Skip to main content
sharethis

วันนี้ (31 พ.ค.) สวนดุสิตโพล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. 2552 ที่ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีคนใกล้ชิดสูบ และผู้ที่ไม่มีคนใกล้ชิดสูบในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 1,092 คน ระหว่างวันที่ 28-31 พ.ค.
พบว่า ความคิดเห็นต่อ “คนที่สูบบุหรี่” มีเพียงผู้ที่สูบบุหรี่ เห็นว่า การสูบบุหรี่เป็นสิทธิส่วนบุคคล /อยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ มาเป็นอันดับแรก คือ 41.06% อันดับที่ 2 เป็นห่วงสุขภาพและอันตรายที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 30.72% อันดับที่ 3 เป็นสิทธิส่วนบุคคล / อยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ 28.22% ส่วนเหตุผลที่ทำให้ “สูบบุหรี่” อันดับ 1 สูบมานานแล้ว /เป็นความเคยชิน 42.49% อันดับ 2รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยให้คลายเครียดได้ 35.79% อันดับ 3 เป็นสิทธิส่วนบุคคล /อยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ 28.22% เห็นได้ว่ามีเพียงผู้ที่ไม่มีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ ที่เห็นว่า เหตุผลที่ทำให้สูบบุหรี่ คือ รู้สึกผ่อนคลาย
การขึ้นราคา “บุหรี่” มีผลที่จะทำให้การสูบบุหรี่ลดลงหรือไม่ มีเพียงผู้ที่ไม่มีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ที่ตอบว่า “ไม่แน่ใจ ว่าการขึ้นราคาจะทำให้การสูบบุหรี่ลดลงมาเป็นอันดับแรก คือ 41.28 % อันดับ 2 ไม่แน่ใจเพราะ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ /รายได้ส่วนตัว ,ขึ้นอยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าว่าราคามีผลหรือไม่หรือต้องการของที่จะสูบต่อไป ฯลฯ 37.08% อันดับ 3 มีผล เพราะทำให้ปริมาณการสูบบุหรี่ในแต่ละวันลดน้อยลง ,สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ,เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น ฯลฯ 21.64%
วิธีที่จะทำให้ “เลิกบุหรี่” ส่วนใหญ่จะบอกว่าขึ้นอยู่กับตัวเอง 50.32% อันดับ 2 ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประชาสัมพันธ์ ถึงพิษภัยของบุหรี่หรือรณรงค์ให้งดสูบบุหรี่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง 30.39% อันดับ 3 เพิ่มราคาบุหรี่ให้แพงมากขึ้นหรือปิดโรงงานยาสูบไปเลย 19.29%
นอกจากนี้เมื่อถามถึงปัจจุบันว่า “การสูบบุหรี่” เป็นภัยต่อใครมากที่สุด กลุ่มความเห็นส่วนใหญ่จะตอบว่าเป็นภัยเฉพาะตัวมากเป็นอันดับ 1 คือ 63.07% ผู้อันดับ 2 เป็นภัยต่อคนรอบข้าง เพราะ กลิ่นควันที่ปล่อยออกมาเป็นการรบกวนคนรอบข้าง ,ทำให้คนใกล้ตัวมีสุขภาพที่แย่ลง ,ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ 25.54% อันดับ 3 เป็นภัยต่อส่วนรวม 11.39%

ที่มาข่าว: ไทยรัฐออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net