Skip to main content
sharethis

วิทยาศาสตร์ว่าอย่างไรเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างมลภาวะจากน้ำมือมนุษย์กับสารปรอทที่พบในปลา และสาธารณชนควรวิตกกังวลต่อผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับประทานปลาหรือไม่ บทความนี้เสนอการค้นพบซึ่งแสดงในการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการปนเปื้อนสารพิษปรอทเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งผลลัพธ์ทำให้อุ่นใจขึ้นมาก


ปลาดีต่อสุขภาพหรือเป็นเพียงขยะมีพิษ?

จากการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการปนเปื้อนสารพิษปรอท ครั้งที่ 8 (the 8th International Conference on Mercury as a Global Pollutant - ICMGP) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน, สหรัฐอเมริกา มีสัญญาณเตือนภัยบางประการเกี่ยวกับการพบปลาที่ปนเปื้อนสารปรอท โดยมีหลายเสียงที่ชูประเด็นของภัยนี้ ด้วยความวิตกกังวลใน 2 กรณีหลักๆ กรณีแรกคือมลภาวะอุตสาหกรรมจากฝีมือมนุษย์โดยการทิ้งสารปรอทลงในมหาสมุทร และกรณีที่สองคือ อันตรายจากจำนวนประชากรปลาทั่วโลกที่ลดลง ความกังวลเหล่านี้ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากเรียกร้องให้หยุดการรับประทานปลา ความวิตกกังวลประการแรกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ซึ่งยังคงจดจำความน่าสะพรึงกลัวของปรอทเป็นพิษขนาดมหึมาในเมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น กรณีเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แต่วิทยาศาสตร์ว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกันระหว่างมลภาวะจากน้ำมือมนุษย์และสารปรอทที่พบในปลา และสาธารณชนควรวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับประทานปลาหรือ ไม่ บทความนี้มองไปที่การค้นพบซึ่งแสดงในการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการปนเปื้อนสารพิษปรอท ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองกุ้ยหยาง ประเทศจีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และผลลัพธ์นั้นทำให้อุ่นใจอย่างมาก

 

มลภาวะจากมนุษย์เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนสารปรอทในปลา?

ขณะที่ความพยายามต่างๆ ต้องดำเนินต่อไปเพื่อจำกัดมลภาวะสารปรอทที่กำเนิดจากมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ 2 กลุ่มได้นำเสนอหลักฐานในการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการปนเปื้อนสารพิษปรอท ครั้งที่ 9 ซึ่งระบุว่า สารปรอทที่พบในปลานั้นมาจากแหล่งธรรมชาติมากที่สุด

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกนำโดย ดร.โจเอล บรัม (Dr. Joel Brum) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐ ได้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับฝูงปลาอพยพนอกชายฝั่งว่า อาจไม่ได้รับมลพิษทางชายฝั่งได้ตรง แต่น่าจะเกิดจากการที่ปลาได้รับอาหารจากบริเวณชายฝั่ง ผลปรากฎว่าสารปรอทในพื้นที่บริเวณชายฝั่งไม่ใช่ชนิดเดียวกับสารปรอทที่มาจาก แหล่งธรรมชาตินอกชายฝั่ง และผู้เขียนสามารถระบุว่า สารปรอทที่พบในฝูงปลานอกชายฝั่ง เช่น ปลาทูน่า มีความสอดคล้องกับมลภาวะจากแหล่งธรรมชาติ ขณะที่ปลาบริเวณชายฝั่ง เช่น ปลากะพง ปลาหัวหิน (drum) และปลาเทราท์ มีสารปรอทซึ่งสามารถเป็นไปได้ว่ามาจากมลพิษทางชายฝั่ง

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่สอง นำโดย ดร. เมลานี วิธ (Dr. Melanie Witt) จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ได้ ตรวจสอบหาความจริงเกี่ยวกับความสำคัญของปริมาณสารปรอทจากภูเขาไฟและพลังงาน ความร้อนใต้พิภพรวมทั้งหมดทั่วโลก โดยมองไปที่การประทุจากภูเขาไฟ, ช่องระบายความร้อนใต้พิภพของเปลือกโลก (geothermal vent), บ่อไอน้ำ (fumaroles) หรือ น้ำพุร้อน (hot spring) ในประเทศนิคารากัว, อิตาลี, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ และฮาวาย พบว่าระดับสารปรอทบางชนิดในอากาศรอบๆภูเขาไฟมีค่าสูงกว่าที่ภาคอุตสาหรรม ปล่อยออกมาหลายเท่า พวกเขาเสนอแนะว่า แหล่งธรรมชาติเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการได้รับสารปรอททั่วโลก

 

สารปรอทที่พบในปลาเป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่?

แน่นอนว่าคำถามนี้สำคัญที่สุด ไม่ว่าสารปรอทจะเข้าไปอยู่ในตัวปลาได้อย่างไร เราต้องการทราบว่าปลานั้นปลอดภัยพอที่จะรับประทานหรือไม่ ความสำคัญของคำถามเพิ่มเป็น 2 เท่าหากปลานั้นไม่ปลอดภัยต่อการรับประทาน แม่และเด็กย่อมต้องขาดแหล่งสำคัญของกรดไขมัน เช่น โอเมก้า-3 ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์และสมองของเด็กปฐมวัย ประเด็นที่ได้จากการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการปนเปื้อนสารพิษปรอท ครั้งที่ 9 มีความชัดเจน: การรับประทานปลามีความปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

ในการประชุม ICMGB ครั้ง ที่ 9 มีการนำเสนองานศึกษาที่ตรวจสอบว่า มีผลด้านความเจ็บป่วยใดๆที่สังเกตได้ในกลุ่มประชากรที่รับประทานอาหารและมี ปลารวมอยู่ด้วย โดยให้ความสนใจเจาะจงในสตรีมีครรภ์และเด็กปฐมวัย ข่าวดีคือ งานศึกษาทั้งหมดแสดงผลว่า สารปรอทที่พบในปลาไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านสุขภาพในเด็ก และมีเพียงงานศึกษาเดียวที่กล่าวว่า เนื้อปลาวาฬและเนื้อที่ไม่ใช่ปลาเป็นแหล่งที่มาของสารปรอท

งานศึกษาโดย ดร.จงฮ่วย หยาน (Dr.Chonghuai Yan) จากโรงพยาบาลซินหัว มองถึงความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสารปรอทในสตรีมีครรภ์ที่อาศัยอยู่ในเกาะโจวซาน (Zhoushan) และพัฒนาการของเด็กเหล่านี้หลังคลอด งานศึกษานี้ได้พิสูจน์ว่า “การได้รับสารปรอทในระดับต่ำก่อนคลอดไม่มีผลกระทบนัยสำคัญต่อพัฒนาการของทารก”

อีกงานศึกษาหนึ่งซึ่งนำเสนอโดย Dr.Lamia Chanoufi จากโรงพยาบาลในเมืองอูดิเน่ (Udine) ประเทศอิตาลี โดยพิจารณาจากหญิงมีครรภ์และเด็กๆหลังคลอดในแคว้นปกครองตนเองชื่อว่า ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย (Friuli Venezia Giulia) ระหว่างปี พ.ศ. 2542 – 2544 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แคว้นนี้ได้รับมลพิษอย่างมีนัยสำคัญจากเหมืองแร่ปรอทในประเทศสโลวาเนีย Dr.Lamia ไม่พบความเชื่อมโยงใดๆระหว่างการได้รับสารปรอทช่วงเริ่มแรกหรือระหว่างการ ตั้งครรภ์ กับพัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมในเด็กอายุระหว่าง 6 – 9 ปี

งานศึกษาที่รายงานโดย ดร.เจ.เจ. เสตรน (Dr.J.J. Strain) จากมหาวิทยาลัยอัลสเตอร์ (University of Ulster) ไอร์แลนด์เหนือ ได้ค้นหาความจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากการได้รับสารปรอทในครอบครัวที่อาศัยบนเกาะเซเชลส์ (Seychelles) และผลที่ได้คล้ายคลึงกับงานศึกษาก่อนๆคือ ดร.เสตรนไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ใดๆระหว่างสารปรอทในอาหารที่หญิงมีครรภ์ รับประทานกับสุขภาพของเด็กๆ เขายืนยันว่า ถึงแม้ว่าสารปรอทอาจมีปรากฏอยู่ที่ระดับค่าต่ำ แต่การรับประทานปลาก็เป็นแหล่งที่ดีของกรดไขมันซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมอง

มีหนึ่งงานศึกษาที่แสดงถึงผลกระทบตรงข้ามที่ควรได้รับการกล่าวถึง เนื่องจากข้อเท็จจริงในกรณีนี้ที่ว่า แหล่งที่มาของสารปรอทคือ สัตว์ที่ไม่ใช่ปลา และปลาวาฬนำร่อง (pilot whales) ที่ถูกนำไปรับประทานโดยชาวเกาะแฟโร (Faroe) เหตุผลว่าทำไมงานศึกษานี้จึงมีความสำคัญ นั่นเพราะว่า วิทยาศาสตร์อุบัติใหม่บางอย่างชี้ถึงส่วนประกอบของปลาที่ให้ประโยชน์อื่นๆ มากกว่า นั่นคือ เซเลนียม และบทบาทของเซเลเนียม คือ ช่วยลดผลกระทบต่างๆของการเจ็บป่วยจากสารปรอทให้น้อยลง มีความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ว่า เซเลเนียม ซึ่งเป็นสารอาหารรองที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยแท้จริงทำหน้าที่ ‘ขจัด’ สารปรอทซึ่งปนเปื้อนอยู่ และยังคงเหลือเซเลเนียมเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

ดร.นิโคลัส รัลสตัน (Nicholas Ralston) จากมหาวิทยาลัยนอร์ธ ดาโกต้าได้ศึกษาคำถามนี้และได้พัฒนาแผนภาพด้านล่างซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปลาส่วนมากมีเซเลเนียมมากกว่าสารปรอทอย่างไร หมายเหตุ, อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นที่สำคัญประการหนึ่งของปลาวาฬนำร่องคือ มีเซเลเนียมน้อยกว่าสารปรอทจึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ความจริงนี้ได้อธิบายถึงสาเหตุว่า ทำไมประชากรในเกาะแฟโร (Faroe) จึงดูเหมือนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารปรอทจากการรับประทาน ซึ่งต่างจากการศึกษาในกลุ่มประชากรอื่นๆ และไม่ว่าสาเหตุจะมาจากสารปรอทมีมากเกินไป หรือเซเลเนียมน้อยเกินไปจะยังไม่ชัดเจน แต่สำหรับพวกเราซึ่งไม่ได้รับประทานปลาวาฬน้ำร่อง, ความหมายที่ชัดเจนคือ: ปลาดีต่อคุณและ ‘ไม่’ ใช่สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ


ยังคงวิตกใช่ไหม?

ในขณะที่ข้อมูลทั้งหมดทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้น แต่ความจริงที่ว่า ผลกระทบที่เป็นอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้หากคุณได้รับสารปรอทมากเกินไป ดังนั้นคุณสามารถทราบได้ว่าปลาที่คุณรับประทานนั้นจะเป็นสาเหตุของปัญหาหรือ ไม่ หาคำตอบได้จาก www.howmuchfish.com เว็บไซต์นี้ยังมีเครื่องมือให้คุณคำนวณว่า คุณสามารถรับประทานประเภทของปลาตามรายการที่ให้มานั้นได้มากน้อยเพียงใด โดยที่ไม่เกินค่าจำกัดด้านความปลอดภัยของสารปรอท

 

เอกสารอ้างอิง :
1.               Blum, Joel D.;  Senn, David B.;  Chesney, Edward J.;  Shine, James P., “Mercury Isotope Evidence for Contrasting Pathways of Mercury into Coastal versus Offshore Marine Fisheries Foodwebs”, paper S08-02 presented at the 9th ICMGP, June, 2009
2.               Witt, Melanie L.I.;  Mather, Tamsin A.;  Pyle, David M.,;  Aiuppa, Alessandro;  Bagnato, Emmanuela, “Mercury Emissions Associated with Volcanoes and Geothermal Sources”, paper S14-02 presented at the 9th ICMGP, June, 2009
3.               Yan, Chonghuai;  Gao, Yu;  Wang, Yu;  Zhang, Hong;  Yu, Xiaodan;  Xu, Jian;  Shen, Xiaoming, “Prenatal low levels mercury exposure on infant development:  a prospective study in Zhoushan Islands, China”, paper S01-04 presented at the 9th ICMGP, June, 2009
4.               Chanoufi, Lamia;  Parpinel, Maria;  Valent, Francesca;  Catiglione, Francesca;  Tognin, Veronica;  Tratnik, Janja;  Horvat, Milena;  Daris, Fulvio;  Barbone, Fabio, “Prenatal and postnatal exposure to methylmercury and neurodevelopment functioning in 7-year-old children of a coastal Northern Italian population.
5.               Strain J.J., “Potential benefits of maternal fish consumption to fetal and child development”, paper S02-07 presented at the 9th ICMGP, June, 2009.
6.               Weih, Pal, Grandjean, Philippe, Murata, Katsuyuki;  Debes, Frodi;  Ludvig, Arni;  Steuerwald, Ulrike;  Budtz-Joergensen, Esteban;  Choi, Anna L., “Methylmercury and the fetal brain;  The Faroe Island Studies”, presented at the 9th ICMGP, June, 2009
 
 
 
........................................................................

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านอาหารแห่งเอเชีย  www.afic.org
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชียเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์  มีพันธะกิจเพื่อสื่อสารข้อมูลพื้นฐานในแง่มุมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร, โภชนาการ และสุขภาพไปสู่สื่อมวลชน, ผู้ดูแลมาตรฐาน, ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและอาหาร และผู้บริโภคในภูมิภาคเอเซีย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net