Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นหนังสือต่อผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานข้ามชาติพม่าที่เพิ่งเริ่มดำเนินการในประเทศไทยโดยด่วน จากนั้นมีการยื่นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย กระบวนการดังกล่าวดำเนินการทั้งในประเทศไทยและฝั่งพม่า ซึ่งรัฐบาลไทยได้เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดการหวั่งเกรงถึงความไร้ประสิทธิภาพและทำให้แรงงานข้ามชาติ 2 ล้านคนมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

แถลงการณ์จากองค์กรทั้งสามระบุว่า ในประเทศไทย มีการประมาณการว่ามีเเรงงานข้ามชาติ 3 ล้านคน ส่วนมากมาจากประเทศพม่า แรงงานข้ามชาติจากพม่า ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่าง “ผิดกฎหมาย” เมื่อ พ.ศ.2547 รัฐบาลไทยเเละรัฐบาลทหารพม่าลงนามในบันทึกข้อตกลง ให้มีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติพม่า เพื่อเป็นกระบวนการฟอกตัวแรงงานให้เป็นคนที่ “ถูกกฎหมาย” ต่อมากระบวนการดังกล่าว ยังไม่ได้รับการดำเนินการ เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงเรื่องสถานที่ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติได้ โดยรัฐบาลทหารพม่าเห็นควรให้พิสูจน์สัญชาติในประเทศพม่า ส่วนรัฐบาลไทยต้องการให้ดำเนินการในประเทศไทย
 
ภาวะชะงักงันดำเนินมาจนถึง พ.ศ.2552 เมื่อรัฐบาล ไทยยอมตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลทหารพม่า เเละตกลงให้มีการดำเนินการตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติ ณ จุดผ่านแดนฝั่งพม่า 3 แห่ง รัฐบาลไทยประกาศว่าจะไม่มีเเรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศหลังจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากเเรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ขึ้นทะเบียนเพื่อทำงานในประเทศไทยจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติซึ่งเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ถึง 13 ขั้นตอน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของทั้งสองประเทศ หากแรงงานไม่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว จะต้องถูกผลักดันออกนอกประเทศ
 
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้กระบวนการเริ่มขึ้นโดยมีรถโดยสารขนาดใหญ่ขนแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ที่มีแรงงาน
อยู่อย่างหนาแน่นไปยังศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติตามเมืองชายแดน แรงงานข้ามชาติต้องข้ามไปยังประเทศพม่าและรีบเดินทางกลับ เข้ามาในประเทศไทย แรงงานข้ามชาติต้องเสียค่าดำเนินการในอัตราต่างๆ เพื่อรับหนังสือเดินทางชั่วคราวของประเทศพม่าเเละวีซ่า ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับพัฒนาการเรื่องนี้แพร่หลายในหมู่ชุมชนแรงงานข้ามชาติ เเต่รัฐบาลไทยยังคงไม่ชี้แจงเเละไม่มีการประชาสัมพันธ์ต่อเเรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์การด้านสิทธิเเรงงาน ข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงแหล่งเดียว คือ ข้อมูลที่มาจากรัฐบาลพม่า ว่าในฝั่งพม่ามีกระบวนการพิสูจน์สัญชาติตามฝั่งชายแดน อย่างไรก็ตาม นายหน้าเอกชนกำลังก่อตัวขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งนายหน้าเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลเเละผู้ให้บริการต่างๆ ในราคาที่แพงอย่างไม่สมเหตุสมผล
 
ดูเหมือนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะเป็นกระบวนการสองมาตรฐาน แรงงานข้ามชาติสามารถส่งข้อมูลส่วน
บุคคลให้ศูนย์ ของเอกชนเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทางเเละวีซ่า ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่ง เดือนขึ้นไป หรือส่งข้อมูลให้สำนักจัดหางานและได้รับการตอบรับที่ช้ามาก กระบวนการของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (ประมาณ 600-2,100 บาท) ทว่าหากดำเนินการผ่านนายหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ค่าดำเนินการจะสูงกว่าของภาครัฐโดยไม่มีการควบคุม เเละราคากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ (ขณะนี้ราคาเรื่มต้นที่ประมาณ 7,500 บาท) จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติอยู่มากที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องประกาศให้นายจ้างใช้นายหน้าเอกชนที่ได้รับการแนะนำให้เข้ามาดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเนื่องจากแรงงานข้ามชาติอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครอยู่เป็นจำนวนมาก และวิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่าและสะดวกกว่าการดำเนินการผ่านกระบวนการของรัฐ
 
กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มโดยเฉพาะไทใหญ่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากมีข่าวลือว่าจะส่งผล
กระทบในด้านลบต่อครอบครัวของตนเอง ทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐบาลทหารพม่าจะฉวยโอกาสนี้จับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เเละชาวพม่าที่เป็นมุสลิมจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว แรงงานข้ามชาติหลายคนจ่ายเงินให้นายหน้า แต่นายหน้าก็เชิดเงินไปโดยไม่ได้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแต่อย่างใด
 
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า “สรส. มสพ.และ
คสรท. วิตกกังวลถึงผลกระทบจากพัฒนาการดังกล่าว เราเกรงว่าความปลอดภัยของเแรงงานข้ามชาติจะได้รับผลกระทบจากกระบวนการพิสูจน์ สัญชาติที่ดูเหมือนจะทำให้แรงงานข้ามชาติถูกแสวงหาประโยชน์อย่างกว้างขวางอีกครั้ง กระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่เริ่มแล้วเป็นกระบวนการในเชิงบวกแต่เป็นเรื่องที่อ่อนไหว กระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการทำให้แรงงานข้ามชาติต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หลังจากเพิ่งสิ้นสุดการขึ้นทะเบียนแรงงานรอบล่าสุดเพียงไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งแรงงานข้ามชาติเพิ่งจะเสียค่าใช้จ่ายอย่างสูงไปแล้วครั้งหนึ่ง รัฐบาลไทยให้ข้อมูลเรื่องนี้เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะต่อกลุ่มชุมชนแรงงานข้ามชาติ”
 
นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา กล่าวเสริมว่า “มสพ. สรส. และ คสรท. จะ
เรียกร้องให้ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ ให้จัดตั้งกระบวนการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ในเรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่เพิ่งเริมต้นขึ้น เราจะส่งข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลไทยหนึ่งชุด รวมทั้งข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลไทยควรที่จะดำเนินการผลักดันอย่างแข็งขันให้รัฐบาลพม่ามาดำเนินกระบวนการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ทำให้กระบวนการรวดเร็วยิ่งขึ้น และที่สำคัญย่อมช่วยลดการใช้นายหน้าซึ่งขูดรีดแสวงหาประโยชน์จากแรงงานโดยไม่จำเป็น หากกระบวนการยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเช่นนี้คงดูเหมือนว่าไร้ประสิทธิภาพ เรากลัวว่าแรงงานข้ามชาติพม่าอาจจะกลายมาเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์อีกครั้ง เดือดร้อนโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และบางทีอาจกลายมาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เช่นเดียวกับการที่พวกเขาเดินทางไปยังชายแดนกับนายหน้าที่ไม่ได้รับการควบคุม
 
ในส่วนของข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการพิจสูจน์สัญชาติ และลดความเสี่ยงที่แรงงานข้ามชาติจะถูกขูดรีดแสวงประโยชน์ คือ 1.รัฐบาลไทยควรเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญย่อมช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
2.กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการให้ความรู้แก่แรงงานข้ามชาติพม่าอย่างทั่วถึงโดยเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว การประชาสัมพันธ์ควรมีการวางแผนและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พม่า การประชาสัมพันธ์ควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีภาษาท้องถิ่นต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เเละภาษาไทยสำหรับนายจ้าง
 
3.กระทรวงแรงงานย่อมตระหนักดีว่าแรงงานข้ามชาติเพิ่งเสียค่าขึ้นทะเบียนแรงงานประจำปี 2552-2553 โดย
แรงงานแต่ละคนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 6,000-7,000 บาทต่อคน เเละใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลง
ในอีก 8 เดือนข้างหน้า ในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2553 แทนที่จะหมดอายุในเวลาอีก 12 เดือน กระทรวง
แรงงานเเละนายจ้าง ควรดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขณะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของแรงงานข้ามชาติที่อาจตกเป็นแรงงานทาสเพื่อชดใช้หนีที่เกิดขึ้น
 
4.หากจำเป็นต้องใช้นายหน้าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าควรอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด
โดยรัฐบาลไทยเพื่อป้ องกันการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานข้ามชาติ มิเช่นนัน0 ก็ย่อมจะมีความ
เป็ นไปได้สูงที่นายหน้าบางกลุ่มจะเรียกราคาเกินควรหรือกระทำการหลอกลวงต้มตุ๋นแรงงานข้ามชาติ ใน
สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีการกำกับดูแลนายหน้า แรงงานที่ใช้บริการนายหน้าเพื่อเดินทางไป
เมืองชายแดนที่ห่างไกล ย่อมมีความเสี่ยงสูงจะตกเป็นเหยื่อการลักลอบขนคนเข้าเมือง หรือกระบวนการ
ค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ โดยอาศัยทุกวิถีทางที่จะกระทำได้
 
5. รัฐบาลไทยควรบรรเทาความหวาดกลัวในชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยให้ความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน เเละ
สหภาพที(ทำงานด้านเเรงงานข้ามชาติ เรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และ/หรือ จัดให้หน่วยงานดังกล่าว
เข้าเยี่ยมชมศูนย์การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นกระจายข้อมูลต่อไปยังแรงงานข้ามชาติ
6. รัฐบาลไทยกำหนดระยะเวลาที่แรงงานข้ามชาติจะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่
28 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และก่อให้เกิดความ
หวาดกลัวอย่างรุนแรงในหมู่แรงงานข้ามชาติว่าอาจถูกผลักดันออกนอกประเทศก่อนกระบวนการพิสูจน์
สัญชาติจะแล้วเสร็จ รัฐบาลควรลดความหวาดวิตกกังวลของแรงงานข้ามชาติ เเละควรกำหนดกรอบ
ระยะเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
7. เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าเกือบ 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้เเล้วเสร็จนั้น ย่อม
ต้องใช้เวลาดำเนินการ รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับสิทธิต่างๆ
เท่าเทียมกับผู้ที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว
 
 
.............................
หมายเหตุ: สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คือสมาพันธ์ระดับชาติ ซึ่งเป็นตัวเทนของสหภาพเรงงานพนักงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ในประเทศไทย มีสมาชิกลงทะเบียนกว่า 170,000 คน และเป็นองค์การที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือข่าย สมาพันธ์แรงงานนานาชาติ, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เป็นมูลนิธิจดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับมาตรฐาน ด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ ในประเทศไทย, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) คือคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยสหพันธ์แรงงาน 24 แห่ง สหภาพแรงงานและองค์การพัฒนาเอกชนที่รณรงค์ประเด็นแรงงานในประเทศไทย
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net