Skip to main content
sharethis

เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคมของทุกปี กลุ่มคนซึ่งประกอบด้วยชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักปฎิบัติการทางสังคม นักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน กลุ่มและองค์กรประชาสังคมต่างๆ รวมตัวกันสร้างเครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขง ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยต้องทบทวนท่าทีต่อรัฐบาลจีนกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

โดยรัฐบาลไทยจะต้องหารือกับรัฐบาลลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างอีกสี่ประเทศในการทำให้ประเทศจีนเปิดเผยข้อมูลการจัดการเขื่อนบนแม่น้ำลานซางแก่สาธารณะ เพื่อแสดงความจริงใจต่อการจัดการแม่น้ำระหว่างประเทศร่วมกัน มิใช่เพียงการออกมาโต้แย้งปฏิเสธความรับผิดชอบว่าเขื่อนจีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความแห้งแล้ง ในขณะที่ยังคงปิดบังข้อมูลการจัดการเขื่อนต่อไป

รวมถึงให้รัฐบาลยุติโครงก่อการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา และจะต้องไม่ใช้วิกฤตความแห้งแล้งมาเป็นข้ออ้างในการผลักดันเขื่อนดังกล่าว รวมทั้งให้ทบทวนแผนพัฒนาพลังงานให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ให้สาธารณะได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอและทันท่วงที เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมาต้องได้รับการชดเชยค่าเสียหายย้อนหลังอย่างเป็นธรรม

 

000000

แถลงการณ์
วันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคม 2553
“แม่น้ำโขงต้องไหลอิสระ”

ท่ามกลางภาวการณ์ที่โลกกำลังถูกคุกคามด้วยวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหารกำลังถูกท้าทาย สงครามการแย่งชิงทรัพยากรถูกคาดการณ์และทำนาย การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งทำลายล้างระบบนิเวศ และเป็นต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในนามของการพัฒนา คือ การปูทางให้มวลมนุษยชาติเดินหน้าสู่หุบเหวข้างต้นอย่างแข็งขัน

ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเหนืออื่นใด ประสบการณ์อันเจ็บปวดของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนชี้ให้เห็นอย่างหนักแน่นว่ายังไม่มีมาตรการใดสามารถลดผลกระทบจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับการประมง ซึ่งเป็นรากฐานของการเลี้ยงปากท้อง หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชุมชนริมน้ำ ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ร่วมสมัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า หากความแห้งแล้งมาเยือน น้ำเหือด ไฟฟ้าไม่อาจจะผลิตได้ หน้าที่เดียวที่เขื่อนยังเหลืออยู่ คือ ช่วยกระหน่ำซ้ำเติมวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ให้รุนแรงและเลวร้ายยิ่งขึ้น หากมิได้จงใจหลับตาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง นี่คือข้อเท็จจริงที่นักวางนโยบายด้านพลังงานต่างมืดบอด สุดปัญญาที่จะตระหนักรู้:

เขื่อนคือ หายนะของการพัฒนา
แม่น้ำโขง--แม่แห่งธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 60 ล้านคนกำลังถูกคุกคามด้วยแผนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตไฟฟ้า ที่ผ่านมารัฐบาลไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายทุนนักสร้างเขื่อน ต่างผลักดันให้แผนดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยใช้เหตุผลเรื่อง การสนองตอบความต้องการพลังงานไฟฟ้า ‘ของประเทศ’ ที่กำลังขยายตัว หรือหากพูดให้แม่นยำมากขึ้น ตีขลุมน้อยลง คือ เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเมือง ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังหิวกระหายพลังงาน โดยไม่นำพาต่อต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงมาตลอดทั้งชีวิต

ผลประโยชน์การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่มักถูกใช้พรรณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) ว่า เขื่อนจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้ง และป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ได้ถูกทำให้ประจักษ์แจ้งว่าเป็นเพียงคำโฆษณาอันเลื่อนลอย จากเหตุการน้ำท่วมใหญ่ในเดือนสิงหาคม ปี 2551 และในวันนี้ ภาวะความแห้งแล้งอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ของแม่น้ำโขง กลับทำให้เขื่อนจีนบนแม่น้ำลานซาง (แม่น้ำโขงตอนบน) ตกเป็นจำเลยสำหรับเหตุการณ์ผิดธรรมชาติทั้งสองครั้ง ในฐานะที่สร้างความเดือดร้อนข้ามพรมแดนทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำอย่างใหญ่หลวง

เรา - - ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักปฎิบัติการทางสังคม นักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน กลุ่มและองค์กรประชาสังคมต่างๆ ได้รวมตัวกันสร้างเครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขง ออกแถลงการณ์ฉบับนี้เพื่อร่วมกันส่งเสียงเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลไทยจะต้องทบทวนท่าทีต่อรัฐบาลจีนกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และในฐานะประธานคณะมนตรีคณะกรรมการแม่น้ำโขง รัฐบาลจะต้องหารือกับรัฐบาลลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างอีกสี่ประเทศในการทำให้ประเทศจีนเปิดเผยข้อมูลการจัดการเขื่อนบนแม่น้ำลานซางแก่สาธารณะ เพื่อแสดงความจริงใจต่อการจัดการแม่น้ำระหว่างประเทศร่วมกัน มิใช่เพียงการออกมาโต้แย้งปฏิเสธความรับผิดชอบว่าเขื่อนจีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความแห้งแล้ง ในขณะที่ยังคงปิดบังข้อมูลการจัดการเขื่อนต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลไทยจะต้องยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในการประชุมสุดยอดผู้นำคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC Summit) ในวันที่ 2-5 เมษายนที่จะถึงนี้

2. ให้รัฐบาลยุติโครงก่อการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา และจะต้องไม่ใช้วิกฤตความแห้งแล้งมาเป็นข้ออ้างในการผลักดันเขื่อนดังกล่าว รวมทั้งให้ทบทวนแผนพัฒนาพลังงานให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ให้สาธารณะได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอและทันท่วงที เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมาต้องได้รับการชดเชยค่าเสียหายย้อนหลังอย่างเป็นธรรม

เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกับคำประกาศวันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคม ที่ว่า “น้ำเพื่อชีวิต ไม่ใช่เพื่อความตาย” เรา – เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขงขอประกาศก้องร่วมกันว่า

“แม่น้ำโขงต้องไหลอิสระ”

 

ด้วยจิตคารวะ
14 มีนาคม 2553 ริมฝั่งโขง หนองคาย
เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขง

 



 

รายชื่อผู้คัดค้านเขื่อน
บุคคล

1. สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์
2. ธันวา ใจเที่ยง
3. สุนีย์ ไชยรส
4. สุภีร์ สมอนา
5. กัณณิกา หงส์ลา
6. ประสิทธิ์ ไชยชมพู
7. เริงฤทธิ์ คงเมือง
8. เริงชัย คงเมือง
9. ศิริพร พรศิริธิเวศ
10. ประกาศ เรืองดิษฐ์
11. เดชา เปรมฤดีเลิศ
12. สมพร เพ็งค่ำ
13. สดใส สร่างโสรก
14. ศันสนีย์ ชินาภาษ
15. วันดี ไชยศาล
16. วสันต์ สิทธิเขตต์
17. จิระศักดิ์ คชสวัสดิ์
18. กิตติสันต์ ศรีรักษา
19. นาถศิริ โกมลพันธุ์
20. ไพรินทร์ เสาะสาย
21. พันวรัชต์ หมู่ขจรพันธ์
22. วรันธรณ์ แก้วทันคำ
23. รจเรข วัฒนพาณิชย์
24. มาลัย สัญกาย
25. รัตติกาล แก้วกาบคำ
26. สิริวัธน์ วัฒนพาณิชย์
27. เวียงรัฐ เนติโพธิ์
28. กนกพรรณ สุพิทักษ์
29. สมศรี หาญอนันทสุข
30. ประยงค์ อัฒจักร
31. กิตติสันต์ ศรีรักษา
32. มณีรัตน์ สัตยเรขา
33. วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล
34. พัชรินทร์ บัวลอย
35. จิตติมา ผลเวก
36. ไพศาล เปลี่ยนบางช้าง
37. มงคล เปลี่ยนบางช้าง
38. ประยงค์ อัฒจักร
39. เยาวมาลย์ จันทเขต
40. จรัญญา วงษ์พรหม
41. ชาญชัย ลิมปิยากร
42. จุลจิฬา วงษ์พรม
43. เที่ยงทน คำภิเดช
44. นริศรา หว่างอาจ
45. ดรุณี หล้าคูณ
46. ภาณินี มีผล
47. Bennett Haynes
48. ชุติพงษ์ รุ่งเรือง
49. อุบล บุญมาก
50. เขมทัศน์ ปานเปรม
51. ธิดารัตน์ บุญภมร
52. ศิริวัฒน์ คำหาญ
53. คมสันติ ทองมาก
54. ภาวิณี ชุมศรี
55. ยูฮานี เจ๊ะกา
56. ปรีดา นาคผิว
57. สมสกุล ศรีเมธีกุล
58. นพพร ภูมิสวัสดิ์
59. เรณู ไพศาลพานิชย์กุล
60. ดรุณี ไพศาลพานิชย์กุล
61. เยาวลักษณ์ อนุพันธ์
62. ธนพล อนุพันธ์
63. วรันภรณ์ แก้วทันคำ
64. กนกพร สุพิทักษ์
65. มณีรัตน์ สัตยเรขา
66. สมศรี หาญอนันทสุข
67. ส.รัตนมณี พลกล้า
68. Prashart singh
69. สุรชัย ตรงงาม
70. Jia Jia
71. Lam Dinh Uy
72. Bounsing
73. Siriporn Kotawinon
74. Pock
75. Tanasak Phosrikun
76. Lao Zhang
77. Siriluk Sriprasit
78. Thepvayha suksayna
79. Carolyn
80. Shining
81. Pheakny
82. Nguyen Thi Kim Cuc
83. Prajak srilampa
84. Khun Chan Khe
85. Leng Sarorn
86. Yaowalak Srikhampha
87. Tipakson Manpati
88. Nov Piseth
89. Apisan yamuch
90. Dorn
91. Sopa
92. Romil Hernandez
93. Alek Nomi
94. ชลธิชา ตั้งวรมงคล
95. พรพนา ก๊วยเจริญ
96. มนตรี จันทวงศ์
97. ทางไท กุหลาบวงษ์
98. สุวิทย์ กุหลาบวงษ์
99. ลำภู กุหลาบวงษ์
100. ไพเราะ สุจินพรัหม

องค์กร
1. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน
2. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
3. เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรม
4. กลุ่มศึกษาปัญหาดินเค็มและการจัดการทรัพยากรแร่ภาคอีสาน
5. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
6. คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบแนวสายส่งไฟฟ้าอุดร
7. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำประเนียง
8. สื่อเสียงคนอีสาน
9. โครงการทามมูน
10. คณะทำงานติดตามนโยบายเหมืองแร่
11. ศูนย์สื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา
12. ศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อสังคม
13. กลุ่มศิลปินนานาชาติเพื่อแม่น้ำโขง
14. โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
15. มูลนิธิเลยเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน
16. กลุ่มเพื่อนพม่า (Friends of Burma)
17. สมาคมป่าชุมชนอีสาน
18. ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
19. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
20. เครือข่ายแร่งานนอกระบบ
21. EarthRights International
22. Mekong School
23. มูลนิธิชีวิตไท
24. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
25. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
26. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
27. โครงการพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดประเด็นลุ่มน้ำห้วยหลวงอุดรธานี
28. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
29. ชุมชนคนรักป่า
30. เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (อันเฟรล)
31. ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.)
32. กลุ่มศิษย์เก่าชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.)
33. กลุ่มอาศรมบ่มเพาะแนวความคิดและจิตวิญญาน
34. มูลนิธิชีวิตไท (RRAFA)
35. อาศรมพลังงาน
36. โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA)
37. เครือข่ายชุมชนจังหวัดพังงา
38. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
39. เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย จ.ประจวบคีรีขันธ์
40. เครือข่ายชุมชนศรัทธาจังหวัดชายแดนใต้ จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
41. เครือข่ายเมืองภาคเหนือ
42. กลุ่มปัญหาที่ดินชุมพร
43. เครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิมเกาะลันตา จ.กระบี่
44. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก
45. เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ
46. เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
47. กลุ่มรักษ์อ่าวไทย อ.ปะทิว จ.ชุมพร
48. สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร
49. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
50. ชุมชนลุ่มน้ำสรอย จ.แพร่
51. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
52. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ)
53. เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
54. มูลนิธิชีวิตไท
55. ศูนย์นิเวศชุมชนศึกษา อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
56. โครงการจัดการทรัพยากรต้นน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ
57. โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำป่าสักฝั่งซ้าย-ห้วยขอนแก่น อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
58. เครือข่ายองต์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์
59. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน
60. เครือข่ายองต์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำป่าสักฝั่งซ้าย-ห้วยขอนแก่น

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net