Skip to main content
sharethis

(26 ส.ค.) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือองค์การนิรโทษกรรมสากล ออกแถลงการณ์เรื่อง "ประเทศไทย: การรื้อฟื้นการประหารนักโทษเป็นการก้าวถอยหลัง" โดยระบุว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเสียใจอย่างยิ่งที่มีการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในไทย หลังจากหยุดไปหกปี โดยมีการประหารชีวิตนักโทษ 2 รายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนการใช้โทษประหารโดยด่วน โดยรัฐบาลไทยควรพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในทางที่ยกเลิกโทษประหาร

แอมเนสตี้ฯ ระบุด้วยว่า ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าโทษประหารมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์
26 สิงหาคม 2552
AI Index: ASA 39/006/2009

ประเทศไทย: การรื้อฟื้นการประหารนักโทษเป็นการก้าวถอยหลัง

ในขณะที่ประเทศแล้วประเทศเล่ายุติการประหารชีวิตนักโทษ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเสียใจอย่างยิ่งที่มีการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในไทย หลังจากหยุดไปหกปี

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2552 มีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษชายสองคนที่เรือนจำกลางบางขวาง

นายบัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และนายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี ถูกจับกุมตามข้อหาค้ายาเสพติดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2544 และในเวลาต่อศาลตัดสินลงโทษประหาร รายงานข่าวระบุว่า บุคคลทั้งสองได้รับแจ้ง 60 นาทีก่อนจะเริ่มประหาร

แม้ว่าประเทศไทยยัง มีการสั่งลงโทษประหารชีวิตอยู่ แต่ในช่วงหกปีที่ผ่านมาไม่มีใครถูกประหารจริง ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่ายินดีสำหรับขบวนการต่อต้านโทษประหาร และเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภูมิภาคเอเชีย

ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่สหประชาชาติมีมติอย่างท่วมท้นสนับสนุนข้อตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการประหารชีวิต ในขณะที่ประเทศบูรุนดี โตโก และรัฐนิวเม็กซิโกในสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกโทษประหารไปแล้ว รัฐบาลไทยควรปฏิบัติตามตัวอย่างเหล่านั้น และควรทบทวนการใช้โทษประหารโดยด่วน

ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าโทษประหารมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม รัฐบาลไทยควรพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในทางที่ยกเลิกโทษประหาร
 

ข้อมูลพื้นฐาน

การประหารชีวิตนักโทษในไทยเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายในปี 2546 โดยมีการฉีดยาประหารนักโทษสี่คน ซึ่งนับเป็นการประชีวิตด้วยการฉีดยาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้แทนการประหารด้วยการยิงซึ่งเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ในปีเดียวกัน

ในการพิจารณารายงานของประเทศไทยเมื่อปี 2548 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติแสดงข้อกังวลว่า ระวางโทษประหารมิได้ใช้เฉพาะอาชญากรรมร้ายแรงสุดเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้กับคดีการค้ายาเสพติดในไทยด้วย

สิบหกประเทศในเอเชียยังคงมีกฎหมายซึ่งกำหนดโทษประหารสำหรับข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้มิได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทษประหาร จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณได้อย่างชัดเจนว่า มีการสั่งลงโทษประหารในคดียาเสพติดไปแล้วกี่ครั้ง อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย มีสัดส่วนการใช้โทษประหารสำหรับผู้ต้องโทษคดียาเสพติดสูงมาก

โปรดดูแถลงการณ์ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และความเห็นทั้งในภาษาอังกฤษและไทยที่: http://deathpenaltythailand.blogspot.com/2009/08/executions-in-thailand-after-six-year.html

พุทธศาสนากับโทษประหาร
ในการประชุมเรื่องพุทธศาสนากับโทษประหารในไทยเมื่อปีที่แล้ว มีทั้งพระภิกษุและฆราวาสเข้าร่วม
“วิทยากร ทุกคนยอมรับว่าโทษประหารขัดต่อหลักการพื้นฐานของพุทธศาสนาที่ห้ามไม่ให้มี การฆ่า “แม้แต่ยุงตัวเดียว” ตามคำพูดของวิทยากรคนหนึ่ง”

“โทษประหาร เป็นแนวคิดที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง” “ถ้าเราต้องการส่งเสริมพุทธศาสนา ถ้าเราเป็นชาวพุทธ เราควรยกเลิกโทษประหารเพื่อปฏิบัติตามแนวทางแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดู
: http://deathpenaltythailand.blogspot.com/2008/07/thai-buddhist-perspective-on-death.html

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net