รายงานชุด ‘Power & Health’: (10) “ไม่มีโครงการสาธารณสุขที่ไม่หวังผลกำไรในโลกสมัยใหม่อีกแล้ว”

นวัตกรรมในวงการแพทย์ช่วยรักษาโรค??

“นี่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ขึ้นสู่จุดสูงสุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การละเลยรากทางสังคม ได้ทำลายความมีประสิทธิภาพของเราเอง” เป็นคำอธิบายได้ดีที่สุดถึงสถานการณ์ความแปลกแยกระหว่าง อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของการผลิตยาแบบการตลาดและความสำเร็จเชิงเทคนิค และ ตัวเลขคนที่เข้าไม่ยาทั้งๆที่มีความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ
 
ยาสมัยใหม่ที่มีนวัตกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีแนวโน้มจะเจาะลึกและให้ความสำคัญกับกลุ่มเล็กๆที่มีกำลังซื้อมหาศาลมากขึ้นเรื่อยๆ จรรยาบรรณทางการแพทย์และเภสัชกรรมเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในความเป็นจริง ผู้ที่ตัดสินใจนโยบายด้านสาธารณสุขยังคงถูกผลักดันโดยปรัชญาแห่งความคุ้มทุน และ “ความยั่งยืน” แปลง่ายๆคือ แพงเกินไปที่จะรักษาคนเหล่านี้ไหม ซึ่งขณะนี้มีความหมายเท่ากับผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยา
 
จากเหตุผลเหล่านี้เองทำให้ ตลาดที่ไม่ทำกำไร หรือกำไรน้อยถูกถีบไปอยู่ด้านข้าง ทั้งที่ศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษแห่งนวัตกรรมยาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่มันสร้างประโยชน์ให้กับคนรวยเท่านั้น ในทางกลับกันยาสำหรับโรคที่เป็นมากในประเทศกำลังพัฒนากลับไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมามาก เพราะเพียงเหตุว่า มันไม่ทำกำไร
 
ในความเห็นของคุณหมอฟาร์เมอร์ซึ่งทำงานในพื้นที่ ช่องว่างทางสังคมไม่เคยมากขนาดนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม นวัตกรรม การประดิษฐ์คิดค้น และสินค้าอุปโภคบริโภคก็ไม่เคยจะมีมากมายขนาดนี้เช่นกัน ดังนั้นพูดกันจริงๆ ความหลากหลาย ซึ่งในที่นี้หมายถึงสินค้าที่ดีขึ้นทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ไม่ได้หมายความว่าโลกจะดีขึ้นตามไปด้วย
 
ยาชีวภาพอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยา และการแพทย์เชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ซีอีโอของพวกเขามีเงินมหาศาล แต่ยาลูกกำพร้า “orphan drugs”, ไม่ได้ถูกพัฒนา เพราะไม่ทำกำไร ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เลวร้ายและอยุติธรรมที่สุดก็คือ ยาส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากการให้ทุนของรัฐ ซึ่งก็คือภาษีของประชาชน
 
ความไม่เท่าเทียมกันมาจากความคิดของอุดมคติที่บูชาตลาด การรักษาพยาบาลถูกมองเป็น “สินค้าบริการ” ในขณะที่คนไข้คือ “ผู้บริโภค” ทั้งที่จริง ยาควรถูกขับเคลื่อนด้วยจริยธรรมภายใต้ผลประโยชน์ของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ตอนนี้ อุตสาหกรรมยาและบริษัทประกันชีวิตเอกชนกำลังเป็นตัวขับดัน
 
นิตยสาร New England Journal of Medicine ระบุอย่างชัดเจนว่า “ขณะนี้ ไม่มีบทบาทของโครงการสาธารณสุขที่ไม่หวังผลกำไรในการสาธารณสุขสมัยใหม่อีกแล้ว” หมายความว่า ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาไม่มีที่ว่างสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง คนไร้ค่า และคนแก่ อีกแล้ว สวัสดิการไม่เคยถูกระบุในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ที่ยึดถือเรื่องเสรีภาพในการเลือก ซึ่งนั่นอาจจะหมายรวมถึง ศักยภาพในการจ่ายด้วย
 
แต่ เบรนด้า ไม่มีโอกาสเลือก เธฮเป็นชาวบอสตัน เป็นแม่ลูกหนึ่งที่ติดเชื้อฯ ไม่มีปัญญาซื้อประกันสุขภาพ ทำให้เธอและลูกไม่มีวันได้รับการรักษา ความอยุติธรรมประการที่สองคือ หมอในโรงพยาบาลรัฐจะต้องให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยที่ถูกระบุว่ารักษาวินัยกินยาอย่างต่อเนื่องก่อนเท่านั้น ซึ่ง เบรนด้า ถูกตีตราว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มนั้น
 
คุณหมอฟาร์เมอร์ เห็นว่า หมอไม่ใช่คนที่ดีที่สุดที่จะตัดสินใจว่าใครรักษาวินัยกินยาต่อเนื่องได้ดีหรือไม่ เรารู้ดีว่า คนที่ไม่กินยาต่อเนื่อง เพราะเขากินยาต่อเนื่องไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเขาละเลยที่จะกิน
 
นิตยสาร Wall street Journal พาดหัวว่า “Gotta Clean your Act” ไปจัดการปัญหาของคุณซะ ซึ่งเปลี่ยนความรับผิดชอบซึ่งควรอยู่ที่แพทย์ ให้ไปสร้างความชอบธรรมให้กับระบบที่ไม่เป็นธรรมของสหรัฐฯ บางทีนี่อาจเป็นการลงโทษคนที่มีโอกาสน้อยนิดในการเข้าถึงการกินยาต้านอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าง คุณหมอฟาร์เมอร์ วิจารณ์หมอที่ชอบโทษคนไข้ว่า “ไปจัดการปัญหาของคุณซะก่อน น่าจะดีกว่า”
 
ในที่สุด เบรนด้า โชคดีที่ได้รับการรักษา แต่ก็เป็นเวลาเดียวกับที่เชื้อ CMV ขึ้นไปทำลายประสาทตาของเธอจนบอดสนิททั้งสองข้าง ทุกวันนี้ มีคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 30 ล้านคนติดเชื้อฯ
 
ยิ่งปฏิเสธที่จะรวมปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้จัดการกับปัญหา ผู้วางแผนสาธารณสุขจะยิ่งเพิ่มความอยุติธรรมในสังคม
 
ออลก้า เด็กสาวชาวรัสเซียที่เป็นวัณโรคเชื้อดื้อยา หลังจากที่มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ทารุณ ไม่มีสถานพยาบาลไหนสามารถที่จะให้การรักษาที่เพียงพอกับประชาชนได้ เพราะถูกตัดงบประมาณของรัฐ จนเกือบหมด เธอถูกบังคับให้ขายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแลกกับยาที่ไม่สามารถรักษาเธอได้จริง (เพราะมันดื้อแล้ว) ประเด็นสำคัญของตรงนี้คือ การเอาทรัพย์สินของรัฐไปขาย (แปรรูป) ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1993-2000 มีเงินไหลออกนอกรัสเซียขณะนั้น มากกว่า 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจไม่มีพรมแดนแต่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันคือ เพื่อกำไร
 
คุณหมอฟาร์เมอร์ ตั้งคำถามว่า ทำไมในยุคสมัยของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสูงสุด คนยากจนถึงเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ทำไมจรรยาบรรณถึงไม่รวมประเด็นเรื่องความยุติธรรมในสังคม ในโรงเรียนแพทย์ จรรยาบรรณเกี่ยวข้องอยู่กับแค่จรรยาบรรณทางชีววิทยา กฎหมายเกี่ยวกับยา ขณะที่ การถูกกีดกันของผู้ป่วยถูกพูดถึงน้อยมาก กรณีอย่าง เบรนด้า และ ออลก้า ไม่เคยถูกพูดถึง เมื่อไร เราจะเลิกพูดถึงการรักษาพยาบาลเป็นสินค้า เมื่อไรมันจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ???
 
(ควรย้อนกลับไปอ่านเรื่อง อุปสงค์-อุปทานอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจ)
 
คุณหมอพอล ฟาร์เมอร์ ชี้ให้เห็นว่า การพึ่งพาแต่การป้องกันโรคติดต่อเพียงอย่างเดียวถือว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง และ ได้ย้ำประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นคือ
 
1. การรักษาไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในประเทศร่ำรวยเท่านั้น เทคโนโลยีทางการแพทย์ควรมีในประเทศที่ยากจน และควรฟังเสียงของประชาชนในประเทศนั้นๆ และจากงานศึกษาชี้ว่า แม้ในประเทศที่ทรัพยากรขาดแคลน การใช้เทคโนโลยีจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้
 
2.การพิจารณาความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน (Cost effectiveness) ไม่อาจเป็นปัจจัยตัดสินเดียวที่ตัดสินว่ารัฐจะเข้าไปช่วยหรือไม่ ยุทธศาสตร์เหล่านี้มักจะกีดกันคนจนออกไป ด้วยคำว่า มัน “แพงเกินไป”
 
3. งานวิจัยด้านเอดส์ในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องรวมถึงปัจจัยความยุติธรรมทางสังคมเข้าไปด้วย มิเช่นนั้น คนที่ถูกวิจัยก็ไม่ต่างอะไรกับหนูทดลอง คุณหมอพอล ฟาร์เมอร์ เรียกร้องให้มีการวิจัยที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
 
4. จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ในที่นี้ ไม่ได้คัดค้านยุทธศาสตร์การป้องกัน แต่ว่ามันเป็นส่วนประกอบเพียงส่วนเดียวในยุทธศาสตร์ที่กว้างกว่านั้น ประเด็นสำคัญคือ ไม่ได้แพร่กระจายเพียงเพราะปัจจัยทางชีวภาพ แต่มันยังขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า คนไข้ไม่สามารถตัดสินใจได้เอง ผู้ติดเชื้อฯ และสาธารณชนมักจะรู้เกี่ยวกับโรคอยู่แล้ว ดังนั้น การรักษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญพอๆกับงานวิจัยทางวัคซีนที่ใช้ป้องกัน
 
5. เรายอมรับต่อไปอีกไม่ได้แล้ว ต่อคำกล่าวที่ว่า เราถูกทอดทิ้งเพราะทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด เรากำลังอาศัยอยู่ในยุคที่ความมั่งคั่งมีอยู่อย่างมหาศาล แต่การเจริญเติบโตไม่ได้ถูกแบ่งปันอย่างเท่าเทียมต่างหาก ยิ่งไปกว่านั้น เงินนับพันล้านเหรียญสหรัฐถูกใช้ไปแล้วกับนโยบายเอดส์ที่ล้มเหลว ถึงเวลาแล้วที่วงการแพทย์จะหาหนทางที่จะไปสู่นโยบายที่ไปด้วยกัน และให้ผลที่ดีกว่านี้
 
เราต้องการโครงการนำร่องที่จะค้นหายุทธศาสตร์ใหม่และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อการวิเคราะห์ที่ไม่ยุ่งยาก มียาราคาถูก และการฝึกอบรมในราคาไม่แพง อุตสาหกรรมยาจะต้องรับผิดชอบ และมีสำนึกถึงหน้าที่ของอุตสาหกรรมต่อสาธารณสุขของโลก เพราะเงินของรัฐจำนวนมาก เข้าไปสู่กระเป๋าของ CEO ทั้งทางตรงและทางอ้อม
 
 

รายงานชุด ‘Power & Health’

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท