Skip to main content
sharethis

วันที่ 19-21 ต.ค.นี้ นายไมเคิล ชไนเดอร์ (Mycle Schneider) ที่ปรึกษาระหว่างประเทศด้านนโยบายพลังงานและนิวเคลียร์ ฝรั่งเศส มาเยือนเมืองไทย เพื่อนำเสนอประสบการณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศพัฒนาแล้วในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน ต้นทุนและความเสี่ยง รวมไปถึงบทบาทของพลังงานนิวเคลียร์ในภาวะโลกร้อน โดยจะร่วมในเวทีเสวนา “บทเรียนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากฝรั่งเศสถึงไทย” ที่ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในวันที่ 19 ต.ค. 52  เวทีเสวนา “มองรอบด้านพลังงานนิวเคลียร์ : บทเรียนจากนานาชาติ เพื่อการตัดสินใจที่มีธรรมาภิบาล” ที่วุฒิสภา โดย คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล ร่วมกับมูลนิธิ ไฮริค เบิลล์ ในวันที่ 20 ต.ค.52 และเวทีสาธารณะ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ : ความจำเป็น ข้อดี-ข้อเสีย และบทเรียนจากต่างประเทศ” ที่ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 21 ต.ค.52

ทั้งนี้ Mycle Schneiderทำงานเป็นที่ปรึกษาอิสระระดับสากลด้านพลังงานและนโยบายนิวเคลียร์ ระหว่างปี 2526 - เมษายน 2546 ไมเคิล ชไนเดอร์ เป็นผู้อำนวยการบริหารแผนกข้อมูลด้านพลังงานขององค์กร WISE ปารีส และเป็นบรรณาธิการใหญ่ของเว็บไซต์ Plutonium Investigation ตั้งแต่ปี 2543 เขาเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงสิ่งแวดล้อม เยอรมนี ตั้งแต่ปี 2547 เขายังรับผิดชอบต่อโครงการบรรยายด้านยุทธศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสาขาวิชามหาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อการบริหารโครงการเพื่อวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่มหาวิทยาลัย Ecole des Mines ที่เมือง Nantes ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2550 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการสากลด้านวัสดุฟิสไซล์ (International Panel on Fissile Materials - IPFM) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยพริ้นสตัน สหรัฐอเมริกา(www.fissilematerials.org) และเขายังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientific Experts - IGSE)  ซึ่งทำหน้าที่สืบค้นโครงการการผลิตวัสดุที่สามารถใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำแบบปกปิด (www.igse.org) เป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮัมบรูก ประเทศเยอรมันนี
 
ในระหว่างปี 2549-2550 เขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะที่ปรึกษาซึ่งทำการประเมินการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และปัญหาด้านเงินทุนของการจัดการของเสีย ในนามของคณะกรรมาธิการยุโรป ในปี 2548 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการจัดการกากกัมมันตรังสีแห่งสหราชอาณาจักร (UK Committee on Radioactive Waste Management - CoRWM) เขายังเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารกองทุนทาคากิ เพื่อวิทยาศาสตร์ของประชาชนที่กรุงโตเกียวระหว่างปี 2544-2548
 
ระหว่างปี 2541-2546 เขาเป็นที่ปรึกษาสำนักงานกระทรวงสิ่งแวดล้อมประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีพลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเบลเยียม
 
ไมเคิล ชไนเดอร์ เคยให้ปากคำต่อรัฐสภาที่ประเทศออสเตรเลีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและรัฐสภายุโรป เขาได้รับเชิญให้ไปบรรยายทั้งสี่ทวีปรวมทั้งที่มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน กรุงออตตาวา (แคนาดา) มหาวิทยาลัยชิงหัว (จีน) มหาวิทยาลัย Ecole de Commerce, Rouen (ฝรั่งเศส), มหาวิทยาลัย Freie Universität กรุงเบอร์ลิน (เยอรมนี) และมหาวิทยาลัย Ritsumeikan University กรุงเกียวโต (ญี่ปุ่น)
 
ไมเคิล ชไนเดอร์ ยังให้บริการข้อมูลและคำปรึกษากับผู้ใช้บริการหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นทบวงการพลังงานปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency - IAEA) Greenpeace International, International Physicians for the Prevention of Nuclear War (IPPNW), UNESCO, Worldwide Fund for Nature (WWF), the European Commission, European Parliament’s General Directorate for Research, the Oxford Research Group, the French National Scientific Research Council (CNRS) และ French Institute for Radiation Protection and Nuclear Safety (IRSN)
 
ผู้สื่อข่าวจากทั่วโลกเคยสัมภาษณ์ขอข้อมูล ขอคำปรึกษา และมีการถ่ายทำบทสัมภาษณ์ทั้งที่ออกอากาศทางโทรทัศน์และวิทยุ สื่ออิเลคทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์
 
เขายังมีผลงานตีพิมพ์มากมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์การแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ ความมั่นคงและความปลอดภัย และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เขายังเป็นบรรณาธิการร่วมสำหรับหนังสือ International Perspectives on Energy Policy and the Role of Nuclear Power, Multi Science Publishing, UK, 2009
 
ในปี 2540 เขาได้รับรางวัลสัมมาอาชีวะ (Right Livelihood Award (ซึ่งถือว่ามีเกียรติเช่นเดียวกับรางวัลโนเบล) ร่วมกับจิงซาบุโร่ ทาคากิ สำหรับงานที่พวกเขาเขียนร่วมกันในประเด็นเรื่องพลูโตเนียม (http://rightlivelihood.org/recip.htm)
 
 
 
 
ดูกำหนดการได้ที่ :
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net