Skip to main content
sharethis

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้รุนแรงบานปลายได้ แต่คนกรุงก็ไม่เอารัฐประหาร

20 ก.พ. 53 - ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้รุนแรงบานปลายได้ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารแม้เหตุการณ์ความขัดแย้งจะรุนแรงบานปลายถึงขั้นนองเลือด โดยสิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุดหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ คือการที่คนไทยเลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยุติบทบาทแทรกแซงการเมืองดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
 
1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงในการควบคุมสถานการณ์ช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้รุนแรงบานปลาย

เชื่อมั่น  
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 11.3 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 32.5)  
ร้อยละ  43.8
ไม่เชื่อมั่น
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 17.5 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 38.7)
ร้อยละ   56.2
 
2. ความเห็นต่อทางออกโดยการทำรัฐประหาร ในกรณีที่เหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายถึงขั้นนองเลือด
 

เห็นด้วย
ร้อยละ   15.1
ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ   64.4
ไม่แน่ใจ/ไม่แสดงความเห็น
ร้อยละ  20.5
                                   
3. สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุด (5 อันดับแรก) หากมีเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงตัดสินคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านของ พ.ต.ท. ทักษิณ

อันดับ 1 ห่วงความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน
ร้อยละ 34.1
อันดับ 2 ห่วงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว   
ร้อยละ 23.5
อันดับ 3 ห่วงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ร้อยละ 20.7       
อันดับ 4 ห่วงภาพลักษณ์ของประเทศไทย     
ร้อยละ 10.9
อันดับ 5 ห่วงการเผชิญหน้าและการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่   
ร้อยละ 8.8
 
4. สิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุด หลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ คือ

คนไทยเลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยุติบทบาทแทรกแซงทางการเมือง
ร้อยละ 43.4
ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่    
ร้อยละ 30.7
พ.ต.ท. ทักษิณ ยอมรับในคำตัดสินของศาลและกลุ่มเสื้อแดงสลายการชุมนุม
ร้อยละ 25.9       
 
อนึ่งการสำรวจครั้งนี้ ใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สายไหม และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,250 คน เป็นชายร้อยละ 48.3 และหญิงร้อยละ 51.7

                                                                      

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net