Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

“คนเสื้อแดง” จำนวนมากชื่นชอบอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ อาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น นโยบายที่แก้ปัญหาคนจนได้เป็นรูปธรรมโดยที่ไม่เคยมีรัฐบาลใดทำมาก่อน  อาจจะเพราะทักษิณติดดิน ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย  อาจจะเพราะทักษิณพุดเก่งปากหวาน ก็ว่ากันไป 

คนเสื้อแดง จำนวนไม่น้อยไม่ได้นิยมรักใคร่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ  แต่พวกเขารักประชาธิปไตย ยึดมั่นหลักการประชาธิปไตย  เชื่อว่าประชาธิไตยเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ  อำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน  ทุกคนเท่ากันหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง ที่มีวาระการเลือกตั้งผู้บริหารผู้ปกครองประเทศแน่นอน ผู้บริหารผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนได้ตามวาระ ถ้าประชาชนเขาไม่เอา ผ่านการเลือกตั้งมิใช่การรัฐประหารไม่ว่าโดยทหารหรือโดยศาลก็ตาม

แต่พวกเขายอมรับการลงคะแนนของเสียงส่วนใหญ่ ที่เลือกทักษิณ

คนเสื้อแดง ส่วนใหญ่เป็นรากหญ้าในชนบท เป็นคนชั้นกลางในเมืองบางส่วนที่มองเห็นความสำคัญของประชาธิปไตย เห็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากว่าอารมณ์ความรู้สึก

"แดง" จึงเป็นสัญญลักษณ์ของฝ่ายประชาธิไตย เหลืองเป็นสัญลักษ์ของฝ่ายอำมาตยาธิไตย

แล้ว “กรรมกร” ผู้ไร้ปัจจัยการผลิต มีแรงงานเป็นสินค้า เขารักประชาธิปไตยหรือนิยมอำมาตยาธิปไตย?

“กรรมกร” ที่ถูกครอบงำโดย”ขุนนางกรรมกร” สายพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย สมศักดิ์ โกสัยสุข สาวิตย์ แก้วหวาน เสน่ห์ หงษ์ทอง กรรมการพรรคการมืองใหม่นั้น ย่อมถูกพาสู่ทางอำมาตยาธิปไตย หรือ “เหลือง”

แต่จุดยืนที่ถูกต้องของ”กรรมกร” ต้องเป็น “แดง”   ต้องไม่ “เหลือง”  เหมือนพ่อแม่เขาในชนบทที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นแดง…..และพ่อของแม่ แม่ของพ่อล้วนเป็นอดีตไพร่ในสังคมศักดินาหาใช่ขุนนางอำมาย์ไม่ 

แม้ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมทุนนิยม จะเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนกับกรรมกรก็ตาม แต่เงื่อนไขประวัติศาตร์ที่เป็นจริงดำรงอยู่ในฃ่วงเปลี่ยนผ่านสังคมไทย อิทธิพลความคิดอุดมการศักดินาครอบงำสังคมไทยภายใต้ทุนนิยมล้าหลัง และมีความขัดแย้งระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์อำมาตย์ ที่เติบโตสะสมทุนผ่านกลไกอำมาย์แบบอภิสิทธิ์ชนมากกว่าการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส

ณ ปัจจุบัน ความขัดแย้งรองระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์อำมาตย์ เป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด

ความขัดแย้งระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด ไม่มีความเป็นกลาง สองไม่ หรือสองเอา?

ประสบการ์ของ "กรรมกร" ในชีวิตประจำวันนั้น มีกรรมกรจำนวนไม่น้อยได้ตระหนักในสิทธิและได้มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่องไม่ได้ยอมจำนนแต่อย่างใด ในรูปแบบการรวมกลุ่มในรูปแบบสหภาพแรงงาน เหมือนเฉกเช่นชนชั้นนายทุน พวกอำมาตย์ ที่รวมตัวในนาม สมาคมนายจ้าง สมาคมธนาคาร สมาคมหอการค้า ฯลฯ

การจัดตั้งสหภาพแรงงานของกรรมกร เป็นโรงเรียนประชาธิปไตยในการจัดการชีวิตของกรรมกรที่ไม่ให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบ 
 
"กรรมกร" ได้เรียนรู้ว่าผู้นำของพวกเขาในการต่อสู้เพื่อไม่ให้นายทุนกดขี่ต้องมาจากการเลือกตั้งของพวกเขาเองมิใช่นนายทุนแต่งตั้งให้ กรรมการสหภาพแรงงานต้องมีวาระตำแหน่งในการบริหารสหภาพแรงงานที่แน่นอนว่ากี่ปี ต้องประกาศเจตนารม มีนโยบาย มีเป้าหมายให้พวกเขาชัดเจนว่าจะนำพาสหภาพแรงงานไปทางไหน  เมื่อใดก็ตามที่สหภาพเดินผิดทิศผิดทางเมื่อนั้น พวกเขาก็มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนผู้นำไม่เลือกคนประเภทนี้อีกได้

เฉกเช่นเดียว กับการเมืองระดับชาติ ที่กรรมกรต้องส่งเสริมประชาธิปไตย ต้องแดง เพื่อสิทธิของกรรมกรที่ต้องต่อสู้กับทุนและรัฐในระดับนโยบาย เช่น การแก้ไขกฎหมายแรงงานที่ล้าหลัง การมีกฎหมายความปลอดภัยในที่ทำงาน การมีสวัสดิการของคนงาน การนโยบายมีค่าจ้างที่เป็นธรรม ฯลฯ และที่สำคัญต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ทั้งฉบับ และให้กรรมกรมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนทุกระดับในพื้นที่ที่พกวเขาทำงานหรือในสถานที่ประกอบการ เพื่อให้กรรมกรมีสิทธิเลือกผู้แทนทุกระดับ และต่อรองเสนอนโยบายกับผู้แทนของตนเองได้ มิใช่ต้องกลับบ้านไปเลือกตั้งต่างจังหวัดทั้งๆที่ชีวิตทั้งชีวิตพวกเขาไม่ได้อยู่บ้านภูมิลำเนาเดิมแล้ว
 
บทเรียนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็ได้บอกให้ "กรรมกร" รู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง กรรมกรมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวเพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อความเป็นธรรมในสังคม เงื่อนไขที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีสูง เช่น  หลัง 14 ตุลาคม 2516 มีกฎหมายแรงงานรองรับสิทธิกรรมกร  หรือกฎหมายประกันสังคม ก็คลอดในยุคนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหวัณที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อใดก็ตามที่อำนาจเผด็จการอำมาตย์ทหารครอบงำสังคมไทย เมื่อนั้น "กรรมกร" ต้องถูกกำจัดสิทธิเสรีภาพที่พึงมี เช่น ภายหลังคณะรัฐประหารรสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุณ ได้ออกกฎหมายยกเลิกพรบ.รัฐวิสาหกิจเพื่อกีดกันมิให้บทบาทสหภาพรัฐวิสาหกิจในการหนุนช่วยแรงงานพื้นฐาน

ปัจจุบัน ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐบาลอำมาตย์อภิสิทธิ์ ก็ได้ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียงทำลายโสตประสาทการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ตลอดทั้งล่าสุดได้มีนโยบายจัดระเบียบสหภาพแรงงานหรือลิดรอนสิทธิของกรรมกรอีกแบบหนึ่งนั้นเอง 

การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย จึงมิใช่เรื่องไกลตัวจากเรื่องชีวิต "กรรมกร" แต่อย่างใด เป็นภาระกิจทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของ "กรรมกร" เหมือนเช่น คนรากหญ้าในชนบท ผู้รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน
และมีแต่สังคมที่มีประชาธิปไตยและเสรีภาพเท่านั้น เป็นเงื่อนไขสำคัญให้การเติบโตของพลังชนชั้นกรรมกรได้อย่างกว้างใหญ่ไพศาลและเข้มแข็งได้

 "กรรมกร" จึงต้อง "แดง" มิใช่ "เหลือง"

"กรรมกร" จึงต้องรัก "ประชาธิปไตย" มิใช่ สยบยอมเป็นทาสต่อ "อำมาตยาธิปไตย"

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net