Skip to main content
sharethis

(7 มิ.ย.52) ในโอกาสครบรอบ 1 เดือนเหตุการณ์สังหารหมู่ราษฎรมุสลิมที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอัลฟุร-กอนที่บ้านไอปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อคืนวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 10 ศพ และบาดเจ็บอีก 12 ราย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพออกแถลงการณ์เรื่อง "ความล่าช้า คือความอยุติธรรม 1เดือนหลังการสังหารหมู่ราษฎรในมัสยิด อัลฟุร-กอน" ระบุแม้รัฐบาลได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตเป็นอย่างดี แต่พบว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการเร่งหาพยานหลักฐานในการหาตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถพิสูจน์ให้ประชาชนทุกคนเห็นได้ว่า ประชาชนทุกคนจะมีความเสมอภาคกันตามกฎหมายอย่างแท้จริง เพราะจนวันนี้หน่วยงานความมั่นคงยังไม่สามารถเรียกตัวผู้ต้องสงสัยรายใดมาให้ข้อมูลได้แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษ

นอกจากนี้ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้เรียกร้องต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ยอมรับข้อเสนอของประชาชนในการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการที่เป็นอิสระ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ รวมถึงตอบสนองประชาชนด้วยการเยียวยาทางความรู้สึก โดยการเร่งรัดนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมทันทีโดยไม่เลือกปฏิบัติ และให้รัฐบาล โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงควรทบทวนการแจกจ่ายอาวุธให้ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกฝนการใช้อาวุธในเวลาอันจำกัด และควรทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ครอบครองอาวุธทุกคนถึงความสำคัญของการใช้ “สันติวิธี” ในการแก้ไขปัญหา

แถลงการณ์
"ความล่าช้า คือความอยุติธรรม 1 เดือนหลังการสังหารหมู่ราษฎรในมัสยิด อัลฟุร-กอน"

ภาย หลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ราษฎรมุสลิมที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอัลฟุ ร-กอนที่บ้านไอปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อคืนวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 10 ศพ และบาดเจ็บอีก 12 ราย นั้น จนถึงวันนี้ครบ 1 เดือนของการสูญเสียดังกล่าว ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แม้เหตุการณ์จะผ่านมาครบ 1 เดือน แต่พบว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการเร่งหาพยานหลักฐานในการหาตัวผู้ กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถพิสูจน์ให้ประชาชนทุกคนเห็นได้ว่าประชาชนทุกคนจะมีความเสมอภาค กันตามกฎหมายอย่างแท้จริง เพราะจนวันนี้หน่วยงานความมั่นคงยังไม่สามารถเรียกตัวผู้ต้องสงสัยรายใดมา ให้ข้อมูลได้แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษ

การสังหาร ประชาชนในศาสนสถานก่อให้เกิดความสะเทือนใจในหมู่ประชาชนอย่างสูง การสังหารหมู่ในมัสยิดอัลฟุร-กอนมิใช่ครั้งแรกของการเสียชีวิตจากเหตุความ รุนแรงที่เกิดขึ้นในมัสยิด โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ เมื่อ 28 เมษายน 2547 ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 32 ศพ หรือต่อมาที่มัสยิดบ้านทุ่งโพธิ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2551 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 ศพ แต่ทุกครั้งที่ผ่านมารัฐล้มเหลวในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม

ที่ผ่านมาองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในและต่างประเทศ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งรัดการดำเนินการสืบสวนสอบสวน และตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยรัฐบาลเชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการอิสระดังกล่าวจะทำให้เกิดความล่าช้า แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่น คงในพื้นที่ ในการเร่งรัดติดตามการดำเนินคดีดังกล่าว จึงเกิดคำถามในหมู่ประชาชนว่า รัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคง มีความเต็มใจ (Willing) เพียงใดในการสร้างความเสมอภาคด้านความ ยุติธรรมแก่ประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ เพราะไม่ว่าใครเป็นผู้กระทำผิดก็ตามต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน และต้องถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน

คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในโอกาสครบ 1 เดือนการสังหารหมู่ประชาชนในมัสยิดอัล-ฟุรกอน ดังนี้

1.รัฐบาลควรยอมรับข้อเสนอของประชาชนในการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการที่เป็นอิสระ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

2. รัฐต้องตอบสนองประชาชนด้วยการเยียวยาทางความรู้สึก ซึ่งคนในพื้นที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และเกิดการลอยนวลของผู้ที่สมควรจะต้องรับผิด ในหลายๆเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยการเร่งรัดนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมทันทีโดยไม่เลือกปฏิบัติ

3. รัฐบาล โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงควรทบทวนการแจกจ่ายอาวุธให้ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกฝนการใช้อาวุธในเวลาอันจำกัด และควรทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ครอบครองอาวุธทุกคนถึงความสำคัญของการใช้ “สันติวิธี” ในการแก้ไขปัญหา

“การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐต้องใช้ความจริง ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหา ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ความยุติธรรมนั้นเป็นของประชาชน เพราะปัจจุบันความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวที่ยังเกาะเกี่ยวความไว้เนื้อเชื่อ ใจระหว่างรัฐกับประชาชน หากขาดซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และประชาชนมีความรู้สึกว่า “รัฐพึ่งไม่ได้” คงเป็นการยากที่ประชาชนจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และสามารถนำความสงบสุขสันติคืนมาสู่ประชาชนอย่างยั่งยืน” นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าว

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net