Skip to main content
sharethis

องค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคมทั่วประเทศจำนวน 104 องค์กร ร่วมลงนามคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุน 3 สาขา คือ ภาคเกษตร ประมง และป่าไม้ ภายใต้ความตกลงการลงทุนอาเซียน (ACIA) ส่งข้อมูล และข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณายับยั้งการเปิดเสรีการลงทุนอาเซียน ถึงนายเกียรติ สิทธิอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย เรียกร้องรัฐบาลใช้โอกาสนี้ปฏิรูปและสังคายนากระบวนการเจรจาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเสียใหม่ โดยทำให้เกิดกระบวนการเจรจาการค้าแต่ละเรื่องที่ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของข้าราชการเพียงไม่กี่คน

สืบเนื่องจากทางกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน และมูลนิธิชีววิถีเพิ่งได้รับทราบข่าวว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จะเลื่อนการประชุมจาก 19 พ.ย.มาเป็นวันที่ 12 พ.ย.นี้ ในวาระการประชุมจะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาประเด็นที่ภาคประชาสังคมได้ติดตามคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการทำประมง การทำป่าไม้จากป่าปลูก และการเพาะและขยายพันธุ์พืช

โดยเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศทบทวนการเปิดเสรีการลงทุนภาคการเกษตร โดยให้มีการเจรจาเพื่อนำรายการการลงทุน 3 สาขาดังกล่าว รวมทั้งสาขาบริการที่เกี่ยวข้องไปไว้ในรายการอ่อนไหว (SL) เนื่องจากการเปิดเสรีดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย เอื้อประโยชน์ให้บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และต่างชาติเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

หนังสือดังกล่าวยังระบุคัดค้านและประณามแนวทางการเดินหน้าเปิดเสรีการลงทุนนี้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่อ้างว่าให้หน่วยงานต่างๆ ได้จัดทำข้อสงวนเป็นมาตรการ หรือออกเป็นกฎหมายภายในแทน เนื่องจากมาตรการที่สร้างขึ้นใหม่และมาตรการหรือกฎหมายภายในเดิมที่มีอยู่หากขัดแย้งกับการเปิดเสรีก็จะถูกยกเลิกหรือถูกฟ้องร้องให้ยกเลิกในที่สุด ทั้งนี้ไม่นับช่องโหว่ของกฎหมายและความย่อหย่อนของกฎหมายที่มีอยู่

ทั้งนี้ การอ้างว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ซึ่งลงนามเมื่อปี 2541 เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ยืนยันที่จะไม่เปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าว นอกจากนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เคยเจรจาเพื่อให้การทำนาข้าวเป็นอาชีพสงวน และกนศ.เองก็มีความเห็นให้ไม่มีการเปิดเสรีในบางสาขา ซึ่งขัดต่อความตกลงแต่ก็สามารถดำเนินการเจรจาจนเป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามการลงนามเปิดเสรีการลงทุนเมื่อปี 2541 กระทำขึ้นโดยปราศจากการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ อีกทั้งในปัจจุบันความมั่นคงด้านอาหาร ปัญหาสิ่งแวดล้อม และวิกฤติพลังงาน ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลก รัฐบาลไทยควรต้องร่วมกับประเทศในอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ องค์กรภาคประชาชนได้รับทราบว่า มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มกำลังร่วมมือกับกลุ่มทุนที่จะประสงค์จะลงทุนในภูมิภาคชะลอการเจรจา ACIA ออกไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องรัฐเพื่อให้มีการเปิดเสรี เนื่องจากเมื่อความตกลง ACIA ไม่สามารถสรุปได้ตามเวลาที่กำหนด ความตกลง AIA ซึ่งกำหนดว่าจะมีการเปิดเสรีใน 3 สาขาในปี 2553 จะมีผลโดยอัตโนมัติแทน ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องรีบดำเนินการเพื่อยื่นข้อสงวนการลงทุนใน 3 สาขาและสาขาบริการที่เกี่ยวข้องต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน และดำเนินการเจรจาเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเอาไว้ก่อน
 

 

 
ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอกรณีคำชี้แจง
ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
 
 
กรณีการดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
คำชี้แจงของบีโอไอ
ความคิดเห็นและข้อเท็จจริง
ข้อเสนอเชิงกระบวนการ
1.1 กรมสนธิสัญญายืนยันว่ารายการข้อสงวนภายใต้ความตกลง ACIA เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
 
1.2 การเจรจาข้อสงวนดังกล่าวไม่ต้องเสนอกรอบต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา เพราะรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบความตกลงไปแล้ว และรายการข้อสงวนดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ไม่มีการเจรจาและไม่มีการลงนาม
 
 
 
2.1 เห็นด้วยกับการตีความของกรมสนธิสัญญา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.2 รัฐสภาเห็นชอบความตกลง ACIA ในส่วนตัวบท ตารางข้อสงวนเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงและมีความสำคัญมาก (ดังคำอธิบาย 2.1) ขณะนี้ยังคงมีการเจรจาและยังเจรจาไม่แล้วเสร็จ (การไม่เจรจา เพื่อให้ข้อผูกพันที่ลงนามไว้ในปี 2541 ต้องเปิดเสรีภายในปี 2553 เป็นท่าทีเฉพาะหน่วยราชการไทยเท่านั้น) ถ้าหากไม่มีการเจรจาจริงตามที่แจ้ง ความตกลง ACIA คงมีผลโดยสมบูรณ์ไปแล้ว และคงไม่มีการประชุมของ CCI เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ประการใด
 
3.1 ขอหนังสือยืนยันจากกรมสนธิสัญญาและคำอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด
 
 
 
 
 
 
3.2 รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้
- ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาหรือศาลรัฐธรรมนูญตีความเพิ่มเติมเพราะมีหลายครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขัดแย้งกับความเห็นของกรมสนธิสัญญา เช่น กรณีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และ กรณีเขาพระวิหาร
- ควรเรียกเอกสารสรุปการประชุมของ CCI จากฝ่ายเลขานุการของ CCI หรือสำนักเลขาธิการอาเซียนมาประกอบว่าความเป็นจริงเป็นเช่นไร
กรณีหน่วยงานราชการในกระทรวงเกษตรฯคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุน
คำชี้แจงของบีโอไอแลกรมเจรจาฯ
ข้อโต้แย้ง
ข้อเสนอเชิงกระบวนการ
1.3 ได้มีการจัดประชุมหารือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 6 ครั้ง ส่งหนังสือไปสอบถามและสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ และไม่ปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน
2.3 บีโอไอและกรมเจรจาตั้งธงว่าจะมีการเปิดเสรีสถานเดียวไม่มีทางเลือกอื่น
- หน่วยงานราชการที่คัดค้านถูกชักจูงให้ยอมรับการเปิดเสรีโดยอ้างว่าต้องทำตามพันธกรณีโดยเราไม่สามารถเจรจาเพื่อขอสงวนได้
- กรมประมงได้แจ้งให้ทราบว่าได้คัดค้านและเสนอให้มีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนแต่ถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ
 
3.3 ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยราชการที่คัดค้าน
-ให้หน่วยงานราชการที่คัดค้าน ชี้แจงว่าทำไมถึงไม่ได้คัดค้านการเปิดเสรีก่อนการประชุมของกนศ.เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552
- ขอข้อมูลผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของกรมประมง และหนังสือของกรมประมงที่แจ้งต่อบีโอไอและกรมเจรจา
- ขอข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมการข้าว เพิ่มเติม
 
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
คำชี้แจงของบีโอไอ
ข้อโต้แย้ง
ข้อเสนอเชิงกระบวนการ
1.4 บีโอไอได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซท์ หนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุ จัดบรรยาย รวมทั้งจัดการประชุมให้ประชาชนหลายภาคส่วนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำข้อสงวนแล้ว
2.4 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุม
- ผู้เข้าร่วมประชุมมิได้รับรู้สาระที่สำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาการจัดทำข้อสงวน เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดเสรี การเปรียบเทียบตารางข้อสงวนของประเทศอื่นๆภายใต้ AIA เป็นต้น
- มิได้เชิญกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเข้ารับฟังอย่างทั่วถึง
- ผู้ที่มีโอกาสพูดบนเวที มีเฉพาะผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการลงทุนเท่านั้น
3.4 ขอเอกสารและหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือและได้รับข้อมูลที่เพียงพอหรือไม่ เช่น
- เอกสารประกอบการประชุมที่จัดขึ้นโดยบีโอไอ รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม รายชื่อวิทยากรที่พูดบนเวที เอกสารสรุปการประชุม หรือเทปบันทึกเสียงและภาพระหว่างการประชุมรับฟังความคิดเห็น
- ขอรายชื่อของ NGO ภาคเอกชน และภาควิชาการที่อ้างว่ามีการจัดประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 หลังจากได้รับทราบท่าทีของกนศ.ว่าครอบคลุมเพียงใด
แม้มีการเปิดเสรี แต่ต่างชาติต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่ไทยกำหนด
คำชี้แจงของบีโอไอ
ข้อโต้แย้ง
ข้อเสนอเชิงกระบวนการ
1.5 ในกรณีการปลูกป่า ต่างชาติไม่สามารถถือครองที่ดินได้ ตามพ.ร.บ.ที่ดิน ไม่สามารถทำไม้ได้เพราะกฎหมายไทยไม่อนุญาตต่างชาติครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.6 ในกรณีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นผู้ประกอบการไทยเท่านั้น
 
 
 
 
 
 
1.7 รัฐบาลยังสามารถออกมาตรการอื่นใดอีกก็ได้เพื่อห้ามประกอบอาชีพสงวนของคนไทย ห้ามต่างชาติลงทุนในพันธุ์พืชหรือสัตว์สงวนของไทย
 
 
 
1.8 ไทยมี พ.ร.บ.พันธุ์พืชปี 2518 ที่ห้ามส่งออกพันธุ์พืชสงวนออกนอกประเทศ ในกรณีที่ต่างประเทศมาลงทุนเพาะและขยายพันธุ์พืช
 
 
 
1.9 บีโอไออ้างว่าที่ผ่านมาได้ส่งเสริมการลงทุนให้กับบรรษัทข้ามชาติไปแล้วเป็นจำนวนมาก เช่น มอนซานโต้ และไบเออร์ เป็นต้น
 
2.5 นักลงทุนต่างชาติจะสามารถปลูกป่าและทำไม้ได้ โดย
- ใช้วิธีเช่าพื้นที่ซึ่งไม่มีกฎหมายไทยห้ามเอาไว้ การเช่าพื้นที่สามารถทำได้ทั้งที่เป็นการเช่าที่เอกชน และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของรัฐ
- พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ขัดขวางการลงทุน เมื่อต่างชาติได้รับอนุญาตให้ปลูกป่าแล้ว อุปสรรคที่ห้ามบริษัทต่างชาติมิให้ใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกไม่อาจทำได้
-  กฎหมายไทยที่ช่องว่างมากอยู่แล้วการเปิดเสรีจะยิ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาครอบครองทรัพยากรได้โดยง่ายยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นจะใช้วิธีจัดตั้งบริษัท โดยให้คนไทยถือหุ้นใหญ่แต่ใช้ช่องว่างตามกฎหมายให้ผู้ถือหุ้นคนไทยเป็นหุ้นด้อยสิทธิ์ที่ไม่สามารถออกเสียงและไม่ได้รับการปันผล
 
2.6 รัฐบาลต้องให้สิทธิต่างชาติตามหลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติหากเปิดเสรี
 
 
 
 
 
 
 
 
2.7 การทำความตกลงเปิดเสรีแบบ negative list ต้องสงวนเอาไว้ในรายการ sensitive list เท่านั้นจึงจะมีผลสงวน และจะต้องมีการสงวนก่อนความตกลงมีผลบังคับใช้ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดความตกลง
 
 
 
 
 
 
2.8 พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวห้ามส่งออกพันธ์พืชเพียง 11 ชนิด ดังนั้นจึงไม่ครอบคลุมพันธุ์พืชส่วนใหญ่ของประเทศ นอกจากนี้ต่างชาติยังจะสามารถตั้งหน่วยเพาะและขยายพันธุ์พืชเพื่อเข้าถึง(access) และนำไปสู่การวิจัยจดสิทธิบัตร ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยได้โดยง่าย
 
 
2.9 คำโต้แย้งของบีโอไอฟังไม่ขึ้น เนื่องจาก
- การส่งเสริมการลงทุนนั้นอยู่ในการวินิจฉัยเป็นคราวๆของฝ่ายบริหาร และอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ตามความเหมาะสมและตามสถานการณ์
- การส่งเสริมของบีโอไอในบางกรณีนั้นทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น การส่งเสริมการลงทุนให้บรรษัทไบเออร์ครอปไซส์ ขัดกับนโยบายของกรมการข้าวที่ไม่ส่งเสริมพันธุ์ข้าวลูกผสม ทำให้เกิดการผูกขาด และจะสร้างปัญหาเรื่องคุณภาพของข้าวไทยในระยะยาว
3.5 รัฐบาลควรจัดประชุม เพื่อให้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยหน่วยงานวิจัยและนักวิชาการที่ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์จากการเจรจา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3.6 ขอความเห็นเพิ่มเติมจากนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และการรวบรวมกรณีการฟ้องร้องรัฐของนักลงทุนภายใต้บทบัญญัติการคุ้มครองนักลงทุนของ FTA ต่างๆ เช่น NAFTA เป็นต้น
 
3.7 รัฐบาลไทยควรดูการจัดทำตารางข้อสงวนใน sensitive list ของอินโดนีเซีย ซึ่งจะเห็นว่ามีการสงวนอาชีพเกษตร อาชีพที่มีผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น และทรัพยากรชีวภาพ (genetic resources หรือ biodiversity) ไว้อย่างรอบคอบ
 
3.8 ควรจัดทำการศึกษาอย่างรอบคอบเพราะมีช่องโหว่ของกฎหมายฉบับอื่นอีก เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ซึ่งกำลังถูกผลักดันโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์ให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ เป็นต้น
 
2.9 ควรประเมินการลงทุนของบีโอไอที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เกี่ยวกับการเกษตรและทรัพยากรว่าได้ผลตามเจตนารมย์ของการส่งเสริมการลงทุนหรือทำให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรและประเทศชาติอย่างไร
 

 

 

 
ที่ พิเศษ /2552                                                
                                                                     11 พฤศจิกายน 2552
 
เรื่อง ขอส่งข้อมูลและข้อเสนอแนะประกอบการพิจารณายับยั้งการเปิดเสรีในภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. เอกสารแนบ รายชื่อองค์กรที่คัดค้านการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาภายใต้ ACIA
2. เอกสารสรุปความคิดเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะต่อกรณีคำชี้แจงของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
 
เรียน ประธานผู้แทนการค้าไทย (คุณเกียรติ สิทธิอมร)
 
            มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) เครือข่ายส่งเสริมการใช้สมุนไพรแห่งชาติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์กร/เครือข่ายภาคประชาชนรวมทั้งสิ้น 104 องค์กรที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายนี้มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งในมติของที่ประชุม กนศ. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 ที่ให้ไทยถอนข้อสงวนที่เคยกำหนดไว้ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (AIA) ใน 3 สาขาที่สำคัญ ได้แก่ (1) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช (2) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ (3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก และมีเป้าหมายให้การเปิดเสรีมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. 2553
 
และตามที่จะมีการเลื่อนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับความตกลงการลงทุนอาเซียน (ACIA) จากวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 มาเป็นวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 นั้น มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนและเครือข่ายข้างต้นจึงขอนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะประกอบการประชุมและพิจารณาประเด็นดังกล่าวในการประชุม กนศ.ต่อไปนี้
 
1.ขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศทบทวนการเปิดเสรีการลงทุนภาคการเกษตร โดยให้มีการเจรจาเพื่อนำรายการการลงทุน 3 สาขาคือ การทำประมง การทำป่าไม้จากป่าปลูก และการเพาะและขยายพันธุ์พืช และสาขาบริการที่เกี่ยวข้องไปไว้ในรายการอ่อนไหว (SL) เนื่องจากการเปิดเสรีดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย เอื้อประโยชน์ให้บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และต่างชาติเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างแรงกดดันและสร้างความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมากยิ่งขึ้น
 
2.องค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านและประณามแนวทางการเดินหน้าเปิดเสรีใน 3 สาขาและสาขาบริการที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่อ้างว่าให้หน่วยงานต่างๆจัดทำข้อสงวนเป็นมาตรการ หรือออกเป็นกฎหมายภายในแทน เนื่องจากมาตรการใดๆ ก็ตามที่สร้างขึ้นใหม่จะขัดกับความตกลง ACIA (ตามมาตรา 9) และมาตรการหรือกฎหมายภายในเดิมที่มีอยู่หากขัดแย้งกับการเปิดเสรีก็จะถูกยกเลิกหรือถูกฟ้องร้องให้ยกเลิกในที่สุดอยู่ดี (เช่น พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ในกรณีการปลูกป่า เป็นต้น) ทั้งนี้ไม่นับช่องโหว่ของกฎหมายและความย่อหย่อนของกฎหมายที่เรามีอยู่ (ซึ่งถูกอ้างว่าจะสามารถป้องกันมิให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้) หากรัฐบาลมีความจริงใจต่อเกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง รัฐบาลจะต้องเจรจาให้มีการสงวนสาขาการลงทุนและการบริการที่เกี่ยวข้องให้ได้ประการเดียวเท่านั้น
 
3.การที่หน่วยงานของรัฐอ้างว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ซึ่งลงนามเมื่อปี 2541 เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจาก
-  ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ยืนยันที่จะไม่เปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าว รวมทั้งคงมาตรการที่ห้ามการลงทุนจากต่างชาติที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารต่อประชาชนและประเทศของตน ประเทศไทยควรร่วมมือกับประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศใหญ่และมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ไม่ให้ถูกคุกคามโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่
-  ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เคยเจรจาเพื่อให้การทำนาข้าวเป็นอาชีพสงวน และกนศ.เองก็มีความเห็นให้ไม่มีการเปิดเสรีในบางสาขา ซึ่งขัดต่อความตกลงแต่ก็สามารถดำเนินการเจรจาจนเป็นผลสำเร็จ การเดินหน้าเปิดเสรีของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องโดยอ้างว่าเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนต่อรัฐบาล สื่อมวลชน และประชาชนไทยทั้งประเทศ
-  การลงนามเปิดเสรีการลงทุนเมื่อปี 2541 นั้นกระทำขึ้นโดยปราศจากการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ อีกทั้งสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อความมั่นคงด้านอาหาร ปัญหาสิ่งแวดล้อม และวิกฤติพลังงาน (ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าว) ได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลก รัฐบาลไทยต้องร่วมกับประเทศในอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดแล้วที่จะทบทวนความตกลงนี้
 
4.องค์กรภาคประชาชนได้รับทราบว่า มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มกำลังร่วมมือกับกลุ่มทุนที่จะประสงค์จะลงทุนในภูมิภาคชะลอการเจรจา ACIA ออกไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องรัฐเพื่อให้มีการเปิดเสรี (เนื่องจากเมื่อความตกลง ACIA ไม่สามารถสรุปได้ตามเวลาที่กำหนด ความตกลง AIA ซึ่งกำหนดว่าจะมีการเปิดเสรีใน 3 สาขาในปี 2553 จะมีผลโดยอัตโนมัติแทน) ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องรีบดำเนินการเพื่อยื่นข้อสงวนการลงทุนใน 3 สาขาและสาขาบริการที่เกี่ยวข้องเอาไว้ก่อนต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน และดำเนินการเจรจาเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเอาไว้ก่อน
 
ดังนั้น รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้ในการปฏิรูปและสังคายนากระบวนการเจรจาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเสียใหม่ โดยทำให้เกิดกระบวนการเจรจาที่มิให้การเจรจาการค้าแต่ละเรื่องเป็นความรับผิดชอบของข้าราชการเพียง 1-2 คน ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับกรณีเปิดเสรีการลงทุนครั้งนี้
 
องค์กรที่ลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้จะยังคงติดตามการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้มีการสงวนการลงทุนภาคการเกษตรใน 3 สาขาและสาขาบริการที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้เพื่อปกป้องอาชีพ วิถีชีวิต และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติจนถึงที่สุด
 
จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา
 
                                                            ขอแสดงความนับถือ
                                                           
                                                          ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก
                                                            ประธานมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net