Submitted on Mon, 2009-07-27 16:52
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ดำเนินการสำรวจ “จัดอันดับเขตยอดเยี่ยมและยอดแย่ใน กทม.” เผยคนกรุงพอใจงานทะเบียนราษฎรมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องเก็บขยะและดูแลต้นไม้ ส่วนเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินพอใจน้อยที่สุด ส่วนสำนักงานเขตจตุจักรคนพอใจสูงสุด
การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาว กทม. ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีนับเป็นภารกิจหลักของกรุงเทพมหานคร
ซึ่งภารกิจดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงได้มากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯ กทม. และทีมงานในฐานะผู้กำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารงาน อีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสำนักงานเขตต่างๆ ในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ในโอกาสที่วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมาครบกำหนด 6 เดือนของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “จัดอันดับเขตยอดเยี่ยมและยอดแย่ใน กทม.” ขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตต่างๆ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตต่างๆ ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,600 คน เมื่อวันที่ 15 – 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยสรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจต่อผลงานของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มีคะแนนเฉลี่ย 5.01 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 โดยประชาชนพึงพอใจผลงานด้านการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนมากที่สุด แต่พึงพอใจผลงานด้านการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนน้อยที่สุด โดยมีรายละเอียดของความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ดังนี้
|
คะแนนที่ได้
(จากคะแนนเต็ม 10)
|
การให้บริการงานทะเบียนราษฎร ทะเบียนบ้าน บัตรประประชาชน
|
6.14
|
การเก็บขยะมูลฝอย การปลูกต้นไม้ ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ พื้นที่สีเขียว
|
5.51
|
การจัดการเลือกตั้ง และการรับเรื่องร้องทุกข์
|
5.23
|
การส่งเสริมอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพ การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
|
5.15
|
การจัดเก็บภาษีในพื้นที่ ค่าธรรมเนียมค่าเช่า และการดำเนินคดีด้านภาษี
|
4.94
|
การควบคุมดูแลสุขลักษณะของตลาด การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ การควบคุมมลพิษ แมลง สัตว์นำโรค
|
4.47
|
การก่อสร้างปรับปรุงถนนตรอกซอย ทางเท้า สะพานลอย ดูแลรักษาคูคลอง ปัญหาน้ำท่วม ป้ายชื่อซอย
ป้ายจราจร
|
4.41
|
การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น เทศกิจ และบรรเทาสาธารณภัย
|
4.26
|
2. ความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมทั้ง 8 ด้านของสำนักงานเขตต่างๆ เปรียบเทียบเป็นรายเขต
(จัดอันดับโดยใช้เกณฑ์คะแนนที่ประชาชนในแต่ละเขตประเมินสำนักงานเขตในพื้นที่ของตน) พบว่า
สำนักงานเขตที่ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับที่ 1 เขตจตุจักร ได้คะแนน 6.02
อันดับที่ 2 เขตประเวศ ได้คะแนน 5.92
อันดับที่ 3 เขตสายไหม ได้คะแนน 5.81
สำนักงานเขตที่ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมต่ำที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับที่ 1 เขตดอนเมือง ได้คะแนน 4.23
อันดับที่ 2 เขตบางขุนเทียน ได้คะแนน 4.31
อันดับที่ 3 เขตลาดพร้าว ได้คะแนน 4.41
3. ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขต โดยแบ่งเป็นด้านความขยันทุ่มเทในการทำงาน ด้านความรวดเร็วฉับไวในการให้บริการ และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สรุปได้ดังนี้
ด้านความขยันทุ่มเทในการทำงาน
อันดับที่ 1 เขตประเวศ ได้คะแนน 6.57
อันดับที่ 2 เขตบางกอกน้อย ได้คะแนน 6.49
อันดับที่ 3 เขตพญาไท ได้คะแนน 6.16
ด้านความรวดเร็วฉับไวในการให้บริการ
อันดับที่ 1 เขตพระโขนง ได้คะแนน 6.81
อันดับที่ 2 เขตตลิ่งชัน ได้คะแนน 6.76
อันดับที่ 3 เขตประเวศ ได้คะแนน 6.50
ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
อันดับที่ 1 เขตประเวศ ได้คะแนน 5.93
อันดับที่ 2 เขตพระโขนง ได้คะแนน 5.83
อันดับที่ 3 เขตคันนายาว ได้คะแนน 5.73
4. ความเห็นต่อสภาพแวดล้อมบริเวณชุมชนหรือละแวกเขตที่พักอาศัย เปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกับช่วงก่อนที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 72.1
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 21.4
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ร้อยละ 6.5
5. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ละแวกเขตที่พักอาศัยอยู่มีการพัฒนาปรับปรุงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
เรื่องความสะอาด ขยะมูลฝอย เพิ่มจำนวนถังขยะ และเก็บขยะให้บ่อยขึ้น ร้อยละ 13.3
ปรับปรุงสภาพถนนในซอยและทางเท้า ร้อยละ 11.1
ท่อระบายน้ำตัน ไม่มีฝาท่อ น้ำท่วมขังตามถนนและซอย ร้อยละ 10.0
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพ ที่อยู่อาศัยและมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตต่างๆ ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,600 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3 และเพศหญิงร้อยละ 53.7
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 – 23 กรกฎาคม 2552
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ :27 กรกฎาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
เพศ
|
|
|
ชาย
|
740
|
46.3
|
หญิง
|
860
|
53.7
|
รวม
|
1,600
|
100.0
|
อายุ
|
|
|
18 - 25 ปี
|
315
|
19.8
|
26 – 35 ปี
|
377
|
23.5
|
36 – 45 ปี
|
408
|
25.5
|
46 ปี ขึ้นไป
|
500
|
31.2
|
รวม
|
1,600
|
100.0
|
การศึกษา
|
|
|
ต่ำกว่าปริญญาตรี
|
1086
|
67.9
|
ปริญญาตรี
|
469
|
29.3
|
สูงกว่าปริญญาตรี
|
45
|
2.8
|
รวม
|
1,600
|
100.0
|
อาชีพ
|
|
|
ข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
|
84
|
5.2
|
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
|
247
|
15.4
|
ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว
|
539
|
33.7
|
รับจ้างทั่วไป
|
273
|
17.1
|
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
|
278
|
17.4
|
อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ
|
179
|
11.2
|
รวม
|
1,600
|
100.0
|