Skip to main content
sharethis

อำนาจ กับการเกิดโรค

คุณหมอฟาร์เมอร์เล่าประสบการณ์ของตัวเองในเฮติ ที่ทำงานเป็นแพทย์ตั้งแต่ปี 1980 หลังจากการปฏิวัติของกองทัพเพื่อโค่นล้มอำนาจของอดีตประธานาธิบดี ฌอง แปร์ตอง อรีสตีดในปี 1991-1994 เขา ได้เห็นการเพิ่มอำนาจของกองทัพโดยผ่านแก๊งค์ติดอาวุธ กองโจร ซึ่งทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะจลาจลและเต็มไปด้วยความรุนแรง ทั้งที่ในช่วง รัฐบาลอริสตีด กองทัพแทบไม่มีอำนาจอะไร แต่ต่อมาในปี 2000 ประเทศกลับตกอยู่ในภาวะจลาจล

เพื่อง่ายแก่การทำความเข้าใจสถานการณ์ในเฮติ จึงขอหยิบยก ข่าวที่ไม่เป็นข่าว ของมหาวิทยาลัยโซนามา สเตท ประจำปี 2005 อันดับที่ 12 ประจำ ปีนั้นมานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและเฮติ รวมทั้งนโยบายเสรีนิยมใหม่และการโค่นอำนาจผู้ที่ไม่ยอมก้มหัว แน่นอนว่า ไม่ใช่ในนามเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวเฮติ

...วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2004 ประธานาธิบดีฌอง-แบร์ ทรองด์ อรีสตีด ถูกกองทัพอเมริกันบังคับให้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ในขณะที่รัฐบาลบุชและสื่อมวลชนกระแสหลักออกข่าวเป็นนัยๆ ว่า ประธานาธิบดีอรีสตีดลี้ภัยออกไปด้วยความสมัครใจเอง แต่อรีสตีดเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการที่เขาถูกกองทัพอเมริกันลักพาตัวไปให้ นักข่าวชาวเฮติคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาฟังผ่านทางโทรศัพท์ นักข่าวผู้นั้นนำคำพูดของเขาไปออกอากาศในสถานีวิทยุประชาชน KPFA รัฐบาล สหรัฐฯรีบปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่สถานการณ์แวดล้อมและประวัติศาสตร์ที่สหรัฐเคยเข้าไปแทรกแซงประเทศเฮติ หลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา ทำให้เรื่องนี้มีมูลอยู่ไม่น้อย

ในปี ค.ศ.1990 หลังตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการป่าเถื่อนของประธานาธิบดีดูวาลเยร์ถึง 15 ปี ในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ประชาชนชาวเฮติถึงร้อยละ 70 ลง คะแนนเสียงเลือกอรีสตีดเป็นประธานาธิบดี ระหว่างดำรงตำแหน่งวาระแรก อรีสตีดเริ่มดำเนินนโยบายตามแนวทางประชานิยม ไม่ว่าจะเป็นการปรับระบบภาษีสินค้านำเข้า เก็บภาษีคนรวยในอัตราก้าวหน้า และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่นาน เขาก็ถูกกดดันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศและหน่วยงานเพื่อการพัฒนา ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ให้ยกเลิกนโยบายเหล่านี้ ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น อรีสตีดถูกโค่นลงจากตำแหน่งด้วยฝีมือของกองกำลังกึ่งทหารที่ใช้ชื่อว่า ‘แนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าและการพัฒนาแห่งเฮติ’ (FRAPH) แนวร่วม FRAPH ได้รับการฝึกอบรมและอุดหนุนจากซีไอเอ ผู้นำหลายคนของ FRAPH อยู่ในรายชื่อผู้ได้รับเงินเดือนจากซีไอเอ

ระหว่างปี ค.ศ.1991-1994 คู่ แข่งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอรีสตีด กล่าวคือ อดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก มาร์ค บาซิน ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลทหารให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในยุคของบาซิน(ใคร?) การขูดรีดและภัยสยองในประเทศดำเนินไปไม่ต่างจากยุคของดูวาลเยร์ มีประชาชนถูกสังหารถึง 4,000 คน และมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 60,000 คน แต่ในสายตาของธนาคารโลก, ไอเอ็มเอฟ และวอชิงตัน บาซินถือเป็น ‘นักเรียนตัวอย่าง’

ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลคลินตัน อรีสตีดกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในปี ค.ศ.1994 เขากลับมาดำรงตำแหน่งอย่างมีเงื่อนไข กล่าวคือ เขาต้องสนับสนุนนโยบายของ ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกใน ‘โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ’ และเขาได้รับเลือกกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในปี ค.ศ.2000 ปีเดียวกับที่จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ อรีสตีดได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้งถึงร้อยละ 92 แต่ประธานาธิบดีบุช (ซึ่งตัวเองชนะการเลือกตั้งอย่างไม่ขาวสะอาด) กลับกล่าวหาว่า วุฒิสมาชิก 7 คน จากพรรคของอรีสตีดได้รับเลือกตั้งมาโดยมิชอบ แม้ว่าวุฒิสมาชิกเหล่านี้จะยอมลาออก แต่รัฐบาลบุชก็ยังใช้ข้ออ้างนี้ยกเลิกการให้เงินกู้ยืมแก่เฮติที่ผ่านทาง ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในทวีปอเมริกา รวมทั้งยังกดดันธนาคารโลก, ไอเอ็มเอฟ และสหภาพยุโรปให้ลดความช่วยเหลือลงด้วย

พร้อมๆ กันนั้น รัฐบาลบุชกลับอุดหนุนเงินหลายล้านเหรียญสหรัฐให้แก่แนวร่วมฝ่ายตรงข้ามของอ รีสตีด โดยเฉพาะองค์กรของอันเดรย์ อาเพด เจ้าของบริษัทอัลฟาอินดัสตรีส์ ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าส่งออกแรงงานราคาถูกที่ใหญ่ที่สุดในเฮติ คอยส่งแรงงานไปให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ อย่าง ไอบีเอ็ม, สเปอร์รี/ยูนิซิส, เรมิงตัน และฮันนีเวล

หลัง จากใช้กำลังถอดถอนอรีสตีดหลุดจากตำแหน่ง ฝ่ายตรงข้ามจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล โดยแต่งตั้งนายเชราร์ด ลาทอร์ทูเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้เต็มไปด้วยอาชญากรทางด้านสิทธิมนุษยชน นักค้ายาเสพติด และผู้มีอิทธิพล อาทิเช่น กี ฟีลีป นักค้ายาเสพติดและอดีตอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งได้รับการอบรมจากกองกำลังของสหรัฐในเอกวาดอร์ ลูอี โชเดล แชมแบลน อดีตหมายเลข 2 ของแนวร่วม FRAPH ที่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิด 2 ครั้งในข้อหาฆาตกรรม ฌอง ทาทูน อดีตผู้นำแนวร่วม FRAPH อีกคนหนึ่ง ซึ่งเคยมีความผิดในการสังหารหมู่เมื่อปี ค.ศ. 1994 เขานั่งเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพสหรัฐมาลงที่ประเทศเฮติเพื่อยืนเคียงข้างนายกรัฐมนตรีในฐานะ ‘นักรบเสรีภาพ’

รัฐบาลอรีสตีดเป็นอีกรัฐบาลหนึ่งในประเทศโลกที่ 3 ที่ แสวงหานโยบายทางเลือก โดยพยายามต่อต้านแนวทางเสรีนิยมใหม่ การครอบงำของบรรษัทข้ามชาติ และโดยเฉพาะอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา รัฐบาลอรีสตีดเข้าร่วมในกลุ่มประเทศประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community--CARICOM) เพื่อรวมเป็นกลุ่มทางการค้าต่อสู้กับข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปอเมริกา (FTAA) มี การสร้างความร่วมมือกับประเทศเวเนซุเอลาและคิวบา โดยเฮติซื้อน้ำมันในราคาถูกมากจากเวเนซุเอลาและได้รับความช่วยเหลือทางการ แพทย์จากคิวบา

CARICOM เรียก ร้องให้มีการสอบสวนการลักพาตัวประธานาธิบดีอรีสตีด ส่วนประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ของเวเนซุเอลาก็เสนอให้ที่ลี้ภัยทางการเมืองแก่อรีสตีด หลังจากลี้ภัยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในที่สุด อรีสตีดก็กลับมาลี้ภัยชั่วคราวอยู่ในจาไมกา ซึ่งห่างจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเพียง 130 ไมล์...

คุณหมอฟาร์เมอร์ ชี้ให้ดูนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อเฮติ ว่า

ประการ แรก อดีตผู้นำกองทัพที่สังหารผู้คนจำนวนมากถูกเนรเทศไปอยู่สุขสงบที่ประเทศ เพื่อนบ้านโดมินิกัน ซึ่งน่าประหลาดใจมากที่สภาคองเกรสของสหรัฐฯ อนุมัติโครงการฝึกนักรบ 600 คน และส่งอาวุธเบา 20,000 กระบอกไปให้รัฐโดมินิกัน

ประการที่สอง คือ สหรัฐคว่ำบาตรรัฐบาลอรีสตีด เงินช่วยเหลือระดับทวิภาคี 500 ล้าน ดอลลาร์ถูกตัด ขณะที่ประเทศยังมีทั้งหนี้และไม่มีเงินทุนเลย ประเทศผู้บริจาคตัดสินใจให้เงินผ่านช่องทางนอกรัฐ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากวิธีการนี้คือ ผู้ต่อต้านอริสติด ขณะที่รัฐบาลไม่สามารถจัดหาความจำเป็นพื้นฐานให้แก่ประชาชนได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯรีบประณามรัฐบาลอริสติดว่าทุจริตคอรัปชั่น แล้วก็ขู่ตัดเงินช่วยเหลืออีก เดือนมีนาคม 2003 อริสติดต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ และผู้ที่ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน คือ คนที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประชาชน

ใน ทัศนะของคุณหมอฟาร์เมอร์ นักสิทธิมนุษยชนตะวันตกต้องมีส่วนรับผิดชอบกับอคติที่พวกเขามีต่ออดีต ประธานาธิบดีอรีสตีด และข้อมูลต่างๆที่สร้างความชอบธรรมในการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ การคว่ำบาตรและผลกระทบของมันไม่เคยปรากฏอยู่ในรายงานสิทธิมนุษยชน

คุณ หมอฟาร์เมอร์ เชื่อว่า กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับเงินทุนจากตะวันตกกลับเข้าสู่เฮติอย่าง รวดเร็วเพื่อรายงานสิ่งที่พวกเขาขาดตกบกพร่องไปเมื่ออรีสตีดยังอยู่ (the National Coalition for Haiti Rights) ยิ่งไปกว่านั้น นักสิทธิมนุษยชน ทั้ง Human Rights Watch, Amnesty International and Journalists Without Borders ต่างก็มีวาระของตัวเอง โดยที่คนท้องถิ่นไม่ได้ถูกให้ความสนใจเท่าที่ควร

สิ่ง ที่อยู่นอกเหนือความสนใจของนักสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ คือ การเรืองอำนาจของกองทัพที่ได้รับการสนับสนุนของซีไอเอ ทำให้ประชาชนประสบความยากลำบากในการเดินทาง โดยเฉพาะช่วงที่ต้องรับยาต่อเนื่อง เพราะมีด่านของทหารตั้งอยู่ตลอดทาง รวมถึงการต้องเสียค่าเบี้ยบ้ายรายทาง และเสียตัวให้กับทหารเพื่อผ่านทางไปหาหมอ และนักสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ก็คงไม่รู้ว่า เงินจาก The Inter American Bank ที่ถูกส่งมาให้เฮติถูกสกัดโดยสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ อรีสตีดต้องการเงินส่วนนี้เพื่อให้บริการสาธารณะให้แก่ชุมชน หาก ฌอง-แบร์ทรองด์ อรีสตีด จะมีความผิดอยู่บ้าง ก็คือ การที่เขาก้มหัวให้กับทุนต่างชาติไม่มากพอ

 

รายงานชุด ‘Power & Health’

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net