กลุ่มนักกิจกรรมทางสังคม รณรงค์ยุบสภา-ต้าน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

วันนี้ (8 เม.ย.) เวลาประมาณ 14:30 น. กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊กและกลุ่มสันติประชาธรรม ออกรณรงค์แจกสติ๊กเกอร์,แผ่นพับ ย่านคนทำงาน – ตั้งแต่สยามพารากอน ไปจนถึงสวนจตุจักร ให้รัฐบาลยุบสภาใน 3 เดือน ย้ำเป็นทางออกที่ดีที่สุดในเวลา นี้

เวลาประมาณ 17:00 น. กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า,กลุ่มประกายไฟและเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาคมออกมารณรงค์ต้านพรก.ฉุกเฉินบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีการแจกแถลงการณ์,ถือป้ายรณรงค์ พร้อมตะโกนคำว่า “ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน!” โดยทางกลุ่มเห็นว่าต้องมีการหยุดการใช้อำนาจเผด็จการ รัฐบาลต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ทางออกคือเปิดเจรจา

********

 

แถลงการณ์คัดค้านการประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน
8 เมษายน 2553

 

การประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปเพื่อสลายการชุมนุมของแนว ร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. โดยอ้างเหตุว่า การชุมนุมของ นปช. ได้พัฒนาขยายตัวจนส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมอย่างกว้างขวาง และอ้างว่า นปช. ใช้ความรุนแรงระหว่างการชุมนุม

ทั้งที่เหตุการณ์นี้ควรคลี่คลายภายหลังการเจรจาระหว่างสองฝ่ายซึ่งได้ข้อสรุปว่าจะ “ยุบสภา” โดย นปช. ต้องการยุบสภาภายใน 15 วัน และพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้ ยุบภายใน 9 เดือน จึงจบลงอย่างไม่มีข้อยุติ และหลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้เดินหน้าเรื่องการยุบสภาเพื่อหาทางออกอย่างจริงจังอีก ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และนำมาสู่การสร้างความกดดันด้วยการปิดสี่แยกราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียงของ นปช. แต่การชุมนุมยังคงอยู่ภายใต้กรอบ ของรัฐธรรมนูญ

เหตุผลที่รัฐบาลประกาศไว้ขาดความน่าเชื่อถือและหลักฐานที่เพียงพอ ดังนี้

ประการแรก การประกาศพระราชกำหนดฯฉบับนี้ส่งผลโดยตรงต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกๆด้าน ตั้งแต่การห้ามชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง การปิดช่องทางการสื่อสารทางการ เมืองของประชาชน เช่น การปิดสถานีโทรทัศน์ การปิดคลื่นวิทยุชุมชน และการปิดเวปไซต์ที่เห็นต่างจาก รัฐบาล ทั้งๆที่สิทธิเสรีภาพเหล่านี้เป็น สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของประชาชนตามหลักการประชา ธิปไตยสากล

ประการที่สอง เนื่องจากการชุมนุมของ นปช. เป็นการเรียกร้องทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขด้วยวิธีทางการเมือง เช่น การเปิดเจรจา และการไกล่เกลี่ย ไม่ใช่การใช้กำลังทหารตำรวจเข้าล้อมและขู่ว่าจะจับกุมปราบปรามประชาชน วิถีทางเช่นนี้เท่ากับเป้นการปิด ทางที่จะเจรจาและแก้ไขปัญหา โดยสิ้นเชิง

ประการที่สาม ในขณะที่รัฐบาลอ้างว่า ต้องการยับยั้งการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารที่บิดเบือนที่สร้าง ความแตกแยกและทำผิดกฎหมาย หากมีการกระทำความผิดจริงก็สามารถ ใช้กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง ได้อยู่แล้ว ดังนั้น หนทางที่จะทำให้ประชาชนทุกฝ่ายเข้าถึงความจริงจากมุมมองที่หลากหลายได้ก็คือ การที่รัฐบาลยกเลิกการปิดเวปไซ ต์, สถานีโทรทัศน์ และวิทยุชุมชนที่เห็นต่าง ไม่ใช่การปกปิดและสร้างข่าวเท็จฝ่ายเดียวดังที่เป็นอยู่
ประการที่สี่ หากรัฐบาลเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมจริง ก็ควรจะใช้การแก้ไขโดยกรอบของก ฎหมาย โดยให้สามารถดำเนินคดีกับแกนนำ ได้ตามกระบวนการยุติธรรมต่อ ไป เรื่องนี้สามารถใช้กฎหมายอาญา ได้ ถ้าแกนนำเหล่านี้กระทำผิดกฎหมาย

ประการสุดท้าย การอ้างว่าความรุนแรงเกิดจากการกระทำของ นปช. เป็นข้อกล่าวหาที่ขาดหลักฐาน รัฐบาลควรแสดงรับผิดชอบและทำหน้า ที่สอดส่องดูแล รวมทั้งจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ โดยไม่รีบโยนความผิดให้ใคร หรือหาทางแก้ไขโดยโยนว่าเป็นการ กระทำของฝ่ายตรงข้าม ทั้งๆที่ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวน

การที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ประกา ศพระราชกำหนดฉบับนี้โดยขาดเหตุ และผลรองรับหมายความว่า รัฐบาลขาดความจริงใจในการเจรจา และแก้ปัญหาด้วยวิถีทางแบบสันติ เราขอประณามการประกาศใช้พระราช กำหนดการบริหารราชการในสถาน การณ์ฉุกเฉินเพื่อปูทางสู่การ ใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุ ม ซึ่งเป็นการกระทำที่คุกคามสิทธิ และเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไต ย และทำลายความเชื่อถือของประเทศ ในประชาคมโลก

 

สมัชชาสังคมก้าวหน้า, กลุ่มประกายไฟ และเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์ เดือนพฤษภาคม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท