สสส. ค้านใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แนะมาร์คเจรจา นปช.รอบ3

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากไม่ชอบด้วยหลักนิติธร รม และหลักสิทธิมนุษยชน ตามวิถีทางประชาธิปไตย

00000

จดหมายเปิดผนึกของสมาคมสิทธิเส รีภาพของประชาชน
ที่ สสส. 012/2553
วันที่ 8 เมษายน 2553

เรื่อง ขอคัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ ข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขความขัดแย้ง ทางการเมือง

กราบเรียน ฯพณฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ตามที่ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบประ กาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ ร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหา นคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลาลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมอบหมายให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อานวยการศูนย์อำนวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ขอคัดค้านประกาศดังกล่าว ว่าไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชน ตามวิถีทางประชาธิปไตย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ประการแรก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ ร้ายแรง ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มาตรา 29 ที่บัญญัติห้ามมิให้รัฐจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง ยกเว้นกรณีที่ต้องออกเป็นกฎหมาย เท่าที่จำเป็นและจะกระทบก ระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเส รีภาพนั้นมิได้ และ กฎหมายนั้นต้องมีผลเป็นการใช้บังคับทั่วไป มิให้มุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณี ใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (1) แต่รัฐบาลมุ่งจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของ “กลุ่ม นปช.” ซึ่งถือว่าเป็นการใช้กฎหมายโดย ไม่จำเป็น ใช้บังคับเฉพาะกลุ่มบุคคลบางก ลุ่มและละเมิดสิทธิเสรีภาพใน การชุมนุมโดยสงบ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกประการสำคัญ ในสังคมประชาธิปไตย

ประการที่สอง การที่รัฐบาลอ้างเหตุผลในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ว่าได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ ก่อให้เกิดความวุ่นวายและ นำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภาย ในประเทศ โดยมีการปลุกระดม เชิญชวน ทาให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา และการสื่อสารด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทาภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ... มีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิ บัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของ รัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไป ตามกฎหมาย รวมทั้งมีการใช้สถานที่เพื่อเผย แพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนา บิดเบือนให้เกิดความเข้าใจ ผิดเพื่อให้กระทาการให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้น ที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีบุคคลบางกลุ่มได้ก่อเหตุร้ายหลายครั้งโดยต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน

แต่การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ยังไม่ปรากฏว่ามีการกระทำเข้าข่ายการก่อการร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิตหรือทรัพย์ สินแต่อย่างใด ถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ ต้องได้รับความคุ้มครองตาม รัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากผู้ชุมนุมหรือแกนนำในการชุมนุมผู้ใด ใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิตหรือกระทำการใดละเมิดกฎหมาย รัฐบาลสามารถใช้กฎหมายอาญาในการดำเนินคดีต่อผู้นั้นได้ ตามหลักความเสมอภาคของกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักนิติธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง โดยไม่ต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ นี้ อันเท่ากับว่ามีการเลือกใช้กฎหมาย บังคับแก่เหตุการณ์หรือกรณี เดียว ซึ่งย่อมไม่ชอบต่อระบอบประชาธิปไต ย

ประการที่สาม เป็นการใช้อำนาจบริหารซ้อนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน และให้อำนาจฝ่ายบริหารใช้อำนาจตุลาการได้ในขณะเดียวกัน เพราะการให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ในการใช้อำนาจแทนหน่วยงานของรัฐ เพื่อแก้ปัญหา โดยนายกรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามกฎหมาย สามารถเป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ หรือหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน รวมทั้งให้มีอำนาจออกข้อหนดที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น การยุติการชุมนุมในที่สาธารณะ การห้ามใช้เส้นทางคมนาคม การห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ เป็นต้น อันเท่ากับว่าฝ่ายบริหารสามารถ ใช้อำนาจตุลาการ แทนการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม (มาตรา 7 และมาตรา 9) ด้วย ถือเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม และหลักการปกครองตามวิถีทางประชาธิปไตย

ประการที่สี่ เป็นการใช้อำนาจบริหารที่ไม่ต้องตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ โดยข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามกฎหมายฉบับนี้ที่ อาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรี ภาพของประชาชน ไม่ต้องถูกตรวจสอบโดยศาลปกครอง ซึ่งขัดกับหลักการทั่วไปของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารจะต้องถูกตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการอยู่เสมอ อันเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม (มาตรา 16)

ประการที่ห้า การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย สั่งปิดสถานีวิทยุ โทรทัศน์ พีเพิล แชนแนล และเว็บไซต์ประชาไท โดยอาศัยกฎหมายที่มีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตยย่อมทำให้นานาอารยประเทศ ไม่มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของชาติ ซึ่งสวนทางกับการวิเคราะห์ของธนาคารโลกที่ประเมินว่าปีนี้ประเทศไทยจะเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กว่า 6% (2) แม้ว่าจะมีปัญหาการชุมนุมทางการ เมืองก็ตาม

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงขอเรียกร้องและข้อเสนอแนะให้รัฐบาล

1. ยุติการใช้อำนาจทางการเมืองตามพระ ราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพราะเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางโดยปราศจากระบบการตรวจสอบถ่วงดุล และเป็นการใช้อำนาจบริหาร ควบอำนาจตุลาการ อันขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

2. ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาสำหรับบุคคล ใดที่กระทำการชุมนุม หรือมีการกระทำโดยอ้างว่าเป็นการ ชุมนุมโดยฝ่าฝืนหรือละเมิดก ฎหมาย อย่างเคร่งครัด อันจะเป็นแบบอย่างและคุณูปการของสังคมประชาธิปไตย

3. เร่งพิจารณาดำเนินมาตรการการเจรจา กับกลุ่ม นปช.เป็นครั้งที่ 3 ทันที เนื่องจากการเจรจาครั้งที่สองที่ผ่านมา ใกล้บรรลุข้อตกลง โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าควรมี การยุบสภา แต่ติดขัดเรื่องระยะเวลา เท่านั้น ซึ่งการเจรจาเป็นหนทางของการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี ที่น่าจะเป็นผลดีที่สุดในขณะนี้

เรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายไพโรจน์ พลเพชร)
เลขาธิการการสมาคมสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน(สสส.)

เชิงอรรถ
(1) มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัต ิแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่ จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่ง สิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้ บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ แก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นามาใช้บังคับกับกฎที่ออก โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม

2 สำนักงานธนาคารโลกในประเทศไทยเผย แพร่ถ้อยแถลงผ่านเว็บไซต์ คาดการณ์ว่าในปีนี้เศรษฐกิจของ ไทยจะขยายตัว 6.2 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าการขยายตัวจะถูกจำกัดโดยความวุ่นวายทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นได้ก็ตาม โดยปัจจัยหลักจะมาจากการส่งออก เป็นสำคัญ เนื่องจากสภาวะแวดล้อมภายนอกเอื้อ ต่อการส่งออก ทาให้การส่งออกของไทยขยายตัว โดยเชื่อว่าไทยจะส่งออกได้สูงขึ้น 11.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมูลค่าการส่งออกจะสูงถึง 168,200 ล้านดอลลาร์ แต่ถึงแม้จะสูงมากก็ยังไม่เที ยบเท่ากับสถิติการส่งออกที่สูง เป็นประวัติการณ์ของไทยเมื่อ ปี 2551 ซึ่งเคยทาไว้ถึง 175,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขประมาณการดังกล่าวแสดงให้ เห็นชัดว่าเศรษฐกิจไทยยังคง ต้องพึ่งพาการส่งออกอย่างหนัก อยู่ต่อไป (เวปไซด์ มติชนออนไลน์ วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 20:48:08 น. หัวข้อข่าว ธนาคารโลกมั่นใจ ศก.ไทยปีนี้โต 6.2% สวนกระแสการเมืองวุ่นวาย โรงแรมย่านราชประสงค์เจ๊งวันละ 50 ล้าน)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท