Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ โดย นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เปิดเผยผลการสำรวจ “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโฆษณาแฝง” จากงานมหกรรมสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก และเยาวชน ครั้งที่ 1 ซึ่งสำรวจจากกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนนักวิชาการที่มาร่วมงาน (อายุระหว่าง 12-70 ปี) ผู้ทำงานภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป โดยสำรวจระหว่างวันที่ 13-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 232 คน ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ เรียงลำดับรายการที่พบโฆษณาแฝงมากไปน้อย ดังนี้

72.8 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในละคร 72.4 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในซิทคอม 69.4 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในเกมโชว์ 53.9 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในข่าว 23.3 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในสารคดี 35.8 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการเด็ก และ 3.0 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการอื่นๆ

เมื่อถามถึงกฎหมายการควบคุมปริมาณโฆษณาที่ 12 นาทีครึ่งในสื่อโทรทัศน์ พบว่า มีเพียง 37.1 % เทานั้นที่ทราบ อีก 62.9 % ไม่ทราบว่ามีกฎหมายควบคุม
ผู้ตอบแบบสอบถาม มากถึง 97.0 % คิดว่าโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการโทรทัศน์ หวังผลประโยชน์ทางธุรกิจและ 86.2 % ยอมรับว่าโฆษณาแฝงเป็นปัญหาและคิดว่าควรเปิดเผยข้อมูลรายได้จากโฆษณาแฝง และการตรวจสอบทางการเงิน ตลอดจนระบบการเสียภาษีให้หน่วยงานรัฐ

เมื่อ ถามถึงสาระสำคัญของ (ร่าง) แนวทางการปรากฏของสินค้าและบริการในรายการโทรทัศน์ ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่อนุญาตให้มีเวลาโฆษณาแฝงในรายการได้ อีก 2 นาที/ชั่วโมง (1 นาที สำหรับโลโก้ และอีก 1 นาที สำหรับภาพวีดีโอผู้สนับสนุนรายการ, อนุญาตให้มีการวางสินค้า ป้าย สัญลักษณ์แทรกในฉากรายการ และอนุญาตให้มีโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการเพิ่มเติมได้อีก) พบว่า 72.0 % บอกไม่เห็นด้วย
อย่าง ไรก็ตาม ผลการสำรวจในประเด็นด้านการละเมิดสิทธิ พบว่าเกือบ 2 ใน 3 หรือ 65.1 % คิดว่าโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ต่างๆ รุกล้ำสิทธิของผู้บริโภค
นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ เปิดเผยว่า “ใน ฐานะที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนและดูเรื่องสื่อมาตลอด มีความกังวลว่าโฆษณาแฝงซึ่งมีปริมาณมากในฟรีทีวี และพบแทบทุกรายการ โดยเฉพาะในรายการเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเสริมสร้างความคิดเรื่องการบริโภคนิยม ให้รู้สึกดีต่อสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบันนี้ เด็กมีค่านิยมฟุ้งเฟ้อและใช้เงินอย่างมากไปกับสินค้าต่างๆ มากพอแล้ว”

นาง อัญญาอร แสดงความกังวลต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานรัฐว่า มองเห็นความพยายามและตั้งใจดีของท่านรัฐมนตรี สาทิตย์ วงศ์หนองเตยที่กล้าเข้ามาดูแลปัญหาเรื่องนี้ แต่เมื่อเห็นร่างแนวทางการปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ที่ออกมาโดยสคบ. คิดว่าไม่ได้สอดคล้องกับความพยายามแก้ไขปัญหาเลย ในทางกลับกันจะยิ่งทำให้โฆษณาแฝงนี้มีความถูกต้อง ชอบธรรมตามกฎหมาย และยังจะทำให้มีโฆษณาแฝงมากขึ้นกว่าที่เคยมี

“ทุก วันนี้ พ่อแม่เหนื่อยที่ต้องทำงาน กลับมาก็ต้องดูแลลูก สอนลูก และคอยชักจูงลูกในในหลายๆ ทาง ทั้งปัญหาเรื่องติดเกม สื่อลามก การพนัน ยาเสพติด และเพศที่ไม่เหมาะสมในวัยเรียน ยังต้องมานั่งกังวลและเหนื่อยกับการดูแลลูกเรื่องค่านิยมฟุ้งเฟ้อ บริโภคนิยม วัตถุนิยมที่โฆษณาแฝงยัดเยียดเข้ามาในรายการโทรทัศน์อีก ส่วนตัวคิดว่า ร่างแนวทางควรเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นในปัจจุบัน ไม่ควรมีโฆษณาแฝงอีก เพราะแม้กระทั่งพ่อแม่ผู้ปกครองบางคน ยังไม่สามารถแยกแยะโฆษณาตรงโฆษณาแฝงได้ และเด็กและเยาวชนส่วนมาก ก็อาจจะรู้ไม่เท่าทันพิษภัยของโฆษณาแฝง” นางอัญญาอร กล่าวในท้ายสุด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net