Skip to main content
sharethis

ก่อนจะถึงวาระการเจรจาเรื่องสภาวะโลกร้อนที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ คาดว่าหลังจากนั้นจะมีกลไกหลายอย่างถูกหยิบเอามาใช้เพื่อบรรเทาสภาวะของโลกที่กำลังร้อนรุ่มอยู่ในเวลานี้ กลไกหลักๆ อย่าง Redd ถูกพูดถึงบ่อยครั้งว่ามันคือความหวังที่จะบรรเทาโลกให้หายร้อนได้ โดยการใช้ตัวเงินเข้ามาจูงใจให้รักษาผืนป่าบนโลกเอาไว้ อย่างน้อยเพื่อรักษาโลกไม่ให้ร้อนมากไปกว่านี้ แต่ก่อนจะถึงเวลานั้นลองมาดูข้อมูลประวัติศาสตร์ว่า แท้จริงแล้ว ในอดีต ใครกันเป็นผู้ก่อสารพิษเหล่านั้นขึ้นมา ประชาธรรมค้นคว้าข้อมูลมาลองปะติดปะต่อให้ได้ทราบ

...

ในการประเมินตัวเลขคร่าวๆ ของประวัติศาสตร์การแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก ประเทศอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในบรรยากาศในเวลานี้ โดยตั้งแต่ปี 1950 สหรัฐอเมริกาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 507,000 ล้านตัน ในขณะจีน (ซึ่งมีประชากรมากกว่าสหรัฐ 4.6 เท่า) และอินเดีย (มีประชากรมากกว่า 3.5 เท่า) ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาราว 157,000 ล้านตันและ 42,000 ล้านตันตามลำดับ ในแต่ละปี มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมเกิดจากประเทศอุตสาหกรรม ที่นั่นมีประชากรโลกอาศัยอยู่เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด

ที่มา "World Resources Institute (WRI) ปี 2003"

 

ซึ่งถ้าหากจะมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ทวงถามหาความรับผิดชอบนั้น "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันของก๊าซที่ปล่อยออกมาเมื่อปี 1850 กับหนึ่งตันที่ปล่อยออกมาในทุกวันนี้มีค่าเท่ากัน ก๊าซเรือนกระจกมีช่วงชีวิตที่ยาวนานบนชั้นบรรยากาศ มันยังคงสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศไม่ว่าปีไหนๆก็ตามแต่..."

 

"...และการคำนวณจำนวนรวมทั้งหมดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละประเทศตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1900 นั้น พบว่า ทุกๆประชากรของประเทศอเมริกาแบกเอาภาระหนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยกำเนิดมากกว่า 1,050 ตัน ในทางเปรียบเทียบ ประชากรทุกๆ คนในประเทศจีนแบกเอาหนี้โดยกำเนิดเอาไว้ 68 ตัน และประเทศอินเดียประมาณ 25 ตัน ดังนั้นถ้าหากจะบอกว่าประเทศจีนและอินเดียไล่ตามประเทศที่ร่ำรวยในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ความจริงก็คือหนี้ทางด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นก่อนหน้านี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนที่เรื่องนี้จะเกิดขึ้นเสียอีก"

 

"มากไปกว่านั้น ปริมาณการแพร่กระจายของก๊าซจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเช่นอินเดียและจีน ก็มาการจ้างงานแบบ Out-sourcing ( Outsource  คือการที่องค์กรมอบหมายงานบางส่วนของตนให้กับบุคคลหรือองค์กรภายนอกมาดำเนินการแทน โดยผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมกำกับทุกส่วนตั้งแต่นโยบายไปจนถึงการปฏิบัติงานในทุก ๆ ขั้นตอนของผู้รับจ้าง) ของบรรษัทจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในประเทศเหล่านี้ สินค้าจะถูกส่งไปขายยังประเทศร่ำรวย ในปัจจุบันข้อกล่าวหาอย่างเช่นว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากผู้ผลิตไม่ใช่ผู้บริโภค จึงไม่สามารถตัดประเด็นนี้ไปได้"

ที่มา Science and Environment, October 25, 2002

 

"โดยปริมาณการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นผลจากความต้องการพื้นฐานอันจำเป็นของมนุษย์ที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ในขณะที่การแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกของประเทศอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มขึ้นจากความเป็นอยู่พื้นฐานที่พอดีของบุคคลอยู่แล้ว นี่เป็นตัวอย่างของการเปรียบเทียบอัตราส่วนต่อบุคคลในการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก ในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐอเมริกามากกว่าอัตราส่วนเดียวกันในประเทศอินเดียถึง 20 เท่า มากกว่า 12 เท่าในบราซิล และ 7 เท่าในประเทศจีน"

ที่มา รายงานของ a Christian Aid  ในเดือนกันยายน 1999

 

"ในอีกด้านหนึ่ง ประเทศที่กำลังพัฒนาใช้ถนนไปสู่การเจริญเติบโตและการพัฒนา ในประเทศอย่างอินเดียอัตราการแพร่กระจายของก๊าซเริ่มสูงขึ้น แต่ว่าอัตราเฉลี่ยของการปลดปล่อยก๊าซยังคงอยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมีนัยยะสำคัญ อัตราการปล่อยก๊าซระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน"

ที่มา Science and Environment, October 25, 2002

 

ความล้มเหลวของการเจรจาเรื่องโลกร้อนที่เกิดขึ้นแล้วในปฏิญญาเกียวโต ซึ่งสหรัฐอเมริกาปฏิเสธจะลงนามเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของตนนั้น บทความเรื่องการเจรจาเรื่องสภาวะอากาศละเลยเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและเรื่องของความเท่าเทียม บอกเอาไว้ว่า

"ประเทศที่ร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกา หรือว่าประเทศในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันอย่างกลุ่มโอเปค เป็นกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของพวกเขาถ้าหากทำตามข้อเรียกร้องของนานาชาติในเรื่องสภาวะอากาศ"

ที่มา Down To Earth Magazine, CSE, December 15, 2007 ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2007
 

ทั้งๆ ที่ "ประเทศอุตสาหกรรมนั้นเริ่มบนหนทางของการพัฒนาก่อนประเทศที่กำลังพัฒนา และได้แพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกมานานหลายปีโดยที่ไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อห้ามอันใด ก๊าซเรือนกระจกจึงได้ไปสะสมอยู่ในบรรยากาศเป็นสิบหรือร้อยปี แต่ในปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมก็ยังคงปลดปล่อยเรือนกระจกออกมา ดังนั้นประเทศเหล่านี้จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาเรื่องสภาวะอากาศของโลกในประวัติศาสตร์ของตนเองด้วย มันคือหนี้ที่เกิดจากการใช้สภาพอากาศเกินความจุที่จะดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้"

ที่มา Center for Science and Environment, October 25, 2002

 

ตัวเลขเรื่องโลกร้อน

- 4.5 ของประชากรอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา  และพวกเขาปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา 22 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมด

- 17 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในอินเดีย และปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา 4.2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมด

- สหราชอาณาจักรแพร่ก๊าซเรือนกระจก 9.5 ตัน ต่อคนต่อปี ในขณะที่ฮอนดูรัสมีอัตราส่วน 0.7 ตันต่อคนต่อปี

- ประเทยากจนในโลกนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.4 เปอร์เซ็นต์ 45 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลผลิตจากประเทศ G8

นี่ไม่ใช่การโยนความรับผิดชอบในโลกใบนี้ไปให้แก่ประเทศอุตสาหกรรม แต่เหล่านี้คือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะชี้ได้ว่าใครกันควรจะเป็นคนรับผิดชอบกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น จริงอยู่ปัจจุบัน ประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีนและอินเดียกำลังมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบก้าวกระโดด และในความเป็นจริงประเทศทั้งสองควรจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โดยอาจจะคิดหากลไกบางอย่างเพื่อผ่องถ่ายเอาเทคโนโลยีที่ประเทศพัฒนาแล้วคิดค้นขึ้นมาในอดีต (พร้อมๆ กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่เพิ่มขึ้นจากการนั้น) เพื่อประเทศกำลังพัฒนาจะได้ไม่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาซ้ำสอง ให้เปลืองทรัพยากรและเพิ่มภาวะโลกร้อนของโลก หรือกลไกอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาไม่ให้ผลิตก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น และประเทศอุตสาหกรรมในยอดีตควรจะทบทวนประวัติศาสตร์ที่ยกตัวอย่างขึ้นมาด้วย

 

แต่ทว่า เหล่าประเทศกำลังพัฒนาดูเหมือนจะไม่ได้พิจารณาถึงความผิดในอดีตที่พวกเขาได้ก่อขึ้น แต่ดึงดันจะใช้กลไกอย่าง Redd,Redd+,CDM เพื่อที่พวกเขาจะได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปอย่างสบายใจ เพียงข้ออ้างที่ว่าพวกเขามีผืนป่าในโลกใบนี้ที่พวกเขารักษาเอาไว้แล้วเท่านั้น.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net