Skip to main content
sharethis

โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง 29 พ.ย. แต่ความขัดแย้งทางการเมืองของฮอนดูรัสยังไม่ยุติลงตราบใดที่เซลายายังไม่ได้คืนตำแหน่ง แม้มิเชลเลตตีจะประกาศสละตำแหน่งไปแล้วในวันที่ 19 พ.ย. ขณะที่สภาบอกว่าจะประชุมเรื่องคืนตำแหน่งของเซลายาวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งเลยเลือกตั้งมาแล้ว

 

22 พ.ย. การหาเสียงในฮอนดูรัสของผู้ลงสมัคร เอลวิน ซานโตส (ซ้าย) จากพรรคเสรีนิยม
ด้านขวาคือ เบคกี้ ภรรยาของเขา
(AP Photo/Rodrigo Abd)
 
31 ต.ค. พอฟิริโอ โลโบ จากพรรคชาตินิยม ขณะออกเดินสายหาเสียงในเขตรอบนอกของเมืองหลวง
(AP Photo/Arnulfo Franco)
 
[
20 พ.ย. ผู้สนับสนุนเซลายา ชุมนุมกันหน้าศาลฎีกาการเลือกตั้ง พวกเขาบอกว่าไม้กางเขนที่ถืออยู่นั้น เป็นสิ่งแทนถึงประชาชนที่น่าจะถูกสังหารไปนับตั้งแต่รัฐประหารเดือน มิ.ย.
(AP Photo/Arnulfo Franco)
 
รูปแบบการประท้วงให้คว่ำบาตรการเลือกตั้ง 29 พ.ย. ที่จะถึงนี้
(AFP/File/Orlando Sierra)
 
 
เหลืออีกเพียงหนึ่งสัปดาห์ก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของฮอนดูรัส (29 พ.ย.) การหาเสียงของผู้ลงสมัครดำเนินมาถึงโค้งสุดท้าย ขณะที่วิกฤติการเมืองเดิมยังคงอยู่ในสภาวะลักลั่น
 
แม้ว่าในวันที่ 19 พ.ย. โรเบอร์โต มิเชลเลตตี ผู้นำรัฐบาลรักษาการหลังการรัฐประหาร จะประกาศสละตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว แต่กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายาก็ยังแสดงความไม่พอใจและชุมนุมกันต่อไป โดยหันมาประกาศว่าหากเซลายาไม่ได้คืนตำแหน่ง พวกเขาก็จะไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ขณะที่ผู้ให้คำปรึกษาของเซลายาก็บอกว่า การลงจากตำแหน่งของมิเชลเลตตีไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่า "เรื่องตลกเน่าๆ" ที่ไม่ได้เปลี่ยนทัศนคติของชาวฮอนดูรัสหรือนานาชาติที่มองว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นรัฐประหารอยู่ดี
 
ส่วนทางด้านมิเชลเลตตีให้เหตุผลในการลงจากตำแหน่งว่า เขาอยากให้ประชาชนชาวฮอนดูรัสหันไปสนใจกับการเลือกตั้ง และเลิกใส่ใจกับวิกฤติการเมืองในครั้งนี้ ขณะเดียวกันก็บอกว่าแม้เขาจะลงจากตำแหน่งไปแล้ว แต่คณะรัฐบาลของเขาก็ยังคงทำงานอยู่
 
ขณะเดียวกันทางสภาฮอนดูรัสก็ตัดสินใจว่าจะรอให้การเลือกตั้งวันที่ 29 ก.ย. ผ่านพ้นไปเสียก่อนจึงจะตัดสินใจว่าจะคืนตำแหน่งแก่เซลายาหรือไม่ โดย โฮเซ ซาเวดรา ประธานสภา บอกกับสื่อว่าจะมีการประชุมพิจารณาในเรื่องนี้วันที่ 2 ธ.ค. นักวิเคราะห์การเมืองมองว่า การที่สภายึดเวลาพิจารณาการคืนตำแหนงแก่เซลายานานไปจนถึงหลังเลือกตั้งนั้น เพราะไม่มีใครอยากถูกเซลายาเอาคืนหลังจากที่เขากลับสู่ตำแหน่งแล้ว
 
ซึ่งมิเชลเลตตีเองก็กล่าวชื่นชมการตัดสินใจของสภาว่าเป็นการช่วยแก้ไขวิกฤติการเมืองร่วมกัน เขายังขอให้เซลายาอยู่อย่างเงียบๆ ในเรื่องการเลือกตั้ง
 
ขณะเดียวกับก็มีคนเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการรัฐประหารในฮอนดูรัส โดยมีท่าทีต่อต้านการรัฐประหารในฮอนดูรัส และไม่เห็นด้วยกับท่าทีของสหรัฐฯ ที่ยอมรับการเลือกตั้งของฮอนดูรัส แม้ประธานาธิบดีที่ถูกทำรับประหารจะยังไม่ได้คืนสู่ตำแหน่ง
 
ผู้เขียนบทวิเคราะห์ดังกล่าวคือคือ มาร์ค เวลซ์บรอท หนึ่งในผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและการเมือง (Center for Economic and Policy Research: CEPR) ของสหรัฐฯ ผู้ที่เคยทำวิจัยพบว่าเศรษฐกิจถดถอยลงหลังการรัฐประหาร (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐฯ ชี้ รัฐประหารทำเศรษฐกิจฮอนดูรัสเสื่อมลง")
 
บทวิเคราะห์ฉบับนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจอีก เช่นการกล่าวถึงประเทศในแถบละตินอเมริกาไม่ยอมรับการจัดการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลรัฐประหารเนื่องจากประเทศเหล่านี้เองเคยประสบกับระบอบเผด็จการมาก่อนหน้านี้ หรือการที่วงอภิปรายทางการเมือง มักจะแปะป้ายให้เซลายาเป็นตัวหมากของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฮูโก ชาเวซ ของเวเนซุเอลล่า
 
 
สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่
 
 
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Honduras interim leader may step down. Will that help President Zelaya? , Mike Faulk and Sara Miller Llana, The Christian Science Monitor, 20-11-2009

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net