน้าที่

วันที่ 27 พ.ค. นางออง ซาน ซูจี เปิดเผยผ่านแถลงการณ์ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ว่า เหตุการณ์ที่นายเย็ตตอว์ว่ายน้ำเข้ามายังบ้านของเธอนั้นเกิดขึ้นเพราะการ รักษาความปลอดภัย (ของรัฐบาล) ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ กับผู้รักษาความปลอดภัยเลย

 

ในแถลงการณ์ของพรรคยังบอกอีกว่า เมื่อตอนที่นายเย็ตตอว์พยายามเข้ามาในบ้านในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 เธอ ได้รายงานเรื่องนี้ให้ทางรัฐบาลทราบผ่านทางแพทย์ส่วนตัวของเธอ แต่ก็ไม่มีการดำเนินการใด ๆ โดยนางซูจียังได้บอกอีกว่า เธอตั้งใจจะรายงานการมาเยือนของนายเย็ตตอว์ครั้งล่าสุดนี้ผ่านทางแพทย์ของ เธอ ทิน เมียว วิน แต่เขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในบ้านพัก และถูกรัฐบาลควบคุมตัวไว้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

 

การที่ฉันถูกฟ้องร้องอยู่ฝ่ายเดียว แสดงให้เห็นถึงความลำเอียงในการฟ้องร้องครั้งนี้ นางซูจี กล่าว

 

 

 

ผู้สนับสนุนนางออง ซาน ซูจี ภายในที่ทำการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในกรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า เมื่อ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา ด้านหน้าที่ทำการพรรค (ขวามือ) จะเห็นโปสเตอร์รูปนายพลอองซาน บิดาของนางซูจี และผู้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และผู้ก่อตั้งสหภาพพม่า (ที่มา: AP Photo/Daylife)

 

 

 

นายเนียน วิน หนึ่งในทนายความประจำตัวนางออง ซาน ซูจี ระหว่างการแถลงข่าวกับผู้สื่อข่าว ณ ที่ทำการพรรค NLD เมื่อ 27 พ.ค. (ที่มา: Reuters/Daylife.com)

 

 

ครบรอบ 19 ปี ชัยชนะในการเลือกตั้งที่ถูกเผด็จการทหารแย่งชิงไป

วันที่ 27 พ.ค. ปี 1990 หรือเมื่อ 19 ปีที่แล้ว พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าอย่างท่วมท้น ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกตั้งอิสระครั้งแรกของพม่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 1962

 

โดยพรรค NLD ของนางออง ซาน ซูจี ได้รับชัยชนะ 392 ที่นั่ง จากทั้งหมด 485 ที่นั่ง ซึ่งทางประชาคมโลกก็บอกว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม

 

แต่ทว่าทางผู้นำเผด็จการทหารของพม่าในสมัยนั้น กลับไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และยังยืนยันที่จะดำรงตำแหน่งผู้นำในระบอบรัฐบาลทหารต่อไป

 

ในวันที่ 27 พ.ค. ปีนี้ ซึ่งถือเป็นการครบรอบ 19 ปี สำหรับชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรค NLD และ ยังครบรอบวันที่นางออง ซาน ซูจี จะพ้นจากการถูกสั่งกักบริเวณครั้งล่าสุดด้วย ซึ่งทางรัฐบาลพม่าได้บอกกับนางออง ซาน ซูจี ในเช้าของวันที่ 26 พ.ค. ว่า การกักบริเวณเธอไว้ในบ้านครบกำหนด 6 ปี ตามที่ตั่งไว้แล้ว แม้ว่าตัวเธอยังต้องถูกควบคุมตัวอยู่

 

โดยเนื่องในวาระครบรอบ 19 ปี พรรค NLD จึงได้ออกแถลงการณ์ระบุรายการข้อเรียกร้องที่ต้องการให้รัฐบาลทหารพม่าตอบสนอง โดยนายโอน แจ่ง (Ohn Kyaing) โฆษกของพรรคยืนยันกับผู้สื่อข่าวอิระวดีว่า พรรค NLD มีควาต้องการดังนี้คือ

 

- ให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง รวมถึงผู้นำพรรค NLD นางออง ซาน ซูจี โดยไม่มีเงื่อนไข

- กำหนดเงื่อนไขสำหรับการเจรจาทางการเมือง

- อนุญาตให้สำนักงานพรรค NLD เปิดทำการทั่วประเทศได้อีกครั้ง

- อนุญาตให้มีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ

- ยอมรับ ให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมือง (รวมถึงพรรคของกลุ่มชาติพันธุ์) ที่ถูกยกเลิกไปหลังจากที่ได้รับที่นั่งในสภาฯ สมัยการเลือกตั้งปี 1990

 

พรรค NLD ยัง ได้เปิดเผยในแถลงการณ์อีกว่า รัฐบาลทหารพม่าได้ละเมิดกฏหมายการเลือกตั้งคือการที่รัฐสภาต้องมาจาก ส.ส. ที่ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งระดับประเทศในปี 1990

 

NLD ยังได้ระบุอีกว่า รัฐบาลทหารเคยยอมรับว่ารัฐสภาควรก่อตั้งมาจาก ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้ง แต่ในปี 1993 ในรัฐสภามีสมาชิกที่เป็น ส.ส. 107 คนจากผู้แทนฯ ทั้งหมด 702 คือมีผู้แทนฯ ที่มาจากประชาชนชาวพม่าเพียงร้อยละ 15.2 เท่านั้น นอกนั้นถูกเผด็จการทหารฉกชิงไปหมด

 

ในแถลงการณ์ยังได้กล่าวถึงการเปิดประชุมสภาฯ ใหม่ของรัฐบาลทหารเมื่อปี 2004 โดยระบุว่ามี ส.ส. จากการเลือกตั้งอยู่เพียง 13 คนเท่านั้นจากผู้แทนฯ ทั้งหมด 1,086 คน ซึ่งถือว่ามีผู้แทนฯ ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยอยู่เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

 

โดยพรรค NLD ได้มีการจัดงานครบรอบ 19 ปี ที่ชนะการเลือกตั้งขึ้นที่สำนักงานใหญ่ในกรุงย่างกุ้ง เที่ยงวันของวันที่ 27 พ.ค. ผู้เข้าร่วมงานมีทั้งสมาชิกพรรค ส.ส.ผู้แทนฯ จากพรรคกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นแนวร่วม นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และฑูตที่อยู่ในกรุงย่างกุ้ง

 

ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลทหาร คือสมาคมสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association - USDA) และกลุ่มสวาน อา ชิน (Swan Arr Shin – หรือกลุ่มเจ้าพลัง มีสมาชิกเป็นกลุ่มทหารอาสาสมัคร (อส.) ของพม่า) พากันมาล้อมที่ทำการพรรค NLD ในเมืองบาฮาน

 

ผู้อาศัยในเมืองบาฮานเปิดเผยว่าพบเห็นกลุ่ม USDA และ Swan Arr Shin รออยู่ในรถ ขณะที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมาเดินไปรอบๆ ที่ทำการพรรค NLD

 

 

โอบามาเรียกร้องให้ปล่อยนางอองซานซูจีอย่างไม่มีเงื่อนไข

ใน วันเดียวกัน (26 พ.ค.) ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็ออกมากล่าวว่า การที่นางซูจียังคงถูกกุมขัง ปล่อยให้โดดเดี่ยว และ "แสดงให้เห็นการดำเนินคดีจากข้อกล่าวหาลวงโลก" ทำให้เกิดความสงสัยอย่างจริงจังว่า รัฐบาลพม่ามีความตั้งใจที่จะเป็นสมาชิกของประชาคมโลกจริงหรือเปล่า

 

โดยนอกจากนี้โอบามายังได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางอองซานซูจีโดยไม่มีเงื่อนไข

 

"ถึง เวลาแล้วที่รัฐบาลพม่าจะต้องยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่ออองซานซูจี และปล่อยตัวเธอกับเพื่อนนักโทษการเมืองของเธออย่างไม่มีเงื่อนไข" โอบามากล่าว และยังได้พูดถึงนางอองซานซูจีว่า "อองซานซูจีเป็นตัวแทนของผู้ที่รักชาติ (Patriotism) อย่างลึกซึ้ง เป็นผู้เสียสละและมีวิสัยทัศน์ต้องการให้ประเทศพม่าที่เป็นประชาธิปไตยและมีความเจริญรุ่งเรือง"

 

โอ บามา กล่าวในแถลงการณ์จากทำเนียบขาวอีกว่า "หากรัฐบาลพม่ามีการดำเนินการดังกล่าวก็จะเป็นก้าวสำคัญของพม่าในการที่จะ ฟื้นฟูจุดยืนของพวกเขาในสายตาของสหรัฐฯ และประชาคมโลก แล้วยังถือเป็นการเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของประชาชน"

 

"ผม เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวเลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางอองซานซูจี ออกจากการกักบริเวณอย่างไม่มีเงื่อนไขโดยทันที" โอบามา กล่าว

 

คณะ ทำงานของสหประชาชาติเรื่องการกักขังโดยพลการ ได้แสดงความเห็นโดยยืนยันว่า การกักขังนาอองซานซูจีนับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาเป็นการกระทำโดยพลการ ไม่เป็นธรรม และเป็นการละเมิดกฏหมายของพม่าเอง

 

"นี่ เป็นโอกาสสำคัญสำหรับรัฐบาลพม่าที่จะแสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อกฎหมายของ ประเทศตัวเองและเคารพต่อประชาชนในประเทศ แสดงให้เห็นว่าพม่ามีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มต่อต้านอื่น ๆ แล้วพร้อมที่จะเคลื่อนไหวไปสู่ความปรองดอง" โอบามากล่าว

 

 

แมนเดลาหนุนปล่อย ออง ซาน ซูจี

ขณะ เดียวกันเนลสัน แมนเดลา ผู้นำต่อต้านการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มดิ เอลเดอร์ส ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้นำโลกที่มีชื่อเสียง ก็ออกมาตอกย้ำให้พม่าปล่อยตัวนางอองซานซูจี หลังจากที่ถูกกักบริเวณมานานกว่าหกปี และมีกำหนดจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 27 พ.ค. นี้ ส่วนประธานของดิ เอลเดอร์ส คือพระสันตปาปา เดสมอนด์ ตูตู ก็ได้กล่าวว่า แม้ล่าสุดจะมีการพยายามแยกตัวและทำให้นางออง ซาน ซูจีเงียบเสียงไป แต่เธอก็จะยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังสำหรับประเทศชาติและทั่วโลก ขณะที่จิมมี่ คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่านางออง ซานซูจี เป็นวีรสตรีสำหรับผู้ที่เชื่อในสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย การถูกกักขังของเธอที่ยังดำเนินต่อไปเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานศีล ธรรมของรัฐบาลพม่า

 

กลุ่ม ดิ เอลเดอร์ส กำลังจัดการประชุมที่กรุงโมรอคโค โดยยังคงเว้นที่นั่งของนางออง ซาน ซูจีให้ว่างไว้อย่างที่เคยทำ พวกเขายังได้เรียกร้องให้ประเทศอาเซียนมีส่วนช่วยให้ผู้นำพม่าออกมาเปิดเผยอ ย่างตรงไปตรงมาว่า การกระทำของพวกเขาในปัจจุบันเป็นการทำลายความเป็นธรรมในการเลือกตั้งในปี 2010 ที่จะถึงนี้

 

โดย ดิ เอลเดอร์ส ได้ตั้งเงื่อนไขกับพม่าดังนี้ คือการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง มีการให้พรรคสันนิบาจแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยและพรรคอื่นๆ เข้าร่วมในการเลือกตั้งในปี 2010 และมีกระบวนการตรวจสอบการเลือกตั้งในระดับประเทศ นอกจากนี้ยังต้องอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์จากนานาชาติเข้าสังเกตการณ์การ เลือกตั้งดังกล่าวด้วย

 

ทาง รัฐมนตรีจากเอเชียและยุโรปก็เรียกร้องให้พม่าปลดปล่อยนางซูจี ลดการควบคุมพรรคการเมืองอื่น และเตรียมพร้อมให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรมในปี 2010 โดยมีหลายพรรคเข้าร่วมด้วย ซึ่งประเทศไทยเองก็เคยได้แสดงท่าทีเป็นห่วงเรื่องชื่อเสียงของพม่าต่อ ประชาคมโลก

 

ใน การประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศจาก 45 ประเทศทั้งจากยุโรปและเอเชีย ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียตนามก็ได้มีการระบุว่าประเด็นเกี่ยวกับพม่าเป็นประเด็นเร่งด่วน โดย แจน โคเฮาท์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสาธารณรัฐเชคซึ่งเป็นประเทศที่เป็นประธานสหภาพยุโรป (EU) เปิด เผยว่า นางอองซานซูจีเป็นผู้ที่มีความจำเป็นต่อการที่จะให้ทั้งสองฝ่ายของพม่าเจรจา กันเพื่อสร้างความปรองดอง ดังนั้นจึงต้องมีการปล่อยตัวนางอองซานซูจีโดยทันที

 

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก:

 ข้อมูลบางส่วนจาก:

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net