Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. เครือข่ายเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสิทธิชุมชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเครือข่ายด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม 20 เครือข่าย ออกแถลงการณ์เสนอปฎิรูปประเทศ ไทย ระบุการยุบสภาไม่ได้นำไปสู่การ แก้ปัญหาของชุมชนฐานรากที่สะสมมา ยาวนาน และเหตุวิกฤตของประเทศในครั้งนี้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหา ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ เนื่องจากยังคงใช้ระบบราชการแบบ เดิมๆ ไม่ได้ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารใน การแสวงหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนขึ้น

ทั้งนี้ เครือข่ายเร่งรัดการแก้ไขปัญหา สิทธิชุมชนเสนอให้แก้ปัญหา ด้านต่างๆ อาทิ ปัญหาที่ดินและสาธารณูโภคพื้นฐาน ผลกระทบด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชน รวมถึงกรอบเวลาที่ควรแก้ปัญหาให้แล้วเสร็จ

แถลงการณ์ฉบับที่ ๒
เครือข่ายเร่งรัดการแก้ไขปัญหา สิทธิชุมชน
เสนอปฏิรูปประเทศไทย
วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓

จากสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งใน สังคม และทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าเกิดจาก การพัฒนาประเทศที่มีความเหลื่อม ล้ำ จนเกิดช่องว่างความยากจนระหว่าง เมืองและชนบท และ มีข้อเสนอให้ยุบสภา เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ นั้น
เครือข่ายเร่งรัดการแก้ไขปัญหา สิทธิชุมชน เห็นว่า การยุบสภาไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนฐานรากที่สะสมมายาวนาน และเหตุวิกฤตของประเทศในครั้งนี้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากยังคงใช้ระบบราชการแบบเดิมๆ ไม่ได้ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการแสวงหาช่องทางใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนขึ้น จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลปฏิรูปประเทศไทย โดยเน้นกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

กรณีปัญหาที่ดินและสาธารณูโภคพื้น ฐาน
ควรแก้ไขภายใน ๑ เดือน
1. เร่งรัดการแก้ปัญหาที่ดิน ซึ่งอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ๑). ประกาศใช้ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องโฉนดชุมชน และรับรองพื้นที่นำร่องเพื่อการ แก้ปัญหาที่ดิน จำนวน ๗๖ แห่ง ๒). เร่งรัดการพิสูจน์สิทธิที่ดินซึ่งชุมชนร้องเรียนว่าออกเอกสารมิชอบจำนวน ๑๐ แห่ง ๓).เร่งรัดการจัดทำแผนที่ ๑ : ๔๐๐๐ เพื่อกันป่าออกจากชุมชน ในพื้นที่ซึ่งอยู่ระหว่างการทำ งานร่วมกันระหว่างชุมชนกับหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง
2. กรณีปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน ให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้น้ำประ ปา ไฟฟ้า ในพื้นที่เดือนร้อน
3. กรณีที่ชุมชนถูกดำเนินการฟ้องร้อง ขับไล่ ให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลืออ ย่างเร่งด่วน
4. กระทรวงมหาดไทยยุตินโยบายการย้าย ที่ทำการอำเภอสามชุก เพราะขาดกระบวนการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสามชุกตลาดร้อยปี และขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน

กรณีปัญหาผลกระทบด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
ควรแก้ไขภายใน ๑ เดือน
1. กรณีปัญหามาบตาพุด เรื่องการจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ การผลักดันกลไกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรค ๒ อย่างตรงตามเจตนารมณ์
2. รัฐบาลประกาศยุติการให้สัมปทาน และการขยายโรงงานการทำเหมือ งแร่ทองคำ ในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
3. รัฐบาลยุติการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.แร่ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของก ฤษฎีกา เพราะขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ และสิทธิชุมชน
4. ยกเลิกการอนุญาตขุดลอกตะกอนลุ่ม น้ำตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพราะกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน

ควรแก้ไขภายใน ๓ เดือน
5. วางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าอย่าง มีส่วนร่วมของประชาชน
6. ยกเลิกนโยบายการสร้างเขื่อนแม่ น้ำโขง และสนับสนุนการพัฒนาวิถีชุมชน ริมแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
7. ขอให้รัฐบาลยุติแผนพัฒนาภาคใต้ ตามข้อเสนอของสมัชชาสุขภาพแห่ง ชาติ ซึ่งจะมีการสร้างโรงงานอุตสหก รรมจำนวนมาก อันจะกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน และสิ่งแวดล้อม

กรณีปัญหาคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติและชนเผ่า
ควรแก้ไขภายใน ๑ เดือน
1. เร่งรัด ผลักดันผ่านพระราชบัญญัติสัญชาติ ว่าด้วย การคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น ซึ่งอยู่ในสภานิติบัญญัติลำดับที่ ๑๐๘ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนไทยที่ถูกละเมิดสิทธิมายาวนาน
2. กรณีกลุ่มลาวอพยพ กลุ่มมุสลิมมะริดที่อาศัยในประเทศไทยมานาน ให้ดำเนินรับรองสิทธิรักษาพยา บาล การเดินทางออกนอกพื้นที่ และเร่งรัดกระบวนการให้สัญชาติตามกฎมาย โดยนำร่องในกลุ่มสมาชิกเครือข่าย คปสม. ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3. ประกาศเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ ของชาวเลในอันดามัน ให้ครอบคลุมทั้งที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบ พิธีกรรมและสุสาน

กรณีการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ควรแก้ไขภายใน ๑ เดือน
1. สนับสนุนการแก้ปัญหาความรุนแรง ชายแดนใต้ โดยชุมชนเป็นหลักผ่านเครือข่าย ชุมชนศรัทธาชายแดนใต้
ควรแก้ไขภายใน ๓ เดือน
2. สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน ผ่านระบบเครือข่ายองค์กรชุมชน ( เดิมผ่านระบบตำบลอย่างเดียว ไม่ทั่วถึง )
3. สนับสนุนการพัฒนากลุ่มเยาวชน ในเครือข่าย ฯ
4. สนับสนุนการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ / ธนาคารชุมชน ในเครือข่าย ฯ
5. สนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งองค์กร ชุมชน/ การพัฒนาแกนนำ ในเครือข่าย ฯ
6. รัฐบาลตั้งคณะกรรมการสำรวจและ ขึ้นทะเบียนปัญหาของชุมชนที่ ครอบคลุมทั้งปัญหาที่ดิน ทรัพยากร และปัญหาคนชายขอบ

กรณีการปฏิรูปประเทศไทย
ควรแก้ไขภายใน ๑ เดือน
1. ตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อจัด เวทีระดมความเห็นเกี่ยวกับแนว ทางปฏิรูป ประเทศไทยจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และชุมชนภายใน ๑๕ วัน
2. คณะกรรมการชั่วคราวมีการรวบรวม และแถลงผลการรับฟังความเห็น รวมทั้งขั้นตอน กระบวนการ การปฏิรูปประเทศไทย หลังจากการจัดเวทีแล้วเสร็จ
3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูป ประเทศไทย ที่เป็นอิสระ ประกอบด้วยทุกภาคส่วน ดำเนินการภายใน ๒ ปี

เครือข่ายเร่งรัดการแก้ไขปัญหา สิทธิชุมชน
๑. เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
๒. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคม และการเมือง (คปสม.)
๓. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ ต
๔. เครือข่ายชุมชนจังหวัดพังงา
๕. เครือข่ายฟื้นฟูเกาะลันตา
๖. เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติ คนไทยฯ
๗. เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
๘. เครือข่ายชุมชนศรัทธาชายแดนใต้
๙. เครือข่ายคนฮักน้ำของ
๑๐. เครือข่ายฟื้นฟูเมืองเก่า สามชุกตลาดร้อยปี
๑๑. เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ และสิทธิชุมชน
๑๒. เครือข่ายเยาวชนจากทะเลสู่หุบเขา
๑๓. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการ ทำเหมืองแร่ทองคำ
๑๔. เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนอุดรราชธานี
๑๕. เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ลำปาง
๑๖. เครือข่ายห้าพันธมิตรด้านสิ่งแวด ล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑๗. เครือข่ายอนุรักษ์หนองแซง สระบุรี
๑๘. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำตะกั่ว ป่า-คุระบุรี พังงา
๑๙. เครือข่ายเยาวชนสำนึกรักบ้านเกิด ชายแดนใต้
๒๐. เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ นครศรีธรรมราช

แถลง ณ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net