Skip to main content
sharethis

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่ น่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง ของการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านแม่แพม ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ก็คือ ระบบการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นและคือหัวใจของระบบการผลิตแบบยั่งยืนของชาวปวาเก่อญอ                                                                                                 

 

 

ระบบการทำไร่หมุนเวียน  คือหัวใจของระบบการผลิตแบบยั่งยืน                                          

 

เป็น ที่รับรู้กันทั่วไปว่า พี่น้องชนเผ่าปวาเก่อญอหรือที่คนพื้นราบเรียกว่า กะเหรี่ยงนั้น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีผูกพันอยู่ร่วมสอดคล้องกับผืนดินผืน ป่ากันมาช้านาน ทั้งในด้านการจัดการเรื่องระบบการผลิตและวิถีชีวิตในลักษณะพึ่งพากับ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

 

ภูมิปัญญาที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวปวาเก่อญอก็คือ ระบบการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นและสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

โดย ที่ชาวปวาเก่อญอได้ออกมาพูดย้ำๆ ว่า การทำไร่หมุนเวียน ไม่ใช่ทำไร่เลื่อนลอย ไม่ได้ทำลายป่า แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่กับป่าอย่างสอดคล้องและสมดุล                                            

การ ทำไร่หมุนเวียน นั้น ชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง จะมีพื้นที่ในการทำไร่ครอบครัวหนึ่ง จะมีไร่อยู่หลายแปลง (ประมาณ 3-5 แปลง ซึ่งแต่ละแปลงนั้น จะมีพื้นที่มากน้อยแล้วแต่ขนาดของครอบครัว) โดยหลังจากมีการทำไร่แปลงหนึ่งในปีนั้นๆ เสร็จแล้ว ก็จะทำการปล่อยทิ้งไว้ปล่อยทิ้งให้รกเรื้อไว้เป็นไร่ซาก เพื่อปล่อยให้พื้นดินมีโอกาสฟื้นตัวอย่างน้อย 3-5 ปี

ครั้น เมื่อปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-5 ปี ไร่ซากซึ่งเคยใช้ทำไร่มาครั้งก่อนนั้น ก็จะทำให้ดินกลับคืนมาฟื้นอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยแร่ธาตุตามธรรมชาติ  ชาวบ้านก็จะวนกลับมาทำไร่ผืนเดิม ผืนนั้น  โดยที่ ไม่ต้องไปทำการบุกรุกพื้นที่ใหม่เพิ่มแต่อย่างใด นอกจากนั้น ชาวบ้านจะมีข้อห้ามกันเองว่า ไม่ให้มีการตัดโค่นต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ในไร่ แต่จะปล่อยไว้เป็นร่มเงาและที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในไร่

เหมือนกับที่คำสอนของบรรพบุรุษปวาเก่อญอได้สั่งสอนเอาไว้...

 

เส่กลอ เหน่ กลอ เหลอะ เตอะเก ปะ เหน่ บิเบโหม่ จ่อ เก

ตัดไม้อย่าตัดหมด เหลือไว้ให้นกพญาไฟมาเกาะ

แพะ คึ ขุ ซี เส่ เตอะ เก แพะ คึ ขุ ซี หว่า เตอะ เก                                                               

ถางไร่อย่าฟันไม้ให้ตาย ฟันไร่อย่าถางไผ่ให้ตาย                                                                  

เส่ หว่า เมะ ลอตุ ลอเช เปอะ บะ กอวี บะ กอเจ                                                                   

หากไม้และไผ่หมดไป เราจะอดน้ำอดข้าวตาย                                                                           

 

และ ที่น่าสนใจ ก็คือ ภายในไร่หมุนเวียนนั้น ถือได้ว่าเป็นการทำไร่แบบผสมผสาน โดยหลังจากชาวบ้านปลูกข้าวไร่ลงไปแล้ว ก็จะปลูกพืชผักหลากหลายพันธุ์ลงไปในแปลงบริเวณเชิงเขา เพราะพืชผักบางชนิดเป็นตัวล่อแมลงเพื่อเป็นอาหารของแมลงอีกชนิด ถือเป็นภูมิปัญญาของกะเหรี่ยงในเรื่องกำจัดแมลง และยังเป็นรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย โดยไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง  สำหรับผลผลิตส่วนใหญ่เก็บไว้ใช้บริโภคภายในครัวเรือน โดยเฉพาะข้าว ส่วนพริกและผักอื่นๆ อาจแบ่งขายบ้างตามสมควร                                                                  

ภายในไร่หมุนเวียนนั้น ยังมี ห่อวอเนอมูพันธุ์พืชพันธุ์หนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลเครื่องเทศ เครื่องปรุงของชาวปวาเก่อญอ ที่ขึ้นแซมในไร่ข้าวให้เราเห็นอยู่ทั่วไป                                                

 

หลาย ครั้งที่มีการเปรียบ ห่อวอเนอมู เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของคนปวาเก่อญอ ซึ่งคนในเมืองอาจมองว่า ห่อวอเนอมู เป็นเพียงหญ้าป่า เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ใครๆ เขาไม่ต้องการ เป็นวัชพืชที่ดูด้อยค่า ต้องตัดมันให้ขาด ต้องถางมันให้สิ้น แต่เขาอาจไม่เคยรับรู้เลยว่า แท้จริงแล้ว ห่อวอเนอมู เป็นพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าสำหรับคนบนภูเขา

 

ไร่ หมุนเวียน จึงเริ่มได้รับการยอมรับจากสังคมภายนอกมากยิ่งขึ้น จนนักวิชาการต่างออกมายอมรับกันว่า นี่คือภูมิปัญญาของชาวปวาเก่อญอ นี่คือองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรอยู่อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง

กระนั้น ก็ยังถูกคนอีกหลายกลุ่มหลายฝ่ายจดจ้องมองด้วยสายตาจับผิด ระแวง ไม่ไว้ใจ โดยเฉพาะสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐมักมองว่า การทำไร่หมุนเวียน คือการทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งค้านกับความรู้สึกของชาวบ้าน รวมทั้งนักวิชาการที่ทำงานวิจัยในเรื่องนี้ จนต้องออกมาชี้แจงกันอย่างต่อเนื่อง                                                                                                                       

จากการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน : สถานภาพและการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการฯ พบว่า มีความเข้าใจผิดของหน่วยงานรัฐและสังคมต่อระบบไร่หมุนเวียนหลายประการ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้

1.การ ทำไร่หมุนเวียนไม่ใช่การตัดไม้ทำลายป่า แต่เป็นเกษตรกรรมบนพื้นฐานขององค์ความรู้พื้นบ้าน มีเป้าหมายเพื่อการปลูกการปลูกพืชอาหารยังชีพเป็นหลัก มีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ระบบนิเวศ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ผลกระทบจึงแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ด้วย

2.เมื่อ เปรียบเทียบกับกิจกรรมการใช้พื้นที่ป่าในรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ เช่นการปลูกไม้ดอกและพืชผักเมืองหนาว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การทำไร่หมุนเวียนส่งผลต่อระบบนิเวศน้อยกว่าอย่างมาก ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวได้แก่การสูญเสียพื้นที่ป่าอย่างถาวร การชะล้างพังทลายของหน้าดิน การเกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น

3.พื้นที่ ไร่หมุนเวียน(รวมทั้งพื้นที่ไร่เก่าที่ปล่อยทิ้งไว้ให้พักตัว)มีสัดส่วนน้อย มาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในชุมชนที่ทำการศึกษา เช่น ป่าชุมชน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งป่าอนุรักษ์ที่ชุมชนกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ป่าถาวร ซึ่งจะไม่มีการเข้าไปแผ้วถางทำกินเด็ดขาด เว้นแต่การเก็บหาผลิตผลมาใช้ประโยชน์ ภายใต้กฎป่าชุมช                                                                                            

ทุก วันนี้ ทางบ้านแม่แพม จะไม่มีการขยายพื้นที่ทำกิน ส่วนไร่หมุนเวียนนั้น เราจะหมุนเวียนกัน 4-5 ปี แต่ในส่วนที่จะขยายนั้นเราจะไม่สนับสนุน  แต่ถ้ามีหน่วยงานรัฐมาบอกว่า ชาวบ้านขยายพื้นที่ เราก็สามารถที่จะนำแผนที่ที่เราจัดทำไว้นั้นเข้ามาต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐได้... สังวร พะเกะ ชาวบ้านแม่แพม บอกย้ำกับเรา

 

 

  

 

 

 

 

 

ป่าคือแหล่งความมั่นคงทางอาหาร

สร้างรายได้มีมูลค่าสูงถึง 1,610,549 บาทในรอบปี

 

ในขณะที่โลกในขณะนี้กำลังใกล้วิกฤติเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

ในขณะที่หลายชุมชนกำลังเจอกับวิกฤติปัญหาการขาดแคลนอาหาร         

แต่เมื่อหันกลับไปมองดูชุมชนบ้านแม่แพม ชาวบ้านที่นี่กลับอุดมสมบูรณ์ ไม่เคยขาดแคลนเรื่องอาหารการกิน

 

อาจ เป็นเพราะทุกคนรู้ดีว่า มีวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับผืนดินผืนป่าและสายน้ำมายาวนาน ป่าที่พวกเขาได้ช่วยกันรักษาเอาไว้นั้น คือฐานทรัพยากรอันมีค่า คือแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของคนในหมู่บ้าน              

 

ถ้า เราเดินไปรอบๆ ชุมชนบ้านแม่แพมนั้น จะเห็นชัดเลยว่า ที่ทรัพยากรดิน น้ำ ป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์นั้น ก็เพราะชาวบ้านได้ใช้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเป็นตัวกำกับดูแลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย

 

ในเรื่องของการหาของป่ามาทำอาหาร ผู้หญิงจะมีบทบาทมากกว่าผู้ชาย ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น การขุดหน่อ เห็ด  และของป่าที่จะต้องนำมากิน  อย่างการหาฟืนก็จะไปหาไม้ฟืนที่แห้งและตายแล้ว เราก็สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนเรื่องของเห็ด ก็จะมีเห็ดตามฤดูกาล นางภัททิยา จะแคะโพ ตัวแทนผู้หญิงปวาเก่อญอ บอกเล่าให้ฟัง

 

ชาว บ้านได้ไล่เรียงชื่อ พืชผักซึ่งเกิดขึ้นเองในป่า ในแต่ละฤดูกาลตลอดปี เช่น ผักกูด บอน ผักเฮือด เขือง หน่อหวาย จะค่าน หยวก หน่อกุ๊ก เหล่านี้จะขึ้นอยู่ตามริมห้วยและมีตลอด

ส่วน ผักส้มปี้ ดอกด้าง ดอกเลา อีง้อ มีในฤดูหนาวถึงต้นฤดูฝน เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดแดง เห็ดขาว เห็ดโคน เห็ดหอม เห็ดน้ำแบ้ง เห็ดไข่ห่าน เห็ดลม เห็ดหูหนู หน่อไม้ เช่น หน่อไม้บง หน่อไม้ซาง จะมีในช่วงฤดูฝน และยังมีที่เป็นผลไม้อีก เช่น มะแฟน มะไฟ มะม่วงป่า มันป่า มะกอกป่า เป็นต้น

ใน ด้านสัตว์ใหญ่สัตว์น้อยที่อาศัยอยู่ในผืนป่าที่ชาวบ้านนำมาเป็นอาหารในแต่ละ ฤดูกาลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็ฯสัตว์จำพวกนก เช่น นกกระทา นกเป้า นกจอก นกผีด นกกวิด นกยาง นกกระถาบ นกเอี้ยง ฯลฯ

นอกจากนั้น ก็ยังมีสัตว์เล็กๆ ชนิดอื่นๆ เช่น ต่อ แตน ผึ้ง อ้น ตุ่น หนู เก้ง หมูป่า ไข่มดแดง มดหี้ กว่าง เป็นต้น   

                                                                                                                                 

ป่า คือแหล่งผลิตสมุนไพรหลากหลาย                                                                       

ชาวบ้านยังมองป่าคือแหล่งผลิตสมุนไพร ซึ่งในชุมชนแม่แพม จะมี พะตีกิลอ กะพอ  เป็นหมอสมุนไพร บอกกับเราว่า สมุนไพรในป่ามีอีกมาก มีเกือบทุกชนิดและหาได้ทุกฤดูกาล                                   

ใน ป่า เรายังใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคด้วย เช่น นำเซย่าเหล่า มือคาวะ มะนาว ตะไคร้ ขิง ข่า ตำให้ละเอียดผสมกันกรองเอาเฉพาะน้ำใช้กันหรือดมแก้เมาหรือหน้ามืดตาลาย เป็นลม         

เก้อมาโปร่ว ต้นถอดพาน นำมาต้มอาบให้เด็กรักษาอาการผิดสำแดง                                              

ผะเถอะตี่ เซวะวา มะกอกเบะ พอเต่อเบอะ ชุ่ยโพคะล่ะด่อ ใช้ต้มฮมหรืออบรักษาอาการผิดสำแดง

ส่าญอ (ขมิ้น) เซเค่ไบ (ขิง) เป่อเซอ (กระเทียม) เก้อแนโอ๊ะ (น้ำผึ้ง) เอาทุกอย่างตากแห้งโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นพอหมาด เป็นลูกกลม ๆ กินเป็นประจำรักษาโรคกระเพาะ                                    

ตัวยาเหล่านี้เป็นเพียงการยกตัวอย่างของชาวบ้านเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วเชื่อว่ายังมีอีกเป็นจำนวนที่ยังไม่ได้มีการศึกษาค้นคว้า                                                                                                     

เมื่อเราเอ่ยถามว่า ที่ผ่านมาหมู่บ้านเรานั้นได้มีการทำวิจัยหรือสำรวจเรื่องของสมุนไพรหรือไม่อย่างไร  

นายสมศักดิ์ ตะวุ ผู้ใหญ่บ้านแม่แพม บอกว่า ที่ผ่านมา ก็จะมีพะตีกิลิ ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องของสมุนไพรมาก่อน จะทำการสำรวจเอาไว้เอง แต่ก็ให้ข้อมูลเรื่องของสมุนไพรไม่หมด  แต่ก่อนนั้น เคยมีคนเข้ามาสำรวจบ้าง

ใช่ มีคนญี่ปุ่นที่เข้ามาพร้อมกับนักวิจัย พะตีกิลิ กะพอ หมอสมุนไพร บอกเสริมให้เรา                

และ การวิจัยที่กำลังจะเข้ามา หรือที่ผ่านมาเรานั้นได้มีการประชาคมหมู่บ้าน หรือพูดถึงเรื่องการจดทะเบียนของสมุนไพรหรือไม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการ เป็นต้นแบบของสมุนไพรท้องถิ่นเรา เราตั้งคำถามด้วยความรู้สึกห่วงใย หลังยินข่าวมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาศึกษาเรื่องสมุนไพรถึงในป่าผืนนี้                                                                                                                                         

ทำให้ ชาวบ้านหลายคน เริ่มหันมาให้ความสำคัญในเรื่องสมุนไพรกันมากขึ้น ว่าต่อไป น่าจะมีการถอดองค์ความรู้เรื่องสมุนไพรไว้ในหมู่บ้าน เพื่อจะเก็บข้อมูลให้กับคนภายนอกได้รับรู้และอาจมีการศึกษาวิจัยไปจนถึงขั้น การจดสิทธิบัตรยา เป็นภูมิปัญญาของชุมชนของตนเองได้ในอนาคต  

พะตีกิลิ บอกอีกว่า  ทุก วันนี้ยานี้เราได้มีการจดบันทึกเอาไว้ ว่าตัวไหนรักษาโรคอะไร ก็ได้มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพรให้กับผู้ที่สนใจในหมู่บ้าน ส่วนวัยรุ่นไม่ค่อยที่จะสนใจเท่าไหร่นัก                 

แน่นอนว่า เมื่อมีการพูดถึงเรื่องการหาของป่า การหาอาหารจากป่า ย่อมมีหลายคนตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วมันไม่สูญพันธุ์หรือหมดจากป่าหรือ!?”                     

 

 

สมศักดิ์ ตะวุ ผู้ใหญ่บ้านแม่แพม และพะตีกิลอกะพอ หมอสมุนไพร

 

                                                

ชาวบ้านแม่แพม จะพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า  ในการใช้ประโยชน์จากป่านั้นไม่เป็นปัญหาสำหรับชาวบ้าน  เพราะชาวบ้านรู้จักใช้และดูแลรักษาไปพร้อม ๆ กัน                                                 

ยอมรับ ว่าสมุนไพรในป่าเรานั้นมีมาก แต่ถ้าพูดถึงสมุนไพรในเชิงพาณิชย์เหล่านี้ก็อาจจะหมดไป ซึ่งเราไม่อยากให้มีแบบนั้น อยากให้ไว้ใช้เฉพาะคนในชุมชน

ยก ตัวอย่าง เช่น ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องขวัญของต้นไม้ ดังนั้นจะบอกลูกหลานไม่ควรเก็บหน่อไม้มาทั้งหมด หรือการเก็บน้ำผึ้งก็จะเอาแค่ครึ่งส่วน เอาเฉพาะน้ำหวาน แต่ปล่อยให้เหลือไว้ให้ผึ้งได้ขยายพันธุ์ต่อไป อีกทั้งยังกำหนดให้เก็บน้ำผึ้งได้ 20 รังต่อปี อย่างนี้เป็นต้น                             

 

ตะลึง! ปริมาณรายได้อาหาร-สมุนไพรจากป่ามหาศาล                                                 

                                            

 

เมื่อ เราเปิดดูข้อมูลการสำรวจของทีมวิจัยชาวบ้านและคณะกรรมการป่าชุมชน ที่ได้เคยมีการสำรวจเอาไว้ ซึ่งคิดเป็นปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า ทั้งประเภทพืช เห็ด สัตว์ป่า และสมุนไพร ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่แพม รวมกันแล้วมีปริมาณมูลค่าคิดเป็นจำนวนเงินมหาศาล

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า ประเภทพืช  164,684 บาท

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทเห็ด  369,780 บาท

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทสัตว์ป่า 855,000 บาท

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทสมุนไพร 221,085 บาท

เมื่อรวมกันแล้ว มีมูลค่าสูงถึง 1,610,549 บาทในรอบปี ซึ่งถือว่าป่าได้สร้างรายได้จำนวนมากแก่ชุมชนแห่งนี้

 

จาก ข้อมูลนี้ ได้ทำให้ชาวบ้านแม่แพม รู้สึกรักและหวงแหนป่าผืนนี้มากยิ่งขึ้น เพราะนี่แหละคือ แหล่งความมั่นคงทางอาหาร ที่จะคอยปกป้องคุ้มครองดูแลชีวิตผู้คนที่นี่ให้อยู่รอดได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน!

 

 

 

 

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า ประเภทพืช

ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่แพม

      

ปริมาณที่เก็บเป็นอาหาร                         ปริมาณที่เก็บมาจำหน่าย

ชนิด

../ปี

ครั้ง / ปี

บาท / ปี

../ปี

ครั้ง/ปี

บาท/ปี

รวม

ผักกูด

321

ตลอดปี

2,310

50

ตลอดปี

500

2,810

ผักหนาม

240

ตลอดปี

1,920

20

ตลอดปี

160

2,080

ส้นปี้

320

ตลอดปี

1,600

200

ตลอดปี

10,000

2,600

ปลีกล้วยป่า

308

ตลอดปี

1,540

150

ตลอดปี

750

2,280

ผัดเฮือด

400

1

6,000

30

1

450

6,450

ข่าป่า

390

ตลอดปี

1,950

-

ตลอดปี

-

-

ชะอม

438

6

23,400

200

1

1,600

1,600

เหขือง

321

ตลอดปี

3,120

100

ตลอดปี

1,000

4,120

มะเขือพวง

438

ตลอดปี

3,744

100

ตลอดปี

800

4,544

ดอกต้าง

156

1

6,240

120

1

480

1,140

หางโหว

231

ตลอดปี

5,775

385

ตลอดปี

9,625

15,400

ปลีกกล้า

200

ตลอดปี

3,000

100

1

1,500

4,500

ลิ้นไม้

80

6

1,200

50

1

750

1,950

ผักเลอ

78

ตลอดปี

624

-

-

-

-

จักค่าน

240

ตลอดปี

2,400

180

ตลอดปี

1,800

1,200

ดอกเอื้องป่า

3,000

ตลอดปี

90,000

800

ตลอดปี

24,000

114,000

รวม

7,191

 

154,823

2,485

 

53,255

   164,684

(ที่มา   การสำรวจของทีมวิจัยชาวบ้านและคณะกรรมการป่าชุมชน)

 

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทสัตว์ป่า

ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่แพม

                  

ปริมาณที่เก็บเป็นอาหาร                             ปริมาณที่เก็บมาจำหน่าย

ชนิด

../ปี

ครั้ง/ปี

บาท/ปี

กก/ ปี

ครั้ง/ปี

บาท/ปี

รวม

หมูป่า

600

ตลอดปี

72,000

200

ตลอดปี

24,000

96,000

เก้ง

200

ตลอดปี

40,000

50

ตลอดปี

10,000

50,000

แลน

300

ตลอดปี

48,000

80

ตลอดปี

12,800

60,800

เต่า

230

ตลอดปี

18,400

70

ตลอดปี

5,600

24,000

กระรอก

500

ตลอดปี

40,000

100

ตลอดปี

8,000

48,000

ไก่ฟ้า

100

ตลอดปี

12,000

70

ตลอดปี

2,400

14,400

ไก่ป่า

170

ตลอดปี

13,600

50

ตลอดปี

4,000

17,600

เลียงผา

80

ตลอดปี

9,600

-

-

-

9,600

อ้น

150

ตลอดปี

10,500

50

ตลอดปี

3,500

14,000

ตุ่น

100

ตลอดปี

7,000

30

ตลอดปี

2,100

91,000

กระต่ายป่า

90

ตลอดปี

10,800

-

-

-

10,800

อีเห็น

750

ตลอดปี

60,000

200

ตลอดปี

16,000

76,000

นิ่ม

300

ตลอดปี

36,000

150

ตลอดปี

18,000

54,000

นก

1,000

ตลอดปี

60,000

200

ตลอดปี

12,000

72,000

หนู

500

ตลอดปี

25,000

100

ตลอดปี

5,000

30,000

ไข่มดแดง

150

1

15,000

70

1

7,000

22,000

หนอกหน่อไม้

300

1

30,000

200

1

20,000

50,000

หนอกหน่อไม้ดำ

120

1

9,600

-

1

-

9,600

ไข่มดฮี่

80

1

6,400

40

1

32,000

9,600

งู

100

ตลอดปี

8,000

50

ตลอดปี

4,000

12,000

กบ

100

ตลอดปี

6,000

50

ตลอดปี

3,000

9,000

แมลง

200

บางช่วง

10,000

150

บางช่วง

7,500

17,500

ผึ้ง ต่อ

750

2

270

600

2

108,000

   139,000

รวม

6,870

 

   548,170

2,510

 

304,900

   855,000

 

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทเห็ด

ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านแม่แพม

 

                   ปริมาณที่เก็บมาเป็นอาหาร              ปริมาณที่เก็บมาจำหน่าย

ชนิด

../ปี

ครั้ง/ปี

บาท/ปี

../ปี

ครั้ง/ปี

บาท/ปี

รวม

หน่อไม้

20,000

1

60,000

100

1

500

60,500

เห็ดถอบ

500

1

30,000

300

1

21,000

51,000

เห็ดไข่ห่าน

800

1

12,000

150

1

1,050

13,050

เห็ดโคน

1,00

1

50,000

200

1

10,000

60,000

เห็นลม

500

1

20,000

400

1

16,000

36,000

เห็ดซาง

700

1

7,000

300

1

2,100

9,100

เห็ดหอม

1,300

1

39,000

700

1

21,000

60,000

เห็ดก่อ

300

1

1,500

100

1

500

2,000

เห็ดแดง

600

1

3,000

150

1

750

3,750

เห็ดฝอย

500

1

3,500

-

1

-

3,500

เห็ดมอย

700

1

7,000

70

1

490

7,490

เห็ดหูหนู

700

1

8,400

120

1

1,400

9,840

เห็ดแต๊บ

300

1

30,000

-

1

-

30,000

เห็ดขาว

800

1

4,800

100

1

500

5,400

เห็ดปู

300

1

3,000

150

1

1,500

4,500

เห็ดฮ้าง

200

1

1,000

70

1

350

1,350

เห็ดนมสาว

250

1

2,500

80

1

800

3,300

เห็ดหอมดง

250

1

7,000

100

1

2,000

9,000

รวม

29,700

 

 289,700

3,090

 

79,980

  369,780

 

 

ปริมาณและรายได้จากการเก็บผลผลิตจากป่า  ประเภทสมุนไพร

ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนบ้านแม่แพม

 

                   ปริมาณที่เก็บมาเป็นอาหาร              ปริมาณที่เก็บมาจำหน่าย

ชนิด

./ปี

ครั้ง / ปี

บาท/ ปี

../ปี

ครั้ง / ปี

บาท/ ปี

รวม

เมี้ยง (ชา)

1,540

2

60,600

150

2

7,500

68,100

จักค่านแดง

50

ตลอดปี

2,500

50

ตลอดปี

2,500

5,000

ยารากโตน

150

ตลอดปี

3,000

80

ตลอดปี

4,000

7,000

ประดู่เครือ

60

ตลอดปี

1,200

40

ตลอดปี

800

2,000

ห้อกระชาย

100

บางช่วง

4,000

40

ตลอดปี

1,600

5,600

สาบเสือ

50

ตลอดปี

250

50

ตลอดปี

-

250

ม้าสามตอน

40

ตลอดปี

2,000

-

ตลอดปี

-

2,000

ยาแก้ต้น

30

ตลอดปี

2,400

-

ตลอดปี

-

2,400

รางจืด

70

ตลอดปี

2,450

50

ตลอดปี

1,500

4,000

ยาแก้รากเหลือง

45

ตลอดปี

1,575

30

ตลอดปี

1,050

3,500

จุ่มจาริง

30

ตลอดปี

90

25

ตลอดปี

875

2,450

ไม้สามเอ็น

50

ตลอดปี

1,000

15

ตลอดปี

45

135

ขมสามดอย

78

1

15,600

25

ตลอดปี

500

1,500

ผู้เฒ่ากั้นช้าง

156

ตลอดปี

31,200

70

ตลอดปี

14,000

45,200

แม่ฮ้างตองป่า

156

ตลอดปี

31,200

70

ตลอดปี

14,000

45,200

ทอเนอ

65

ตลอดปี

1,300

20

ตลอดปี

-

1,300

ใบฝรั่ง

40

ตลอดปี

2,000

-

ตลอดปี

-

2,000

รากไมยราพ

35

ตลอดปี

1,750

20

ตลอดปี

-

2,750

แมวไม้

80

ตลอดปี

4,800

40

ตลอดปี

2,400

2,700

ใบเปล้า

120

ตลอดปี

12,000

60

ตลอดปี

6,000

18,000

รวม

2,945

 

80,915

835

 

56,770

221,085

 

(ที่มา :การสำรวจของทีมวิจัยชาวบ้านและคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านแม่แพม)

 

 

 

ติดตามตอนหน้า ฟังความเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการจัดการฐานทรัพยากรบ้านแม่แพม

 

 

 

* * * * * * * * * * * *

 

ที่มาข้อมูล : หนังสือไปเรียนรู้วิถีพึ่งพาอย่างยั่งยืน การอยู่ร่วมดิน น้ำ ป่า ของคนแม่แพม,ตี พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2552 ,สถาบันการจัดการทางสังคม(สจส.) 225/112 หมู่บ้านสินธนา ต.สันพระเนตร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210 โทร.053-380-566

 

 

ข้อมูลประกอบ

-ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านแม่แพม ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่,มกราคม 2552

 

-โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน : สถานภาพและการเปลี่ยนแปลงโดย ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการฯ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี รองหัวหน้าโครงการฯ อัจฉรา รักยุติธรรมนักวิจัยโครงการฯ, 19 มิถุนายน 2546

 

-ไร่หมุนเวียนไร่เลื่อนลอย ความเลื่อนลอยของใคร? ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ :โครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก ,ไทยเอ็นจีโอ 1 ส.ค. 46

 

-เพียรพร ดีเทศน์, เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต  http://www.livingriversiam.org

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รายงาน : ไปเรียนรู้วิถีพึ่งพา ดิน น้ำ ป่า คนปวาเก่อญอบ้านแม่แพม (ตอน 1)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net