Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


ภาพจาก AP

 
 
ทักษิณ ชินวัตร ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวที่นครวัด เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ภาพโดย Heng Sinith/AP
 
 

มองจากมุมดิอีโคโนมิสต์ กรณีความขัดแย้งของรับบาลอภิสิทธิ์ กับรัฐบาลกัมพูชา การคิดคำนวณของฮุนเซ็น ทักษิณ และชวลิต

ตั้งแต่ปีที่แล้ว กองกำลังกัมพูชากับกองกำลังไทยได้ปะทะกันประปรายเป็นระยะในกรณีความขัดแย้งปราสาทพระวิหาร แต่ตอนนี้กัมพูชาพบหนทางที่เป็นผู้ดีกว่าในการสร้างความรำคาญแก่คู่แข่งของเขา โดยแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งโดยการรัฐประหารเมื่อปี 2006 และถูกตัดสินว่ากระทำผิดในการใช้อำนาจโดยมิชอบ ให้มาเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ

รัฐบาลไทยต้องการให้ทักษิณติดคุก แต่กัมพูชาปฏิเสธที่จะส่งตัวทักษิณกลับไป โดยโต้แย้งว่า อาชญากรรมของทักษิณเป็นเรื่องการเมือง ความโกรธเป็นฟืนเป็นไฟเกิดขึ้น รัฐบาลไทยถอนเอกอัครราชฑูตกลับประเทศ กัมพูชาก็ทำอย่างเดียวกัน ประเทศไทยได้ฉีกสนธิสัญญาร่วมในการสำรวจน้ำมันในพื้นที่ทางทะเล วันที่ 15 พฤศจิกายน กลุ่ม “เสื้อเหลือง” ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ผู้ก่อปัญหายุ่งยากในเรื่องความขัดแย้งชายแดน มีแผนที่จะชุมนุมเดินขบวนในกรุงเทพเพื่อประท้วงการตัดสินใจของกัมพูชาที่เอาอกเอาใจศัตรูของพวกเขาผู้สามารถกลับมาเล่นงานพวกเขาได้
 
การพูดที่บ้านรับรองหรูในกรุงพนมเปญ, การโต้ตอบจากสถานฑูตไทยที่ซึ่งหนังสือขอส่งตัวทักษิณกลับยังรอคำตอบอยู่, ทักษิณสร้างผลกระทบอะไร ความยุ่งเหยิงยังไม่รู้แน่ชัด เขากล่าวว่า การให้คำปรึกษาแก่กัมพูชาจะเป็นประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจของไทยที่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นประโยชน์แก่ภูมิภาค เขาอธิบายว่า ฮุน เซ็นเป็นเพื่อนมา 20 ปี และเป็นผู้ที่ “กล้าที่จะพูดความจริงให้โลกรู้” เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเขาที่ไม่เป็นธรรม ในความเป็นจริง ทั้งสองคนไม่เคยมองตากันแล้วเข้าใจเช่นนี้มาก่อน แต่ตอนนี้ทั้งสองคนมองเห็นตัวเองในลักษณะคล้ายกัน คือเป็นคนของแผ่นดินบ้านเกิดผู้แสดงตบตาให้เกิดความมั่นใจ ท่ามกลางการถูกรอบล้อมไปด้วยศตรูผู้จงรักภักดี   
 
การวิจารณ์ของทักษิณได้ถูกฉวยใช้ติดป้ายว่า เขาเป็นพวกทรยศชาติ ซึ่งมันไม่ใช่ครั้งแรก ทั้งในเรื่องการแต่งตั้งตัวเขาเป็นที่ปรึกษา และการกล่าวบางอย่างเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่ง แม้แต่แนวร่วมบางส่วนของเขาเองยังกลัวการเป็นที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาของทักษิณ ส่วนคนไทยจำนวนมากมอง ฮุน เซ็น ในลักษณะที่เป็นบุรุษที่เข้มแข็งแต่ทึ่ม พวกเขาไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้อีกในประเทศของเขาเอง
 
ทักษิณกล่าวว่า เขาจะอยู่ดูไบต่อไป ที่ซึ่งเขาจดๆ จ้องๆ ทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่การมีฐานใกล้ประเทศบ้านเกิดอาจช่วยเขาแหย่ศัตรูในรัฐบาล และบางทีเป็นการให้ความมั่นใจโน้มน้าวเพื่อนๆ ของเขาอย่าง ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้เข้าร่วมพรรคเพื่อไทยของทักษิณ ซึ่งตอนนี้กำลังมีงานยุ่งอยู่กับการประจบคบหากับประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มต้นจากกัมพูชา
 
ชวลิต กล่าวว่า เขาต้องการ “สร้างสันติภาพ” และฟื้นมิตรภาพเก่าๆ กลับมา แต่วาระที่แท้จริงของเขาอาจเป็นการพูดถึงการกลับมาของทักษิณ และสร้างโอกาสให้แก่ตัวเขาเองในการนำรัฐบาลในอนาคตหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ประเทศเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ของไทยดูเหมือนว่า ไม่น่าจะโดดขึ้นมาฮุบเหยื่อของชวลิต แม้หลายประเทศกำลังสงสัยว่า ใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำการเมืองไทยที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ก็ตาม (...) ในส่วนนี้ดูเหมือนว่า ฮุน เซ็น ได้เข้าร่วมกับทักษิณโดยคิดคำนวนอย่างปราศจากความสงสัยว่า ไม่ช้าก็เร็ว ที่ปรึกษาคนใหม่ของเขาจะกลับคืนสู่อำนาจ การให้ความช่วยเหลืออาจเป็นประโยชน์ และในตอนนี้การให้คำปรึกษาก็จะเป็นเรื่องดี
 
 
 
..............................................
แปลจาก “A new way to annoy a neighbour” จาก The Economist วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net