Skip to main content
sharethis

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Audio slideshow: Tiananmen Square, BBC,

http://news.bbc.co.uk/2/hi/in_depth/8078746.stm

 

 ประมวลภาพเหตุการณ์ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อ 20 ปีก่อน โดยนำมาจากสารคดีภาพประกอบเสียงของบีบีซี ซึ่งบันทึกเหตุการณ์นักศึกษาและกรรมกรในจีนชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ระหว่างเดือนเมษายน ถึง 4 มิถุนายน 1989 หรือเมื่อ 20 ปีก่อน

โดยการชุมนุมของนักศึกษาและกรรมกรในขณะนั้น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนปฏิรูปประเทศให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยชนวนของการชุมนุมเริ่มขึ้นตั้งแต่การอสัญกรรมของสหายหู เย่า ปัง อดีตเลขาธิการทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นนักการเมืองสายปฏิรูป โดยมีนักศึกษาชุมนุมเพื่อไว้อาลัยแก่สหายหู และประณามฝ่ายกรมการเมืองในพรรคที่ชะลอการปฏิรูป โดยการชุมนุมค่อยๆ ขยายตัว มีผู้ชุมนุมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในวันที่ 20 พ.ค. รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึก และเคลื่อนกำลังทหารเข้ามาในกรุงปักกิ่ง

แต่แล้วระหว่างวันที่ 3-4 มิถุนายน 1989 กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ได้เข้าสลายการชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปราบปราม นับเป็นจุดสิ้นสุดของการประท้วงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครองอำนาจในปี 1949

ภาพและคำบรรยายต่อไปนี้ แปลจากสารคดีภาพประกอบเสียงของบีบีซี โดยนายเจมส์ ไมล์ (James Miles) ผู้สื่อข่าวบีบีซีเป็นผู้สัมภาษณ์ฝูงชนในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ขณะที่ภาพสไลด์โชว์และคำบรรยายโดยนายพอล เคอร์ลีย์ (Paul Kerley) สำหรับภาพที่บีบีซีใช้ มาจากภาพจากช่างภาพของ AP, AFP และ Getty Images

 

 

ฝูงชนแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของสหายหู เย่าปัง (Hu Yaobang) นักปฏิรูปในพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อเมษายน ปี 1989 (ที่มา: BBC)

 

ผู้ผลิตรายการของบีบีซี นายปีเตอร์ เบอร์ดิน บันทึกเสียงผู้ชุมนุม เมื่อพฤษภาคม 1989 (ที่มา: BBC)

 

นักเรียนระดับวิทยาลัยเดินขบวนสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย (ที่มา: BBC)

 

นักศึกษาเดินขบวนและถือป้ายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "เสรีภาพ" (ที่มา: BBC)

 

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (ที่มา: BBC)

 

นักศึกษาฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยนั่งเผชิญหน้ากับทหาร (ที่มา: BBC)

 

นักศึกษาบอกให้ทหารกลับบ้าน (ที่มา: BBC)

 

บรรยากาศการชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินช่วงเดือนพฤษภาคมปี 1989 เป็นไปอย่างผ่อนคลาย (ที่มา: BBC)

 

ประชาชนรายหนึ่งพยายามเอาผ้าไปคลุมภาพบิดาผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตง

 

นักศึกษาและกรรมกรมีท่อนไม้เป็นอาวุธ (ที่มา: BBC)

 

ผู้ประท้วงคนหนึ่งตะโกนว่า "ช่วยบอกชาวโลกด้วย เป้าหมายของเราคือประชาธิปไตย" (ที่มา: BBC)

 

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ของทางการจีนออกมาเดินขบวนสนับสนุนฝ่ายนักศึกษา (ที่มา: BBC)

 

กรรมกรจัดริ้วขบวนสนับสนุนกลุ่มนักศึกษาที่อดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (ที่มา: BBC)

 

มีการประกาศกฎอัยการศึกวันที่ 20 พ.ค. 1989 (ที่มา: BBC)

 

ผู้ชุมนุมเข้ามาห้อมล้อมรถลำเลียงพลของทหาร (ที่มา: BBC)

 

ผู้ชุมนุมตะโกนกับฝูงชน (ที่มา: BBC)

 

กลางดึกของวันที่ 3 มิ.ย. 1989 ทหารจีนใช้กำลังเข้ายุติการชุมนุมของนักศึกษา (ที่มา: BBC)

 

ผู้ชุมนุมช่วยกันนำนักศึกษาที่บาดเจ็บออกจากบริเวณนั้นโดยจักรยาน (ที่มา: BBC)

 

นักข่าวต่างประเทศได้รับการปลอบขวัญจากเพื่อนนักข่าวด้วยกัน (ที่มา: BBC)

 

รถถังของกองทัพจีนถูกผู้ประท้วงโจมตี (ที่มา: BBC)

 

รถถังของกองทัพจีนถูกผู้ประท้วงโจมตี (ที่มา: BBC)

 


ชาวบ้านโชว์ลูกกระสุนและร่องรอยกระสุน (ที่มา: BBC)

 

ด้วยกำลังแสนยานุภาพของกองทัพจีนทำให้ไม่กี่วันต่อมาทหารได้ควบคุมพื้นที่จัตุรัสได้หมด (ที่มา: BBC)

 

ทหารเข้าประจำการหน้าพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง (ที่มา: BBC)

 

ชายในภาพถูกเรียกว่า “Tank Man” เขาเดินมาเผชิญหน้ากับขบวนรถถังที่กำลังแล่นอยู่ ภายถ่ายเมื่อ 5 มิถุนายน 1989 1 วันหลังการปราบปราม ภาพถ่ายโดย Jeff Widener ช่างภาพของ Associated Press (ที่มา: BBC)

 

ชาวเมืองปักกิ่งปั่นจักรยานผ่านซากรถถังและพาหนะของทหารที่ถูกเผา (ที่มา: BBC)

 

ซึ่งซากรถดังกล่าวยังคงคุกรุ่นด้วยควันไฟ แม้จะผ่านไปแล้วหลายวันหลังการปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม (ที่มา: BBC)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net