Skip to main content
sharethis
 
เมื่อวันที่ 16 ก.พ.53  อาจารย์จาก 28 สถาบันร่วมลงชื่อคัดค้านระบบประกันคุณภาพใหม่ “TQF” ของ สกอ. ระบุเป็นเครื่องมือรัฐแทรกแซงอุดมศึกษา ไม่สอดคล้องธรรมชาติสายสังคมศาสตร์ เรียกร้องภาครัฐทบทวนด่วน
อ่านรายละเอียดด้านล่าง
0000
 
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) กับวิกฤตมหาวิทยาลัยไทย
สาส์นจากคณาจารย์ 400 คน ถึง สกอ.
 
ผู้ร่วมลงนามในสาส์นถึง สกอ.ฉบับนี้ ประกอบด้วยคณาจารย์จำนวน 372 คน จาก 28 สถาบันทั่วประเทศ เช่น ศ.อานันท์ กาญจนพันธุ์, ศ.ยศ สันตสมบัติ, รศ.สุวรรณา-รศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, รศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, รศ.เกษียร เตชะพีระ, รศ.สายชล-รศ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์, รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, รศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง, รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, รศ.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์, รศ.ตรีศิลป์ บุญขจร, รศ.กฤติยา อาชวณิชกุล, และอ.ศรีประภา เพชรมีศรี เป็นต้น สำหรับผู้สนใจ สามารถดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ http://virtualdialogue.wordpress.com/
 
การปฏิรูปการศึกษาด้วยการผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี 2512 และปรากฎเป็นรูปธรรมนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงขึ้นกับการบริหารอุดมศึกษาไทย การยุบทบวงมหาวิทยาลัยในปี 2546 ติดตามมาด้วยการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างและควบคุมมาตรฐานของอุดมศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เพื่อควบคุมกำกับนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับอุดมศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางและเป้าหมายของมหาวิทยาลัยไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในปี 2552 สกอ.ได้ประกาศให้มหาวิทยาลัย 9 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติขึ้นตามระบบการจัดลำดับมหาวิทยาลัย ของหนังสือพิมพ์อังกฤษ Times Higher Education Supplement โดยกำหนดให้ “มหาวิทยาลัยชั้นนำ” ดังกล่าวเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้า นโยบายนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ไม่เพียงบีบให้มหาวิทยาลัยต้องแข่งขันกันเองเพื่อพยายามถีบตนให้อยู่ในแถวหน้าอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษา “ความเป็นเลิศทางวิชาการ” เหนือกว่าผู้อื่น หากแต่ยังผลักให้อุดมศึกษาไทยต้องแปรสภาพเป็นบริษัทธุรกิจที่แข่งกัน “ผลิตสินค้าวิชาการ” มาขายในตลาดนานาชาติ ด้วยการเพิ่มความถี่ในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติ และทุ่มทุนโฆษณาเพื่อเพิ่มเรตติ้งชื่อเสียงของตนเองในระดับสากล
 
นโยบายการแข่งขันอันเข้มข้น ได้ดำเนินควบคู่ไปกับการเพิ่มแรงกดดันในการประเมินการทำงาน และผลงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ด้วยคำพูดสวยหรูว่าเป็น “การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา” มีการกำหนดให้หน่วยงานอื่นๆของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา (สมศ. ) และสำนักงานพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ทำหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้แน่ใจว่าดำเนินในแนวทางที่ตอบสนอง ต่อตลาดมากที่สุด มีการกรอกแบบประเมินการทำงานและจัดหาข้อมูลอย่างละเอียดยิบย่อยให้กับหน่วยงานเหล่านี้ปีละหลายครั้ง หลายรอบ และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่สิ้นสุด สิ้นเปลืองเวลาที่ควรใช้เพื่อการสอนและวิจัย

ล่าสุด สกอ.ได้ประกาศใช้เครื่องมืออันใหม่ เรียกว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thailand Qualification Framework หรือ TQF) สกอ.ได้บรรยายสรรพคุณของ TQF ไว้อย่างสวยหรู ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและประกันคุณภาพและมาตรฐานการวัดการศึกษา อันเน้นการวัดผลการเรียนรู้ (learning outcomes) เป็นสำคัญ เพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต และสร้างหลัก ประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาให้คุณวุฒิและปริญญาของอุดม ศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงได้กับสถาบันในต่างประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว TQF นั้นกลับทำหน้าที่ได้เพียงประการเดียวเท่านั้น กล่าวคือเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการติดตาม ตรวจสอบการทำงานของอาจารย์ที่ถี่ยิบ และลึกลงไปถึงระดับรายวิชา ผ่านระบบการเขียนรายงาน เครื่องมือดังกล่าว หากมีการนำมาปฏิบัติ จะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อบุคลากรในอุดมศึกษา เพราะไม่เพียงแต่ผู้บริหารเท่านั้น ที่จะต้องเขียนรายงานการประเมินให้กับหน่วยงานภายนอก แต่อาจารย์ทุกคนต้องรับภาระนี้เข้าเป็นกิจวัตรประจำวัน เพราะต้องส่งรายงานที่มีความถี่อย่างยิ่ง ต้องเขียนทุกวิชา และในทุกภาคการศึกษา เคยมีผู้ประเมินว่าหากมีการบังคับใช้จริง เฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งเดียว จะต้องป้อนข้อมูลให้กับ สกอ.ถึงปีละไม่ต่ำกว่า 5 แสนแผ่น!
 
สกอ. อ้างว่า TQF จะช่วยสร้างมาตรฐาน (standard) ให้กับอุดมศึกษา และลดระเบียบขั้นตอนการบริหารลง (deregulation) แต่ในความเป็นจริงแล้ว TQF กลับเป็นเครื่องมือในการสร้าง มาตรฐานเดี่ยวและบังคับใช้เหมือนกันหมด (standardization) โดยสกอ.ได้ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า มคอ. 1-7 (มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา 1-7) เพื่อเป็นทั้งข้อผูกมัดให้มหาวิทยาลัยปฏิบัติตาม เป็นแบบฟอร์มที่เข้มงวด เต็มไปด้วยรายละเอียดจำนวนมากให้กรอกกันถ้วนหน้า มคอ. 1 ยังได้ ถูกใช้เป็นทั้งกรอบสัญญาที่ผูกมัดมหาวิทยาลัยให้ดำเนินตามระเบียบใหม่ของสกอ.อย่างเคร่งครัด โดยมีบทลงโทษที่ชัดเจน หากหลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินของสกอ. หรือไม่สามารถรักษาระดับคะแนนเฉลี่ยที่ดีต่อเนื่องกันสองปี ก็จะไม่ได้รับการรับรองและเผยแพร่หลักสูตรจากสกอ. หรือถูกถอดออกจากการรับรองคุณภาพได้
 
ปัญหาของ TQF ไม่ได้มีเพียงแบบฟอร์มจำนวนมหาศาลที่ต้องกรอกกันอย่างเป็นบ้าเป็นเป็นหลังเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่เนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างละเอียดถี่ยิบ แต่กลับเป็นเนื้อหาที่เน้นเทคนิคการจัดการ บนฐานคิดของการเรียนการสอนแบบประถมศึกษา ที่ควบคุมการวางแผนและการเรียนการสอนอย่างยิบย่อย แต่กลับไม่มีที่ใดเลยที่สะท้อนการวัดคุณภาพการศึกษาในเชิงความคิด ปัญญา และความสร้างสรรค์ อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
 
นอกจากนี้ หลักสูตรต่างๆ ยังถูกบังคับให้ต้องเพิ่มสิ่งที่เรียกว่าคุณธรรม จริยธรรม และการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าไปเป็นเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จ โดยกรอบดังกล่าวมีความโน้มเอียงไปในทางเทคโนโลยีและวิชาชีพบางด้านอย่างเห็นได้ชัด แต่กลับถูกบังคับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขาวิชาทั่วประเทศ การบังคับใช้กรอบการวัดผลการเรียนรู้ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างและหลากหลายของสาขาวิชาการของ TQF ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนในสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ที่ความรู้และความเป็นอิสระในการสร้างความคิดเชิงสร้างสรรค์จะต้องถูกปิดกั้นและขัดขวางด้วยกรอบที่ขาดความยืดหยุ่น และไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาการในด้านนี้
 
TQF จึงไม่ใช่เครื่องมือในการประกันคุณภาพอย่างที่มักกล่าวอ้างกัน หากแต่เป็นกระบวน การแทรกแซงของรัฐเพื่อควบคุมอุดมศึกษา แม้สกอ.จะอ้างว่าการสร้าง TQF ขึ้นมา ก็เพื่อใช้ในการควบคุมมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ย่อหย่อนในเรื่องมาตรฐาน แต่การใช้เครื่องมือที่ไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องมาตรฐานได้แต่อย่างใด ด้วยการเหวี่ยงแหอย่างเหมารวม ภายใต้กระบวนการที่ขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนวิชาการต่างๆ ย่อมก่อให้เกิดข้อกังขาต่อความถูกต้องและชอบธรรมของสกอ. ขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรวมศูนย์อำนาจ การประเมินที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพอื่นๆ การลิดรอนเสรีภาพในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนตามธรรมชาติของสถาบันและสาขาวิชาต่างๆ การแปรสภาพอาจารย์ให้เป็นดั่งแรงงานผลิตสินค้า ที่ต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียดผ่านระบบรายงาน เฉกเช่นดังการตอกบัตรเข้าโรงงาน ปัญหาเหล่านี้ล้วนสวนทางโดยสิ้นเชิงกับเจตนารมณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่พึงมีเสรีภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาวิชาการที่ตอบสนองต่อสังคมอันแตกต่างและหลากหลาย
 
นับตั้งแต่เริ่มประกาศใช้ TQF เป็นต้นมา คำถามที่มีต่อ TQF และบทบาทของสกอ. ได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงและเคลื่อนไหวในหลายมหาวิทยาลัย ที่ทวีความร้อนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งๆที่พวกเราตระหนักดีว่า ถ้ามหาวิทยาลัยยังต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากภาษีอากรของราษฎร การสร้างระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของพวกเรา และการรักษามาตรฐาน ย่อมมีความชอบธรรม แต่การที่สกอ.ใช้อำนาจกดดันบุคลากรของมหาวิทยาลัยด้วยพันธนาการเชิงเทคนิคเช่น TQF นี้ เป็นสิ่งที่ยากที่จะยอมรับได้
 
พวกเราคณาจารย์ดังที่ปรากฎรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยปฏิเสธเครื่องมือพันธการชิ้นนี้ และขอเรียกร้องให้สกอ. ทบทวนเครื่องมือของตน เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมวิชาการตามหลักการมีส่วนร่วม, คำนึงถึงความหลากหลายของวงวิชาการ และยุติการบังคับใช้ TQF เสีย ก่อนที่เครื่องมือดังกล่าวจะกลายเป็นชนวนแห่งวิกฤตอุดมศึกษาไทยขึ้นมาจริงๆ
 
 
รายชื่อคณาจารย์ผู้ร่วมคัดค้าน TQF จำนวน 372 คน (และเพิ่มเติมเป็น 400 คน)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 104 คน

1.อานันท์ กาญจนพันธุ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
2.ยศ สันตสมบัติ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
3.จามะรี เชียงทอง สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
4.วัฒนา สุกัณศีล สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
5.ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
6.ภุทชงค์ กุณฑลบุตร สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
7.ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
8.สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
9.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
10.ขวัญชีวัน บัวแดง สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
11.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
12.อรัญญา ศิริผล สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
13.วสันต์ ปัญญาแก้ว สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
14.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
15.รังสรรค์ ประทุมวรรณ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
16.ทัศนีย์ ปุวรัตน์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
17.วิระดา สมสวัสดิ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
18.ฉลาดชาย รมิตานนท์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
19.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
20.สายชล สัตยานุรักษ์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
21.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
22.ศิริพร ชัยศรี วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
23.ชาญกิจ คันฉ่อง วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
24.กุลิสรา กฤตวรกาญจน์ การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
25.เทพฤทธิ์ มณีกุล การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
26.สุนันทา แย้มทัพ การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
27.ลัดดาวัลย์ อินทรสูตร การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
28.ศศิกานต์ ลิมปิติ การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
29.ประกาศิษย์ พรหมกิ่งแก้ว การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
30.นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล การสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
31.ชูศักดิ์ วิทยาภัค สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
32.สัณฐิตา กาญจนพันธุ์ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
33.อัจฉรา วัฒนภิญโญ สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
34.ศุทธินี ดนตรี สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
35.เสน่ห์ ญาณสาร สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
36.ลิวา ผาดไธสง-ชัยพานิช สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
37.จิระ ปรังเขียว สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
38.ชัยกฤต ม้าลำพอง สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
39.อริศรา เจริญปัญญาเนตร สังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
40.ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
41.ศศิธร ไชยประสิทธิ์ ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
42.อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
43.ธิดาวรรณ วะสีนนท์ ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
44.วิชัย วิวัฒนคุณูปการ ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
45.ชาตรี เรืองเดชณรงค์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
46.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
47.กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
48.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
49.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
50.วรวิทยฺ เจริญเลิศ เศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
51.สมเกียรติ ตั้งนะโม วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
52.กันต์ พูนพิพัฒน์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
53.จรัญศักดิ์ ลอยมี วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
54.อัษฎา โปราณานนท์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
55.โฆษิต จันทรทิพย์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
56.ทัศนัย เศรษฐเสรี วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
57.วีระพันธ์ จันทร์หอม วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
58.อุทิศ อะติมานะ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
59.อารยา ราษฎร์จําเริญสุข วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
60.มรกต เกษเกล้า วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
61.วรรณชัย วงษ์ตระการ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
62.อุดม ฉิมภักดี วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
63.ศุภชัย ศาสตร์สาระ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
64.จิตรลดา บุรพรัตน์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
65.เพ็ญ ภัคตะ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
66.สุทธิศักดิ์ ภูธรารักษ์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
67.อำนวย กัณฑอินทร์ วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
68.ยุพา มหามาตร วิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
69.พลอย ศรี โปราณานนท์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
70. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
71. ธเนศวร์ เจริญเมือง รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
72.ราม โชติคุต รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
73. เอกกมล สายจันทร์ รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
74. วรรณภา ลีระศิริ รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
75. ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
76.อโณทัย วัฒนาพร รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
77. จันทนา สุทธิจารี รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
78.จันท์จุฑา สุขขี รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
79. อัจฉรา บรรจงประเสริฐ รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
80.มาลินี คุ้มสุภา รัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
81. เฉลิมพล คงจิตต์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ม.เชียงใหม่
82.ชำนาญ จันทร์เรือง วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
83.ชัชวาลย์ ปุณปัน วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
84. ปราณี วงศ์จำรัส วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
85.อำพล วงศ์จำรัส วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
86. นงเยาว์ เนาวรัตน์ ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
87. สมโชติ อ๋องสกุล ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
88.ศิวรักษ์ ศิวารมย์ ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
89.ยงยุทธ เรือนทา เภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่
90.ปัตย์ ศรีอรุณ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
91.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
92.นฤมล ธีรวัฒน์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
93.สุมาลี คุ้มไชยวงศ์ ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
94.อรรณพ พงศ์วาท ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
95.วารุณี ฟองแก้ว พยาบาลศาสตร์ ม.เชียงใหม่
96.บุญเกตุ ฟองแก้ว วิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
97.สุวิทย์ อริยชัยกูล เทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่
98.พรพิมล ตั้งชัยสิน แพทย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่
99.บุปผา อนันต์สุชาติกุล ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
100.มาลี สิทธิเกรียงไกร สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
101.ปนัดดา บุญยสรนัย สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
102.จิราพร วิทยศักดิ์พันธ์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
103.สมพงษ์ วิทยาศักดิ์พันธ์ มนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
104.ฉัตรโชติ ธิตาราม สัตวแพทย์ ม.เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 55 คน
105.กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
106.กมล บุษบา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
107.กิตติ ประเสริฐสุข รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
108.เกษียร เตชะพีระ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
109.โขมสี แสนจิตต์ วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์
110.จันทนี เจริญศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
111.จิราภา วรเสียงสุข สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
112.จิตศจี พิบูลนครินทร์ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
113.จุฬาพร เอื้อรักสกุล วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์
114.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
115.ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
116.ชยันต์ ตันติวัสดาการ เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
117.ชินนะพงษ์ บำรุงทรัพย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
118.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
119.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
120.ดวงมณี เลาวกุล เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
121.ดวงใจ หล่อธนวณิชย์ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
122.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
123.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
124.ธีรพจน์ ศิริจันทร์ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
125.ธีระ สินเดชารักษ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
126.นภาพร อติวานิชยพงศ์ บัณฑิตศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
127.นลินี ตันธุวนิตย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
128.นันทนา รณเกียรติ วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์
129.ปกป้อง จันวิทย์ เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
130.ปณิธี สุขสมบูรณ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
131.บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
132.พจนก กาญจนจันทร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
133.พรชัย ตระกูลวรานนท์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
134.พรทิพย์ เนติภารัตนกุล สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
135.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
136.พิเชฐ สายพันธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
137.ภวิดา ปานะนนท์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
138.มนตรี สืบด้วง  ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
139.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
140.รัตนา โตสกุล สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
141.รุจี ยุวดี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
142.วสันต์ เหลืองประภัสร์ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
143.วาสนา ละอองปลิว วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์
144.วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์
145.วิลาสินี พนานครทรัพย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
146.วิศรุต พึ่งสุนทร ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
147.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
148.ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
149.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
150.สิริพรรณ ศรีมีชัย สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
151.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
152.สุพัชรจิต จิตประไพ วิทยาลัยนวัตกรรม ม. ธรรมศาสตร์
153.อดิศร หมวกพิมาย  ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
154.อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
155.อภิญญา บัคคาลา อรุณนภาพร วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์
156.อรยา สูตะบุตร ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
157.อรศรี งามวิทยาพงศ์ บัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
158.อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภ ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
159.อรอุมา เตพละกุล สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร 44 คน
160.โกวิท แก้วสุวรรณ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
161.คนอง รัตนคร เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
162.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
163.คนาวรรณ พจนาคม เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
164.ชาญณรงค์ บุญหนุน อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
165.ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
166.ชนกพรหม์ สุคนธ์พันธุ์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
167.เชษฐา พวงหัตถ์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
168.ตะวัน วรรณรัตน์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
169.ทรงยศ แววหงส์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
170.ธนาวิ โชติประดิษฐ โบราณคดี ม.ศิลปากร
171.นัฐวุฒิ สิงห์กุล โบราณคดี ม.ศิลปากร
172.นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
173.นลินี พูลทรัพย์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
174.นุชนาฏ กิจเจริญ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
175.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
176.ประสพชัย พสุนนท์ วิทยาการจัดการ ม.ศิลปากร
177.ปรารถนา จันทรุพันธุ์ โบราณคดี ม.ศิลปากร
178.ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
179.ปัทมวรรณ เผือกผ่อง เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
180.พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
181.พิพัฒน์ สุยะ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
182.พีรยศ ภมรศิลปธรรม เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
183.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง โบราณคดี ม.ศิลปากร
184.ภาสกร อินทุมาร อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
185.เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ เภสัชศาสตร์ม.ศิลปากร
186.รัศมี ชูทรงเดช โบราณคดี ม.ศิลปากร
187.ศศิธร ศิลป์วุฒยา โบราณคดี ม.ศิลปากร
188.ศากุน ภักดีคำ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
189.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ โบราณคดี ม.ศิลปากร
190.ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง โบราณคดี ม.ศิลปากร
191.สรรเสริญ สันติวงศ์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
192.สราวุท ตันณีกุล อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
193.สายัณห์ แดงกลม โบราณคดี ม.ศิลปากร
194.สุนัย ครองยุทธ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
195.สุรวุฒิ วัฒนา  เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
196.สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
197.ศาสวัต บุญศรี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร
198.วราภรณ์ ศกศวัตเมฆินทร์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
199.อมรรัตน์ ไชยเดชกำจร เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
200.เอกสุดา สิงห์ลำพอง โบราณคดี ม.ศิลปากร
201.อุเทน วงศ์สถิตย์ โบราณคดี ม.ศิลปากร
202.อรอุมา โต๊ะยามา เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
203.อุทัย โสธนะพันธุ์ เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30 คน
204.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
205.เกษม เพ็ญภินันท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
206.จักรพร สุวรรณนคร สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
207.จาตุรี ติงศภัทิย์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
208.จิตติชัย รุจนกนกนาฏ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
209.จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
210.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
211.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
212.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
213.ตรีศิลป์ บุญขจร อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
214.ทอแสง เชาว์ชุติ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
215.ธนาพล ลิ่มอภิชาต  อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
216.นฤมล ทับจุมพล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
217.นิติ ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
218.เนื่องน้อย บุณยเนตร อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
219.ปรานี ทิพย์รัตน์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
220.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
221.วรศักดิ์ มหัทธโนบล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
222.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
223.วิลลา วิลัยทอง อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
224.วีระ สมบูรณ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
225.ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
226.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
227.สุกรี สนธุภิญโญ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
228.สุวิมล รุ่งเจริญ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
229.สุภัควดี อมาตยกุล อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
230.สุทธิพันธ์ จิราธิวัธน์ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
231.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
232.สุรัตน์ โหราชัยกุล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
233.สุวรรณา สถาอานันท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล 17 คน
234.กฤติยา อาชวณิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
235.เกรียงศักดิ์โรจน์คุรีเสถียร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
236.งามศุกร์ รัตนเสถียร ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
237.ชาย โพธิสิตา สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล
238.ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
239.ปกรณ์ สิงห์สุริยา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
240.พิมพาวรรณ บุญมงคล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
241.ลือชัย ศรีเงินยวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
242.วราภรณ์ แช่มสนิท ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาฯ ม.มหิดล
243.สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล
244.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล
245.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล
246.ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาฯ ม.มหิดล
247.อรทัย อาจอ่ำ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
248.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล
249.อารี จำปากลาย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
250.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล

มหาวิทยาลัยเกริก 13 คน

251.ประคอง สุคนธจิตต์ บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
252.ชลลดา สังวาลทรัพย์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
253.บัญชา อ่อนวิมล ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
254.ปัทฐวรรณ อ่วมศรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
255.พิกุลทอง หงษ์หิน บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
256.เพ็ญพรรณ ชูติวิศูทธิ์ บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
257.ธนศักดิ์ สายจำปา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
258.นิตย์ สัมมาพันธ์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
259.เยาวรัตน์ พูลมหัจจะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยายาลัยเกริก
260.วิโรจน์ มานะมั่นชัยพร บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
261.วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
262.สนอง ดีประดิษฐ์ บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก
263.อนันต์ บุญสนอง บริหารธุรกิจ มหาวิทยายาลัยเกริก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลอีสาน 8 คน

264.ปรีชา หอยสังข์ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
265.ผศ. วิโรจน์ ลิ้มไขแสง วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
266.อภิสิทธิ์ ใสยิด วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
267.ชาคริต นวลฉิมพลี วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
268.ทักษ์กมนต์ วิจักษณ์ธนาวุฒิ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
269.ศุภปิยะ สิระนันท์ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
270.อ สุกัญญา นิลม่วง วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
271.รพีพงศ์ เปี่ยมสุวรรณ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 18 คน
272.กัลยา นิติเรืองจรัส วิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
273.ชนุวรรณ เพชรกล้า มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินร์
274.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์
275.ดารารัตน์ แซ่ลี้ วิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
276.นาวิน วรรณเวช มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
277.เมตตา กูนิง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลาฯ
278.รัตติกานต์ แซ่ลิ่ม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์
279.ลัดดา ปรีชาวีรกุล วิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
280.วรรณนะ หนูหมื่น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
281.อรุณศรี ชาญสมุห์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
282.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์
283.ณปรัชญ์ บุญวาศ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
284.วีระพงศ์ ยศบุญเรือง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
285.ลัดดา ปรีชาวีรกุล วิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
286.ภมรี สุรเกียรติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
287.แววตา สุขนันตพงศ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
288.ศุภศิริ หงส์ฤทธิพันธุ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
289. สุรัยยา สุไลมาน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลาฯ
290.อ.บัณฑิต ไกรวิจิตร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 9 คน
291.กนิษฐา ชิตช่าง สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
292.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
293.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
294.จิรบดี เตชะเสน สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
295.พรภิรมณ์ เชียงกูล สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
296.ไพลิน กิตติเสรีชัย สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
297.วรภัทร รัตนพาณิชย์ สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
298.อรนันท์ กลันทปุระ สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
299.สากล สถิตวิทยานันท์ สังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 คน

300.กีรติพร ศรีธัญรัตน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
301.เกวลิน ปวบุญสิริวงศ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
302.แก้วตา จันทรานุสรณ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
303.จักรพันธ์ ขัดชุมแสง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
304.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
305.เทพพร มังธานี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
306.บัวพันธ์ พรหมพักพิง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
307.ธนนันท์ บุ่นวรรณา  มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
308.ประพันธ์พงศ์ จงปติยัตต์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
309.ปิ่นปินัทธ์ เผือกพันธ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
310.พุทธรักษ์ ปราบนอก มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
311.ฟ้ารุ่ง มีอุดร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
312.มณีมัย ทองอยู่ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
313.มานะ นาคำ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
314.วิภาวี กฤษณะภูติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
315.วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
316.สมใจ ศรีหล้า มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
317.สุรนาท ขมะณรงค์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
318.สำเริง จันทรสุวรรณ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น

มหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนครศรีอยุธยา 3 คน

319.คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎ พระนครศรีอยุธยา
320.สมชาย ศรีสันต์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎ พระนครศรีอยุธยา
321.ศิริณา จิตต์จรัส มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยราชภัฎ วไลยอลงกรณ์ 1 คน
322.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ม.ราชภัฏ วไลยอลงกรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนดุสิต 2 คน

323.สุรพศ ทวีศักดิ์ ม.ราชภัฏ สวนดุสิต
324.ณฐิญาณ์ งามขำ ม.ราชภัฏ สวนดุสิต

มหาวิทยาลัยราชภัฎ เพชรบุรี 1 คน

325.ปิยชาติ สึงตี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏ เพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงใหม่ 2 คน

326.เปรมวดี กิรวาที มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎ เชียงใหม่
327.ลัดดา ประสพสมบัติ มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎ เชียงใหม่

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 11 คน

328.จักเรศ อิฐรัตน์ ศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
329.กนกวรรณ ชื่นชูใจ รัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ
330.กนกวรรณ มะโนรมย์ ศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
331.ธวัช มณีผ่อง ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
332.ธีระพล อันมัย ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
333.พฤกษ์ เถาถวิล ศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
334.พลวิเชียร ภูกองไชย ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
335.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
336.สมหมาย ชินนาค ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
337.เสนาะ เจริญพร ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
338.วิเชียร อันประเสริฐ ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 คน

339.คู่บุญ จารุมณี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
340.วยุพา ทศศะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
341.อภิราดี จันทร์แสง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
342.พรรณิกา ฉายากุล มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
343.อุศนา นาศรีเคน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
344.ศศิประภา จันทะวงศ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

มหาวิทยาลัยทักษิณ 9 คน

345.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
346.อดิศร ศักดิ์สูง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
347. ศุภการ สิริไพศาล มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
348. อภิเซษฐ์ กาญจนดิฐ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
349.พรชัย นาคสีทอง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
350.มณีรัตน์ มิตรปราสาท มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
351.ปาริฉัตร ตู้ดำ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
352.ชลลดา แสงมณี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
353.จำนงค์ แรกพินิจ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 2 คน

354.จิราวัลย์ จิตรถเวช สถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
355.สำรวม จงเจริญ สถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
มหาวิทยาลัยบูรพา 2 คน
356.พัชราภา ตันตราจิน รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
357.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา

มหาวิทยาลัยพายัพ 2 คน

358.สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ ม.พายัพ
359.ภัทมัย อินทจักร นิเทศศาสตร์ ม.พายัพ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 6 คน

360.สาวิตรี พิสณุพงศ์ สังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
361.มรกต ไมยเออร์ สังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
362.สัญญา ชีวะประเสริฐ  สังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
363.สุรพล จรรยากูล สังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
364.ล่ำสัน เลิศกูลประหยัด สังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

มหาวิทยาลัยหอการค้า 1 คน

365.สัญญา ภู่แก้วเผือก สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป มนุษยศาสตร์ ม.หอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 คน

366.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

มหาวิทยาลัยนเรศวร 2 คน

367.อัจฉริยา เนตรเชย สังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
368.ณัฏฐิมา มากชู ศิลปศาสตร์ ม.นเรศวร

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 คน

369.สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล ศิลปศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยรังสิต 1 คน

370.ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์ นิเทศศาสตร์ ม.รังสิต
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 คน
371.ทวีศักดิ์ เผือกสม ศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
เพิ่มเติม
372. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์
373. ประภากรณ์ แสงวิจิตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
374. วันรัก สุวรรณวัฒนา ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
375. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
376. รศ.ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
377. รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
378. รศ.คูณ โทขันธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
379. อ.กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
380. อ.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
381. สุวัสดี โภชน์พันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
382. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
383. ปิยะรัตน์ โพธิ์ย้อย ราชมงคลสุวรรณภูมิ
384. ศิวริน เลิศภูษิต(อาจารย์) วิทยาลัยสหวิทยาการ ธรรมศาสตร์
385. สุภาภรณ์ สุวรรณโอภาส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
386. เสาวภา โชติสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
387. จรีรัตน์ ธรรมเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
388. อนรรฆ พลชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
389. ยุพดี ชัยสุขสันต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
390. อุไรวรรณ ชุนวันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
391. ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
392. ธนากร จันทสุบรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
393. แวอาแซ แวหามะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
394. โรมรัน ชูศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
395. โสภา เชี่ยวชาญวุฒิวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
396. วีรยา คุ้มเมือง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
397. เนตรนภิส อ๋องสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
398. วราภรณ์ คีรีพัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
399. วนิดา เจียรกุลประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
400. วันเพ็ญ มาเกล้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net