Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ตลอดระยะเวลา 78 ปีของระบอบประชาธิปไตยไทย ไม่เคยมีคราวใดที่ความแตกต่างทาง การเมืองกลายเป็นความขัดแย้ง ครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญระหว่าง คนในสังคม และยังก่อให้เกิดกลุ่มทางการเมือง ต่างๆ อีกมากมาย เช่น คนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง คนเสื้อขาว คนเสื้อน้ำเงิน คนเสื้อชมพู กลุ่มสันติวิธีไม่เอาความรุนแรง ฯลฯ สาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจากโครงสร้างสังคมการเมืองไทยที่ยังมีปัญหาในเรื่องความเป็นธรรมและโอกาสทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ การพึ่งพิง ปัญหาของระบบราชการ ธุรกิจการเมือง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วน ร่วมกำหนดตัดสินใจอย่างแท้จริ ง และกระบวนการตรวจสอบเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนขาดกลไกในการจัดการความขัด แย้ง รวมทั้งขาดสื่อที่จะเป็นพื้นที่ สาธารณะให้ทุกฝ่ายร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างปราศจากอคติ

“โครงสร้างสังคมการเมืองที่บิด เบี้ยว” ก่อให้เกิดมาตรฐานในการมองการเมืองที่ต่างกันระหว่างคนในเมือง-คนในชนบท คนชั้นกลางส่วนหนึ่ง-คนรากหญ้า อำมาตยาธิปไตย-ทุนธุรกิจยุคโลกา ภิวัตน์ ทหาร-นักการเมืองฝ่ายหนึ่ง สื่อกระแสหลัก-สื่อกระแสรอง และคู่ตรงข้ามอื่นๆ อันเนื่องมาจากดุลยภาพแห่งการพัฒนา ที่ขาดความสมดุล ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ชนชั้นนำ คนชั้นกลาง และคนรากหญ้า ตลอดจนเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองต่อกรณีรัฐบาลธุรกิจการเมือง การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย การซุกหุ้นและนอมินี การเอื้ออำนวยประโยชน์พวกพ้อง การใช้อำนาจการเมืองเพื่อธุรกิจสัมปทาน การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การใช้อำนาจในการตรวจสอบของศาล และองค์กรอิสระ การยุบพรรคไทยรักไทย การยุบพรรคพลังประชาชน การยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกรอบกติกาทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ 2550 จนเป็นประเด็นความขัดแย้งทางชน ชั้น ตัวบุคคล และนโยบาย

สองนคราประชาธิปไตย หรือสภาพการณ์ที่คนต่างจังหวัดเลือกรัฐบาล คนกรุงเทพไล่รัฐบาลจึงแปรเปลี่ ยนไปเป็นการที่ “คนกรุงเทพบางส่วนเลือกรัฐบาล คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ไล่รัฐบาล” เพราะหากพิจารณาการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์จะพบว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มทุนธุรกิจมากกว่าคนรากหญ้าในต่างจังหวัดดังจะเห็นจากการเข้ามามีบทบาทในการร่วมกำหนดและดำเนินนโยบายรวมทั้งการแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและชี้ให้เห็นผลกระทบในการชุมนุมของคนเสื้อแดงจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) อันประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศ ไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ที่เป็นกลไกของคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการ ท่องเที่ยว

ขณะที่นโยบายไทยเข้มแข็งของรัฐบาล กลับไม่เป็นผลในด้านคะแนน นิยมต่อกลุ่มคนรากหญ้าเนื่อ งจากรัฐบาลได้ใช้กลไกในการ ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวผ่าน ทางระบบราชการซึ่งมีปัญหา ในแง่ของกระบวนทัศน์ที่มุ่ง เน้นเพียงการควบคุม สั่งการ บังคับบัญชา ก่อให้เกิดช่องว่างรัฐบาลกับประชาชนอย่างมากในการรับฟังข้อเรียกร้องภายใต้สังคมการเมืองที่ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายทรัพยากรอย่างสมดุลให้กับทุกภาคส่วน

การชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ และสีลมจึงเป็นการชุมนุมเชิง สัญลักษณ์ในบริเวณศูนย์กลาง การค้าและทุนธุรกิจของประเทศ แสดงให้เห็นถึงการทวงสิทธิของผู้ ชุมนุมที่เริ่มเห็น “คุณค่าของประชาธิปไตย” จึงเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นคนจากต่างจังหวัด ร่วมกับคนในกรุงเทพบางส่วน เนื่องจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทำให้ “ประชาธิปไตยกินได้” และกลายเป็นสิ่งที่สัมผัสได้อย่าง เป็นรูปธรรมผ่านทางนโยบาย ประชานิยมที่ใช้กลไกทางการ เมืองเป็นตัวขับเคลื่อน

ขณะเดียวกันคนชั้นกลางในเมืองอีก ส่วนหนึ่งเห็นว่า การเคลื่อนไหวใช้สิทธิทางการเมืองดังกล่าวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความสะดวกสบายและการทำธุรกิจธุรกรรมของคนในเมืองก่อให้เกิดการใช้มวลชนเข้าต่อสู้ เช่น การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อชมพู ที่สวนลุมพินีเพื่อเรียกร้อง ในเรื่องความเดือดร้อนของคน กรุงเทพจากการชุมนุม หรือการนำมวลชนของชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานครออกมาแสดงพลังเพื่อปกป้องสิทธิของชุมชน เป็นสภาพการณ์ที่สรุปได้ว่า “คนรากหญ้าเห็นคุณค่าประชาธิปไตย คนในเมืองเห็นผลกระทบของประชาธิปไตย”

ในสภาวการณ์เช่นนี้รัฐบาลต้องแยก แยะบทบาทสถานภาพระหว่างการ เป็นคู่ขัดแย้งกับผู้ชุมนุ มและการเป็นตัวแทนของปวงชน ชาวไทยให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้โอกาสทั้งฝ่ายผู้สนับสนุนและฝ่ายผู้ต่อต้านในการเข้าถึง พบปะ พูดคุยกับรัฐบาลอย่างเท่าเทียม การประกาศบังคับใช้กฎหมายในมาตรฐาน เดียวกันโดยไม่ให้เกิดภาพลักษณ์ ในการปกป้องศูนย์กลาง การค้าและทุนธุรกิจของประเทศ เกินกว่าสิทธิในการชุมนุ มที่ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งพวกเขา เป็นปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกัน ตลอดจนการไม่สนับสนุนให้เกิดการ ใช้มวลชนคู่ตรงข้ามเผชิญหน้า กดดันซึ่งกันและกัน

การต่อสู้ของอำมาตยาธิปไตยและ ธนาธิปไตยมีอยู่ในระบบการเมือง ไทยตลอดมา หากแต่โครงสร้างทางสังคมที่มี พัฒนาการซับซ้อนมากขึ้นส่งผล ให้ภาคประชาสังคมในการเมือง ไทยใหญ่โตเกินกว่าจะมีอำนา จใดเพียงอำนาจเดียวที่จะกำหนด ชี้นำสังคมไทยได้ จนเกิดกลุ่มมวลชนทางการเมืองหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมากมายเป็นระบบการเมืองแบบ “มวลชนาธิปไตย” ที่อำนาจในการกำหนดชี้นำสังคม เกิดจากการใช้กำลังทางกายภาพ ของมวลชนที่เต็มไปด้วยความเชื่อ ค่านิยม ความเห็น มากกว่าสังคมประชาธิปไตยที่มีความรู้ จึงก่อให้เกิด “การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ สร้างสรรค์”

สมมติฐานที่ว่าความขัดแย้งทางการ เมืองตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมาจะก่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเพราะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแสดงออกถึงบทบาทสถานภาพของคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ สื่อมวลชน ทหาร นักธุรกิจ ชนชั้นนำ คนชั้นกลาง คนรากหญ้ายังเต็มไปด้วย “มายาคติ มิจฉาทิฐิ และการก้าวข้ามไม่พ้นอคติ” ของตนเอง การพัฒนาไปสู่สังคมที่จะเกิดภูมิปัญญา ทางการเมืองอย่างแท้ จริงจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ใน สังคมการเมืองที่ยังคงมีอคติ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การแสดงออกถึงบทบาทสถานภาพและ หน้าที่ที่ขัดแย้งในตนเองของ ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเช่นนี้ ความพยายามในการพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อนำสังคมก้าวข้ามผ่านระบบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยและธนาธิปไตย จึงเกิด “การกลายพันธุ์” (mutation) ของกระบวนการประชาธิปไตยจากการ สร้างประชาสังคมที่เข้มแข็งไป สู่ระบบการเมืองแบบ “มวลชนาธิปไตย” คือ “การใช้มวลชนเข้าต่อสู้เพื่อมี อำนาจกำหนดกดดันการตัดสินใจ ในระบบการเมือง ในขณะที่คนยังขาดจิตสำนึกสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม ระบบการเมืองเช่นนี้มีความเปราะ บางต่อการเผชิญหน้าและการปะทะ กันระหว่างมวลชนคู่ตรงข้าม” อัน เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร 19 กันยา ที่ตัดตอนการสร้างความเข้มแข็ง ให้คนรากหญ้าขยับขึ้นเป็นคน ชั้นกลางเพราะในสังคมต่างๆ ทั่วโลกพัฒนาได้โดยการขับเคลื่อ นของคนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งความล้มเหลวของระบบรัฐสภา ที่ไม่สามารถทำหน้าที่ใน มิติของการเป็นผู้แทนปวงชนและ รับฟังแก้ไขข้อเรียกร้องของ ประชาชนภายใต้สังคมการเมือ งที่ยังมีปัญหาเรื่องการกระจาย ทรัพยากรอย่างสมดุล

การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างความ คิดที่เห็นตรงกับความคิดที่ เห็นต่างจะไม่สามารถเกิดได้ อย่างยั่งยืนหากขาดการปฏิรูป หรือแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง สังคมการเมือง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างปราศจากอคติบนพื้นที่สาธารณะที่เป็นกลาง เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคม การเมืองไปสู่สังคมแห่งความรู้ ที่จะเป็นรากฐานการเมืองของ พลเมืองอย่างแท้จริง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net